แคร์การเงิน

โซล่าเซลล์ ต้องลงทุนเท่าไหร่ ? ติดแล้วคุ้มจริงหรือ ? 

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published June 01, 2023

เมืองร้อนอย่างประเทศไทยบ้านเรา แน่นอนว่านอกจากอากาศอันร้อนแรงทะลุปรอท ก็ยังมีแสงอาทิตย์ทรงพลัง อัดฉีดแดดแผดเผา สร้างความเบื่อหน่ายให้พวกเราทุกคนกันถ้วนหน้า แต่แทนที่จะเกลียดแดด มาสนิทกับแดดกันดีกว่า ด้วยโซล่าเซลล์ เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้ามาใช้เองที่บ้าน ประหยัด รักษ์โลก แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าโซล่าเซลล์ คุ้มจริงหรือ ? ลงทุนเท่าไหร่ ? ช่วยประหยัดจริงไหม ?

โซล่าเซลล์ คือ ?

โซล่าเซลล์ Solar Cell หรือ Photovoltaic cell คืออุปกรณ์ที่ใช้แปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษเรียกว่าเซลล์แสงอาทิตย์หรือเซลล์โซล่าเซลล์ ทำให้สามารถรับรู้และแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นไฟฟ้าได้ 

วิธีการทำงานของโซล่าเซลล์

แสดงอาทิตย์ เป็นหนึ่งในพลังงานที่ทรงพลังที่สุดในระบบสุริยะ โดยสิ่งที่สามารถกักเก็บความร้อน และสามารถหาเจอได้ทั่วไปบนโลกคือทราย ฉะนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงทดลองนำทราย และคาร์บอนผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อน ทำให้ทรายกลายเป็นผลึกที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% ในรูปแบบของ Polycrystalline Silicon และจึงนำมาแปรรูปเป็นแผ่นบาง อันเป็นส่วนประกอบสำคัญใน Solar Cell

Polycrystalline Silicon จะถูกตัดออกมาเป็นแผ่นเล็ก ๆ (Panel) เชื่อมต่อกัน ทำหน้าที่เก็บสะสมอิเล็กตรอนจากแสงอาทิตย์* และแปลงอิเล็กตรอนไปเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานความร้อนที่สามารถใช้ภายในบ้านได้ ซึ่ง Panel จะถูกประกอบด้วย EVA Sheet กันฝุ่น และฝน แต่ไม่บดบังแสงแดด ซึ่งพลังงานไฟฟ้าที่ได้จะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่ หรือ Solar Charge Controller

*รายละเอียดของกระบวนการการทำงานของ Solar Panel มีความซับซ้อน เพราะต้องอาศัยการสร้างวงจรไฟฟ้า การไหลเวียนของอิเล็กตรอน จากสนามไฟฟ้า ไปสู่ negative Field จึงขอละไว้ในฐานที่เข้าใจ

อยากติดโซล่าเซลล์ที่บ้าน ต้องวางแผนอย่างไร ?

เตรียมว่าจะตั้งโซล่าเซลล์ตรงจุดไหน

การตั้งแผงโซล่าเซลล์ จะต้องเป็นจุดที่มีแสงแดดเพียงพอ ไม่ถูกต้นไม้ หรือร่มเงาบดบัง โดยเฉพาะในช่วงตอนเช้า และกลางวัน และบ่าย ๆ ซึ่งจะเป็นช่วงที่ได้แสงแดดมากที่สุด และเป็นช่วงที่เราใช้ไฟฟ้ามากที่สุด นอกจากนั้นจะต้องจรวจสอบด้วยว่าพื้นผิวที่แข็งแรงพอ เพราะแผงโซลล่า ไม่ได้มีน้ำหนักเบา เช่นหากต้องการติดตั้งบนหลังคาให้ตรวจสอบด้วยว่าหลังคามีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรองรับน้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์ 

เลือกประเภทของโซล่าเซลล์ 

ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการเรียงตัวของแผ่น Polycrystalline Silicon จะมีแบบ Polycrystalline และ Monocrystalline ซึ่งในเชิงราคา Monocrystalline จะราคาแพงกว่ามาก แต่ก็จะให้หน่วยไฟฟ้าที่สูงกว่า Polycrystalline ที่ราคาถูกกว่า โดย Solar Cell ที่ใช้ในระดับครัวเรือนส่วนมากจะเลือกแบบ Polucrystalline เพราะไม่ได้จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าที่มี voltage สูงขนาดนั้น

เลือกรูปแบบการติดตั้งโซล่าเซลล์

ระบบแยกเดี่ยว Stand Alone System หรือระบบออฟกริด คือใช้แผงโซลาร์เซลล์ ทำงานร่วมกับ และ อุปกรณ์จัดเก็บพลังงานหรือแบตเตอรี่ ระบบนี้เหมาะกับบ้าน หรือโรงงานที่อยากผลิตไฟฟ้าใช้เองในพื้นที่ห่างไกลหรือสถานที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ซึ่งไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับระบบสายส่งไฟฟ้าของทางการ แต่ราคาต้นทุนอาจราคาสูงสักหน่อย เพราะต้องมีชุดแบตเตอรี่

ระบบเชื่อมต่อสายส่ง On grid system คือใช้โซลาร์เซลล์ควบคู่กับไฟฟ้าจากโรงงานทั่วไป เพื่อประหยัดไฟฟ้า ซึ่งใช้สำหรับบ้านในเมือง ไม่ต้องมีแบตเตอร์รี่เก็บไป สามารถใช้ประกอบการไฟฟ้าทั่วไปได้เลย จึงอาจจะใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า หากแต่ก็จะต้องมีความยุ่งยากในเรื่องของการติดต่อกับ ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (PPIM) ซึ่งอาจมีค่าดำเนินการ และภาษีต่าง ๆ เล็กน้อย 

โซล่าเซลล์ ราคา ต้องลงทุนเท่าไหร่ ?

แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายของโซล่าเซลล์ก็จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของ solar cell ความเยอะของ Solar Panel และจุดประสงค์การใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น solar cell ในโรงงาน หรือใช้แค่ในครัวเรือน ค่าใช้จ่ายจึงจะแตกต่างกันออกไปอย่างมาก แต่วันนี้ แรบบิท แคร์ ขอยกตัวอย่างเพียงแค่ค่าใช้จ่ายสำหรับ solar cell ที่ใช้ในครัวเรือน โดยจะเป็นการคำนวณแบบคร่าว ๆ ไม่ได้เป็นตัวเลขที่แน่นอน

ตัวอย่าง

บ้านเดี่ยว 2 ชั้น ขนาด 40 ตารางวา อาศัยอยู่เป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อ แม่ ลูก 3 คน

ต้องการติด Solar Cell รูปแบบ Polycrystalline ติดตั้งแบบ On grid system 

ติดตั้งบนหลังคา แผง Solar Cell กินพื้นที่ประมาณ 20 ตารางเมตร

แผงละประมาณ ฿145,000 ค่าขออนุญาตประมาณ ฿25,000* ค่าติดตั้งและเดินระบบประมาณ ฿20000 บาท

รวมต้องลงทุนตั้งระบบโซล่าเซลล์ประมาณ ฿190,000

*ค่าขออนุญาตติดตั้ง Solar-Cell จะต้องจ่ายแค่กรณีที่ติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ On-grid system เท่านั้น เพราะทางการจะต้องเข้ามาเดินสายเชื่อมต่อระหว่างระบบการไฟฟ้าของส่วนร่วม กับระบบโซล่าเซลล์ของเรา โดยหากคุณใช้ระบบ Off-grid โดยมีแบตเตอรี่เก็บไฟฟ้าของตนเองอยู่แล้ว จะไม่ต้องเสียค่าอนุญาตนั่นเอง


โซล่าเซลล์ เมื่อไหร่จะคุ้ม ?

ต่อยอดมาจากตัวอย่างข้างต้น แผงโซล่าเซลล์ราคาประมาณ ฿145000 หากระบบที่บ้านใช้ไฟ 5kW คุณพ่อและคุณแม่ทำงานที่บ้านทุกวัน จะประหยัดไฟได้ประมาณ ฿3500 ทุกเดือน

1 ปี จะช่วยประหยัดไฟประมาณ ฿42000

จะต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปี จึงจะสามารถประหยัดไฟรวม 210,000 ซึ่งจะคุ้มทุน 190,000 ซึ่งหากเป็นโซล่าเซลล์ที่ได้มาตรฐานจะสามารถใช้งานได้ 25-30 ปี หากดูแลรักษาดี ๆ 

สรุป ต้องใช้งานระยะยาวเท่านั้นจึงจะคุ้ม แต่ก็ต้องเป็นสิ่งที่ผู้อาศัยในบ้านต้องช่วยดูแล และรักษาดี ๆ เพื่อให้โซล่าเซลล์สามารถใช้งานได้เต็มอายุการใช้ นอกจากนั้นยังมีผลดีในด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร เพราะเป็นรูปแบบพลังงานธรรมชาติ สะอาด และสร้างมลภาวะน้อย

ค่าใช้จ่ายแอบแฝง

  • ค่าทำนุบำรุงโซล (ประมาณปีละ ฿5000) : หากอยากให้่ solar cell ใช้งานได้อย่างยาวนาน หลัก 20-30 ปี จะต้องหมั่นดูแล ซึ่งหากติดตั้งบนหลังคา อาจต้องจ้างให้มีคนมาตรวจสอบ ดูแล ค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มขึ้นสูง ควรดูแลทุกปี หรือปีละ 2 ครั้ง 
  • ค่ามอนิเตอร์ (ประมาณ ฿5,000 – ฿10,000) :  หากต้องการตรวจสอบว่า solar cell ของคุณสามารถผลิตไฟฟ้าได้เท่าไหร่ คิดคำนวณเป็นเงินเท่าไหร่ จะต้องมีการติดตั้งมอนิเตอร์เข้ามาเสริมด้วย

โซล่าเซลล์ ใช้อย่างไรให้คุ้ม

  • ผู้ที่ใช้ไฟฟ้าตลอดทั้งวัน เช่นมีการทำงาน work from home อยู่ตลอดเวลา อาจเป็นรูปแบบของโฮมออฟฟิศ หรือมีการใช้แอร์ตลอดทั้งวัน
  • เป็นที่พักผ่อนอยู่อาศัยระยะยาวระดับ 10 ปีขึ้นไป 
  • มีพื้นที่เพียงพอในการติดตั้งโซล่าเซลล์อยู่แล้ว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะในการตระเตรียมพื้นที่ในการติดตั้ง Solar Panel 

ผลพลอยได้ จากการติดตั้งโซล่าเซลล์

ไฟฟ้าส่วนเกิน สามารถนำไปขายได้

นอกจากนั้นการผลิตไฟฟ้าของโซล่าเซลล์ยังมีข้อดีที่หลายคนอาจยังคาดไม่ถึงอีกด้วย เช่นหากติดต่อกับ “ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (PPIM)” หรือ “การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)” และติดตั้งระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์โดยหน่วยงาน PPIM เน้นการติดตั้ง Solar Rooftop ผลิตไฟฟ้าใช้เอง (Self Consumption) และหน่วยไฟที่เกินจากการใช้จริง ไฟฟ้าที่เหลือสามารถขายได้

โดยข้อกำหนดคือ ผู้ยื่นขอขายไฟฟ้าเป็นผู้ลงทุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เองทั้งหมด และเป็นโซล่าเซลล์แบบ On-grid system เชื่อมกับการไฟฟ้าระบบใหญ่ โดยจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบ ภายหลังได้รับการพิจารณา ในราคา 2,000 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งราคาที่PEA รับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจะอยู่ที่ 2.2 บาท/หน่วย (kWh) จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้เกิดความคุ้มค่าขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการตัดสินใจลงทุนกับโซล่าเซลล์ และไม่ได้ใช้ไฟฟ้าเยอะขนาดนั้น

โซล่าเซลล์ ช่วยลดภาษีได้ 

ใช้โซล่าเซลล์ (เฉพาะสำหรับนิติบุคคล) สามารถลดหย่อนภาษีได้ ! เพราะโซล่าเซลล์ถือว่าเป็นสินค้าประเภทที่ช่วยประหยัดพลังงานซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาล เพราะเป็นการผลักดันเศรษฐกิจ และยังสนับสนุนแนวทางพลังงานสะอาด

แต่ข้อจำกัดก็คือการลดหย่อนภาษีในกลุ่มการใช้โซล่าเซลล์แบบครัวเรือนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะลงทุนในระดับแสนกว่า ๆ ไม่ถึงล้าน อาจไม่สามารถขอลดหย่อนภาษีได้ จะต้องเป็นการใช้ solar cell ในรูปแบบของบริษัท นิติบุคคล ที่มีทุนในการติดตั้งระบบ solar cell เชิงพาณิชย์ ใช้ในโรงงานหรือบริษัท เป็นมูลค่าเกิน 1 ล้านบาทขึ้นไป จึงจะมีสิทธิ์ลดหย่อนภาษีเงิน และอยู่ในการควบคุมของ BOI (Borad of Invester) 

โดยสิทธิ์ที่ได้คือ ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% ของเงินลงทุน ภายใน 3 ปีแรกที่ลงทุน

สรุปแล้ว โซล่าเซลล์ก็เป็นอีกหนึ่งทางออกที่ดีสำหรับบ้าน หรือบริษัท ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือโลก ใช้พลังงานสะอาดมาใช้ร่วม หรือทดแทนไฟฟ้าทั่วไป ซึ่งหากใครคิดการณ์ไกล อยากลงทุนเพื่ออนาคต แต่ยังไม่มีทุนทรัพย์ที่พร้อมสรรพ แรบบิท แคร์ ขอแนะนำสินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินเยอะ ของ่าย ไม่เรื่องเยอะ คลิกเลย

ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ


  

บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024