เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Aug 03, 2023
แก้ไขโดยNok Srihongวันที่แก้ไข: Aug 16, 2024
Work Permit สำคัญแค่ไหนกับชาวต่างชาติที่ต้องการสมัครบัตรเครดิตในประเทศไทย
ในปัจจุบัน มีหลายธุรกิจหลายโรงงานที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าว เช่น คนพม่า ลาว เพราะค่าแรงที่ถูกลง อย่างไรก็ตามคุณต้องศึกษากฎหมายไทยให้ดี เพราะหากคุณมีการจ้างแรงงานต่างชาติแต่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ถือว่าผิดกฎหมายไทย มีความผิดทั้งนายจ้างและลูกจ้าง มีโทษปรับ 10,000 - 100,000 บาท ต่อแรงงานต่างด้าว 1 คน หากทำความผิดซ้ำอาจมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Work Permit คืออะไร?
Work permit คือ เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล เพื่ออนุญาตให้บุคคลที่ไม่ได้เป็นพลเมืองของประเทศนั้น ๆ อย่างชาวต่างชาติในไทยทำงานในประเทศนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งเอกสารนี้จะเป็นหลักฐานว่าบุคคลนั้นได้รับอนุญาตให้ทำงานอย่างถูกต้องและเป็นกฎหมาย โดยส่วนใหญ่แล้ว การขอ work permit จะต้องอาศัยการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ในรัฐบาลของประเทศนั้น และมีเงื่อนไขและกฎเกณฑ์การพิจารณาที่ต่างกันไปตามประเภทของวิชาชีพและสถานภาพของบุคคลดังกล่าวในประเทศนั้น ๆ
Work Permit มีกี่ประเภท?
ใบอนุญาตทำงานที่ไทย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ตท.๑๑, ตท.๑๕, และ ตท.๑๑ ซึ่งแต่ละประเภทมีเงื่อนไข ลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้:
1. ใบอนุญาตทำงาน ตท.๑๑
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า WP. 11 มีลักษณะเป็นเล่มสีน้ำเงิน มีความกว้าง 12.7 เซนติเมตร และมีความยาว 8.89 เซนติเมตร โดยที่ ตท.๑๑ จะใช้สำหรับนักลงทุน แรงงานฝีมือ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน แรงงานนำเข้าตาม MOU หรือแรงงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ โดยลูกจ้างต้องใช้บัตรนี้ควบคู่กับบัตรแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ2. ใบอนุญาตทำงาน ตท.๑๕
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า WP. 15 มีลักษณะเป็นแผ่นสีเหลือง มีความกว้าง 14 เซนติเมตรและ มีความยาว 21 เซนติเมตร โดยที่ ตท.๑๕ จะใช้สำหรับแรงงานไป-กลับ หรือตามฤดูกาลตามมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 25513. ใบอนุญาตทำงาน ตท.๑๑
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า WP. 11 หลายคนอาจจะสับสนเพราะชื่อเหมือนกับแบบแรก แต่เล่มจะมีลักษณะเป็นสีส้ม มีความกว้าง 12.7 เซนติเใมตร และ มีความยาว 8.89 เซนติเมตร โดยจะใช้สำหรับแรงงานในกิจการประมงทางทะเลทุกกลุ่มการขอ Work Permit ในประเทศไทย ทำได้อย่างไรบ้าง?
สำหรับชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย จำเป็นต้องขอ Work Permit แต่การยื่นขอในอนุญาตทำงานในประเทศไทยมีอยู่ทั้งหมด 3 กรณี ดังต่อไปนี้
- กรณีที่ไม่เคยมี Work Permit เลย สามารถยื่นขอได้ที่กรมการจัดหางาน
- กรณีที่มีใบอนุญาตแต่หมดอายุไปแล้ว สามารถทำใหม่ได้ที่กรมการจัดหางานตามข้อที่ 1
- กรณีมีใบอนุญาตทำงานอยู่แล้ว แต่ใกล้หมดอายุ คุณสามารถดำเนินการต่ออายุ ก่อนหมดอายุ 30 วัน
บุคคลใดบ้างที่ไม่ต้องขอ Work Permit Thailand?
สำหรับบุคคลที่ได้รับการยกเว้นในการขอใบอนุญาตทำงาน Work Permit มีด้วยกัน 8 ประเภท ดังต่อไปนี้
- สมาชิกคณะทูต
- สมาชิกของคณะกงสุล
- ตัวแทนของประเทศสมาชิกและเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ
- คนรับใช้ส่วนตัวที่มาจากประเทศอื่น
- ผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติภารกิจตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
- องค์การระหว่างประเทศ
- ผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจเพื่อประโยชน์ในการศึกษาศิลปวัฒนธรรมหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่พระราชกฤษฎีกากำหนดไว้
- บุคคลที่มีหรือไม่มีเงื่อนไขตามที่คณะรัฐมนตรีจะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่
การขอ Work Permit ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
ก่อนที่จะขอใบอนุญาตทำงานที่กรมจัดหางาน น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณศึกษาให้ละเอียดว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียเวลา เพราะหากคุณเอกสารขาด ตกหล่น หรือไม่ครบ ก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับ Work Permit โดยเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
- แบบฟอร์ม ตท.1 (กรณีทำใหม่) หรือ ตท.5 (กรณีต่ออายุ)
- รูปถ่าย ขนาด 3 x 4 ซม. จำนวน 3 รูป ไม่เกิน 6 เดือน
- ใบรับรองแพทย์ ซึ่งต้องไม่เป็นโรคต้องห้าม และไม่เกิน 6 เดือน
- ประวัติส่วนตัว วุฒิการศึกษา ประวัติการทำงาน
- หนังสือเดินทาง
- Visa Non-B (ก่อนหมดอายุ 45-60 วัน) และ Work Permit (กรณีต่ออายุ)
- หนังสือรับรองจากกระทรวงแรงงาน แจ้งผลอนุญาตให้ทำงาน
- ภงด.91 ของคนต่างชาติ (กรณีต่ออายุ)
- เอกสารสำคัญของบริษัทที่ว่าจ้างงาน
- 10.เอกสารที่ประกอบการพิจารณาตามประเภทของกิจการ หรือนายจ้าง
คุณสมบัติของชาวต่างชาติในการขอ Work Permit Thailand มีอะไรบ้าง?
ก่อนทำการยื่นเรื่องขอใบอนุญาตทำงาน น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณตรวจสอบคุณสมบัติของตัวคุณเองก่อน ว่าคุณสมบัติตรงไหม สามารถทำได้หรือไม่ โดยคุณสมบัติในการขอ Work Permit มีดังนี้
- มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย หรือได้รับการอนุญาตให้เข้ามาในประเทศไทยแบบชั่วคราว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (NON-IMMIGRANT)
- ชาวต่างชาติที่มีใบอนุญาตทำงานประเภทตลอดชีพ แต่มีความประสงค์อยากเพิ่มสถานที่ทำงานในประเทศไทยนอกเหนือจากที่ทำงานที่เก่า
- เป็นบุคคลที่มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขออนุญาต
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคต้องห้าม อาทิ โรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้าง โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างรุนแรง หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว เป็นระยะเวลา 1 ปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต
VISA กับ Work Permit ต่างกันยังไง?
รายละเอียด | VISA | Work Permit |
วัตถุประสงค์ | ใช้สำหรับขออนุญาตเพื่อเข้าต่างประเทศ โดยผู้ที่ขอไม่ได้มีสัญชาติของประเทศนั้น เช่น คนไทย ขอวีซ่าเพื่อเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศอเมริกา | เป็นใบอนุญาตทำงานหรือใบอนุญาตประกอบอาชีพสำหรับชาวต่างชาติ เช่น แรงงานต่างด้าว |
ประเภท | วีซ่าจะ มีทั้งหมด 6 ประเภทดังนี้ 1. คนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (Transit VISA) 2. นักท่องเที่ยว (Tourist VISA) | ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ตท.๑๑ หรือ WP. 11 เล่มสีน้ำเงิน ตท.๑๕ หรือ WP. 15 แผ่นสีเหลือง ตท.๑๑ หรือ WP. 11 เล่มสีส้ม |
สถานที่ขอเอกสาร | สถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ | กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน |
ระยะเวลาของใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
ในประเทศไทย ระยะเวลาของใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) มักจะขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือสถาบันที่ออกใบอนุญาตนั้น โดยทั่วไปแล้ว ใบอนุญาตทำงานมีระยะเวลา 1 ปี และสามารถต่ออายุได้ในภายหลัง โดยต้องทำการต่ออายุก่อนหมดอายุอย่างน้อย 30 วัน ซึ่งในบางกรณีอาจต้องมีการออกเอกสารหรือติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ เพิ่มเติม
นอกจากนี้ ในบางกรณี เช่น การทำงานในภาครัฐหรือการทำงานในสาขาอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจมีการออกใบอนุญาตชั่วคราวที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งต้องต่ออายุก่อนหมดอายุด้วย ในการขอใบอนุญาตทำงาน ควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (Immigration Bureau) หรือ กรมการจัดหางาน (Department of Employment) เพื่อขอคำปรึกษาและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระยะเวลาของใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
นอกจากนี้ ในบางกรณี เช่น การทำงานในภาครัฐหรือการทำงานในสาขาอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจมีการออกใบอนุญาตชั่วคราวที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งต้องต่ออายุก่อนหมดอายุด้วย ในการขอใบอนุญาตทำงาน ควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (Immigration Bureau) หรือ กรมการจัดหางาน (Department of Employment) เพื่อขอคำปรึกษาและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระยะเวลาของใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
กิจกรรมใดบ้างที่ไม่ต้องยื่นขอ Work permit ในประเทศไทย?
สำหรับชาวต่างชาติ มี 7 กิจกรรมที่คุณสามารถทำได้เลยโดยที่ไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- เข้าร่วมการประชุมและการสัมมนา
- เข้าชมงานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้า เช่น งาน Expo
- เข้าเยี่ยมชมธุรกิจหรือพบปะเจรจาธุรกิจที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างธุรกิจ
- เข้ารับฟังบรรยายพิเศษและวิชาการ
- เข้ารับฟังการบรรยายในการอบรมและสัมมนาทางด้านเทคนิค
- เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทของตน
- ซื้อสินค้าในงานแสดงสินค้า
ทำไมใบอนุญาตทำงานในไทยจึงสำคัญกับชาวต่างชาติ?
เหตุผลที่ว่าทำไมชาวต่างชาติที่เข้ามาไทยควรจะมีใบอนุญาตทำงานเพราะ เวลาทำธุรกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยกับธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นสมัครบัตรเครดิต หรือขอสินเชื่อเงินกู้เพื่อซื้อบ้านหรือคอนโด เหล่านี้จำเป็นต้องใช้ Work permit ทั้งสิ้น
ชาวต่างชาติสามารถทำบัตรเครดิตที่ไทยได้หรือไม่?
จริง ๆ แล้วชาวต่างชาติสามารถทำบัตรเครดิตในประเทศไทยได้ แต่ต้องมีเอกสารและเงื่อนไข ดังนี้
- สำหรับชาวต่างชาติ จำเป็นต้องมีสำเนาหนังสือเดินทาง
- สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 3-6 เดือน
- สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองเงินเดือน
- ใบอนุญาตทำงาน หรือ work permit
- ข้อมูลที่อยู่ปัจจุบัน
เรื่องที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ Work Permit
Non-Immigration Visa Business หรือ Visa Non-B เป็นหนึ่งในใบอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำงาน ซึ่งทำให้ใครหลายคนอาจเข้าใจผิดว่า มีแค่ Visa Non-B สามารถทำงานได้เลย
แต่ในทางเป็นจริงแล้ว คุณยังไม่สามารถทำงานได้ และจำเป็นต้องมี ใบอนุญาตทำงาน Work permit Thailand ก่อน
โดยวิธีการยื่นคือ นำ Visa Non-B ที่ได้มาจากสถานกงสุล ประเทศนั้น ๆ หรือได้มาจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ให้คุณนำไปยื่นขอ Work permit ที่กรมการจัดหางาน หรือกระทรวงแรงงาน อย่างน้อย 30-45 วันก่อนที่วีซ่าจะหมดอายุ
เหล่านี้คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยที่น้องแคร์พยายามรวบรวมมาให้คุณแล้ว หากคุณมีแพลนที่จะเดินทางมาในประเทศไทยทั้งมาทำงานหรือมาท่องเที่ยว อย่าลังเลที่จะสมัครบัตรเครดิตกับ แรบบิท แคร์ เพื่อเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการใช้จ่าย มาพร้อมกับตัวเลือกมากมายจากธนาคารชั้นนำ เช่น ซิตี้แบงก์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงเทพ และอื่น ๆ คุณยังสามารถได้รับสิทธิประโยชน์จากบัตรได้มากมาย เช่น รับคะแนนสะสม หากสนใจสมัครกับเรา โทรเลย 1438
โดยวิธีการยื่นคือ นำ Visa Non-B ที่ได้มาจากสถานกงสุล ประเทศนั้น ๆ หรือได้มาจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ให้คุณนำไปยื่นขอ Work permit ที่กรมการจัดหางาน หรือกระทรวงแรงงาน อย่างน้อย 30-45 วันก่อนที่วีซ่าจะหมดอายุ
เหล่านี้คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยที่น้องแคร์พยายามรวบรวมมาให้คุณแล้ว หากคุณมีแพลนที่จะเดินทางมาในประเทศไทยทั้งมาทำงานหรือมาท่องเที่ยว อย่าลังเลที่จะสมัครบัตรเครดิตกับ แรบบิท แคร์ เพื่อเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการใช้จ่าย มาพร้อมกับตัวเลือกมากมายจากธนาคารชั้นนำ เช่น ซิตี้แบงก์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงเทพ และอื่น ๆ คุณยังสามารถได้รับสิทธิประโยชน์จากบัตรได้มากมาย เช่น รับคะแนนสะสม หากสนใจสมัครกับเรา โทรเลย 1438
บัตรเครดิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ