แคร์การเงิน

กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้มีอะไรบ้าง?

ผู้เขียน : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
 
Published: April 11,2024
กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้

กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ คืออะไร?

กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ เป็นข้อบังคับที่กำหนดให้ทางเจ้าหนี้นั้นจะต้องมีความรับผิดชอบในการให้ยืมสินเชื่ออย่างเป็นธรรมแก่ลูกหนี้ และจะต้องมีการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่องตลอดจนครบวงจรหนี้ด้วย อีกทั้งในตัวกฎหมายยังปรากฏแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้เริ่มมีปัญหา เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ และยังมีเงินคงเหลือพอต่อการดำรงชีพอีกด้วย ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

ใครมีสิทธิทวงหนี้ได้โดยชอบธรรมตามกฎหมาย?

จากข้อมูลในเว็บไซต์ของ ธปท. ได้พูดถึงรายละเอียดของการทวงหนี้ตามกฎหมายไว้ว่า สำหรับเจ้าหนี้โดยตรงจะเป็นผู้ที่มีสิทธิทวงหนี้ได้โดยชอบธรรมตามกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ กล่าวคืออาจจะเป็นสถาบันทางการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ ผู้ให้บริการบัตรเครดิต ผู้ให้บริการเช่าซื้อ และครอบคลุมไปถึงเจ้าหนี้นอกระบบหรือเจ้าหนี้ในกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย เช่น หนี้การพนัน เป็นต้น รวมไปถึงในกรณีของผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ตามกฎหมาย หรือผู้รับมอบอำนาจช่วง (“ผู้รับมอบอำนาจช่วง” จะเป็นผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากทางผู้รับมอบอำนาจอีกทอดหนึ่ง) ผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ และผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย (ซึ่งในกรณีของผู้รับมอบอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม หากลูกหนี้มีการทวงถาม ทางผู้ที่ได้รับมอบหมายจะต้องนำหลักฐานการมอบอำนาจ และหนังสือทวงหนี้มาแสดงต่อหน้าลูกหนี้ด้วย)

ขอบเขตของเจ้าหนี้ในการทวงหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมายมีอะไรบ้าง?

  • เจ้าหนี้จะต้องทวงหนี้อย่างสุภาพชน ให้เกียรติลูกหนี้ ไม่ประจานหรือดูหมิ่นลูกหนี้จนเกิดความเสื่อมเสียและความอับอาย เพื่อปกป้องสิทธิของลูกหนี้ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้
  • เจ้าหนี้สามารถทวงหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นในกรณีของ “เพื่อนยืมเงินไม่คืน” จะสามารถทวงได้เกินวันละ 1 ครั้ง โดยจะนับจากการที่ลูกหนี้รับทราบการทวงอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการโทร ส่งหนังสือทวงหนี้ หรือการส่งข้อความใด ๆ แต่ถ้าเป็นแค่การทักทายกันตามปกติ ทางกฎหมายจะไม่นับว่าเป็นการทวงหนี้
  • เจ้าหนี้ต้องติดต่อโดยบุคคล หรือส่งหนังสือทวงหนี้ทางไปรษณีย์
  • เจ้าหนี้สามารถทวงหนี้ได้โดยบุคคล โทรศัพท์ หนังสือทวงหนี้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 8:00 น.- 20:00 น. และวันหยุดราชการเวลา 08:00 น. – 18.00 น.
  • เจ้าหนี้ต้องระบุสถานที่สำหรับการทวงหนี้ หากลูกหนี้ไม่ได้มีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับภูมิลำเนา ที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ทำงาน หรือตามที่คณะกรรมการทวงถามหนี้ประกาศกำหนด

เจ้าหนี้ห้ามทวงหนี้แบบใดบ้าง?

  • ห้ามเจ้าหนี้ติดต่อหรือแสดงตนจนทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่จะสามารถติดต่อลูกหนี้ได้
  • ห้ามเจ้าหนี้บอกความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้ อันเนื่องมาจากกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้หรือ พ.ร.บ. ทวงหนี้ ที่จะไม่ประจานลูกหนี้หรือทำให้ลูกหนี้เสื่อมเสียชื่อเสียงจนทำให้เกิดความอับอาย ยกเว้นเสียแต่ว่าจะเป็นคนในครอบครัวของลูกหนี้เอง เช่น สามี ภรรยา ผู้สืบสันดาน เป็นต้น และในกรณีที่บุคคลอื่นสอบถามกับทางเจ้าหนี้ว่ามาติดต่อด้วยสาเหตุอะไร
  • ห้ามเจ้าหนี้ทวงหนี้กับคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ เว้นแต่ว่าจะเป็นบุคคลที่ลูกหนี้นั้นได้มีการระบุเอาไว้อย่างชัดเจน
  • ห้ามเจ้าหนี้ข่มขู่หรือใช้ความรุนแรงจนเป็นเหตุทำให้ลูกหนี้เกิดความเสียหายทั้งทางร่างกาย ทางชื่อเสียง หรือทางทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะจะถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. ทวงหนี้ พ.ศ. 2558 และอาจจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย
  • ห้ามเจ้าหนี้ทวงถามหนี้ที่ในลักษณะที่ไม่เหมาะสมในรูปแบบอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประกาศ หรือตามใน พ.ร.บ. ทวงหนี้ ที่ปรากฏ
  • ห้ามเจ้าหนี้ใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น
  • ห้ามเจ้าหนี้ใช้ข้อความ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย หรือชื่อทางธุรกิจ แสดงไว้บนซองจดหมาย หนังสือทวงหนี้ หรือสื่อใด ๆ จนทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าเป็นการติดต่อมาเพื่อทวงหนี้
ลูกหนี้

หากเจ้าหนี้ละเมิดข้อห้ามหรือทำผิดกฎหมาย ลูกหนี้จะสามารถร้องเรียนได้ที่ไหน?

จากข้อมูลใน พ.ร.บ. ทวงหนี้ พ.ศ. 2558 เรื่องการคุ้มครองสิทธิของลูกหนี้ หากเจ้าหนี้ทวงถามหนี้ที่เป็นเท็จ (มาตรา 12) หรือผู้ทวงถามหนี้กระทำการในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม (มาตรา 13) มีการละเมิด หรือมีการฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการทวงหนี้ แบบนี้จะถือว่ามีความผิด ซึ่งทางประชาชนสามารถร้องเรียนและเอาผิดได้ที่ “คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้” (ระดับประเทศและระดับจังหวัด) หรือ “ที่ว่าการอำเภอและสถานีตำรวจ” เพื่อแจ้งเรื่องร้องเรียนได้เลย โดยที่ทางคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้จะมีคำสั่งให้หยุดการกระทำของเจ้าหนี้หรือผู้ที่ทวงถามหนี้โดยทันที และถ้าหากฝ่าฝืนก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

Prepayment fee คืออะไร?

Prepayment fee เป็นค่าปรับการไถ่ถอน สินเชื่อ ก่อนกำหนด หรือเป็นการปิดหนี้ก่อนครบกำหนดสัญญานั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ห้ามผู้ให้บริการเรียกเก็บ Prepayment fee จากสินเชื่อเหล่านี้ ได้แก่ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano finance) และสินเชื่ออุปโภคบริโภคอื่น ๆ แต่จะยังมีการยกเว้นให้เพียงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ผู้ให้บริการจะยังสามารถเรียกเก็บ Prepayment fee ได้ในช่วง 3 ปีแรก (นับตั้งแต่วันที่ทำสัญญา) เพื่อให้ลูกหนี้นั้นมีโอกาสที่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ (teaser rate) ในช่วง 3 ปีแรกนั่นเอง และนอกจากนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยยังห้ามผู้ให้บริการคิดดอกเบี้ยบนดอกเบี้ย สำหรับสินเชื่อที่ให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อยอีกด้วย

อีกทั้งทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ในด้านการโฆษณาของผู้ให้บริการ ดังนี้

  • ถูกต้องและชัดเจน ผู้ให้บริการจะต้องแจ้งข้อมูลและรายละเอียดที่สำคัญ เข้าใจง่าย ไม่บิดเบือน หรือไม่ทำให้ลูกค้าเกิดการเข้าใจผิดในส่วนของสาระสำคัญ และในกรณีการโฆษณาเรื่องดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมเพื่อจูงใจลูกค้า ทางผู้ให้บริการก็จะต้องแสดงเงื่อนไขที่สำคัญอย่างครบถ้วนภายในสื่อชิ้นเดียวกันด้วย
  • ครบถ้วนและเปรียบเทียบได้ ผู้ให้บริการจะต้องแสดงถึงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Rate) ต่อปี โดยการแสดงเป็นช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดไปจนถึงสูงสุด (min% – max%) แบบชัดเจนและครบถ้วน แต่ถ้าหากว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว จะต้องมีการแสดงคำเตือนว่า “อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้”
  • ไม่กระตุ้นให้ก่อหนี้จนเกินควร ผู้ให้บริการห้ามโฆษณากระตุ้นให้ก่อหนี้จนเกินควร และควรเพิ่มคำเตือนเพื่อให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงิน (nudge) รวมไปถึงห้ามทำกิจกรรมส่งเสริมการขายที่แจกรางวัลหรือแจกของขวัญก่อนจะมีการอนุมัติสินเชื่อเรียบร้อยแล้ว

เปรียบเทียบสินเชื่อกับแรบบิท แคร์ ดีอย่างไร?

ที่แรบบิท แคร์ เรามีบริการเปรียบเทียบสินเชื่อที่ใช้งานง่าย เพียงแค่กรอกข้อมูลพร้อมฐานเงินเดือนลงไป ระบบก็จะทำการคัดกรองและแสดงข้อเสนอสุดพิเศษมาให้ทันทีภายใน 30 วินาที อีกทั้งยังเป็นข้อเสนอ สินเชื่อ ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำอีกด้วย ดังนั้นจึงช่วยประหยัดเวลาในการเปรียบเทียบสินเชื่อไปได้เยอะเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเงินด่วน สินเชื่อฉุกเฉิน สินเชื่อเงินสด สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อดอกเบี้ยถูก รีไฟแนนซ์บ้าน รีไฟแนนซ์รถยนต์ เป็นต้น

ยื่นขอสินเชื่อบุคคลกับแรบบิท แคร์ ดีอย่างไร?

เพราะแรบบิท แคร์ เรามีบริการสุดพิเศษ เพื่อให้คุณสามารถยื่นกู้ สินเชื่อบุคคล หรือสินเชื่อรายย่อยได้อย่างง่ายดาย สะดวกสบาย และรวดเร็วทันใจ อีกทั้งแรบบิท แคร์ ยังเป็นบริษัทในเครือของ BTS ที่มีความมั่นคง ดังนั้นจึงสามารถไว้วางใจและหมดกังวลเรื่องความไม่ปลอดภัยไปได้เลย และนอกจากนี้ยังพร้อมให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ และช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าตั้งแต่ต้นไปจนถึงบริการหลังการขายทุกราย

สมัครสินเชื่อบุคคลผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

เนื่องจากว่าแรบบิท แคร์ เป็นโบรกเกอร์ประกันภัยที่มีบริการสมัครออนไลน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ประกันภัยหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงิน รวมไปถึงสินเชื่อเงินกู้ก็มีให้บริการเช่นเดียวกัน ดังนั้นคุณจึงสามารถสมัครได้ง่าย ๆ ด้วยระบบออนไลน์ที่จะทำให้คุณประหยัดเวลาไปได้เยอะมาก อีกทั้งยังสะดวกสบาย และรวดเร็วทันใจภายในไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น อีกทั้งยังมีบริการให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ ซึ่งสามารถสอบถามรายละเอียดและข้อสงสัยเกี่ยวกับการยื่นสมัครได้เลยทันที โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปถึงธนาคารให้เสียเวลา สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ แรบบิท แคร์

บทความกฏหมายการเงินอื่น ๆ


สรุป

สรุปบทความ

กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้และการทวงถามหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การทราบข้อบังคับและข้อจำกัดเหล่านี้จะช่วยให้เราทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามกฎหมายเบื้องต้นได้ดีขึ้น

จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 97227

แคร์การเงิน

ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
คะน้าใบเขียว
14/11/2024
Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024
Rabbit Care Blog Image 93664

แคร์การเงิน

มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
คะน้าใบเขียว
22/08/2024