แคร์สุขภาพ

รู้จัก! ฟันคุด คืออะไร? ปวดฟันคุดต้องผ่าหรือไม่? ค่ารักษาฟันคุดเท่าไหร่?

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: February 3,2023
  
Last edited: April 24, 2024
ฟันคุด อาการ ปวดฟันคุด

เชื่อว่าใครหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ฟันคุด” หรือบางคนก็อาจเคยมีประสบการณ์เป็นฟันคุดมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่เคยมีอาการหรือไม่เคยรู้จักฟันคุดมาก่อน ไม่รู้ว่าฟันคุด คืออะไร? อาการเป็นแบบไหน? อันตรายหรือไม่? ต้องรักษาอย่างไร? ประกันสุขภาพคุ้มครองหรือเปล่า? ไม่ต้องห่วง!น้องแคร์มีคำตอบให้กับทุกข้อสงสัย เพื่อให้เข้าใจกับอาการฟันคุดมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย!

ฟันคุด คืออะไร? จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นฟันคุด?

ฟันคุด (Wisdom Tooth หรือ Wisdom Teeth) คือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาในช่องปากของเราได้ตามแนวตรงหรือตามแนวฟันปกติแบบฟันซี่อื่น ๆ เนื่องจากมีเนื้อที่ในการขึ้นของฟันไม่พอหรือมีสิ่งกีดขวางในช่องปากที่ทำให้การขึ้นใหม่ของฟันไม่ปกติ อย่างเช่น มีเนื้อเยื่อปิดขวางอยู่ ฟันบางซี่ขวางอยู่ มีกระดูกตรงบริเวณที่ฟันกำลังจะขึ้น หรือทิศทางของฟันผิดปกติ เป็นต้น ทำให้ฟันโผล่ขึ้นมาจากเหงือกได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เหล่านี้เป็นผลทำให้เกิดฟันคุดได้ทั้งสิ้น พูดง่าย ๆ ก็คือ ฟันซี่ใดก็ตามหากไม่สามารถโผล่ขึ้นมาจากเหงือกได้ตามปกติ อาจจะมีกระดูกหรือเหงือกมาขวางกั้นมักจะเป็นฟันคุดทั้งสิ้น หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณเหงือกได้

ฟันคุดส่วนใหญ่จะเกิดจากความไม่สัมพันธ์ระหว่างขนาดของฟันและขนาดขากรรไกร และมักจะพบการเกิดในฟันกรามซี่สุดท้ายและฟันเขี้ยว ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง มีทั้งหมด 4 ซี่ ทั้งด้านบนและด้านล่าง 2 ฝั่ง

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    สาเหตุของการเกิดฟันคุด

    จริง ๆ แล้วสาเหตุของการเกิดฟันคุดนั้นยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัดนัก แต่อย่างที่กล่าวว่าฟันคุดส่วนใหญ่จะเกิดจากความไม่สัมพันธ์ระหว่างขนาดของฟันและขนาดขากรรไกร เช่น ขากรรไกรเล็กแต่ขนาดฟันใหญ่ ทำให้ฟันไม่สามารถงอกขึ้นตามธรรมชาติของแนวขากรรไกรได้ จึงทำให้ฟันโผล่พ้นเหงือกได้เพียงเล็กน้อยหรือยังจมอยู่ใต้เหงือกอยู่ นี่จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นสาเหตุของการเกิดฟันคุด 

    โดยมากแล้วฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่องปากประมาณช่วงอายุเฉลี่ย 18 – 25 ปี แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องมี เพราะถ้าหากขนาดของขากรรไกรใหญ่พอที่จะให้ฟันขึ้นได้ ก็จะไม่เป็นฟันคุด และส่วนมากอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับการเกิดฟันคุด ก็คืออาการปวด บวม ตึง บริเวณเหงือกช่วงฟันกราม และหากอยู่ในระยะติดเชื้อ ก็จะทำให้มีอาการเริ่มปวดเหงือก ปวดฟันเพิ่มมากขึ้นจากเดิม

    ฟันคุดอยู่ตรงไหน? ลักษณะเป็นอย่างไร?

    เบื้องต้นการเกิดฟันคุดจะสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะและมุมของฟันคุดที่เกิดกับฟันซี่ข้างเคียง โดยสามารถรูปแบบของการเกิดฟันคุดได้ 4 รูปแบบ คือ

    • ทำมุมเอียงและดันฟันกรามซี่ข้างเคียงด้านหน้า : จะเป็นลักษณะฟันคุดที่คนส่วนมากเป็นกัน พบได้บ่อยสุด ฟันคุดลักษณะนี้มักจะโผล่ขึ้นมาไม่เต็มซี่
    • ทำมุมเอียงไปด้านหลังและไม่มีฟันข้างเคียง : ฟันคุดในลักษณะนี้มักจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก อยู่ในตำแหน่งและมุมที่ไม่เอียงมาก จึงมีโอกาสโผล่ขึ้นมาได้โดยไม่ทำให้บริเวณเหงือกเกิดการอักเสบ เป็นลักษณะฟันคุดที่อาจจะไม่ต้องผ่าหรือถอน 
    • ตั้งตรงไม่เอียงไปดันฟันซี่ข้างเคียง : เป็นลักษณะฟันคุดที่ดี มีโอกาสโผล่ขึ้นตามปกติไม่ต้องผ่าหรือถอน

    • เรียงตัวในแนวนอนใต้เหงือก : เป็นฟันคุดที่เอาออกยากสุด แพทย์จะต้องทำการผ่าเหงือกเพื่อนำฟันคุดออกมา และใช้เวลาในการรักษาฟื้นตัวนานที่สุด
    ปวดฟันคุด เหงือกบวม ฟันคุด

    อาการฟันคุด แบบไหนที่ควรรีบไปหาหมอ?

    อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าการเกิดฟันคุดนั้น มักจะเกิดมาจากการที่ฟันงอกใหม่ไม่สามารถงอกขึ้นมาพ้นเหงือกได้ตามปกติ มีเพียงบางส่วนที่สามารถโผล่ออกมาได้ จะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเลย หากตัวฟันไม่โผล่ขึ้นมาเหนือเหงือก ต้องใช้การเอ็กซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ ดังนั้นการเกิดฟันคุดจึงทำให้เกิดอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ ซึ่งส่วนมากมักจะเกิดอาการดังต่อไปนี้  

    • อาการปวด ตึง อักเสบ บริเวณขากรรไกร บางครั้งอาจมีอาการเลือดออกบริเวณเหงือกร่วมด้วย
    • เหงือกบวม บางรายหนักถึงขั้นบวมไปจนถึงแก้มหรือกราม จากการอักเสบหรือติดเชื้อของฟันหรือเหงือกบริเวณนั้น ยิ่งมีการติดเชื้อมากเท่าไหร่ อาการปวด บวมจะเพิ่มมากขึ้น
    • ฟันผุ มีกลิ่นปาก เพราะมีอาการปวดเจ็บทำให้การแปรงฟันทำได้ยากมากกว่าปกติหรือแปรงไม่สะอาดมากพอตรงบริเวณที่มีอาการเจ็บ
    • อ้าปากลำบาก มีอาการเจ็บเวลาอ้าปาก

    อาการฟันคุดที่ต้องรีบผ่าฟันคุดให้เร็วที่สุด!

    อาการฟันคุดที่ต้องผ่าออกให้เร็วที่สุด เพื่อลดปัญหาอาการปวดและอาการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ  มีดังนี้

    1. มีอาการปวดรุนแรง : เป็นอาการที่กำลังบ่งบอกว่าฟันคุด หรือเหงือกบริเวณนั้นเกิดการติดเชื้อ ยิ่งมีอาการปวดรุนแรงมากก็แปลว่ามีการติดเชื้อรุนแรงมาก ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจรับประทานแค่ยาบรรเทาอาการปวดเพียงอย่างเดียว ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาอาการโดยอาจรักษาด้วยการถอน หรือผ่าฟันคุดออกร่วมกับรักษาอาการติดเชื้อและให้ยาบรรเทาอาการปวด
    2. มีอาการเหงือกบวม : เป็นผลข้างเคียงของอาการฟันคุดที่ทำให้เหงือกบริเวณบวม อักเสบ เนื่องจากบริเวณนั้น ๆ เป็นฟันที่ทำความสะอาดยากและมักมีเศษอาหารไปตกค้างอยู่ใต้เหงือกที่คลุมฟันซี่นั้น ๆ จนเกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียนำไปสู่การติดเชื้อในช่องปากและทำให้เหงือกอักเสบ ก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่ไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะบางรายอาจมีอาการเหงือกอักเสบเรื้อรังรุนแรง มีหนอง กลืนน้ำลายลำบาก มีอาการไข้และเจ็บคอร่วมด้วย ที่สำคัญอาจหนักถึงขั้นไม่สามารถอ้าปากได้หรืออ้าปากลำบาก
    3. อาการฟันคุดที่เกิดถุงน้ำ : อาการฟันคุดสามารถทำให้เกิดถุงน้ำในกระดูกขากรรไกรได้ โดยถุงน้ำจะค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นจนเบียดบริเวณกระดูกขากรรไกร ทำให้ฟันเคลื่อนที่ผิดไปจากตำแหน่งเดิม เกิดการละลายกระดูกรอบฟัน ที่สำคัญถุงน้ำในกระดูกขากรรไกรอาจเปลี่ยนไปเป็นเนื้องอกมะเร็งกรามช้างได้ซึ่งอันตรายมาก ๆ ต้องรีบเข้าพบแพทย์เพื่อผ่าฟัดคุดออกก่อนอาการจะยิ่งรุนแรงขึ้น 
    4. ฟันคุดขึ้นจนซ้อนเกกับซี่อื่น : หากปล่อยให้ฟันคุดงอกขึ้นมาเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดแรงดันไปยังฟันซี่ข้างเคียง ซึ่งอาจจะขึ้นมาชนกับฟันข้างเคียงจนทำให้ฟันซ้อนเก หรือทำให้เกิดแรงกดทับเส้นประสาทที่อยู่ในขากรรไกรล่างจนเกิดอาการเจ็บปวดมาก อาการแบบนี้จึงควรจะต้องรีบผ่าออกทันที เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายกับฟันซี่ข้างเคียง
    5. มีอาการฟันคุดผุ ลามไปซี่อื่น : อย่างที่ทราบกันแล้วว่าฟันคุดจะเป็นฟันที่ทำความสะอาดค่อนข้างยากเพราะโผล่พ้นเหงือกออกมาไม่หมดและอยู่ลึก ยากต่อการเข้าถึง จึงทำให้มีโอกาสที่เศษอาหารจะเข้าไปสะสม จนเกิดเป็นคราบหินปูนและทำให้ฟุนผุในที่สุด ปัญหากลิ่นปากไม่พึงประสงค์ก็จะตามมาด้วย หากเกิดอาการฟันคุดเช่นนี้ควรรีบไปผ่าออกทันที เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาช่องปากตามมาภายหลัง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดฟันข้างเคียงผุด้วย
    ฟันคุด ปวดฟันคุด

    ถ้าปวดฟันคุด เหงือกบวม มาก ๆ ทำอย่างไรได้บ้าง?

    เมื่อคุณมีอาการปวดฟันคุด การหาทางออกด้วยการกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเพียงอย่างเดียว อาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องนัก นั่นเป็นเพราะไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุจริง ๆ ยิ่งหากมีอาการปวดหนักมากจนมีอาการเหงือกบวมจากการติดเชื้อร่วมด้วย การกินยาแก้ปวดก็จะไม่สามารถบรรเทาอาการได้เช่นเดิม

    วิธีการที่ดีที่สุดคือการเข้าพบทันตแพทย์เพื่อวินิจฉัยผ่าฟันคุดหรือถอนฟันคุดเจ้าปัญหาซี่นั้น ๆ ออก รวมถึงรับยาฆ่าเชื้อเพื่อฟ้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะการปวดมากจนเหงือกบวมนั้นถือเป็นการส่งสัญญาณว่าในช่องปากของคุณกำลังมีการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว การไปพบแพทย์เพื่อกำจัดปัญหาจึงเป็นสิ่งที่ต้องรีบทำโดยเร็ว หากยังไม่สามารถเข้าพบแพทย์ได้โดยเร็ว อาจจะต้องมีการบรรเทาอาการเบื้องต้นไปก่อน อย่างเช่น การอมเกลืออุ่นๆ ทุก 2-3 ชั่วโมงเพื่อเป็นการบรรเทาอาการและฆ่าเชื้อแบคทีเรียร่วมกับการประคบน้ำแข็งบริเวณแก้มหรือกินยาแก้ปวดในกรณีที่รู้สึกมีอาการปวด ช่วยบรรเทาอาการปวดบวมได้ และเมื่อมีโอกาสก็ให้รีบเข้าพบทันตแพทย์เพื่อรักษาให้ถูกต้องต่อไป

    เราควรผ่าฟันคุดหรือไม่?

    เมื่อเกิดอาการฟันคุดกับคุณแล้ว หากลักษณะฟันคุดของคุณไม่ได้ซับซ้อนจนต้องทำการผ่าหรือถอน คุณหมอก็จะไม่ทำการผ่าหรือถอนให้คุณ เหตุผลหลัก ๆ ที่คุณหมอจะทำการผ่าฟันคุดให้กับคุณ ก็คือ ฟันคุดที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงรุนแรงอย่างอาการปวด บวม เนื่องจากฟันไม่สามารถโผล่ขึ้นมาจากเหงือกได้เต็มที่ทำความสะอาดได้ยาก มีความเสี่ยงกับการเกิดการอักเสบในช่องปาก เหงือกบวม และติดเชื้อภายหลัง เช่นนี้คุณหมอก็จะลงความเห็นว่าควรผ่าออกเพื่อรักษาอาการ

    ฟันคุดนั้นเป็นฟันที่มีเนื้อเยื่อและหรือกระดูกปิดขวางอยู่ คุณหมอจึงจะต้องมีการผ่าตัดบริเวณเหงือก ตัดกระดูก เพื่อเอาออก โดยไม่ส่งผลหรือเป็นอันตรายกับฟันซี่ข้างเคียง และอาจใช้เวลานานกว่าการถอนฟันตามปกติ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและตำแหน่งของฟันคุดด้วยว่ามีความยาก – ง่าย ในการผ่าเพียงใด ฟันคุดที่ยังสร้างรากฟันไม่สมบูรณ์ก็จะผ่าออกง่ายที่สุด ดังนั้นช่วงอายุประมาณ 15 – 20 ปี จึงเป็นช่วงที่เหมาะสมในการเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจประเมินวางแผนการรักษา แม้ฟันอาจจะยังไม่ขึ้นมาในช่องปาก ในช่วงอายุดังกล่าวก็ตาม

    ผ่าฟันคุด กี่วันหาย? ทำไมต้องผ่าฟันคุด?

    โดยทั่วไปการถอนหรือผ่าฟันคุด จะใช้เวลาในการรักษาตัวจนหายดีประมาณ 1 สัปดาห์ โดยหลังจากที่คุณเข้ารับการผ่าออกเรียบร้อยแล้ว อาจมีอาการเหงือกบวมร่วมด้วยประมาณ 2 – 3 วันแรก ระหว่างนี้คุณอาจมีอาการปวด รับประทานอาหารลำบากกว่าปกติ ต้องรับประทานแต่อาการอ่อน ๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้นและแผลผ่าฟันคุดก็จะค่อย ๆ เริ่มหาย อาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ จะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ หากการผ่าตัดของคุณมีการเย็บแผลที่ไม่ใช่ไหมละลาย คุณหมอก็จะมีการนัดเข้าพับเพื่อตัดไหมประมาณ 7 – 10 วัน หลังจากผ่าตัด 

    หากคุณเป็นฟันคุดและไม่ยอมไปพบแพทย์เพื่อผ่าฟันคุด ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับช่องปากของคุณ อย่างแรกเลยก็คือ อาการปวด บวม บริเวณที่เกิดฟันคุด ซึ่งหากมีการติดเชื้อก็จะยิ่งทำให้ปวดมากขึ้น แถมมีกลิ่นปากไม่พึงประสงค์และทำให้ฟันผุ ฟันเกฟันซ้อนได้ ที่สำคัญหากรุนแรงมากจนถึงขั้นเกิดเป็นถุงน้ำก็จะยิ่งอันตรายมากเพราะสามารถพัฒนาเป็นโรคร้ายอย่างมะเร็งกรามช้างได้ด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณจึงจำเป็นจะต้องผ่าเอาออก

    ผ่าฟันคุด ปวดฟันคุด

    การดูแลหลังผ่าฟันคุดทำอย่างไร?

    ข้อปฏิบัติหลังผ่าฟันคุดที่ทันตแพทย์แนะนำให้คุณปฏิบัติตามหลังจากการผ่าฟันคุดออกเรียบร้อยแล้ว ได้แก่

    • กัดผ้าก๊อตหลังผ่าเสร็จไว้ก่อนประมาณ 2 ชั่วโมง 
    • หากเลือดบริเวณแผลผ่าตัดไหลไม่หยุด ให้ใช้การประคบนอกปากบริเวณแก้มด้วยการใส่น้ำแข็งในถึงพลาสติกและห่อด้วยผ้า ห้ามใช้วิธีการห้ามเลือดด้วยการอมน้ำแข็งโดยตรงเด็ดขาด 
    • วันรุ่งขึ้นสามารถแปรงฟันได้ตามปกติ แต่ให้ระมัดระวังการแปรงฟันไม่ให้แปรงฟันแรง ๆ บริเวณแผลผ่าตัด
    • รับประทานอาหารอ่อน ๆ หลังการผ่าตัดจนกว่าแผลจะหายดี
    • หากมีอาการปวดร่วมด้วย ให้รับประทานยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
    • หากมีอาการผิดปกติให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์ที่คุณผ่าตัด
    • หากมีการเย็บแผลผ่าตัด ให้กลับมาตัดไหมภายใน 7 – 10 วัน หลังผ่าตัด

    อัพเดตราคาผ่าฟันคุด! ประกันสุขภาพคุ้มครองหรือไม่?

    หากพูดถึงเรื่องราคาการผ่าฟันคุดนั้น ต้องบอกว่าจะมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ละสถานพยาบาล หากเป็นสถานพยาบาลที่เป็นของรัฐบาล ราคาก็จะอยู่ที่ 1,500 บาท ไปจนถึง 4,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลักษณะฟันคุด และหากเป็นสถานพยาบาลของเอกชนไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือคลีนิก ราคาเริ่มต้นก็อยู่ที่ราว ๆ 2,000 บาท ไปจนถึง 7,500 บาท แล้วแต่ความยากง่ายของลักษณะฟันคุดเช่นเดียวกัน 

    เมื่อดูราคาคร่าว ๆ ที่น้องแคร์นำมาฝากกันแล้วก็ต้องบอกว่ามีราคาค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ทีนี้หากคุณมีสวัสดิการประกันสังคมคุณจะสามารถใช้สิทธิ์ทันตกรรมได้ปีละ 900 บาท เป็นตัวช่วยในการลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าหากคุณมีสวัสดิการประกันกลุ่มด้วย ก็จะยิ่งดีมาก ๆ เพราะคุณจะสามารถนำมาใช้สิทธิ์ร่วมกับประกันสังคมได้ตามแผนที่บริษัทหรือองค์กรคุณสนับสนุน และถ้าหากคุณวางแผนมาเป็นอย่างดี ซื้อประสุขภาพที่คุ้มครองทันตกรรมเอาไว้ด้วย คุณก็จะสามารถนำมาใช้ร่วมกันกับทั้งประกันสังคม ประกันกลุ่มและประกันสุขภาพ ที่จะทำให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษามากยิ่งขึ้น ไม่ต้องเสียค่าส่วนต่างค่าใช้จ่ายที่เกินมา เพราะมีประกันสุขภาพที่คุ้มครองการผ่าฟันคุดในการเบิกเคลมนั่นเอง จบปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษาฟันบานปลาย คุมงบในการผ่าฟันคุดได้ง่าย ๆ จากประกันสุขภาพและสวัสดิการอื่น ๆ 

    และถ้าหากคุณคือคนหนึ่งที่มีทั้งสวัสดิการประกันสังคมและประกันกลุ่มแล้ว แต่ยังขาดประกันสุขภาพอยู่ ต้องการจะหาซื้อประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมสักหนึ่งฉบับ คุณก็สามารถเข้ามาเลือกซื้อประกันสุขภาพจากหลากหลายบริษัทประกันชั้นนำ ได้ที่แรบบิท แคร์ เราคัดเลือกบริษัทประกันชั้นนำและแผนประกันสุขภาพคุณภาพมาเพื่อคุณโดยเฉพาะ นอกจากนี้เรายังมีบริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพ ในกรณีที่คุณยังไม่แน่ใจว่าคุณจะต้องเลือกแผนประกันสุขภาพแผนใดดี บริการนี้จากเราจะช่วยคัดเลือกแผนประกันสุขภาพตามความต้องการของคุณและเหมาะสมกับคุณมากที่สุดมาให้ทันที โดยที่คุณไม่ต้องเสียเวลาไปหาแผนประกันสุขภาพมาเปรียบเทียบเองให้ปวดหัว 

    เรื่องสุขภาพไม่ว่าจะเป็นสุขภาพร่างกายหรือสุขภาพฟัน เป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้าม หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นก็ควรรีบไปหาหมอทันที รีบเข้ารับการรักษาก่อนที่จะเป็นอะไรรุนแรงมากขึ้น และการที่คุณมีประกันสุขภาพส่วนตัวเอาไว้ให้อุ่นใจด้วย ก็จะยิ่งเป็นตัวช่วยที่ดีในการเข้าถึงการรักษาและเซฟค่ารักษาให้กับคุณ เตรียมตัวให้พร้อมในขณะที่สุขภาพร่างกายของคุณยังแข็งแรง น้องแคร์คอนเฟิร์มว่ามีแต่คุ้ม!

    รักษาฟันคุด ผ่าฟันคุด

     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024