แคร์การเงิน

บัญชีคู่ คืออะไร เหมาะกับใคร ? สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเปิดบัญชี !

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published December 19, 2023

แรบบิท แคร์ ชวนทุกคนให้รู้จักการเปิดบัญชีคู่ วิธีการเก็บเงินร่วมกับคนรักหรือคนใกล้ชิดที่มีเป้าหมายร่วมกันแบบง่าย ๆ วันนี้ลองมาทำความเข้าใจกันดูว่าบัญชีคู่นั้นคืออะไร ? การเปิดบัญชีเช่นนี้เหมาะกับใคร ? และสิ่งต่าง ๆ ที่ควรรู้เอาไว้ก่อนที่จะเปิดบัญชี

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    บัญชีคู่ คืออะไร ?

    บัญชีคู่ คือ บัญชีเงินฝากไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของบัญชีออมทรัพย์ บัญชีแบบฝากประจำ หรือกองทุน ซึ่งทั้งสองฝ่ายที่เปิดบัญชีร่วมกันนั้น อาจมีเป้าหมายในการเก็บออมเงินร่วมกัน เป็นเจ้าของร่วมกัน เช่น การเก็บเงินร่วมกับคนรักเพื่อการวางแผนอนาคต การเก็บเงินร่วมกับเพื่อนเพื่อวางแผนการไปเที่ยว การเก็บเงินร่วมกับพี่น้องเพื่อเตรียมลงทุนทำธุรกิจร่วมกัน ซึ่งโดยปกติแล้วคนจะนิยมเปิดบัญชีคู่ในรูปแบบบัญชีออมทรัพย์เพียงเท่านั้น ซึ่งบัญชีดังกล่าวก็จะมีชื่อของทั้งสองฝ่ายเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกันและมีสิทธิ์ใรการจัดสรรเงินในบัญชีร่วมกันอย่างเท่าเทียม

    บัญชีคู่ มีข้อดีอย่างไร ?

    เมื่อพูดถึงบัญชีคู่แล้วหลายคนอาจจะยังนึกภาพไม่ออกว่าการเปิดบัญชีเช่นนี้นั้นมีข้อดีอย่างไร ต่างอะไรกับการเปิดบัญชีเงินฝากของตนเองโดยทั่วไป ซึ่งข้อดีของการเปิดบัญชีคู่ก็จะมีดังนี้ 

    1. ได้เป็นเจ้าของเงินฝากร่วมกัน : การเปิดบัญชีแบบนี้ช่วยให้คู่รัก หรือผู้ที่เป็นเจ้าของบัญชีร่วมกันสามารถเป็นเจ้าของเงินฝากร่วมกันได้ ทำให้ไม่ต้องมีการกำหนดให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเงินฝากแต่เพียงผู้เดียว

    2. ช่วยสร้างวินัยในการออม : สามารถใช้เพื่อสร้างวินัยในการออมเงิน โดยการตกลงร่วมกันเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะออมในแต่ละเดือน เพื่อเก็บไว้เพื่อใช้ในค่าใช้จ่ายส่วนรวมหรือวางแผนเพื่อประสบกับเป้าหมายในอนาคตได้เป็นอย่างดี

    3. ช่วยให้บริหารจัดการค่าใช้จ่ายส่วนรวมได้ง่ายขึ้น : การมีบัญชี คู่ช่วยลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเทอมลูก หรือค่าซื้อของเข้าบ้าน หรือแม้กระทั่งค่าใช้จ่ายในการออกทริปไปเที่ยว เนื่องจากทั้งสองฝ่ายสามารถติดตามและวางแผนการใช้จ่ายได้ในบัญชีเดียวกัน

    4. ลดโอกาสการลืมชำระบิล : การใช้บัญชีร่วมกันช่วยลดโอกาสที่จะลืมชำระบิลที่สำคัญ เนื่องจากทั้งคู่นั้นสามารถช่วยกันตรวจสอบและร่วมกันจัดการชำระบิลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อยู่ตลอดเวลา

    5. ช่วยในการการวางแผนการเงินร่วมกัน : เป็นเครื่องมือที่ดีในการวางแผนการเงินร่วมกัน โดยเจ้าของบัญชีทั้งสองฝ่ายสามารถกำหนดเป้าหมายการออมหรือการลงทุนร่วมกันเพื่อมุ่งหวังผลลัพธ์ที่ดีในอนาคต

    บัญชีคู่ มีกี่ประเภท ?

    รู้หรือไม่ว่านอกจากจะสามารถเปิดบัญชีร่วมกับผู้ที่เรามีเป้าหมายในการบริหารจัดการการเงินด้วยแล้วนั้น ธนาคารไทยธนชาติให้ข้อมูลประเภทบัญชีคู่ ว่ายังมีการแบ่งประเภทในการเปิดได้อีก 2 ประเภทด้วยกัน คือ

    • บัญชีคู่ กรณี “และ” : คือ บัญชีที่ถูกเปิดในลักษณะที่เจ้าของบัญชีคู่ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการรับรู้และมีการเซ็นรับรองในทุกกิจกรรมทางการเงินร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชี การปิดบัญชี และการถอนเงิน สิ่งเดียวที่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียวโดยไม่ต้องได้รับการยินยอมและเซ็นจากอีกฝ่ายก็คือการฝากเงินเพิ่มเข้าไปในบัญชีนั่นเอง
    • บัญชีคู่กรณี “หรือ” : คือ บัญชีที่สามารถทำธุรกรรมหรือกิจกรรมทางการเงินกับบัญชีเพียงคนใดคนหนึ่งได้ เช่น การถอนเงิน การฝากเงิน มีเพียงแค่ตอนเปิดบัญชีและปิดบัญชีเท่านั้นที่จะต้องแสดงความยินยอมและเซ็นร่วมกันทั้งสองฝ่าย

    การเลือกเปิดบัญชีทั้ง 2 ประเภทนี้นั้นล้วนมีข้อดีข้อเสีย และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจเลือกว่าจะเปิดบัญชีคู่แบบไหนก็ควรเลือกพิจารณากันให้ดี

    สามารถเปิดบัญชีคู่ ร่วมกับใครได้บ้าง ?

    สำหรับผู้ที่กำลังสงสัยว่าหากต้องการจะเปิดบัญชีคู่นั้นสามารถเปิดบัญชีร่วมกับใครได้บ้าง จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเปิดบัญชีร่วมกับผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดหรือมีพันธะผูกพันกันตามกฎหมาย เช่น พ่อแม่ พี่น้อง แม่ลูก สามีภรรยาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย

    คำตอบก็คือการเปิดบัญชีคู่นั้นไม่ว่ากับใครก็สามารถเปิดได้ ขอเพียงแค่ผู้เปิดบัญชีร่วมกันมีความสมัครใจ ไม่ว่าจะมีสายเลือดกันหรือไม่ จะเป็นแฟนกัน หรือเป็นเพื่อนกันก็สามารถเปิดบัญชีร่วมกันได้ ไม่ต้องกังวล

    การเปิดบัญชีคู่ เหมาะกับใคร ?

    แน่นอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีเจ้าของที่เหมาะสม บัญชีคู่ก็เช่นกัน มาดูกันสิว่าการเปิดบัญชีเช้นนี้นั้นเหมาะสมกับใคร ?

    • เหมาะกับคู่รักที่ต้องการวางแผนการเงินในอนาคตร่วมกัน
    • เหมาะกับคู่สามีภรรยาที่ต้องจัดการค่าใช้จ่ายส่วนกลางภายในบ้าน
    • เหมาะกับรูมเมตที่ต้องแชร์ค่าใช้จ่ายภายในห้องร่วมกัน
    • เหมาะกับพี่น้องที่ต้องการเก็บเงินไปเที่ยวร่วมกัน
    • เหมาะกับเพื่อนที่ต้องการเก็บเงินลงทุนทำธุรกิจร่วมกัน
    • เหมาะกับพ่อแม่ที่ต้องการออมเงินไว้ให้ลูกในอนาคต

    ความจริงแล้วการเปิดบัญชีคู่นั้นเหมาะสำหรับแทบจะทุกคน ขอเพียงแค่มีเป้าหมายในการจัดสรรปันส่วนเงินร่วมกันกับอีกฝ่ายก็ถือว่าเหมาะกับการเปิดบัญชีคู่แน่นอน

    วิธีการถอนเงินจากบัญชีคู่

    ความจริงแล้ววิธีการถอนเงินจากบัญชีคู่นั้นก็เป็นวิธีเดียวกันกับการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากทั่วไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของบัญชีคู่ที่เลือกเปิดว่ามีเงื่อนไขแบบใด หากเป็นแบบ “หรือ” ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็สามารถเข้าไปถอนเงินตามปกติได้ แต่หากเป็นแบบ “และ” ก็จะต้องจูงมือพากันไปทำเรื่องถอนเงินพร้อมเซ็นกันทั้ง 2 คน

    บัญชีคู่ถอนคนเดียวได้ไหม ?

    อย่างที่ได้กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้านี้แล้วว่า หากเป็นการเปิดบัญชีคู่แบบ “หรือ” จะสามารถถอนเงินออกจากบัญชีด้วยตัวคนเดียวได้ แต่ในกรณีที่เปิดบัญชีคู่แบบ “และ” เอาไว้ จะไม่สามารถถอนเงินด้วยตัวคนเดียวได้ทุกกรณี

    ข้อควรระวังในการเปิดบัญชีคู่

    นอกจากจะมีข้อดีแล้ว แน่นอนว่าการเลือกเปิดบัญชีคู่นั้นก็มีข้อควรระวังด้วยเช่นกัน ซึ่งหลัก ๆ แล้วก็จะอยู่ที่ปัญหาด้านความไว้ใจ เพราะไม่ว่าคนที่คุณร่วมเปิดบัญชีคู่นั้นจะเป็นคนที่คุณสนิทชิดเชื้อหรือมีความเชื่อใจให้แก่กันมากแค่ไหน แต่ต้องไม่ลืมว่าสำหรับเรื่องเงินนั้นไม่เข้าใครออกใคร ดังนั้นก่อนตัดสินใจว่าจะเปิดบัญชีแบบ “และ” หรือจะเลือกเปิดบัญชีแบบ “หรือ” ก็ต้องลองคิดทบทวนรวมถึงคำนวณความเสี่ยงที่รับไหวให้ดี

    เอกสารที่ต้องใช้ในการเปิดบัญชีคู่

    • กรณีที่เจ้าของบัญชีทั้ง 2 ฝ่ายถือสัญชาติไทย : ใช้เพียงบัตรประชาชนของทั้ง 2 ฝ่ายเพียงเท่านั้น
    • กรณีเป็นชาวต่างชาติ : จะต้องมีการจัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติม คือ

    1. หนังสือเดินทาง (Passport) หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีที่ใช้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ต้องแนบสำเนาทะเบียนบ้านเพิ่มเติม)

    2. กรณีชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ให้ใช้เอกสาร Work Permit หรือ VISA ที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไป และหนังสือรับรองการทำงานจากนายจ้างเพิ่มเติม

    3. กรณีเป็นนักศึกษาใช้หนังสือรับรองจากสถานศึกษา และบัตรนักศึกษา/นักเรียน

    4. กรณีถือสัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย (เขตชายแดน) และทำงานรับจ้างในประเทศไทย ต้องใช้ หนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือเอกสารหลักฐานแสดงตนที่ออกและรับรองโดยหน่วยงานราชการ เช่น แบบ ทร. 38/1 ที่ยังไม่หมดอายุ 

    สรุป

    และทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการเปิดบัญชีคู่ที่คนซึ่งกำลังมีความคิดที่จะออมเงินหรือจัดสรรการเงินร่วมกับใครสักคนหนึ่งควรรู้เอาไว้ โดยเฉพาะคู่รักที่กำลังวางแผนแต่งงานหรือเพิ่งแต่งงานใหม่ ๆ ต้องการจัดสรรการเงินภายในบ้านร่วมกันและมีแพลนที่จะวางแผนการเงินอย่างยั่งยืนในอนาคตยิ่งพลาดไม่ได้ อีกทั้งนอกจากการเปิดบัญชีคู่ร่วมกันแล้ว แรบบิท แคร์ ยังเชียร์ให้ทั้งคู่ซื้อประกันออมทรัพย์กันไว้ เป็นอีกทางในการออมเงินไว้ใช้ แถมยังได้หลักประกันคุ้มครองชีวิตกันแบบครอบคลุม


    บทความแคร์การเงิน

    แคร์การเงิน

    ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

    หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
    Thirakan T
    11/04/2024

    แคร์การเงิน

    เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

    เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
    Thirakan T
    11/04/2024

    แคร์การเงิน

    ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

    ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
    Thirakan T
    11/04/2024