แคร์การเงิน

เครื่องหมายการค้า VS สิทธิบัตร VS ลิขสิทธิ์ ต่างกันอย่างไร? ควรจดแบบไหนดี?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
 
Published: April 21,2023
สิทธิบัตร

คิดออกแล้ว!! ไอเดียเด็ด แบรนด์ในฝัน นิยายสุดปัง งานสร้างสรรค์ที่เบ่งบานขึ้นมาจากจินตนาการ และน้ำพักน้ำแรงของเราเอง แต่สมัยนี้หากอะไรหลุดลอดไปบนโลกอินเทอร์เน็ต ไอเดียสุดบรรเจิดของคุณก็อาจกลายเป็นของคนอื่นได้ในพริบตา ฉะนั้น เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ จึงสำคัญอย่างมาก! วันนี้เราจึงอยากมาไขข้อสงสัย เพื่อไว้ใช้รักษาสิทธิในงานสร้างสรรค์ของทุกคน !

เครื่องหมายการค้า คือ ?

เครื่องหมายการค้า คือเครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราต่าง ๆ ที่ถูกใช้กับบริษัท สินค้า หรือบริการต่าง ๆ ปัจจุบัน ใช้หลักการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าปี 2559 เพื่อไม่ให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมระหว่างแบรนด์ หรือไม่เกิดการจดเครื่องหมายการค้าทับซ้อนจนเกิดความสับสนในหมู่ผู้บริโภค เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับสินค้า และบริการ

เครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้า ประเภทพื้นฐาน 

  • เครื่องหมายการค้า (Trade mark) : เครื่องหมายที่ใช้แทนแบรนด์ ที่ประกอบไปด้วยสินค้ากลุ่มที่ใกล้เคียงกันเท่านั้น เช่นแบรนด์ยูนิโคล่ ใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าในกลุ่มเสื้อผ้า อีเกีย ใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ากลุ่มเฟอร์นิเจอร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย
  • เครื่องหมายบริการ (Service mark) : สำหรับแบรนด์ที่ให้บริการกับลูกค้า เช่นร้านอาหาร ไปจนถึงสร้างแพลตฟอร์มให้กับลูกค้าได้ใช้บริการ เช่น Shopee, Netflix ไปจนถึง 7-11 เป็นต้น
  • เครื่องหมายรับรอง (Certification mark) : เครื่องหมายการค้าที่แบรนด์ต่าง ๆ สามารถนำไปใช้เพื่อบ่งบอกถึงมาตรฐาน คุณภาพของสินค้า หรือบริการของแบรนด์นั้น ๆ เช่น เครื่องหมายร้านอาหารมิชลิน, เครื่องหมาย ISO, เครื่องหมายฮาลาล และอื่น ๆ อีกมากมาย
  • เครื่องหมายร่วม (Collective mark) : เป็นเครื่องหมายการค้าที่ใช้สำหรับกลุ่มบริษัท อธิบายง่าย ๆ ก็คือแบรนด์ใหญ่ที่มีแบรนด์ลูกอยู่ข้างใน อาจประกอบด้วยธุรกิจหลากหลายแบบ Holding Company เช่น CP All, LVMH, Central Group และอื่น ๆ อีกมากมาย

เครื่องหมายการค้า แบ่งประเภทตามการรับรู้

  • เครื่องหมายการค้าเสียง (Sound mark) : เป็นเสียงที่อยู่คู่กับสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่นเสียงเข้า 7-11, เสียงเปิด Macbook, เสียงไอศครีมเนสท์เล่
  • เครื่องหมายการค้ากลิ่น (Smell mark) : สามารถจดเครื่องหมายการค้ากลิ่นสำหรับน้ำหอมแบรนด์ต่าง ๆ เช่นแบรนด์หรูหราที่จะมีกลิ่นของตนเองอย่าง Gucci หรือ Louis Vuitton (ที่ไทยยังไม่มีการจดทะเบียนการค้ารูปแบบนี้)
  • เครื่องหมายรูปลักษณะ (Trade dress) : เป็นเครื่องหมายการค้าอัตลักษณะที่อาจจับต้องได้ยาก เช่นการตบแต่งร้าน การดีไซน์จัดเรียงสินค้า ไปจนถึงออฟฟิศที่ทำงาน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ Apple ที่ช้อปต่าง ๆ มีอัตลักษณะของการออกแบบชัดเจน สะท้อนถึงความเป็นแบรนด์อย่างไร้ข้อกังขา (ที่ไทยยังไม่มีการจดทะเบียนการค้ารูปแบบนี้) 

สิทธิการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า

คุ้มครองเครื่องหมายการค้า 10 ปี โดยบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น จะไม่สามารถนำเครื่องหมายการค้า รวมถึงสินค้า หรือบริการที่มีเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเห็นการละเมิด เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฎหมาย ก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนได้

วิธีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

  • เลือกช่องทางในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า : มีทั้งการไปลงทะเบียนด้วยตนเองที่สำนักงานกรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด หรือสามารถยื่นเอกสารทางไปรษณีย์ไปที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือวิธีที่ง่ายมาก ๆ คือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าออนไลน์ได้ทาง www.ipthailand.go.th
  • เตรียมเอกสารให้พร้อม : ต้นฉบับคำขอจดทะเบียน แบบ ก. 01 / ภาพเครื่องหมายการค้าที่ต้องการจดทะเบียน ขนาดไม่เกิน 5×5 ซม. / บัตรประจำตัวของเจ้าของเครื่องหมายการค้า / สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (สำหรับบุคคลธรรมดา) / สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล (สำหรับนิติบุคคล)

สิทธิบัตร คือ ?

สิทธิบัตร คือหนังสือสำคัญที่รัฐ และภาคกฎหมาย ออกมาเพื่อปกป้องงานประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยเป็นสิทธิผูกขาดสำหรับผู้ถือสิทธิบัตรเท่านั้น โดยผู้ถือสิทธิบัตรมีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางพาณิชย์กับสิ่งประดิษฐ์ของตน หรือสามารถมอบสิทธิ์ทางการค้าแก่ผู้อื่นแต่ต้องมีการทำข้อตกลงอย่างชัดเจน และเป็นการเห็นพ้องร่วมกันทั้งสองฝ่าย มิเช่นนั้นผู้ถือสิทธิบัตรมีสิทธิ์ฟ้องผู้ที่นำสิ่งประดิษฐ์ของตนไปใช้โดยไม่ได้ขออนุญาต

ความแตกต่างระหว่าง สิทธิบัตร (Patent) VS อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) 


ความแตกต่างสำคัญก็คือ สิทธิบัตรใช้กับสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกได้ว่าเป็นวิทยาการพลิกผันโลก หรือพลิกผันอุตสาหกรรมได้ ส่วนอนุสิทธิบัตร คืองานประดิษฐ์ที่นำวิทยาการที่มีอยู่แล้วมาปรับแต่งเพิ่มเติมให้เป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพ หรือใช้ได้จริงมากขึ้น ฉะนั้นหากเป็นงานประดิษฐ์ที่ไม่ได้ซับซ้อน หรือเป็นการต่อยอด จะตกอยู่ในลักษณะของอนุสิทธิบัตรทั้งสิ้น

ยกตัวอย่างเช่น รถไฟฟ้าพลังแม่เหล็กถูกจดสิทธิบัตรครั้งแรกในปี 1967 โดยวิศวกรอังกฤษ Eric Laithwaite ซึ่งถือว่าเป็นวิทยาการที่พลิกผันวงการขนส่งมวลชน ใช้ได้จริงในปี 1995 และญี่ปุ่น (JR Central) ได้พัฒนารถไฟฟ้าพลังแม่เหล็กที่เร็วที่สุดในปี 2018 และได้จดอนุสิทธิบัตรไว้ เพราะเป็นสิ่งที่เคยประดิษฐ์ขึ้นแล้ว แต่ได้ถูกพัฒนาให้ใช้งานได้จริง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แต่การตีความงานประดิษฐ์ก็ไม่ได้ขาวดำไปซะทุกอย่าง เช่นไอโฟน ที่แม้จะไม่ใช่สมาร์ทโฟนแรกที่ถูกคิดค้นขึ้น แต่ก็สามารถจดสิทธิบัตรได้ภายในปี 2007 เพราะเป็นการผนวกรวมวิทยาการ และการออกแบบ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับการใช้ชีวิตของผู้บริโภค และแง่มุมในการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์เป็นวงกว้าง

สิทธิบัตร
ตัวอย่างรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่ขอจดสิทธิบัตร

งานออกแบบขอสิทธิบัตรได้หรือไม่ ?

มีสิทธิบัตรประเภทสิทธิบัตรแยกออกมาเลย เช่นรูปทรงภายนอกของรถไฟฟ้าพลังแม่เหล็ก หรือรูปลักษณะภายนอกโทรศัพท์ไอโฟน ก็จัดเป็นสิทธิบัตรการออกแบบทั้งสิ้น ซึ่งสามารถขอไปควบคู่กับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรได้เลย

สิทธิคุ้มครองของสิทธิบัตร สิทธิบัตรการออกแบบ และอนุสิทธิบัตร

  • สิทธิบัตร : ได้รับการคุ้มครองสูงสุด 20 ปี ไม่สามารถขอขยายสิทธิ์คุ้มครองได้
  • สิทธิบัตรการออกแบบ : ได้รับการคุ้มครองสูงสุด 10 ปี ไม่สามารถขอขยายสิทธิ์คุ้มครองได้
  • อนุสิทธิบัตร : ได้รับการคุ้มครอง 6 ปี สามารถขยายได้ 1 ครั้ง แต่รวมแล้วจะคุ้มครองไม่เกิน 10 ปี

โดยครั้นสิทธิบัตรหมดอายุ สิ่งประดิษฐ์ หรืองานออกแบบจะกลายเป็นเหมือนกับนวัตกรรมที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ 

วิธีการจดสิทธิบัตร

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรจะมีความซับซ้อนที่สุด เพราะจะต้องมีการ ‘ร่างคำขอ’ เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งประดิษฐ์เป็นสิ่งใหม่จริง ๆ หรือหากต้องการยื่นสิทธิบัตรสากล ก็จะมีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน และต้องรับคำปรึกษาจากผู้ที่มีความรู้ด้านกฎหมาย

แต่หลัก ๆ แล้วสิ่งที่จำเป็นสำหรับการจดสิทธิบัตร คือ

  • ร่างคำขอ
  • แบบพิมพ์คำขอ
  • คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิ์
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ประดิษฐ์ หรือสำเนาบัตรนิติบุคคล

ลิขสิทธิ์ คือ ?

ลิขสิทธิ์ (Copyright) คือสิทธิในงานสร้างสรรค์งาน ที่ผู้สร้างมีต่อชิ้นงานของตนเอง โดยอาจจะเป็นสิทธิ์ที่มีแต่เพียงผู้เดียว และสิทธิ์ต่อกลุ่มคน หรือทีมงานที่มีต่อโปรเจคหนึ่ง โดยจะถูกใช้กับงานศิลปะได้ทุกแขนงไม่ว่าจะเป็นดนตรี งานเขียน เรื่องสั้น วรรณกรรม นาฎกรรม ภาพยนตร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย

ลิขสิทธิ์

สิทธิคุ้มครองของลิขสิทธิ์

คุ้มครองจนกว่าผู้สร้างสรรค์จะเสียชีวิต และหลังจากเสียชีวิตไปแล้วก็จะสามารถคุ้มครองได้ต่อถึง 50 ปี โดยลิขสิทธิ์ของงานสร้างสรรค์จะถูกส่งต่อไปถึงทายาท หรือผู้อื่นที่ถูกระบุไว้ในพินัยกรรม

วิธีการจดลิขสิทธิ์ จดลิขสิทธิ์ที่ไหน ?

แท้จริงแล้วงานสร้างสรรค์จะถูกคุ้มครองทางกฎหมายตั้งแต่งานนั้น ๆ เสร็จสมบูรณ์ และระบุชื่อผู้ทำเป็นรายลักษณ์อักษร แต่หากอยากได้หลักค้ำประกันลิขสิทธิ์แบบเป็นรูปธรรมก็สามารถจดลิขสิทธิ์ให้กับผลงานสร้างสรรค์ของคุณ โดยเฉพาะกรณีที่งานสร้างสรรค์ของคุณเริ่มที่จะโด่งดัง และเป็นที่รู้จัก

โดยหากต้องการยื่นจดลิขสิทธิ์สามารถส่งเอกสารไปได้ที่สำนักงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือเว็บไซต์ https://www.ipthailand.go.th/th/ โดยสามารถยื่นได้ทั้งออนไลน์ และไปยื่นกับตนเอง

หลัก ๆ แล้วสิ่งที่จำเป็นสำหรับการจดลิขสิทธิ์ คือ

  • สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
  • ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด
  • หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ 

แบบไหนจึงเรียกว่าละเมิดลิขสิทธิ์

  • ละเมิดลิขสิทธิ์ทางตรง : การลอกเลียนงานสร้างสรรค์แบบทำซ้ำ และดัดแปลงโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาเท่าที่ควร เพื่อหาผลประโยชน์เข้าตนเองโดยแอบอ้างว่าเป็นงานสร้างสรรค์ของตนเอง หรือไม่ได้ตีแผ่ว่าเป็นผลงานของผู้อื่น หากกระทำผิดละเมิดลิขสิทธิ์ โทษ มีสิทธิ์ถูกปรับ 20,000 – 200,000 บาท มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 4 ปี
  • ละเมิดลิขสิทธิ์ทางอ้อม : การนำผลงานของผู้อื่นไปใช้ประกอบผลประโยชน์ของตนเอง และไม่ได้ให้อ้างอิงที่ถูกต้อง หรือกระทำการสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ หากกระทำผิด มีโทษปรับ 10,000 – 100,000 บาท หรือจำคุก 3 เดือน – 2 ปี

ควรจดเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร หรือลิขสิทธิ์ อย่างไร ?

อ่านมาถึงจุดนี้แล้ว อาจจะยังไม่เห็นภาพว่าการจดทั้ง 3 อย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร หรือเวลาเริ่มต้นสร้างอะไรซักอย่างแล้ว เราสามารถจดทะเบียนแบบไหนดี เราจึงได้สมมุติเหตุการณ์ และบริษัทมาให้คุณได้เห็นภาพการจดทะเบียน ให้เห็นภาพมากขึ้น

ยกตัวอย่าง : บริษัทโรโบ

ผลิตภัณฑ์ : หุ่นยนต์ AI

เครื่องหมายการค้า
  • บริษัท สัญลักษณ์การค้า : จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  • เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับจาก AI Certified : จดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง 
  • เทคโนโลยีที่ใช้กับหุ่นยนต์ AI : จดทะเบียนอนุสิทธิบัตร
  • การออกแบบหุ่นยนต์ AI : จดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบ
  • งานโฆษณาทั้งที่เป็นภาพนิ่ง และวิดีโอ : จดทะเบียนลิขสิทธิ์ 

ฉะนั้นหากใครมีไอเดียเด็ด คิดที่จะสร้างแบรนด์ สร้างนวัตกรรม ไปจนถึงแต่งเพลง แต่งหนังสือ ลองเลือกให้ดีว่าคุณจะต้องจดเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร หรือลิขสิทธิ์ ไม่ให้ใครมาใช้ประโยชน์จากมันสมองของคุณ แต่นอกจากคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของคุณแล้ว อย่าลืมว่าจะเริ่มทำอะไรของตนเอง ก็ต้องใช้งบที่ไม่น้อยเลยทีเดียว ใครอยากได้ตัวช่วยเรื่องการเงิน แรบบิท แคร์ มีตัวช่วยสำหรับคุณ! ด้วยสินเชื่อส่วนบุคคล ของ่าย วงเงินสูง ไม่ต้องค้ำประกัน ให้คุณมีทุนไปสานฝันของตัวเองต่อกันเลย!

  
เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ สมัครเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
  

บทความที่เกี่ยวข้อง


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024
Rabbit Care Blog Image 93664

แคร์การเงิน

มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
คะน้าใบเขียว
22/08/2024
Rabbit Care Blog Image 90939

แคร์การเงิน

ถูกยืมเงินบ่อย ๆ ควรปฏิเสธอย่างไร เพราะอะไรเราถึงมักตกเป็นเหยื่อการขอยืมเงิน ?

ปัญหาชวนปวดหัวอย่างการถูกยืมเงินถือเป็นปัญหาที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเผชิญ ไม่ว่าจะด้วยเพราะสถานการณ์การเงินที่เป็นอยู่ลำพังเอาตัวเองให้รอดก็ลำบาก
คะน้าใบเขียว
23/07/2024