แคร์สุขภาพ

เปิดบิล! ค่าคีโมและค่าใช้จ่ายรักษามะเร็งมีอะไรบ้าง? ราคาเท่าไร?

ผู้เขียน : Tawan
Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต

close
linkedin icon
 
 
Published: December 30,2021
How Expensive Are Cancer Treatments

‘โรคมะเร็ง’ และโรคร้ายแรงที่ไม่ติดต่อนับเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุดของคนไทยมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่าตัด ค่าคีโม หรือค่ารักษามะเร็งแบบพุ่งเป้า (Targeted Therapy) จึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายแอบแฝงอีกมากมายที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาการรักษามะเร็ง

แรบบิท แคร์ รวบรวมแนวทางการรักษาและค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการรักษาโรคมะเร็งในแต่ละประเภท พร้อมเหตุผลที่ทำไมต้องซื้อประกันมะเร็งและประกันโรคร้ายแรงมาฝากกัน

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    1. ค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็งราคาเท่าไร?

    ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็งอาจแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักๆ เช่น ค่าผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Endoscopic Surgery) ค่าฉายรังสี (Radiotherapy) ค่าเคมีบำบัด หรือคีโม (Chemotherapy) ค่ายาต้านฮอร์โมน (Hormonal Treatment) หรือค่ารักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy)

    ข้อมูลประมาณราคาค่าฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งจากสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ชี้ให้เห็นว่าแค่ค่ารักษามะเร็งด้วยวิธีการฉายรังสีแต่เพียงอย่างเดียว ก็มีค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นการรักษาที่หลักแสนบาทแล้ว ซึ่งการรักษามะเร็งในแต่ละประเภท หรือในแต่ละระยะความรุนแรง อาจมีการใช้วิธีการรักษามะเร็งในหลายรูปแบบร่วมกัน ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

    ราคาค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคมะเร็งหรือโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้อง จะขึ้นอยู่กับประเภทโรงพยาบาลที่เข้ารักษา ความรุนแรง ระยะของมะเร็ง และวิธีการรักษา ซึ่งสามารถสรุปแนวทางการรักษามะเร็งและค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งที่พบบ่อยในแต่ละประเภทได้ดังนี้

    1.1 ค่าฉายรังสีมะเร็งศีรษะและลำคอ เฉลี่ยอยู่ที่ 130,100-186,600 บาท

    มะเร็งศีรษะและลำคอ (Head and Neck Cancer) จัดเป็น 1 ใน 10 มะเร็งที่พบได้บ่อยในเพศชาย เกิดมะเร็งขึ้นได้ในอวัยวะต่างๆ บริเวณหู คอ จมูก มีปัจจัยเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลล์ และกรรมพันธุ์ ตรวจวินิจฉัยไม่ยาก แต่ในบางตำแหน่งอาจต้องใช้ความชำนาญ และอุปกรณ์เฉพาะในการตรวจ รักษาด้วยการผ่าตัด ฉายรังสี และเคมีบำบัด

    1.2 ค่าฉายรังสีมะเร็งเต้านม เฉลี่ยอยู่ที่ 84,500-69,300 บาท

    มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) คือ มะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในเพศหญิง โดยจากสถิติทั่วโลกจะพบผู้ป่วย 1 คนจากผู้หญิง 8 คน โอกาสพบมะเร็งมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม หรือการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เน้นรักษาด้วยวิธีผ่าตัดในระยะแรก และยาเคมีบำบัด หรือการฉายรังสีในระยะลุกลาม

    1.3 ค่าฉายรังสีมะเร็งปอด เฉลี่ยอยู่ที่ 197,600-141,100 บาท

    มะเร็งปอด (Lung Cancer) พบมากเป็นอันดับสองทั้งในผู้ป่วยเพศชายและหญิง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของกลุ่มโรคมะเร็งทั้งในไทยและทั่วโลก ใช้วิธีการรักษาแบบผสมผสานตามระยะและชนิดของมะเร็ง

    1.4 ค่าฉายรังสีมะเร็งกระจายไปสมอง เฉลี่ยอยู่ที่ 34,400-114,000 บาท

    การแพร่กระจายของมะเร็งไปที่สมอง (Brain Metastasis) เกิดจากเซลล์มะเร็งที่แพร่มาจากอวัยวะอื่น เช่น มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งปอด อาจมีระยะเวลาแพร่กระจายมายังสมองนานหลายเดือนหรือหลายปี และมักไม่มีอาการผิดปกติอย่างเด่นชัด เน้นใช้วิธีการฉายรังสีและผ่าตัดเพื่อรักษา

    1.5 ค่าฉายรังสีมะเร็งปากมดลูก เฉลี่ยอยู่ที่ 144,400 บาท

    มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) จัดเป็นมะเร็งในอันดับที่สองที่พบได้บ่อยในผู้หญิง มีปัจจัยเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสเฮชพีวี (Human Papillomavirus – HPV) ใช้วิธีการรักษาตามระยะของมะเร็งและสภาพของผู้ป่วย

    1.6 ค่าฉายรังสีมะเร็งต่อมลูกหมาก เฉลี่ยอยู่ที่ 182,400 บาท

    มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) พบได้บ่อยในผู้สูงอายุเพศชาย ไม่มีอาการแสดงชัดเจนนอกจากอาจมีการปัสสาวะบ่อย ใช้การรักษาหลายแบบทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี หรือการให้ยาต้านฮอร์โมน

    1.7 ค่าฉายรังสีมะเร็งสมอง เฉลี่ยอยู่ที่ 164,800 บาท

    มะเร็งสมอง (Brain Cancer) เกิดจากเนื้องอกที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมในสมอง รวมถึงเซลล์มะเร็งที่แพร่มาจากอวัยวะอื่น อาจต้องพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อเนื่อง เนื่องจากอาการจะยังไม่ชัดเจนในระยะแรก ใช้วิธีการรักษาทั้งการผ่าตัด การฉายรังสิ และการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกัน ตามขนาด ตำแหน่งของเนื้องอก และการตอบสนองต่อการรักษา

    1.8 ค่าฉายรังสีมะเร็งหลอดอาหาร เฉลี่ยอยู่ที่ 150,800 บาท

    มะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer) แบ่งได้ 2 ชนิดหลักๆ คือ เซลล์มะเร็งชนิดสแควมัส (Squamous Cell Carcinoma) พบได้บ่อยในผู้ป่วยชาวเอเชีย และเซลล์มะเร็งชนิดอะดีโน (Adenocarcinoma) พบมากในชาวตะวันตก การเกิดโรคมีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา รวมถึงความอ้วน หรือกรดไหลย้อน ในระยะเริ่มต้นสามารถใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัดได้ เเละใช้วิธีการฉายรังสีหรือเคมีบำบัดในกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการกำเริบ

    1.9 ค่าฉายรังสีมะเร็งลำไส้ใหญ่ เฉลี่ยอยู่ที่ 103,000 บาท

    มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer) เกิดที่ลำไส้ใหญ่ และส่วนปลายสุดของระบบทางเดินอาหาร อาจเกิดจากก้อนเนื้องอกธรรมดาในรูปแบบติ่งเนื้อเล็กๆ  (Polyps) ก่อนพัฒนากลายเป็นมะเร็ง สาเหตุการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด อาจเป็นผลจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม เน้นใช้การผ่าตัดเฉพาะส่วนในการรักษาเป็นหลัก และอาจมีการใช้เคมีบำบัดร่วมด้วย

    1.10 ค่าฉายรังสีมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เฉลี่ยอยู่ที่ 110,000 บาท

    มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) มีเซลล์มะเร็งมากกว่า 10 ชนิด อาจเป็นได้ทั้งมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองโดยตรง หรือเป็นมะเร็งที่แพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่น เป็นมะเร็งที่ตอบสนองดีต่อการรักษา หากผลการรักษาออกมาดี มีอัตราหายขาดสูง ใช้วิธีรักษาหลากหลายรูปแบบตามชนิดของเซลล์มะเร็งและสภาพของผู้ป่วย

    2. ทำไมต้องซื้อประกันมะเร็งและประกันโรคร้ายแรง?

    ค่าคีโมและค่าใช้จ่ายรักษามะเร็งมีอะไรบ้าง ราคาค่ารักษาเท่าไหร่

    2.1 คุ้มครองโรคทุกระยะ

    ประกันโรคมะเร็ง หรือประกันโรคร้ายแรงส่วนใหญ่จะให้ความคุ้มครองในทุกระยะ ตั้งแต่ระยะที่โรคยังไม่แพร่กระจาย ไปจนถึงระยะที่โรคลุกลามแล้ว ทำให้เมื่อตรวจเจอโรคร้ายแรงหรือมะเร็งในระยะใดก็ตาม บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินผลประโยชน์ชดเชยหรือค่ารักษาพยาบาลให้กับผู้ทำประกันในทันทีที่ตรวจพบโรค ทำให้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มโอกาสหายมากขึ้น

    2.2 รักษาซ้ำได้ หยุดจ่ายเบี้ยได้

    ประกันมะเร็งและโรคร้ายแรงบางแบบให้ความคุ้มครองต่อเนื่องในกรณีที่ตรวจพบมะเร็งชนิดเดิม รวมถึงอาจไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันอีกต่อไปตลอดอายุสัญญา ในกรณีที่ตรวจเจอมะเร็งระยะลุกลาม โดยที่ความคุ้มครองและผลประโยชน์ที่ต้องได้รับเมื่อครบกำหนดสัญญายังอยู่ครบ ทำให้ได้รับความคุ้มครองและผลประโยชน์ต่อเนื่องเเม้จะตรวจพบโรคร้ายก็ตาม

    2.3 ช่วยค่ารักษาและค่าใช้จ่ายแอบแฝง

    ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคมะเร็งหรือโรคร้ายแรง เริ่มต้นตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้าน อาจแบ่งเป็นค่าตรวจวินิจฉัย ค่ารักษา ค่าคีโม และค่าบริการต่างๆ เเต่อาจยังมีค่าใช้จ่ายแอบแฝงอื่นๆ ที่คาดไม่ถึงซ่อนอยู่ด้วย เช่น ค่ากายภาพบำบัด ค่าปรึกษาจิตแพทย์ หรือค่าเดินทางระหว่างเข้ารับการรักษา ซึ่งประกันโรคมะเร็งหรือประกันโรคร้ายแรงในปัจจุบันได้ให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมไปยังค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาเพิ่มเติมเข้าไปด้วย ทำให้ได้รับความคุ้มครองและการรักษาโรคที่ครอบคลุมรอบด้านมากขึ้น

    2.4 มีเงินชดเชยระหว่างการรักษา

    นอกจากค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเเล้ว ประกันโรคมะเร็งและโรคร้ายแรง อาจจ่ายผลประโยชน์เพิ่มเติมกรณีที่ผู้ทำประกันเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลให้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเงินชดเชยรายวัน เงินช่วยเหลือรายเดือน หรือค่าเดินทางเข้ารับการรักษา เฉลี่ยวันละ 1,000-10,000 บาท จ่ายนานสูงสุดต่อเนื่อง 180-600 วัน ตามแต่เงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์ ทำให้ไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายรายวันและรายได้ที่สูญหายไป และมีสมาธิให้กับการรักษาได้อย่างเต็มที่

    2.5 มีเงินทุนสำรองให้ครอบครัว

    กรณีผู้ที่ทำประกันมะเร็งหรือประกันโรคร้ายแรงเสียชีวิต ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากโรคมะเร็งหรือโรคร้ายแรง การเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ บริษัทประกันภัยจะจ่ายผลประโยชน์กรณีผู้ทำประกันเสียชีวิตในทุกกรณีให้กับผู้รับผลประโยชน์สูงสุด 100% ของวงเงินเอาประกัน หรือตามจำนวนเงินและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ทำให้มีเงินมรดกส่งต่อให้สมาชิกในครอบครัว

    2.6 ได้สิทธิลดหย่อนภาษี

    ประกันมะเร็งหรือประกันโรคร้ายแรงที่มีเงื่อนไขความคุ้มครองตรงตามหลักเกณฑ์ประกันสุขภาพที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่กรมสรรพากรกำหนด สามารถนำเบี้ยประกันที่จ่ายตามจริงมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ แบ่งเป็นประกันสุขภาพที่ซื้อให้กับตัวเอง ใช้สิทธิลดหย่อนได้ 25,000 บาท และประกันสุขภาพที่ซื้อให้กับพ่อแม่ ใช้สิทธิลดหย่อนได้ 15,000 บาท ทำให้ได้รับทั้งความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ทางภาษีพร้อมกัน มีเงื่อนไขประกันสุขภาพที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ดังนี้

    • ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การชดเชยทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ
    • ประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับ การรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
    • ประกันภัยโรคที่ร้ายแรง (Critical Illnesses)
    • ประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)

    เปรียบเทียบประกันสุขภาพ ประกันมะเร็งและประกันโรคร้ายแรงที่มีให้เลือกมากที่สุดกับ แรบบิท แคร์ วันนี้ รับทันที! บริการโทรปรึกษาแพทย์ โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล (Health Caresultants) เมื่อเลือกซื้อประกันสุขภาพกับ  แรบบิท แคร์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

    ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


    สรุป

    สรุปบทความ

    หากส่องเข้าไปดูและศึกษาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็งและโรคร้ายแรง เน้นที่รายการสำคัญ ๆ ในการรักษาโดยแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น ค่าฉายรังสีตามสาขาแต่ละประการและระยะความรุนแรงของโรคมะเร็ง การเน้นความสำคัญของประกันมะเร็งและโรคร้ายแรงถือเป็นปัจจัยสำคัญ เมื่อคำนวณยอดรวม จะพบว่ามีค่าใช้จ่ายอย่างมาก ดังนั้น การวางแผนและเก็บเงินไว้สำรองมีความสำคัญ เพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายและเพิ่มโอกาสในการรักษาในกรณีฉุกเฉินที่ไม่คาดฝันไว้ล่วงหน้า

    จบสรุปบทความ
     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024