สร้างช่องยูทูปอย่างไร ? พร้อมไอเดียทำคอนเทนต์ให้ปังคนซับฯ เยอะ สร้างรายได้แยะ
หนึ่งในอาชีพในฝันของใคร ๆ หลาย ๆ คนในยุคสมัยนี้ ก็คงหนีไม่พ้น ยูทูปเปอร์ / คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ เพราะนอกจากจะมีรายได้ที่ดี และให้อิสระในการใช้ชีวิต ได้เป็นนายตนเอง และได้ทำในสิ่งที่ตนเองรัก พร้อมทั้งสามารถเริ่มได้เลย ไม่ต้องมีทุนเยอะ ก็ทำได้ จึงอยากแนะนำวัยรุ่น วัยทำงานทั้งหลาย ลองสร้างช่องยูทูป นำเสนอตนเอง และแพชชั่นต่าง ๆ ออกมาให้ปัง จนมีคนกดสมัคร กดซับ ไปจนถึงได้รายได้ สร้างเนื้อสร้างตัวกันไป
ขั้นที่ 1 : คิดก่อนว่าจะสร้างช่องยูทูปอะไรดี ?
หากต้องการสร้างช่องยูทูป ก่อนอื่นจะต้องมีคิดอย่างจริงจังเลยว่าเราอยากทำช่องแนวไหน จุดแข็ง และจุดอ่อนของคุณคืออะไร? หากเราเป็นคนกล้าแสดงออก พูดเก่ง ตลก มุกเยอะ คุณอาจสร้างช่องยูทูปที่มีตัวคุณเองออกกล้อง และสามารถยืดหยุ่นกับคอนเทนต์ได้มาก ๆ เพราะตัวคุณเองนี่แหล่ะจะเป็นตคัวดึงดูดยอดวิว แต่หากคุณไม่ชอบออกกล้อง อาจจะต้องเน้นความรู้ นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ เป็นเทรนด์ ดึงดูดคน โดยขอยกตัวอย่างไอเดียช่องยูทูปที่กำลังปังมาก ๆ ในช่วงนี้
สร้างช่องยูทูปเกมส์
มีช่วงปี 2010 ที่ยูทูปเปอร์สายเกมส์ครองแพลตฟอร์มมาก ๆ ซึ่งปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่ ขอเพียงเราสามารถเล่นเกมส์ และพากย์เกมส์ไปด้วยได้แบบสนุกสุดมัน ให้คนดูรู้สึกมีส่วนร่วมไปด้วย แถมสายเกมเมอร์ยังสามารถขยายไปบนแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น Twitch หรือ FB Live และร่วมสนุก interact กับผู้ติดตามได้โดยตรงอีกด้วย
สร้างช่องยูทูป How-to
ในปี 2022 คอนเทนต์แนว How-to มีคนดูทั่วโลกเยอะเป็นอันดับ 2 เน้นข้อมูลกระชับ มีประโยชน์ พร้อมการสาธิตให้เห็นภาพจริง ๆ นอกจากนั้นยังมีคอนเทนต์สนุก ๆ เช่น Life Hack ที่ใช้ของใกล้ตัว มาทำให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เป็นต้น
สร้างช่องยูทูป ASMR หรือเพื่อความผ่อนคลาย
เรียกว่าเทรนด์ ASMR มาแรงมาก ๆ จากเคยเป็น Sub-category ที่แทบไม่มีใครรู้จัก ตอนนี้กลายเป็นคอนเทนต์ที่มีคอนเสพมากที่สุดอันดับ 10 แถมยอดวิวต่อคลิปยังเยอะ และมีความยาวมากอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงโควิด ที่ผู้คนเครียด และต้องการพื้นที่ปลอดภัย ต้องการผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็น ASMR เพื่อการนอน ทำเสียง White Noise / เสียงกระซิบให้แรงบันดาลใจ / Mouth Sound / เสียงฝน ไปจนถึงเสียงพิมพ์ดีด เสียงเขียนหนังสือ Study with me หรือจะเป็นเสียงกินข้าว Mukbang โดยสร้างช่องยูทูป ASMR ทำได้ง่าย ๆ ไม่ต้องลงทุนเยอะ
สร้างช่องยูทูปรีแอ็คชั่น และวิจารณ์ React & Commentary
อีกหนึ่งประเภทวิดีโอสุดฮิต ปรับให้เข้าหกับสิ่งที่คุณชอบได้หมด ไม่ว่าจะเป็นรีแอ็ค และวิจารณ์หนัง ซีรีส์ ข่าวสาร ประเด็นร้านในโซเชียล ดารา K-Pop และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยสามารถทำได้ไม่ยากเลย แต่อาจจะต้องระมัดระวังเรื่องลิขสิทธิ์ แต่หากจับทางได้แล้วก็จะเป็นอีกหนึ่งคอนเทนต์ที่ปังมาก ๆ
สร้างช่องยูทูปแนวสุขภาพ
ยุคหลังโควิด มีรายงานว่าผู้คนทั่วโลกจะหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เปิดช่องทางให้เหล่าคอนเทนต์ด้านสุขภาพได้รับความสนใจเยอะมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวฟิตเนส สาธิตการออกกำลังกาย การกินแบบเฮลที หรือจะเป็นเหล่าผู้เชี่ยวชาญตามแขนงต่าง ๆ ทางการแพทย์ หรือสุขภาพ แชร์ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ หรือประเด็นเรื่องสุขภาพ และการแพทย์ต่าง ๆ ที่กำลังเป็นกระแสอยู่บนสื่อต่าง ๆ
สร้างช่องยูทูปเกี่ยวกับอาหาร+เที่ยว
ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของคนชอบกินอยู่แล้ว! คอนเทนต์แนวอาหารจึงเล่นได้หลากหลายมุมมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพาทัวร์ ตามหาร้านอาหารแสนเด็ด ไปจนถึงทำอาหาร คิดค้นเมนูสุดปังให้ทุกคนได้ลิ้มรส ซึ่งนอกจากนั้นการกินการเที่ยวก็มักจะมาคู่กับ อาจสามารถขยายไปสู่การเที่ยวได้แบบไม่รู้สึกขัดเลย
สร้างช่องยูทูปแนวไลฟ์สไตล์
เป็นที่นิยมในประเทศไทยอย่างมาก แต่เราอาจจะต้องมีคนรู้จักเสียหน่อย เป็นการนำเสนอตัวตน Daily Blog นำเสนอสไตล์ แพชชั่นต่าง ๆ ซึ่งอาจจะปั้นขึ้นมายากหน่อย แต่เป็นรูปแบบช่องยูทูปที่มีความ Personal มาก ๆ สร้างฐานแฟนคลับที่แน่นแฟ้นได้สุด ๆ
ขั้นที่ 2 : สมัครสมาชิก
- ก่อนอื่นต้องสมัคร Gmail ก่อน สำหรับใครที่มีแล้วให้ใช้ Gmail ส่วนตัว ที่ใช้ประจำก็ได้ หากแต่สำหรับใครที่ยังไม่มี ให้สมัครเลย เพราะจะต้องใช้ Gmail ในการสร้างช่องยูทูป
- จากนั้นให้ล็อคอิน Gmail เข้ากับ Youtube จากนั้นก็คลิกบริเวณมุมขวาของคอมฯ (บริเวณที่มี Icon อีเมลของคุณ) แล้วกด ‘สร้างช่อง’
- พิมพ์ชื่อ และชื่อผู้ใช้ โดยชื่อ ก็คือชื่อชองยูทูปของคุณ จะแสดงทุกครั้งเมื่อมีคนเสิร์จ หรือดูวิดีโอของคุณ ส่วนชื่อผู้ใช้ก็คือ Handle จะนำหน้าด้วย @….. ใช้สำหรับกรณีที่พูดคุย ตอบคอมเมนต์ต่าง ๆ โดยจะเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
- สามารถอัปโหลดรูปเปลี่ยนภาพโปรไฟล์ของช่องคุณได้
- กด ‘สร้างช่อง’ ได้เลย
เรียกได้ว่าการสร้างช่องยูทูป เป็นอะไรที่ง่าย และรวดเร็วมาก ๆ แต่หากสังเกตดี ๆ แล้ว การสร้างช่องยูทูปแบบนี้จะใช้สำหรับช่องยูทูปส่วนตัวเท่านั้น หากเป็นสำหรับแบรนด์จะต้องเลือกการสร้างช่องใหม่ซ้ำอีกที
ขั้นที่ 3 : สร้างช่องยูทูปสำหรับแบรนด์ หรือธุรกิจ
สร้างช่องยูทูปสำหรับแบรนด์ จะเหมาะมากกว่าสำหรับกรณีที่คุณอยากสร้างช่องยูทูปประกอบกับธุรกิจของคุณ หรือตั้งใจจะให้ช่องยูทูปทำเงินให้คุณ เพราะมีฟังก์ชันมากมายที่ทำให้การปรับแต่ง ตั้งค่า ง่าย และสะดวกยิ่งขึ้น โดยขั้นตอนการสมัครก็ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
- ตั้งชื่อช่องของคุณ และคลิกยินยอน จากนั้นจึงกด “สร้าง”
ช่องยูทูปสำหรับแบรนด์ VS ส่วนบุคคล
ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดคือการสร้างช่องยูทูปแบบแบรนด์ สามารถเพิ่มคนเข้ามาช่วยดูแลช่องยูทูปของเราได้ด้วย เช่นการเพิ่มแอดมินเข้ามาในช่องยูทูป เพื่อช่วยตามคำถาม หรือโพสต์คลิปยูทูปต่าง ๆ โดยข้อดี ข้อเสียก็จะแตกต่างกันออกไป หากเป็นแบบแบรนด์ก็จะได้ความรู้สึกที่มืออาชีพ แต่บัญชีส่วนบุคคลจะมีความเป็นกันเอง ซึ่งจำนวนผู้สมัครยิ่งเยอะ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องสร้างช่องยูทูปสำหรับแบรนด์อย่างเดียว หรือบางครั้งแบรนด์ก็สามารถสร้างช่องยูทูปส่วนบุคคล
ขั้นที่ 4 : อัปโหลดวิดีโอและสร้างฐานผู้ติดตาม
สร้างช่องยูทูปไม่มีข้อกำหนดว่าวิดีโอของคุณจะต้องเป็นรูปแบบอย่างไร แต่สิ่งที่ควรจะสร้างคือ ‘ความสม่ำเสมอ’ ไม่ว่าจะเป็นสไตล์ของวิดีโอ บางครั้งอาจไม่ต้องมีการตัดต่อที่สวยหรู หากแต่มีความเป็นตัวของตนเอง นำเสนอความเป็นตนเอง และไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจนผู้ติดตามตามไม่ทัน รวมถึงช่วงเวลา ความบ่อยในการอัปโหลด เช่นอัปโหลดวิดีโอ 2 ครั้งต่อ 1 อาทิตย์ วันพุธ และศุกร์ เป็นต้น แนะนำว่าในช่วงแรกจะต้องเน้นจำนวนคลิป เน้นความสม่ำเสมอหน่อย คุณภาพจะค่อย ๆ พัฒนาก็ได้
ขั้นที่ 5 : ปรับให้ช่องยูทูปสามารถสร้างรายได้
เมื่อเริ่มมีผู้ติดตามเยอะ อย่าลืมปรับเรื่องการสร้างรายได้ เพราะหากคุณไม่ปรับ คุณอาจเสียโอกาสในการมีรายได้มาใช้เล่นกันได้เลย
วิธีการสร้างช่องยูทูปที่ได้เงิน
1. หลังจากสร้างช่องยูทูป ลองเข้าไปในตัวเลือก ‘การสร้างรายได้ของช่อง’ โดยหากช่องระบุว่าระบบยังไม่พร้อม แสดงว่าคุณจะต้องเข้าไปอัปเดตตำแหน่ง ว่าคุณเป็นยูทูปเปอร์ของที่ไหน เพื่อที่จะได้ใช้ระบบการคิดเงินแบบของพื้นที่นั้น ๆ
2. สร้างช่องยูทูปเสร็จ ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้เงินเลยทันที จะต้องผ่านเงื่อนไขที่ยูทูปจะสร้างรายได้ได้คือ
- มีผู้ติดตาม 1,000 คนขึ้นไป
- เวลาในการเข้าชมต่อสาธารณะ 4,000 ชั่วโมงขึ้นไป
- มีการยืนยันแบบ 2 ขั้นตอน โดยยืนยันผ่านเบอร์มือถือ (แนะนำว่า 1 เบอร์ ควรเชื่อมต่อกับช่องยูทูป 1 ช่องเท่านั้น)
- ไม่มีการแจ้งเตือน ผิดลิขสิทธิ์ มีคลิปล่อแหลม ตามกฎข้อบฎิบัติของ Youtube
3. เมื่อผ่านทุกเงื่อนไข ทาง Youtube จะส่งข้อความเพื่อให้ยืนยัน และเข้าสู่ระบบ
ช่องทางการได้เงินของยูทูป
- ค่าโฆษณา (Ad revenue) : คลิปโฆษณาสั้น ๆ ที่อาจเริ่มก่อนดูคลิป หรือระหว่างคลิป โดยยิ่งมีผู้ดูคลิป ดูโฆษณามากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้เงินเยอะขึ้นตามมาด้วย
- ค่าสมาชิก (Subscriber or Membership) : สร้างช่องยูทูปเสร็จแล้ว ยิ่งมีผู้สมัครสมาชิคช่องยูทูปเยอะเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้รับเงินที่เยอะ
- Super Chat & Super Stickers : สามารถมีระบบแชตแบบเสียเงิน เพื่อทำให้ทุกคนเห็นคอมเมนต์ หรือส่งสติกเกอร์เฉพาะสำหรับช่องนั้น ๆ
- สร้างรายได้จาก Youtube Premium : รายได้จากระบบยูทูปอัปเกรด ส่วนมากจะเหมาะกับประเทศที่ส่วนมากคนใช้ Youtube Premium ไม่ค่อยมีโฆษณา
- ค่าสปอนเซอร์ : สร้างช่องยูทูปใหญ่ ผู้ติดตามเยอะ บางครั้งจะมีแบรนด์ หรือบริษัท ติดต่อให้คุณโฆษณาสินค้า หรือบริการ ซึ่งจะเป็นรายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับช่องทางยูทูป
บอกเลยว่ารายละเอียดของการสร้างช่องยูทูปไม่ได้มีเพียงเท่านี้ แต่เราจะต้องเริ่มสร้างช่องยูทูปขึ้นมาจึงจะได้รู้ถึงรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างเยอะ ใครอยากได้ทุนมาเริ่มต้นสร้างช่องยูทูป แรบบิท แคร์ แนะนำ สินเชื่อส่วนบุคคล ของ่าย วงเงินเยอะ ใช้ได้หลายจุดประสงค์ คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct