แคร์การเงิน

สุขภาพทางการเงินสำคัญอย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีสุขภาพทางการเงินที่ดี

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
 
Published: June 20,2024
  
 
สุขภาพทางการเงิน

แน่นอนว่าในเรื่องของสุขภาพทางการเงินนั้นถือเป็นเรื่องที่เราต่างก็พอทราบกันอยู่บ้าง ว่าควรจะดูแลสุขภาพทางการเงินของตนเองให้ดีอยู่เสมอ แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้ว เจ้าสุขภาพทางการเงินนั้น คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไรมากน้อยแค่ไหน และเพราะอะไรถึงต้องมีสุขภาพทางการเงินที่ดี ? 

ในวันนี้ แรบบิท แคร์ จึงจะมาอธิบายให้ฟังว่าทำไมเราถึงควรที่จะมีสุขภาพทางการเงินที่ดี รวมถึงวิธีในการเช็กว่าสุขภาพทางการเงินของเราว่าดีหรือไม่ดีมาฝากทุกคนกัน!

เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ สมัครเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ เด็กจบใหม่ icon รักการท่องเที่ยว รักการท่องเที่ยว icon รักการช้อปปิ้ง รักการช้อปปิ้ง icon รักความหรูหรา รักความหรูหรา icon รักสุขภาพ รักสุขภาพ icon รักการกิน รักการกิน

สุขภาพทางการเงิน คืออะไร ?

สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบว่าสุขภาพทางการเงินคืออะไร ? สุขภาพทางการเงินหมายถึงสถานการณ์ทางการเงินของตัวเรา ณ ปัจจุบันว่ามีสภาพการณ์เป็นอย่างไร เปรียบเสมือนสุขภาพร่างกายของเราว่าอยู่ในเกณฑ์แข็งแรง เกณฑ์ดี เกณฑ์ปกติ หรือมีความย่ำแย่มากน้อยแค่ไหน เป็นตัวบ่งชี้ว่าเราควรจะดูแลและจัดการการเงินของเราเพิ่มเติมของเราอย่างไรนั่นเอง

สุขภาพทางการเงินที่ดี คืออะไร ?

หลังจากที่ได้ทราบความหมายของสุขภาพทางการเงินกันไปแล้ว บางคนก็อาจจะมีคำถามต่อว่าแล้วสุขภาพทางการเงินที่ดีล่ะ คืออะไร ? ซึ่งสุขภาพทางการเงินที่ดีนั้นก็จะหมายถึงการมีการบริหารจัดการเงินที่ดีของตัวเราเอง มีรายรับที่มากกว่าค่าใช้จ่าย สามารถมีเงินใช้จ่ายได้อย่างสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน  ไม่มีหนี้หรือมีหนี้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถจ่ายหนี้ได้อย่างสบาย ๆ มีเงินเก็บออมสำรองไว้ใช้ มีการวางแผนการจัดการความเสี่ยงในอนาคตเผื่อเอาไว้ ซึ่งถือเป็นหนทางสู่การเป็นอิสระทางการเงินในอนาคตนั่นเอง

สุขภาพทางการเงินที่ดี มีความสำคัญอย่างไร ?

หากจะพูดถึงความสำคัญของสุขภาพทางการเงินที่ดีก็คงตอบได้เพียงว่าการมีสุขภาพทางการเงินที่ดีนั้นจะทำให้เราสามารถใช้จ่ายและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข สะดวกสบาย ไม่ติดขัด เมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกังวลหรือดิ้นรนหาเงินมาจ่ายเพิ่มมากนัก ไม่มีหนี้สินให้ปวดหัวหนัก และยังเป็นการสร้างรากฐานทางการเงินที่แข็งแรงมั่นคงให้กับตนเองในอนาคตเมื่อถึงวัยเกษียณอายุ

สุขภาพทางการเงิน คือ

วิธีเช็กว่าเรามีสุขภาพทางการเงินที่ดีหรือไม่ ?

แล้วตัวเราเองล่ะ มีสุขภาพทางการเงินที่ดีหรือไม่ ? หากอยากจะทราบว่าตนเองนั้นมีสุขภาพทางการเงินที่ดีไหม ก็สามารถเช็กได้ง่าย ๆ ด้วยการสำรวจตนเองดังนี้เลย

ตรวจสอบว่าเรามีทรัพย์สมบัติอะไรอยู่บ้าง ?

  • สินทรัพย์ต่าง ๆ ที่จะแบ่งเป็น สินทรัพย์สภาพคล่อง เช่น เงินสด บัญชีออมทรัพย์ สินทรัพย์เพื่อการลงทุน เช่นเงินฝากประจำ สลากออมทรัพย์ มูลค่าพอร์ตหุ้นโดยรวม สินทรัพย์ส่วนตัว เช่น บ้าน รถยนต์ ของมีค่า (ซึ่งจะต้องทำการผ่อนชำระเรียบร้อยแล้วและตนเองเป็นเจ้าของโดยสมบูรณ์แต่เพียงผู้เดียว)
  • หนี้ระยะสั้น เช่น สมัครบัตรเครดิตและเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้จากการผ่อนจ่ายสินค้าและบริการต่าง ๆ หนี้บัตรกดเงินสด ซึ่งมีอายุไม่เกิน 1 ปี
  • หนี้ระยะยาว เช่น หนี้เงินผ่อนรถยนต์ หนี้เงินกู้บ้าน ซึ่งมีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป

โดยวิธีการคิดจะสามารถคิดคำนวณได้ตามตัวอย่างดังนี้

นาง ก. มีสินทรัพย์ 10,000,000 บาท หนี้สิน 5,000,000 บาท

ดังนั้นทรัพย์สินที่มีอยู่ปัจจุบันของ นางก. = 10,000,000 – 5,000,000 = 5,000,000 บาท

และทรัพย์สินที่ควรมี สามารถคำนวณได้ดังนี้ อายุ x รายได้ต่อปี x 10%

ตัวอย่าง นาง ก. มีอายุ 30 ปี มีเงินเดือน 50,000 บาท (x 12 = 600,000 บาทต่อปี)

ทรัพย์สินที่นาง ก. ควรมี = 30 x 600,000 x 10/100 = 1,800,000 บาท

จากทรัพย์สินที่มีอยู่ปัจจุบัน เทียบกับ ทรัพย์สินที่ควรมี (5,000,000 : 1,800,000)

หมายความนาง ก. มีทรัพย์สิน มากกว่า ทรัพย์สินที่ควรมี

ดังนั้นจึงถือว่านาง ก. มีสุขภาพการเงินโดยรวมแข็งแรงนั่นเอง

* สำหรับใครที่ไม่อยากคิดคำนวณเองก็สามารถเสิร์ชหาโปรแกรมวิเคราะห์สุขภาพทางการเงินได้ทั่วไปตามอินเทอร์เน็ตเป็นการเพิ่มความสะดวกสบาย

สำรวจว่าตนเองมีหนี้ต่อเดือน มากเกินไปหรือไม่ ?

สำหรับการมีหนี้สินติดตัวนั้นเราจะต้องแน่ใจว่ามีหนี้สินที่ไม่มากเกินไป หรืออาจกล่าวได้ว่าจะต้องไม่มีหนี้สินมากเกินกว่าหนึ่งส่วนสามของรายได้ต่อเดือน 

เช่น นาง ก. มีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน ภาระหนี้สินต่อเดือนที่มีได้คือไม่เกินประมาณ 16,666 บาท ซึ่งถ้าหากมีมากกว่านั้น ก็จะต้องเพิ่มรายได้ หรือ ลดค่าใช้จ่ายลงเพื่อให้นาง ก.มีสุขภาพการเงินที่ดี

สำรวจว่าตนเองมีเงินออมเผื่อฉุกเฉินมากพอหรือไม่ ?

สำหรับเงินออมเผื่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่ควรมีติดตัวไว้นั้นคือควรจะมีเงินสำรองฉุกเฉินล่วงหน้าจากค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายประจำอยู่ทุกเดือนขั้นต่ำ 6 เดือนขึ้นไป เช่น นาง ก. มีรายจ่ายประจำต่อเดือน เดือนละ 25,000 บาท เงินออมเผื่อฉุกเฉินที่ควรมี คือ 25,000 x 6 = 150,000 บาทนั่นเอง

วิธีสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี

สำหรับบางคนที่ลองสำรวจสุขภาพทางการเงินของตนเองดูแล้วพบว่าตนเองมีสุขภาพทางการเงินที่ไม่ดี ในวันนี้ แรบบิท แคร์ ก็มีวิธีการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีมาฝากให้ทุกคน

  • มีเป้าหมายการออมที่ชัดเจน : ตั้งเป้าหมายทางการออมที่ชัดเจนและตั้งใจในการเก็บออมเงินอย่างจริงจัง ใช้จ่ายเงินด้วยวิธีออมก่อนใช้ทีหลังหลังจากที่ตั้งเป้าหมายที่พอดีและเหมาะสมให้กับตนเอง
  • มองให้ขาดระหว่างความจำเป็นและความอยาก : ต้องฝึกพิจารณาว่าการซื้อของด้วยความจำเป็นและความอยากนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร โดยต้องรู้จักหักห้ามใจและเลือกซื้อเฉพาะของที่จำเป็น
  • มุ่งมั่นตั้งใจในการเก็บออมเงินสำรองฉุกเฉิน : สำหรับเงินสำรองฉุกเฉินนั้นควรจะมีสำรองไว้เป็นจำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายสำหรับ 6 เดือนขึ้นไป
  • ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ : การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายจะทำให้เราสามารถรู้ที่มาที่ไปของเงิน และตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกได้อย่างง่ายดาย
  • ให้ความสำคัญกับการใช้หนี้ : สำหรับใครที่มีหนี้สินติดตัวควรให้ความสำคัญกับการปลดหนี้โดยไว
  • หาหนทางที่จะช่วยเพิ่มรายได้ : การมองหาวิธีการสร้างรายได้เพิ่มเติมที่นอกเหนือจากการทำงานประจำเป็นอีกวิธีที่จะสนับสนุนการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี
  • รู้จักลงทุน ทำให้เงินงอกเงย : ศึกษาวิธีการใหม่ ๆ ในการใช้เงินต่อเงิน เช่น การเล่นหุ้น กองทุนรวม การซื้อพันธบัตรรัฐบาล การซื้อประกันออมทรัพย์ กับ แรบบิท แคร์ ซึ่งจะช่วยให้เงินเก็บที่มีอยู่สามารถงอกเงยขึ้นได้เรื่อย ๆ ทั้งนี้จะต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนเริ่มลงทุนทุกครั้งนั่นเอง

วิธีเหล่านี้เป็นวิธีที่ดีในการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ สำหรับใครที่บ่มเพาะสุขภาพทางการเงินที่ไม่ดีเอาไว้ ลองนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้กันได้เลย

โปรแกรมวิเคราะห์สุขภาพทางการเงิน

แนวคิดที่ต้องมีเพื่อให้มีสุขภาพทางการเงินที่ดีอยู่ตลอดเวลา

สำหรับผู้ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีอยู่แล้วและผู้ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ยังไม่ดีเท่าไหร่นักแต่อยากปรับเปลี่ยนแนวความคิดของตนเองเพื่อเริ่มต้นสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีอย่างยั่งยืนควรยึดมั่นกับแนวความคิดดังต่อไปนี้ในการบริหารจัดการการเงิน

  • ต้องใช้เงินให้น้อยกว่าจำนวนเงินที่หามาได้
  • หนี้สินนั้นไม่นับว่าเป็นเงินของเรา
  • ประสบปัญหาเงินเฟ้อไม่น่ากลัวเท่าการขาดทุน
  • บางครั้งการมองโลกในแง่ร้ายก็ช่วยลดโอกาสในการจนได้
  • อยากมีอิสรภาพทางการเงินจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาสร้าง
  • ไม่มีเงินจำนวนมากที่สามารถหามาได้โดยง่าย
  • ความโลภไม่ทำให้ใครรวย แต่ทำให้เงินหมดตัวเสมอ

แนวคิดเหล่านี้ถือเป็นแนวคิดดี ๆ ที่หากเรายึดถือเอาไว้ในใจ แน่นอนว่าจะสามารถสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีและยั่งยืนได้อย่างไม่ยากแน่นอน

และนี่ก็คือความสำคัญของการมีสุขภาพทางการเงินที่ดี และวิธีในการเช็กสุขภาพทางการเงิน รวมถึงเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพทางการเงินของตนเองในแง่มุมต่าง ๆ ที่ แรบบิท แคร์ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนได้บ้างนั่นเอง


สรุป

สรุปบทความ

สุขภาพทางการเงินหมายถึงสถานการณ์ทางการเงินของตัวเรา ณ ปัจจุบันว่ามีสภาพการณ์เป็นอย่างไร เปรียบเสมือนสุขภาพร่างกายของเราว่าอยู่ในเกณฑ์แข็งแรง เกณฑ์ดี เกณฑ์ปกติ หรือมีความย่ำแย่มากน้อยแค่ไหน โดยวิธีเช็กเบื้องต้น คือ

  • ตรวจสอบว่าเรามีทรัพย์สมบัติอะไรอยู่บ้าง เช่น สินทรัพย์ต่าง ๆ , คำนวนหนี้ระยะสั้น รวมไปถึงหนี้ระยะยาว
  • สำรวจว่าตนเองมีหนี้ต่อเดือน มากเกินไปหรือไม่
  • สำรวจว่าตนเองมีเงินออมเผื่อฉุกเฉินมากพอไหม
จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 98912

แคร์การเงิน

บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พร้อมจะเพิ่มให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมาย บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card)
Natthamon
30/12/2024
Rabbit Care Blog Image 97227

แคร์การเงิน

ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
คะน้าใบเขียว
14/11/2024
Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024