เทคนิคสัมภาษณ์งาน แนะนำตัวสุดปัง ให้งานดี ๆ ไม่หลุดมือไป
ไม่ว่าใครก็อยากได้งานที่ดี งานที่เหมาะสมกับตนเอง ให้ผลตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อ และได้แสดงศักยภาพของตนเองออกมา แต่ปัญหาคือเราจะได้งานนั้นมาครอบครองได้อย่างไร ? ซึ่งหลายคนโปรไฟล์เริ่ดหรู เกรดดีเยี่ยม ประสบการณ์แน่น แต่มาตกม้าตายวันสัมภาษณ์งาน หรือบางคนปาดได้งานไปด้วยสกิลในแนะนำตัว สัมภาษณ์งาน ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ วันนี้แรบบิท แคร์อยากเสนอเทคนิคที่จะทำให้คุณได้งานในฝันมาครอบครองอย่างแน่นอน
การเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน
แน่นอนว่าเราไม่ควรไปสัมภาษณ์งานโดยที่ไม่ได้เตรียมตัวอะไรเลย แต่พร้อมกันนั้นคุณก็ไม่ควรจะกดดันตนเองจนทำให้ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ ฉะนั้นจึงควรทำใจให้สบาย แต่ก็ต้องพร้อมรับทุกสถานการณ์ระหว่างสัมภาษณ์งาน
เรียนรู้เกี่ยวกับบริษัทที่จะไปสัมภาษณ์
อย่างแรกเลยคือจะต้องรู้ว่าบริษัทที่จะไปสัมภาษณ์คือบริษัทอะไร ก่อนอื่นก็ต้องทราบถึงภาพรวมใหญ่ ๆ ของบริษัท เช่นอยู่ในอุตสาหกรรมไหน ? เป็นบริษัทขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ ? รูปแบบการทำงานเคร่งครัด ดั้งเดิม หรือยืดหยุ่น และเปิดกว้าง และจึงนำข้อมูลเหล่านั้นมาตัดสินใจใช้ในการแต่งตัวไปสัมภาษณ์ หรือวางตัวให้ถูกต้องในการสัมภาษณ์งาน
เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน และง่ายต่อการสัมภาษณ์งานที่สุด
อีกข้อสำคัญในการสัมภาษณ์งาน คือการเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนก่อนที่จะไปสัมภาษณ์ (หากเป็นการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว) อย่าลืมปากกา และเอา Resume ปริ้นไปเผื่อ ๆ ซัก 2 – 3 แผ่น เพื่อให้ง่าย และสะดวกต่อผู้สัมภาษณ์ และหากมีงานที่อยากนำเสนอ อย่าลืมนำโน้ตบุ๊ก หรือแทปเล็ทไปด้วย เพื่อที่จะง่ายต่อการเปิดนำเสนอระหว่างสัมภาษณ์งานด้วย
แนะนำตัว สัมภาษณ์งาน
ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์งานตัวต่อตัว หรือออนไลน์ คำถามแรกที่ทุกคนจะต้องเจอคือ ‘แนะนำตัวเองหน่อยครับ/ค่ะ’ นี่คือโอกาสที่คุณจะสร้างความประทับใจแรก ‘first impression’ ที่ดี และแสดงว่าทำไมบริษัทต่าง ๆ จึงควรจะเลือกคุณเข้าร่วม
เริ่มจากประวัติการศึกษา การทำงาน
สิ่งสำคัญในการสัมภาษณ์งาน คือคุณจะต้องไม่ทำให้รู้สึกเหมือนกับคุณอ่านประวัติของตนเอง หรือท่องจำมา เพราะอย่าลืมว่าคนที่สัมภาษณ์คุณได้เห็น Resume คุณมาแล้วแบบผ่าน ๆ ฉะนั้นเราอาจเพิ่มเติมรายละเอียด แรงจูงใจในการทำงานของตนเองเข้าไปด้วยระหว่างแนะนำตัว เช่น
‘เลือกเรียนด้านการตลาดเพราะสนใจอยากมีธุรกิจของตนเอง และชื่นชอบงานสร้างสรรค์ ฉะนั้นจึงเลือกฝึกงานกับเอเจนซี่ชั้นนำของประเทศไทย และได้รับโอกาสทำงานต่อในตำแหน่งของ AE จากนั้นจึงอยากทำงานที่ท้าทายขึ้น จึงย้ายบริษัทไปทำตำแหน่ง Planner’
เล่าถึงทักษะของตนเอง
บางคนแค่เล่าถึงประสบการณ์ทำงาน และบริษัทของตน ในการสัมภาษณ์งานอาจไม่พอ แต่สิ่งที่ควรจะกล่าวถึงไปด้วยคือสกิลต่าง ๆ ที่ได้รับจากการทำงาน เช่น
‘ทำงาน AE ได้ฝึกทักษะการประสานงาน บริหารงานของทีม และลูกค้า จากนั้นเปลี่ยนมาทำงานด้าน Planner ได้เรียนรู้ในการคิดงบสื่อ และการวางแผนแคมเปญแบบระยะยาว ซึ่งทักษะทั้งสองด้านทำให้เห็นภาพการทำงานภายในเอเจนซี่โดยละเอียด’
จึงจุดเด่นของคุณออกมาให้หมด
ระหว่างแนะนำตัวอย่าลืมที่จะกล่าวถึงจุดแข็งของคุณ สอดแทรกเข้าไปในบทสนทนาด้วย ยกตัวอย่างเช่นหากคุณเป็นนักเรียนดี ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ให้สอดแทรกเข้าไปเมื่อคุณกล่าวถึงประวัติการศึกษา หรือเป็นคนที่ประวัติทำงานดี อยู่แต่ละที่ได้แบบระยะยาว ก็ควรจะบอกกล่าวทำให้ผู้สัมภาษณ์งานคุณรับรู้ชัดเจนมากขึ้นเป็นต้น ซึ่งควรจะนำเสนอแบบเป็นธรรมชาติ ไม่ทำให้ผู้สัมภาษณ์งานรู้สึกว่าเป็นการพูดเกินจริง หรืออวยยศตนเอง
แสดงเป้าหมาย และแนวทางในอนาคตของตนเอง
สุดท้ายในการสัมภาษณ์งานอย่าลืมแสดงแพชชั่น และเป้าหมายทางด้านการงานของคุณ อย่าให้ผู้สัมภาษณ์งานคิดว่าคุณไม่มีแนวทางในการใช้ชีวิต เพราะสุดท้ายแล้วทุกบริษัทอยากได้คนที่มีวิสัยทัศน์ และสามารถเติบโตไปพร้อม ๆ กับบริษัท เช่น
‘ตอนนี้อยากหาประสบการณ์การในการทำงานบริษัทข้ามชาติ และเรียนรู้งานในสายการตลาด เพราะเห็นว่าบริษัทได้ทำงานกับแบรนด์ใหญ่ ๆ ผนวกการตลาดเข้ากับงานเพื่อสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผม / ดิชั้น อยากทำมาตลอดตั้งแต่เรียนจบ จึงคิดที่จะย้ายงาน และเข้าร่วมกับบริษัทใหม่นี้’
แนะนำตัวภาษาอังกฤษ สัมภาษณ์งาน
เดี๋ยวนี้ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ในการทำงาน ทำธุรกิจ เพราะเป็นภาษาสากล ฉะนั้นจึงเป็นไปได้สูงมาก ๆ โดยเฉพาะในบริษัทกลางไปถึงใหญ่และบริษัท Start-up สมัยใหม่ ที่จะต้องการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษระหว่างสัมภาษณ์งาน โดยการให้แนะนำตัวสั้น ๆ ด้วยภาษาอังกฤษ
โดยอย่าคิดว่าการแนะนำตัวภาษาอังกฤษระหว่างสัมภาษณ์งาน คือการสอบ หากแต่ต้องการดูทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างเป็นธรรมชาติ ฟังรู้เรื่อง ไม่ได้ทดสอบแกรมม่า หรือหลักไวยากรณ์ สิ่งที่สำคัญคือสื่อสารภาษาอังกฤษ ให้รู้เรื่อง ไม่ฟังเหมือนกับท่องจำมาจากห้องเรียน หรือเกร็งจนเกินไป
ซึ่งหากงานของคุณไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษระดับสูงแต่ผู้สัมภาษณ์อยากให้คุณแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษ เป็นไปได้ว่าผู้สัมภาษณ์งานอยากเห็นความพยายามของคุณ และความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฉะนั้นให้แนะนำตัวเท่าที่ทำได้ หลีกเลี่ยงคำกล่าวเช่น ‘Sorry, my English is not good’ (ขอโทษภาษาอังกฤษชั้นไม่ดี) หรือ ‘Sorry, I am not prepare for this’ (ขอโทษที่ไม่ได้เตรียมตัว)
เปรียบเทียบการแนะนำตัวภาษาอังกฤษ
ตัวอย่างที่ควรหลีกเลี่ยง | ตัวอย่างที่ควรทำ |
Hello, My name is John. I am 25 years old. I graduated from ABC University. I like marketing. I worked with the first company. I am an AE. Then I worked with a second company. I am a planner. | Good evening everyone. I am John , 25 years of age, always passionate about marketing even before I graduated from ABC University. After that I started working as an AE for 1 year. |
แนะนำตัวประโยคสั้น ๆ ประโยคไม่ปะติดปะต่อ | ไม่ต้องใช้คำยาก แต่ทำให้ฟังดูเป็นธรรมชาติ มีคำเชื่อมประโยค |
การตอบคำถามระหว่างสัมภาษณ์งาน
แน่นอนว่าทุกการสัมภาษณ์งาน คำถามที่ผู้สัมภาษณ์แต่ละบริษัทถาม จะมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน แต่ก็มีคำถามยอดฮิต ที่แทบจะต้องโดนถามเกือบจะทุกบริษัท ซึ่งคุณควรเตรียมแนวทางการตอบไว้ล่วงหน้า ยกตัวอย่างเช่น
Q – ทำไมคุณจึงอยากย้ายงาน ?
A – ตอบตามความเป็นจริง แต่หากเป็นแง่ลบเกิดไป และอาจถูกมองว่าเป็นการโจมตีที่ทำงานเก่า คุณอาจเลี่ยงรายละเอียดและตอบสิ่งที่เป็นกลางตอนสัมภาษณ์งานเช่น งานไม่ท้าทาย หรือไม่มีโอกาสได้เติบโต
Q – คุณเห็นตัวเองทำงานอะไรอีก 5 ปีต่อจากนี้ ?
A – ตอบเป้าหมายของตนเอง และการทำงานกับบริษัทนี้ จะทำให้คุณถึงจุดมุ่งหมายนั้น ๆ ได้อย่างไร โดยจะต้องให้ผู้สัมภาษณ์งานเห็นภาพคุณทำงานระยะยาว
Q – จุดเด่น จุดด้อยของคุณคืออะไร ?
A – แนะนำให้ตอบข้อด้อยก่อน โดยอย่ากล่าวถึงสกิลการทำงานของตนเอง ให้ตอบเป็นเชิงอุปนิสัย เช่นจริงจัง เครียดกับงานมากเกินไป หรืออาจเป็นคนพูดตรงมากเกินไปในบางครั้ง แล้วจึงปิดท้ายด้วยข้อดี ซึ่งผู้สัมภาษณ์งานจะจำสิ่งที่ถูกกล่าวทีหลังได้มากกว่า
Q – เจอปัญหาอะไรบ้าง ? แล้วแก้ปัญหานั้นอย่างไร ?
A – ตอบให้เป็นรูปธรรม อย่าตอบแบบกลาง ๆ ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาจริง ๆ ขึ้นมาเลย จากนั้นให้เล่าว่าเราผ่านปัญหานั้น ๆ มาได้อย่างไร
การถามคำถามระหว่างสัมภาษณ์งาน
สุดท้ายบริษัทจะมีส่วนที่ให้คุณถามคำถาม ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก ๆ ไม่แพ้ส่วนอื่น ๆ เพราะคำถามของเราอาจแสดงให้เห็นว่าเราสนใจ และต้องการทำงานกับองค์กรนั้น ๆ มากขนาดไหน ฉะนั้นหากคุณอยากทำงานกับบริษัทนั้น ๆ จริง ๆ คุณควรที่จะถามคำถามเมื่อผู้สัมภาษณ์เปิดโอกาสให้คุณถาม โดยตัวอย่างคำถามสุดฮิต จะมีดังนี้
Q – รูปแบบการทำงานของที่นี้เป็นแบบไหน ? สามารถทำงานที่บ้านได้รึเปล่า ?
Q – เพื่อนทำงานเป็นคนรุ่นราวคราวเดียวกันผม / ดิชั้น รึเปล่า ?
Q – ในอนาคตบริษัทมีแนวโน้มที่จะขยายไปทำบริการด้านอื่น ๆ หรือไม่ ?
Q – หากสามารถทำงานด้านอื่น ๆ ด้วย จะสามารถนำมาใช้กับที่นี่ได้หรือไม่ ?
Q – มีการทำงานเกินเวลา (Overtime) หรือไม่ หากมีแล้วจะได้ค่าตอบแทนรึเปล่า ?
คำถามที่อาจสะท้อนให้คุณดูไม่ดี อาจถามอีกครั้งเมื่อตกลงกันเรื่องเงินเดือน และอาจยังไม่ต้องถามในการสัมภาษณ์รอบแรก ยกตัวอย่างเช่น
Q – ที่นี่มาสายได้ทั้งหมดกี่วัน ?
Q – หากไม่อยากทำงานนี้ สามารถเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นได้หรือไม่ ?
Q – แนะนำเพื่อนให้มาทำงานด้วยกันได้หรือไม่ ?
แน่นอนว่าการสัมภาษณ์สำหรับหลาย ๆ ที่ยังไม่จบเท่านี้ หลายที่จะต้องมีการส่งผลงานตามโจทย์ หรือพูดคุยกับหลากหลายแผนก ซึ่งแน่นอนว่าส่วนนั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กับส่วนการสัมภาษณ์เลย ฉะนั้นการจะได้งานอะไรมาซักอย่างจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนสัมภาษณ์งานควรเตรียมทุกอย่างให้พร้อม ทั้งเสื้อผ้าหน้าผม แรบบิท แคร์ จึงอย่างแนะนำ บัตรเครดิต จากธนาคารดัง ๆ ที่ทำให้ทุกการช้อปคุ้มค่า ได้แคชแบค เพื่อให้คุณได้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนทุกการสัมภาษณ์ คลิกเลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี