Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Oct 06, 2023

ประเด็นศึกษาเกี่ยวกับ Fiscal Cliff คืออะไร

Fiscal Cliff คือ การมีภาวะสูญเสียแรงผลักดันทางเศรษฐกิจฉับพลันอย่างรุนแรง หรือภาษาไทยที่เรียกว่า หน้าผาทางการคลัง โดยที่ไม่มีมาตรการใดๆ จากรัฐบาลมารองรับปัญหานี้ ทำให้ไม่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือส่งผลให้ภาวะทางเศรษฐกิจถดถอยลงได้ Fiscal Cliff จึงเปรียบเสมือนการเดินมาถึงปลายหน้าผาที่ไม่มีอะไรกั้น และตกดิ่งลงมา ตัวอย่างสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นที่ประเทษสหรัฐอเมริกาช่วงปี 2555 จากการสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังของรัฐบาลกลาง ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยประธานาธิปดี บุช (Bush tax cuts) ซึ่งก็คือการลดหย่อนภาษีต่างๆ เช่น ภาษีเงินได้ และ ภาษีมรดก นั่นเอง

อุปสรรคในการแก้ไขปัญหา Fiscal Cliff ของสหรัฐอเมริกาช่วงปี 2555

เมื่อเรารู้จัก Fiscal Cliff คืออะไรไปแล้ว ทีนี้เรามาทำความเเข้าใจปัญหาของ Fiscal Cliff กันดีกว่า อันเนื่องมาจากปัญหาทางการเมือง ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อการเลือกตั้ง ส่งผลให้การตัดสินใจในการใช้นโยบายต่างๆ เกิดความล่าช้าขึ้น แถมนโยบายทางเศรษฐกิจของทั้งสองพรรคที่ลงสมัครนั้นแตกต่างกันอีกด้วย จนทำให้ United States Congress (รัฐสภาสหรัฐ) ไม่สามารถดำเนินมาตรการเพื่อช่วยแก้ปัญหา Fiscal Cliff

ผลกระทบจาก Fiscal Cliff ของสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทย

ผลกระทบที่เห็นได้ชัดจาก Fiscal Cliff คือเรื่องการส่งออกสินค้าต่างๆ จากประเทศไทย ไปสู่สหรัฐอเมริกา ต้องชะลอตัวลง รายได้จากการส่งออกจะน้อยลงยิ่งขึ้น เงินบาทจะแข็งค่าขึ้น ส่วนในเรื่องของการลงทุนในหุ้น หรือกองทุนต่างๆ จะมีมูลค่าลดลง หรือที่เรียกภาษางง่ายๆ ว่า “ติดดอย” นั่นเอง

วิธีการแก้ปัญหา Fiscal Cliff เบื้องต้น ณ ขณะนั้น

ทางประเทศสหรัฐอเมริกาจะต้องออกกฎหมายมาเพื่อต่ออายุมาตรการพวกนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อทำการยืดระยะเวลาชั่วคราว ก่อนที่มาตรการตัวจริงของรัฐบาลใหม่จะถูกประกาศใช้แทน แต่ทว่าการออกกฎหมายของทางประเทศสหรัฐอเมริกานั้นจะต้องผ่านทั้งสภาล่าง, สภาสูง และประธานาธิบดี ซึ่งเป็นคนของแต่ละฝ่ายที่เป็นคู่แข่งกันทางการเมืองกัน ทำให้ความเห็นขัดแย้งกันเอง ผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น บารัค โอบามา (Barack Obama) จากพรรค พรรคเดโมแครต (Democrat) ได้รับชัยชนะ โดยมาตรการในการแก้ปัญหา Fiscal Cliff เบื้องต้นของนาย บารัค โอบามา ก็คือการขยายเวลาลดภาษีสำหรับกลุ่มคนที่มีรายได้ระดับกลาง ไปจนถึงระดับล่าง และขึ้นภาษีสำหรับกลุ่มคนที่มีรายได้ระดับบน ออกแบบอัตราภาษีในส่วนของกำไรและปันผลที่ได้จากการลงทุนที่ซับซ้อนขึ้นกว่าของเดิม โดยที่มุ่งเก็บภาษีไปที่กลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยเป็นหลัก เช่น การขึ้นภาษีครัวเรือน สำหรับผู้ที่มีรายได้เกิน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี ส่วนระยะยาวจะมีการปรับเพิ่มรายจ่ายด้านสังคมและสวัสดิการณ์ให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นภาระรายจ่ายระยะยาวของภาครัฐเลยทีเดียว

เหตุการณ์ Fiscal Cliff ในประเทศไทย

ช่วงปี 2563 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากสถานการณ์ของ COVID-19 ส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจของไทยย่ำแย่ลง ไปจนถึง เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลที่น้อยลงเรื่อยๆ จากสัญญาณเตือนอย่างอัตราการว่างงานที่พุ่งสูงสุดในรอบ 11 ปี ประชาชนมีรายได้ลดลง และส่งผลให้ประเทศไทยเราสุ่มเสี่ยงเจอ Fiscal Cliff หรือสถานการณ์ตกหน้าผาทางการคลังนั่นเอง มาตรการการช่วยเหลือจากรัฐบาล อย่างเงินช่วยเหลือคนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน เมื่อหมดลง เงินก้อนใหม่ที่ไปกู้มาก็ไม่อาจเพียงพอต่อการหมุนและสนับสนุนเศรษฐกิจให้เติบโตก้าวหน้าได้ เปรียบเสมือนคนที่ตกหน้าผาที่สูงชัน จะกลับขึ้นมาใหม่ก็ยาก คงต้องลุ้นมาตรการใหม่ๆ จากทางรัฐบาลที่จะมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้นต่อไป เพื่อป้องกัน Fiscal Cliff ืที่อาจเกิดขึ้นในไทย

สรุปแล้ว Fiscal Cliff คือปัญหาจากการที่เศรษฐกิจของประเทศ สูญเสียแรงขับเคลื่อนทางการเงินอย่างฉับพลัน โดยที่ไม่มีมาตรการมารองรับ ทำให้สภาพทางการเงินของประเทศขัดข้องชั่วขณะกระทันหัน เหมือนการตกเหวลึก วิธีป้องกันปัญหา Fiscal Cliff เหล่านี้คือจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ที่เข้าใจเรื่องการเงินของประเทศ รวมไปถึงกลไกทางตลาดโลก และมีมาตรการสำหรับเหตุไม่คาดฝันต่างๆ อยางมหันตภัย หรือโรคระบาดเช่นสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา โดยภาครัดควรเช็คความคุ้มค่าในการลงทุนอะไรต่างๆ ก่อนที่จะลงทุน ไม่ทุจริต เรียงลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ ให้ดี เพื่อช่วยให้ประเทศไทยพ้นจากขอบเหว Fiscal Cliff ได้อย่างปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาก็ดี หรือไทยเองก็ดี ยังไม่ถึงสถานการณ์ Fiscal Cliff เรายังคงพยายามที่จะปีนป่ายเอาตัวรอดกันต่อไปเรื่อยๆ ได้ สำหรับตัวเองนั้นจะต้องวางแผนทางการเงินให้ดี เพื่อเตรียมรับกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ ในอนาคต

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

สินเชื่อส่วนบุคคลไทยเครดิตไทยเครดิต

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำสุด 9.99% ปี
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท
  • จ่ายคืนขั้นต่ำ 3% หรือ 500 บาท
  • อายุ 20-60 ปี บุคคลธรรมดา
  • รวบหนี้บัตรเครดิตและเงินสด
  • ไม่มีค้ำประกัน
CardX SPEEDY LOANCardX SPEEDY LOAN

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อน 540 บาท
  • เงินเข้าบัญชีใน 24 ชม.
  • ผ่อนนานสูงสุด 72 เดือน
  • คุ้มครองฟรีประกันชีวิตวงเงิน
  • รายได้ 30,000 บาท พนักงาน
  • ผ่านทดลองงาน อายุงานขั้นต่ำ 4 เดือน
สินเชื่อเงินสด MoneyThunderMoneyThunder

สินเชื่อเงินสด

  • วงเงินหลักล้าน
  • อนุมัติไวใน 10 นาที
  • ดอกเบี้ย 2.08% ต่อเดือน
  • วงเงินหมุนเวียน ผ่อนเริ่มต้น 200 บาท/เดือน
  • เงินก้อนเดียว ผ่อนสบายนานถึง 60 เดือน
  • ไม่มีหลักทรัพย์และไม่ต้องค้ำ
LINE BKLINE BK

สินเชื่อเงินสด

  • ไม่ต้องสลิปเงินเดือน รายได้ 5,000 บาท
  • วงเงินใช้ได้ทันทีหลังอนุมัติ
  • ดอกเบี้ยสูงสุด 25% วงเงิน 800,000 บาท
  • วงเงินสูงสุด 100,000 บาท ดอกเบี้ย 33%
  • วงเงินสูงสุด 8 แสนบาท
  • สมัครง่ายด้วยบัญชี LINE BK

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา