แคร์การเงิน

เปิดโปงสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟขึ้น และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำให้ค่าไฟแพง

ผู้เขียน : ONLYWONDER
ONLYWONDER

นักเขียนบทความด้านประกันยานยนต์ รถยนต์ การเคลมประกันรถยนต์ ที่ Rabbit Care และ Asia Direct ตั้งใจเขียนงานให้ได้เกินครึ่งจากช่วงเวลาที่หาข้อมูล ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก

close
linkedin icon
 
 
Published: April 20,2023
  
 
เผยเหตุผลที่ทำให้ค่าไฟขึ้น

ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร อาศัยอยู่ที่ไหนในประเทศไทย ก็ต้องกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาค่าไฟขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีทีท่าว่าจะลงภายในเร็ว ๆ นี้เลยแม้แต่น้อย ซึ่งสาเหตุค่าไฟแพงนั้นมาได้จากหลายส่วน และเพื่อให้ทุกคนพร้อมทำความเข้าใจว่าปัจจุบัน มีการปรับค่าไฟแพงขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าไหร่แล้วสำหรับข่าวการอัปเดตครั้งล่าสุด และนอกจากนั้นเราจะพาทุกคนไปเจาะประเด็นค่าไฟขึ้นกันอย่างละเอียด พร้อมแนะนำแอพจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ เพื่อสู้วิกฤตค่าไฟแพงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ค่าไฟขึ้นเพราะอะไร

จากข้อมูลการอัปเดตค่าไฟขึ้น จะทำให้เราพอทราบสาเหตุเบื้องต้นว่าสิ่งที่ทำให้ค่าไฟแพงขึ้น คือ ค่า FT หรือ ค่าไฟฟ้าผันแปร ซึ่งประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น ค่าเชื้อเพลิงและค่าความพร้อมจ่าย

ค่าเชื้อเพลิงราคาสูงขึ้น

ค่าเชื้อเพลิง คือ สิ่งที่นำมาผลิตไฟฟ้าซึ่งแปรผันตามสถานการณ์โลก เช่น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และอื่น ๆ ซึ่งทางกฟผ. ผลิตไฟฟ้าเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ และซื้อไฟฟ้ามาจากโรงไฟฟ้าเอกชนเพิ่มเติม ซึ่งโรงไฟฟ้าดังกล่าวใช้พลังงานจากฟอสซิลเป็นหลัก และด้วยสงครามยูเครนทำให้ก๊าซฟอสซิลขาดแคลน จนค่าเชื้อเพลิงแพงขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

ค่าความพร้อมจ่าย

ค่าความพร้อมจ่ายหรือค่าสำรองไฟฟ้าล้นเกินความจำเป็น มีสาเหตุมาจากการคาดการณ์ว่าประเทศไทยใช้ไฟฟ้าทั้งหมดกี่เมกะวัตต์ แล้วต้องการสำรองไฟเผื่อไว้ในระบบอีกเท่าไหร่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีการสำรองไฟฟ้าไว้มากกว่าความต้องการทั้งหมดประมาณ 15% แต่ในช่วงเดือนเมษายน 2564 ประเทศไทยมีการสำรองไฟฟ้าในระบบเกินกว่า 55% กลายเป็นว่าค่าไฟที่เกินไปตรงนั้นเราถูกเก็บในบิลค่าไฟของเรา จนทำให้ค่าไฟขึ้นมากกว่าเดิม

สัญญาซื้อขายไฟ

ด้วยสัญญาซื้อขายไฟระหว่างรัฐกับผู้ผลิตเอกชน มีสัญญาที่เรียกว่า สัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่มีค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (Availability Payment) หรือ ภายใต้เงื่อนไขแบบ Take or pay – ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย นับเป็นสัญญาประกันกำไร ที่ทำให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนผูกขาดการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าได้อย่างชัดเจน แม้เชื้อเพลิงจะผันผวน หรือไม่มีความต้องการใช้ไฟฟ้า ผู้ผลิตเอกชนก็จะยังได้รับผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ในสัญญา

ค่าไฟขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อไหร่

ก่อนอื่นเรามาดูอัปเดตล่าสุดกันว่าค่าไฟขึ้นไปเท่าไหร่แล้วในตอนนี้ อ้างอิงข้อมูลจากกการประชุมของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ครั้งที่ 12/2566 (ครั้งที่ 840) ได้มีมติให้นำค่า FT ประมาณการงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฝผ. ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นรวม 3 กรณี คือ ค่า FT 293.60 สตางค์/หน่วย อัตราไฟฟ้าเฉลี่ย 6.72 บาท/หน่วย, ค่า FT 105.25 สตางค์/หน่วย อัตราไฟฟ้าเฉลี่ย 4.84 บาท/หน่วย และค่า FT 98.27 สตางค์​/หน่วย อัตราไฟฟ้าเฉลี่ย 4.77 บาท/หน่วย

สรุป: ค่าไฟขึ้นครั้งล่าสุดมีมติเห็นชอบจากที่ประชุม กกพ. ให้ค่า FT อยู่ที่ 98.27 สตางค์/หน่วย และมีอัตราไฟฟ้าเฉลี่ย 4.77 บาท/หน่วย

ยกตัวอย่างเงื่อนไขสัญญาที่ทำให้ค่าไฟขึ้นง่าย ๆ คือ เราอยากซื้อข้าว 5 กิโลกรัมจากร้านค้า แต่ร้านค้ามีขายทั้งหมด 10 กิโลกรัม เราก็ต้องซื้อทั้งหมด 10 กิโลกรัม แม้ว่าเราจะไม่อยากได้ทั้งหมดก็ตาม

ค่าไฟแพงขึ้นจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้าง

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อาจทำให้ค่าไฟแพงขึ้นมีอยู่ 3 ชนิด คือ แอร์และคอมเพรสเซอร์, พัดลม และตู้เย็น โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่กล่าวมา อาจไม่ได้กินไฟมากขนาดนั้น แต่ด้วยระยะเวลาการทำงานที่ยาวนาน ทำให้ค่าไฟขึ้นได้ไม่ยากเช่นกัน

  • เครื่องปรับอากาศติดผนัง แบบ Fix Speed ขนาด 9,000 – 22,000 BTU : ค่าไฟ 2.5-6 บาท/ชั่วโมง
  • พัดลมตั้งพื้นขนาดใบพัด 12-18 นิ้ว : ค่าไฟ 0.15-0.25 บาท/ชั่วโมง
  • ตู้เย็น 2 ประตู ขนาด 5.5-12.2 คิวบิกฟุต : ค่าไฟ 0.30-0.40 บาท/ชั่วโมง

ในเมื่อภาครัฐและภาคเอกชน ดูเหมือนจะมีสัญญาระหว่างกันที่ทำให้เราไม่อาจเลี่ยงค่าไฟแพงได้นั้น อย่างน้อยถ้าเราได้รู้ว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างที่ทำให้ค่าไฟขึ้น เราก็จะสามารถวางแผนการใช้งานให้คุ้มค่า และประหยัดได้มากขึ้นนั่นเอง

วิธีลดค่าไฟด้วยแอพจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ 

แน่นอนว่าถ้าค่าไฟขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราก็ต้องหาทางเอาตัวรอด โดยเฉพาะการมองหาแอพจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟที่จะมีส่วนลด หรือช่วยให้เราประหยัดขึ้นอีกสักนิดก็ยังดี ในปัจจุบันมีแอปที่ช่วยสอนวิธีดูค่าไฟแบบง่าย ๆ พร้อมให้จ่ายได้ในทันที แถมมีโปรโมชันดี ๆ มากมาย เช่น

  • จ่ายค่าไฟผ่าน Shopee: มีโค้ดส่วนลดค่าไฟในแต่ละเดือน หรือสามารถใช้ Coin มาเป็นส่วนลดได้
  • จ่ายค่าไฟผ่าน Lazada: มีโค้ดส่วนลดไฟเช่นกัน
  • จ่ายค่าไฟผ่าน Truemoney Wallet: มีระบบสะสมแต้มไปแลกเป็นสิทธิพิเศษอื่นภายในแอปได้
  • จ่ายค่าไฟผ่าน Rabbit LINE pay: ได้รับคะแนนเป็น แรบบิทพอยท์ สามารถนำไปแลกสิทธิพิเศษได้

และถ้าหากใครอยากเพิ่มเติมความสะดวกสบายในการใช้งานแอพจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ แนะนำว่าควรมีบัตรเครดิตที่สามารถสะสมแต้มเพิ่มเติมได้ ผูกไว้กับแอพต่าง ๆ ที่เราเลือกใช้บริการ นอกจากจะได้ส่วนลดหรือสิทธิพิเศษจากแอปแล้ว เรายังมีโอกาสสะสมแต้มจากบัตรเครดิตได้อีกต่างหาก ถ้าอยากรู้จักบัตรเครดิตเพิ่มเติม สามารถคลิกเข้ามาเปรียบเทียบบัตรเครดิตกับ แรบบิท แคร์ ได้ทุกเมื่อ

  
เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ สมัครเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
  

 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 98912

แคร์การเงิน

บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พร้อมจะเพิ่มให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมาย บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card)
Natthamon
30/12/2024
Rabbit Care Blog Image 97227

แคร์การเงิน

ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
คะน้าใบเขียว
14/11/2024
Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024