อยากเริ่มเลี้ยงปลากัด ต้องอ่าน! เลี้ยงอย่างไร ? วิธีการเพาะต้องทำอย่างไร ?
สำหรับคนนอกแล้ว วงการปลากัด ดูเหมือนวงการแคบ ๆ ที่แสนลึกลับ แต่ความจริงแล้วการเลี้ยงปลากัด เป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ ที่ชาวไทยสืบทอดกันมาอย่างช้านาน เป็นสัตว์น้ำประจำชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง สู้ยิบตา แต่ยามสงบก็จะสวยงามอ่อนโยน ฉะนั้นหากใครที่คิด ๆ อยู่ว่าอยากหาสัตว์เลี้ยงมงคล สวยงาม เลี้ยงง่าย ไม่เปลืองพื้นที่ เลี้ยงปลากัดก็ดูเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่มองข้ามไม่ได้เลย !
ปลากัดคืออะไร
ปลากัด หรือ Betta Fish คือปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ย่อย Macropodusinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae ลักษณะเด่นคือครีบห้าง และกลางตัวที่สวยงาม มีสีสันที่หลากหลาย โดยปลากัดไทย (Siamese Fighting Fish) เป็นหนึ่งสายพันธุ์ย่อยของปลากัด แหล่งกำเนิดคือประเทศไทย เขมร ลาว และเวียดนาม โดดเด่นที่สีสัน และรูปแบบของครีบที่มีความหลากหลายมาก นิสัยที่ก้าวร้าวเป็นพิเศษ และวิธีการผสมพันธุ์ที่โดดเด่น ทำให้ปลากัดไทย ถูกให้ความสำคัญมาก ๆ ในหมู่นักเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด
5 สายพันธุ์ปลากัดที่ได้รับความนิยมที่สุดในประเทศไทย
ต้องขอบอกก่อนว่าสายพันธุ์ของปลากัดมีความหลากหลายมาก ๆ ในแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาค ก็จะมีสายพันธุ์ปลากัดของตนเอง และสามารถแตกแยกย่อยออกไปได้อีกมากมาย ฉะนั้นบางครั้งสายพันธุ์ของปลากัดอาจสามารถผสมผสานข้ามกันไปมา แสดงออกอยู่ในลักษณะเกร็ด และครีบของเจ้าปลาแสนสวยสายพันธุ์ต่าง ๆ
ปลากัดไทย (Plakat Betta)
แน่นอนว่าสายพันธุ์ที่คนไทยนิยมเล่นกันมากที่สุด จะต้องเป็นปลากัดไทยท้องถิ่น มีหางที่สั้นพร้อมความดุดัน ปราดเปรียว แต่มาพร้อมสีสันที่สดใส เกร็ดเงางาม โดยปลากัดไทยก็จะมีลักษณะแตกต่างกันตามภูมิภาค เช่นภาคกลาง และภาคเหนือ จะมีสีแดงสลับฟ้าสวยเด่น ในขณะที่หากเป็นสายที่มาจากมหาชัยจะมีสีฟ้าสลับดำโดดเด่น
ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก (Half Moon Betta)
จุดเด่นคือครีบห้างที่แผ่เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีกสวยโดดเด่น พร้อมกันนั้นครีบลำตัวก็แผ่กว้างจนแทบจะเห็นติดกับครีบหาง จนทำให้เห็นเป็นลักษณะคล้ายพระจันทร์ซีก เป็นปลากัดที่เข้ามาจากยุโรป เยอรมัน ฝรั่งเศส มีรูปร่างโดดเด่น และสามารถเพาะพันธุ์ได้สีที่หลากหลาย สวยงาม จึงได้รับความนิยมในหมู่คนเลี้ยงปลามือใหม่
ปลากัดหางมงกุฎ (Crowntail Betta)
สายพันธุ์จากอินโดนีเซีย จุดเด่นคือครีบหาง และครีบลำตัว ที่แผ่ตัวออกเป็นแฉก ๆ ลักษณะคล้าย ๆ มงกุฎ หรือหากกำลังแหวกว่ายอยู่ก็จะดูเหมือนสาหร่ายทะเล สวยงาม ดูมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลาดเวลา สีก็สดสวย เข้มข้น
ปลากัดหางคู่ (Double-tail Betta)
ความจริงแล้วสายพันธุ์นี้เป็นลักษณะพิเศษที่จะมีอยู่กับทุกสายพันธุ์ เช่นปลากัดไทย หางคู่ ปลากัดจีน หางคู่ โดยลักษณะเด่นคือครีบหางที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ฟอร์มตัวเหมือนรูปหัวใจสวยงาม โดดเด่น
ปลากัดหม้อ
เป็นสายพันธุ์ปลากัดที่ถูกพัฒนามาจากปลากัดป่า สีของปลาลูกหม้อส่วนใหญ่คือ สีน้ำเงิน สีแดง คราม เขียวคราม เกร็ดเงางามแยกตัวออกจากกันชัดเจน แต่ละตัวจะมีแพทเทิร์นการเรียงตัวของสี และเกร็ดแตกต่างกันออกไป เป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงไว้เพื่อประกวด เพราะสวยงาม และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
วิธีเลี้ยงปลากัด
หาบ้านให้น้องปลากัด
เป็นขั้นตอนสำคัญในการเลี้ยงปลากัดไทย เราต้องเตรียมตู้ปลาหรือโหลปลาที่เหมาะสมและอุปกรณ์ในการเลี้ยงปลากัดให้เหมาะสม โดยให้น้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด โดยให้เตรียมความพร้อมของทุกอยากให้เรียบร้อยก่อน
ตู้ปลา โหลปลา : สามารถใช้เป็นขวดแก้ว โหลกลม โหลทรงกระบอก โหลสี่เหลี่ยมทรงสูง หนือโหลสี่เหลี่ยมทรงเตี้ย โดยที่ขนาดต้องเหมาะสมกับน้องปลา และล้างให้สะอาดก่อนใช้
เตรียมน้ำ : ใช้น้ำประปาสะอาด ประมาณ 4-5 แกลลอน (ประมาณ 19 ลิตร) รักษาอุณหภูมิของน้ำให้อยู่ประมาณ 25-27 องศา กรณีเลี้ยงปลากัดไทย ไม่ควรใช้น้ำกิน หรือน้ำกรอง เพราะปลากัดไทยเป็นปลาลูกทุ่ง และเป็นปลาท้องถิ่น เหมาะกับสภาพน้ำธรรมชาติ ไม่ต้องสะอาดมาก และไม่ควรใส่น้ำเต็มโหล เพราะน้องปลาสามารถกระโดดออกมาได้
เตรียมอุปกรณ์เพิ่มสีสันให้น้องปลา : ใส่กรวด และพืชน้ำ เพื่อเป็นที่หลบภัยให้กับน้องปลา
ปรับสภาพน้อง ก่อนเข้าอยู่จริง
ก่อนที่จะนำปลากัดเข้าไปอยู่ในบ้านใหม่ (กรณีที่ซื้อมา ไม่ได้เพาะเลี้ยงเอง) จะต้องปรับสภาพปลาก่อน เพราะหากเทปลาจากถุง ลงไปอยู่ในน้ำใหม่ ด้วยสภาพน้ำและอุณหภูมิที่เปลี่ยนรวดเร็ว ปลา โดยเฉพาะปลาสวยงาม อาจเสี่ยงต่อสภาพสีที่จืดจางลง หรือปลาอาจช็อคได้เลย จึงควรนำปลาในถุงมาลอยอยู่ในน้ำ ซักประมาณ 5-10 นาทีเสียก่อน เพื่อปรับอุณหภูมิให้น้องปลาเคยชินก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ ปล่อยให้ปลากัดแหวกว่ายลงสู่บ้านใหม่ช้า ๆ
เตรียมอาหารของปลากัดให้พร้อม
ส่วนสำคัญมาก ๆ สำหรับการเลี้ยงปลากัดคืออาหาร เพราะน้องปลาถึงแม้จะตัวเล็กจิ๋ว แต่ก็กินเก่งสุด ๆ ควรให้อาหารทุกเช้า-เย็น แต่ก็ต้องระวัง อย่าให้อาหารเยอะเกินด้วย เพราะหากปลาทานไม่หมดน้ำในโหลจะเน่าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาหารที่ดีจะทำให้ปลาสีสวยสด ร่างกายแข็งแรง เกร็ดสมบูรณ์และครีบใหญ่ยาว สุขภาพดี
- อาหารปลากัดสำเร็จรูป ให้ใช้อาหารสำหรับปลากัดโดยเฉพาะ โดยอาหารสำเร็จรูปที่ปลากัดไทยชอบที่สุดคือ อาหารแบบเกล็ด ปลากินง่าย ลอยบนผิวน้ำ
- อาหารปลากัดที่ยังมีชีวิต เป็นรูปแบบอาหารที่ปลาชอบกินมากกว่าอาหารสำเร็จรูป ทั้งยังมีคุณประโยชน์มาก ทำให้ปลาสีสวย เหมือนโตอยู่ตามธรรมชาติจริง ๆ แต่ก็ควรระวังเรื่องของความสะอาด เพราะอาจทำให้ปลากัดติดโรคได้ ตัวอย่างของอาหารมีชีวิต คือ ลูกน้ำ ไรแดง หนอนแดง ไข่ของสัตว์ เช่น ไข่มด ไข่กุ้ง ไข่กบ และอื่น ๆ อีกมากมาย
เปลี่ยนน้ำ
ต้องเปลี่ยนน้ำให้ปลาอยู่เสมอ สำหรับปลากัดควรเปลี่ยนน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ซึ่งสามารถเลือกเปลี่ยนน้ำได้แบบ 100% เทน้ำเก่าทิ้ง ใส่น้ำใหม่ แล้วให้น้องอยู่ได้เลย เพราะความจริงแล้วปลากัดไทยเป็นปลาที่ค่อนข้างทน (ปลาลูกทุ่ง) และมีถิ่นฐานมาจากประเทศไทยเอง จึงสามารถปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิน้ำประเทศไทยได้ค่อนข้างดี
วิธีเปลี่ยนน้ำ
- เตรียมน้ำที่จะเปลี่ยนและน้ำที่ต้องใช้ในการพักปลา
- ให้นำปลาออกไปพักไว้ในน้ำใหม่ แล้วทำความสะอาดโหลด้วยผ้าสะอาด
- เติมน้ำใหม่ 100% ลงไปในโหลเลี้ยงปลา
การเพาะเลี้ยงปลากัด
การเพาะเลี้ยงปลากัด เป็นศาสตร์ที่ค่อนข้างจะซับซ้อน โดยใครต้องการเพาะจริง ๆ จะต้องไปศึกษาโดยละเอียด แต่โดยรวมแล้วสามารถแบ่งขั้นตอนการเพาะได้ออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ ดังนี้
การคัดเลือกปลากัดเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์
คัดเลือกปลากัดเพศผู้ เพศเมียที่มีลักษณะสวยโดดเด่น ร่างกายแข็งแรง อายุประมาณ 5-7 เดือน โดยแม่พันธุ์จะให้ไข่ถึง 500 – 1,000 ฟอง และลูกปลา
การเทียบคู่ปลากัด
เมื่อคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลากัดที่จะนำมาผสมพันธุ์ได้แล้ว นำคู่รักมาใส่ขวดแยกกัน แต่ให้นำขวดมาตั้งคู่กันโดยไม่ต้องมีอะไรกั้น ขั้นตอนนนี้เรียกว่าการเทียบคู่ โดยปลาทั้ง 2 ตัวจะเริ่มจ้องมองกันตลอดเวลา และเร่งให้ไข่พัฒนาได้เร็วขึ้น ใช้เวลาเทียบคู่ประมาณ 3-10 วัน ปลากัดตัวเมียจะเริ่มตั้งไข่ โดยสิ่งสำคัญที่สุดระหว่างเทียบคู่จะต้องไม่ถูกรบกวน ไม่ทำให้ปลาตกใจ ให้อยู่แยกกับโหลปลากัดไทยอื่น ๆ อย่างชัดเจน
การผสมพันธุ์และวางไข่ของปลากัด
เมื่อปลาตัวผู้และตัวเมียได้เทียบคู่กันแล้ว ขั้นต่อไปจึงนำปลาทั้งคู่มาใส่ลงในอ่างเพาะที่เตรียมไว้ โดยจะต้องมีฝาปิดด้านบนเพื่อป้องกันปลากระโดด อ่างที่ใช้ควรมีสีเข้มพื่อปลาตัวผู้จะได้มองไข่ได้ชัดเจน ใช้เวลาประมาณ 1-2 วันเพื่อให้ปลาสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ปลาคู่รักจะเริ่มมีเพศสัมพันธุ์ ตัวเมียใช้เวลาประมาณ 1-6 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของตัวเมีย) ในการฟักไข่ ตัวผู้ทำหน้าที่ดูแลไข่ ประมาณ 2 วัน ลูกปลาจึงฟักไข่
สิ่งที่ต้องรู้ ! ก่อนเลี้ยงปลากัด
- ไม่ควรเลี้ยงปลากัดร่วมกับปลาชนิดอื่น โดยเฉพาะปลากัดไทยที่มีนิสัยก้าวร้าว
- หากเลี้ยงในขวดใกล้เคียงกัน ก็ควรมีฉากกั้นระหว่างขวดโหล เพื่อน้องปลาจะได้ไม่แสดงอาการก้าวร้าวต่อกัน
- ควรเลี้ยงปลากัดแยกโหล โหลละ 1 ตัว อย่างน้อย 2 โหล เพื่อให้ปลากัดไม่เครียดเกินไป
บอกเลยว่าวงการปลากัด เป็นวงการที่ลึกล้ำ น่าค้นหา แต่แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายของการเลี้ยงน้องปลาสุดน่ารัก ก็มีไม่น้อย แต่ก็เป็นงานอดิเรกที่สามารถสร้างความสนุก ไปจนถึงสร้างรายได้ โดยการนำน้องปลาเข้าประกวด หรือขายต่อ ใครอยากเปลี่ยนแพชชั่นของตนเองเป็นรายได้ เริ่มต้นได้ด้วย สินเชื่อส่วนบุคคล ที่แรบบิท แคร์ มีมาแนะนำให้คุณ วงเงินสูง ของ่าย จบ ครบ คลิก!
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี