แคร์การเงิน

อัปเดต พ.ร.บ. กยศ. 2566  กู้กยศ. ง่ายขึ้นจริงไหม? ปรับโครงสร้างหนี้อย่างไร? 

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Tawan
Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต

close
linkedin icon
 
Published: April 20,2023
  
Last edited: April 21, 2023
กู้ กยศ.

กยศ. ย่อมาจาก กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มอบโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนด้อยโอกาสมาตั้งแต่ปี 2538 แต่ในช่วงโควิดลากยาวมาถึงปี 2566 สถานการณ์เศรษฐกิจ และการเงินกระทบแม้กระทั่งนักเรียน นักศึกษา ทำให้ พ.ร.บ. กยศ. ได้มีการปรับเปลี่ยนการขอกู้กยศ. ไปใช้หนี้กยศ. ให้ตอบรับกับบริบทสังคมปัจจุบันมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงมีอะไรบ้าง? ยื่นกู้กยศ. อย่างไร? และใช้หนี้กยศ. ปรับโครงสร้างหนี้กยศ. อย่างไร? มาหาคำตอบกันเลย!

อัปเดต พ.ร.บ. กยศ. 2566

เป็นพระราชบัญญัติที่ออกมาเพิ่มข้อกำหนดที่ชัดเจนมากขึ้นจาก พ.ร.บ. กยศ ฉบับปี 2560 โดยหนึ่งในเหตุผลที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน และเพิ่มเติม พ.ร.บ. กยศ. เร็วขนาดนี้ คือสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงบุคคลทั่วไปอาจเข้าถึงการศึกษาได้ยากขึ้น หรือสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำทำให้หลาย ๆ คนไม่มีทุนทรัพย์ในการจ่ายค่าเรียน จึงได้ออกมาเป็น พระราชบัญญัติ กยศ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 เพื่อให้กู้กยศ. ได้ง่ายขึ้น

กู้ กยศ.

ปรับอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 1% และเบี้ยปรับ 0.5%

อัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระหนี้กยศ. จากเดิมที่อัตราดอกเบี้ยไม่ได้มีการกำหนดขั้นต่ำ ตอนนี้มีการกำหนดเพดานดอกเบี้ยกยศ. ไม่เกิน 1% ยาวนานถึง 15 ปี ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนเงินที่ต่ำมาก รวมไปถึงเบี้ยปรับ กรณีที่ผู้กู้กยศ. ชำระเงินคืนไม่ทันกำหนด จากที่เคยคิดเบี้ยปรับสูงถึงประมาณ 1.5% ขณะนี้กำหนดให้การจ่ายเบี้ยปรับอยู่ที่ 0.5% เท่านั้น 

ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันในทุกกรณี

ถือเป็นอีกความเปลี่ยนแปลงใหญ่มาก ๆ นั่นคือการปรับเปลี่ยนให้การกู้กยศ. ไม่จำเป็นที่จะต้องระบุผู้ค้ำประกัน หากแต่ระบุข้อมูลพื้นฐานของผู้กู้กยศ. ครอบครัว ฐานะเฉย ๆ แต่การชำระหนี้กยศ. ในภายหลัง ความรับผิดชอบทั้งหมดจะตกเป็นหน้าที่ของผู้กู้ทั้งหมด 100 % พร้อมมีหลักกำหนดว่าให้ชำระหนี้กู้กยศ. คืนได้ก็ต่อเมื่อมีรายได้เท่านั้น

ขยายโอกาสให้แก่นักเรียน Reskill Upskill หลักสูตรอาชีพเฉพาะทาง

กู้กยศ. ยังขยายไปสู่การเรียนรู้ตลอดทั้งชีวิต (Life-Long Learning) ไม่ได้จำกัดแค่โรงเรียน และมหาวิทยาลัย เช่น การเรียนรู้ทักษะเฉพาะด้านใหม่ ๆ ของพนักงานบริษัท ข้าราชการ ในแขนงวิชาที่เป็นที่ต้องการ หรือสามารถมาพัฒนาประเทศชาติได้ในภายภาคหน้า เช่นด้านเทคโนโลยีสมองกล วิทยาศาสตร์การแพทย์ ไปจนถึงวิทยาศาสตร์การเกษตร และอื่น ๆ อีกมากมาย

สามารถผ่อนผันการชำระเงินคืน ปรับโครงสร้างหนี้ได้

ให้อิสระกับผู้กู้กยศ. ในการปรับโครงสร้างหนี้กยศ. มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาปลอดหนี้, เลือกผ่อนชำระเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปีได้, ตัดชำระหนี้จากต้นเงินดอกเบี้ย และเงินเพิ่ม รวมทั้งช่วยผ่อนผันการชำระหนี้ได้ทุกช่วงเวลา ซึ่งผู้บริหารทุนกยศ. จะต้องพิจารณาว่าการปรับโครงสร้างหนี้เหมาะสมกับความเป็นจริงหรือไม่

การจัดอันดับการตัดชำระหนี้ใหม่

กำหนดให้นำเงินกู้กยศ. ที่ถูกชำระไปหักต้นเงินเฉพาะส่วนที่ครบกำหนด ดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด และเงินเพิ่มตามลำดับ ต่างจากก่อนหน้านี้ ที่มีการให้ตัดเงินเพิ่ม ดอกเบี้ย และค่อยไปตัดเงินต้น โดยเมื่อระบบเสร็จสมบูรณ์แล้ว กองทุนจะนำยอดรับชำระเงินทุกรายการตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 มาคำนวณการรับชำระใหม่อีกครั้ง และปรับข้อมูลให้ถูกต้อง ทำให้แต่ละรอบที่จ่าย ดอกเบี้ยที่คิดคำนวณจากเงินต้นก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ 

มาตราลดหย่อนหนี้ กยศ. 2566

นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้ขยายเวลานโยบายลดหย่อนการชำระหนี้ กยศ. จาก ธ.ค. 2565 ไปจนถึง 30 มิ.ย. 2566 ซึ่งเป็นมาตราที่จะไม่ควบรวมกับ พ.ร.บ. กยศ. 2566 แต่จะเป็นเหมือนกับตัวช่วยสำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่กู้กยศ. จะได้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกมาก ๆ

พ.ร.บ. กยศ

ลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากเดิม 1% ต่อปี เป็น 0.01% ต่อปี

สามารถชำระหนี้กยศ. ได้ด้วยอัตราดอกเบี้ย 0.01% หากชำระภายในต้นปี 2566 ฉะนั้นหากผู้กู้กยศ. อยากชำระหนี้ กยศ. ในราคาที่แทบจะเท่าทุนเลย จึงควรที่จะเลือกชำระ ปลดหนี้กยศ. ให้หมดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่จะต้องเป็นผู้กู้กยศ. ที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนกองทุน และไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้กู้กยศ. 

ลดเงินต้น 5% หากปิดบัญชีได้

ในกรณีที่ผู้กู้กยศ. ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ และต้องการจะปิดบัญชี หรือชำระหนี้เต็มจำนวนระหว่างช่วงเวลาที่อยู่ในช่วงมาตรลดหย่อนหนี้กยศ. เงินต้นที่จะต้องจ่าย สามารถลดหย่อนลงได้ 5% เช่นหากหนี้ทั้งหมดที่จะต้องชำระเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท หากชำระทั้งหมดภายในช่วงเวลาที่กำหนด จะสามารถลดเงินต้น 5% เหลือ 4,750 บาท 

ลดเบี้ยปรับ 100% สำหรับผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ชำระหนี้ปิดบัญชี

สามารถล้มล้างเบี้ยปรับได้ทั้งหมด สำหรับผู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ชำระหนี้ปิดบัญชี แต่หากเป็นผู้กู้กยศ. ที่ถูกดำเนินคดีแล้ว ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์และนัดวันที่ประสงค์จะชำระหนี้ปิดบัญชีได้กับหน่วยงานของ กยศ. โดยตรง

แนวทางการปรับโครงสร้างหนี้กยศ. 2566

แน่นอนว่าพ.ร.บ. กยศ. ฉบับใหม่นี้ ก็มีนโยบายให้ปรับโครงสร้างหนี้กยศ. ได้ ซึ่งถือว่าเป็นไปเพื่อความง่ายในการชำระหนี้สำหรับผู้กู้ หรือสำหรับกรณีที่ผู้กู้กังวลว่าจะไม่สามารถชำระหนี้กยศ. ได้ตรงตามเวลา ตรงตามงวดที่กำหนด ซึ่งสามารถปรับลักษณะการผ่อนให้มีระยะเวลาที่นานขึ้น คำนวณยอดหนี้คงเหลือใหม่ เพื่อทำให้เงินต้นลดลง และอัตราดอกเบี้ยน้อยลงตามไปด้วย โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • ขยายเวลาการผ่อนหนี้เป็น 30 ปี (งวดสุดท้ายผู้กู้กยศ. ต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปี)
  • กองทุนจะให้ผู้กู้กยศ. มาตกลงขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน โดยทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เงื่อนไขการผ่อนชำระเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน
  • กองทุนจะคำนวณยอดหนี้กู้กยศ. คงเหลือใหม่ โดยนำเงินที่ผู้กู้กยศ. ชำระมาแล้วทั้งหมดมาปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระใหม่ โดยตัดชำระดอกเบี้ย และเงินต้นตามงวดครบกำหนดชำระหนี้ จนครบจำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมเงินชำระมาเท่านั้น สำหรับเบี้ยปรับในอดีตที่ตัดชำระไปแล้ว ถือว่าผู้กู้ยืมได้ชำระครบถ้วนแล้ว
  • จากนั้นกองทุนจะนำเงินต้นคงเหลือและดอกเบี้ยคงเหลือใช้เป็นยอดหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้กยศ. ส่วนเบี้ยปรับคงค้างที่สะสมอยู่ในระบบจนถึงปัจจุบัน กองทุนจะให้ส่วนลดเบี้ยปรับ 80% และให้ชำระเบี้ยปรับคงเหลือ 20% ในงวดสุดท้าย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้กู้กยศ. 

สามารถแจ้งเจตนารมณ์ในการปรับโครงสร้างหนี้กยศ. ได้ผ่านเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th/#/rms/rms-login 

อัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระหนี้ กยศ.

วิธีการจ่ายหนี้ กยศ. 2566

หลังจากจบการศึกษา หรือจบการลงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนโดยการกู้กยศ. จะได้รับระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี ตัวอย่างเช่น หากจบการศึกษา 2566 จะต้องเรียนชำระหนี้เมื่อปี 2568 โดยสามารถแบ่งการชำระหนี้ออกได้เป็น 3 วิธี ดังนี้

  • จ่ายรายปี ทุกวันที่ 5 กรกฎาคม ของทุกปี
  • จ่ายรายเดือน ส่วนมากจะนัดชำระ ณ วันที่ 5 ของทุกเดือน โดยจำนวนเงินจะต้องพอดีกับจำนวนที่ต้องชำระรายปี

จ่ายกยศ. หักเงินเดือน

นอกจากจ่ายกยศ. เองแล้ว ในกรณีที่มีอาชีพประจำกับบริษัทใหญ่ที่ค่อนข้างมั่นคงยังสามารถจ่ายกยศ. แบบหักเงินเดือนได้ โดยเมื่อพนักงานเริ่มทำงาน และพ้นระยะปลอดหนี้ 2 ปี กยศ. จะตรวจสอบที่ทำงานของผู้กู้กยศ.ได้ผ่านระบบโดยการตรวจสอบหมายเลขประชาชน จากนั้นกยศ. จะส่งจดหมายถึงนายจ้าง เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือจาก กยศ. แล้ว ต้องดำเนินการสมัครสมาชิกยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต  (e-Filing) เพื่อนำส่งเงินคืน กยศ. 

โดยการจ่ายกยศ. หักเงินเดือน สามารถตรวจสอบการแจ้งหักเงินเดือนได้ทุกวันที่ 5 ของเดือน และยืนยันข้อมูลการหักเงินเดือนพร้อมนำส่งได้ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (กรณียืนยันข้อมูลภายในสิ้นเดือนที่แจ้งหักเงิน รายการที่หน่วยงานยืนยันจะได้รับการปรับปรุงข้อมูลจากระบบในเดือนถัดไปทันที) 

ซึ่งบ่อยครั้งที่การจ่ายกยศ. หักเงินเดือน อาจหักเยอะไม่ได้ เพราะเงินเดือนเริ่มต้นของนักศึกษาจบใหม่น้อย หรือมีความรับผิดชอบการเงินเยอะ อาจไม่สามารถหักเงินเดือนปริมาณเยอะ ๆ ได้ ผู้กู้กยศ. ก็สามารถเจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้กยศ. หรือขอไกล่เกลี่ยกับกองทุน สามารถหักเงินเดือนน้อยที่สุด 100 บาทต่อเดือน แต่จะต้องจ่ายกยศ. ยาว ๆ ระดับ 20 – 30 ปี

วิเคราะห์ พ.ร.บ.กยศ. กับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเป็นดาบสองคม

อ่านมาถึงจุดนี้ แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงแทบทั้งหมด เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สร้างผลประโยชน์ให้ผู้กู้กยศ. ทั้งในเชิงดอกเบี้ยที่ลดน้อยลง สามารถปรับโครงสร้างหนี้ ผ่อนระยะยาวได้ถึง 30 ปี เบี้ยปรับก็ไม่ต้องจ่ายเยอะ ปรับโครงสร้างหนี้กยศ. ได้ง่าย ไปจนถึงไม่ต้องมีใครมาค้ำประกันอีกด้วย ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นนโยบายที่ดีเยี่ยมในสภาวะเศรษฐกิจแย่ ช่วยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เข้าถึงทุนเรื่องการเรียนได้ง่ายขึ้น

ขณะเดียวกันนักคิดวิเคราะห์หลายท่านก็ได้แสดงความกังวลใจ ว่ายิ่งปล่อยกู้กยศ. ง่ายมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะสร้างหนี้เสีย ก็จะมากเท่านั้น และนโยบายกู้กยศ. ยังถูกมองเป็นนโยบายประชานิยม ที่แท้จริงอาจนำไปสู่ปัญหาหนี้ล้นประเทศ อย่างบทความวิเคราะห์ของ ดร. ขจร ธนะแพสย์ ผู้เชียญชาญทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ระบุว่าในปี 2563 เกิดหนี้เสียกยศ. มากถึง 62% คิดเป็นจำนวนผู้กู้กยศ. แล้วไม่คืนประมาณ 2.3 ล้านราย ผู้ค้ำประกัน 2.8 ล้านราย กลายเป็นว่าจะต้องมีการฟ้องร้องยุ่งยาก หรือกลายเป็นหนี้เสียที่รัฐบาลจะต้องรองรับไว้มหาศาล

ฉะนั้นในช่วงเวลาที่จะถึงนี้ แน่นอนว่าคาดเดาได้เลยว่าจะต้องมีผู้ทำเรื่องขอยื่นกู้กยศ. เยอะขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน ฉะนั้นก็จะต้องดูไประยะยาวว่าสุดท้ายรัฐบาลจะสามารถคัดกรองผู้กู้ยืมที่มีประสิทธิภาพ และมีวิธีการรับมือกับหนี้กยศ.  นี้อย่างไร ผนวกกับอัตราเด็กจบใหม่ว่างงาน อ้างอิงจากงานธนาคารแห่งประเทศไทย สูงขึ้นจาก 5.1% (2019) เป็น 7.2% (2021) แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงเลยที่จะมีกลุ่มเด็กจบใหม่ที่ไม่จ่ายทุนกยศ. และตามให้จ่ายได้ยากเพราะเป็นกลุ่มคนไม่มีรายได้

ลดหย่อนหนี้ กยศ.

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น รัฐบาลก็ยังยืนหยัดถึงความสามารถในการแบกรับความรับผิดชอบของการจัดสรรเงินกู้กยศ. ซึ่งรัฐบาลก็ยืนยันว่าจะทำให้การจ่ายคืนหนี้กยศ. มีความรัดกุมมากขึ้น และมีการคัดกรองผู้เข้าร่วมโครงการที่จำเป็นต้องใช้ทุนทรัพย์ในการเรียนจริง ๆ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีอย่างมาก

สำหรับใครที่มีแผนการศึกษาต่อ ลงทุนเพิ่มทักษะความสามารถให้กับตนเอง แต่กู้กยศ. ไม่ได้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามเงื่อนไขในการกู้ ก็อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะ แรบบิท แคร์ มีสินเชื่อส่วนบุคคล อนุมัติง่ายไม่ต้องค้ำประกัน ไม่ต้องถูกตรวจสอบให้ยุ่งยาก ใครสนใจสามารถคลิกสมัครสินเชื่อออนไลน์ได้เลย! หรือโทร 1438

บัตรไหนคุ้ม เปรียบเทียบเลย แค่ 30 วิ เช็คเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
  

ที่มา


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 97227

แคร์การเงิน

ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
คะน้าใบเขียว
14/11/2024
Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024
Rabbit Care Blog Image 93664

แคร์การเงิน

มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
คะน้าใบเขียว
22/08/2024