แคร์การเงิน

เงินเดือน 15K หักเงิน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากเงินเดือนไปเท่าไหร่? ลาออกจากงานเดิม ต้องทำอย่างไร?

ผู้เขียน : Mayya Style

เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ

close
linkedin icon
 
 
Published: January 30,2018
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

การวางแผนทางการเงินถือเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แผนเกษียณอายุ” เพราะไม่ว่าใครก็จะต้องมีวันหนึ่งที่เราอายุมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง แนวโน้มรายได้ก็จะยิ่งลดลง แต่ในวันที่เราอายุมากขึ้น “รายจ่าย” กลับยิ่งเยอะขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องค่ารักษาพยาบาล และรายจ่ายในการดูแลสุขภาพก็จะยิ่งเยอะขึ้น วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาคุณไปรู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปดูกันเลย!!  

เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ ง่ายๆ แค่ 30 วิ คลิกเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ เด็กจบใหม่ icon รักการท่องเที่ยว รักการท่องเที่ยว icon รักการช้อปปิ้ง รักการช้อปปิ้ง icon รักความหรูหรา รักความหรูหรา icon รักสุขภาพ รักสุขภาพ icon รักการกิน รักการกิน
  

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (provident fund) ตัวช่วยในการเก็บเงิน จริงไหม? 

คนส่วนใหญ่ที่เป็นมนุษย์เงินเดือน จะมีเครื่องมือตัวที่ดีมากและต้องเป็นมนุษย์เงินเดือนเท่านั้นถึงจะสามารถใช้ประโยชน์ได้ก็คือ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ประกอบกับ เวลาที่เกษียณตัวเอง แล้ว ทุกวันจะเรียกได้เลยว่าเป็นวันหยุด โอกาสใช้เงินก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก ถ้าลองถามตัวเองว่าตอนนี้เวลาที่เราทำงาน ระหว่างวันจันทร์-ศุกร์ เปรียบเทียบกับวันเสาร์-อาทิตย์ที่ไม่ได้ทำงานแล้ว เชื่อได้เลยว่าวันเสาร์อาทิตย์มีโอกาสที่เราจะใช้เงินมากกว่าวันธรรมดาแน่นอน

ทำไมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (provident fund) จึงเป็นเครื่องมือที่ดี

เหตุผลที่ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” เป็นหนึ่งในวิธีการออมเงินที่ดีที่สุด ก็เพราะว่า เมื่อเงินทุกบาทที่เราใส่เงินกองทุน ก็เปรียบเสมือนได้ผลตอบแทน 100% ตั้งแต่วันแรกที่เราใส่ลงไปในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลยก็ว่าได้

เพราะเงินที่หักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกเดือนจะถูกเรียกว่า “เงินสะสม” แล้วนายจ้างยังต้องช่วยใส่เงินลงในกองทุนให้กับเราอีกด้วย เรียกได้ว่า “เงินสมทบจากนายจ้าง”

สมมติว่าเราเงินเดือน 15,000 บาท แล้วเราหัก 10% ลงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นายจ้างก็จะช่วยเราอีก 10% ตามนโยบายที่บริษัทกำหนด

แล้วข้อดีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกข้อหนึ่งก็คือ เงินกองทุนเราจะถอนได้ก็ต่อเมื่อเราเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น หรือถ้าจะเอาออกก่อน ก็จะมีค่าปรับตามเงื่อนไขที่สรรพกรกำหนด

เวลาที่เงินก้อนไหนก็ตามที่เราจะถอนออกมาใช้แล้วมีค่าปรับ บทลงโทษ ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ควรเสีย ตรงนี้ก็จะลดโอกาสที่เราจะถอนเงินก้อนนี้ออกมาใช้ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงเป็นเครื่องมือเกษียณอายุที่ดีชิ้นหนึ่งเลยก็ว่าได้

ลงทุนใน “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” เท่าไหร่ดี? 

ส่วนคำถามที่น่าสนใจก็คือ ถ้าเราเริ่มทำงานใหม่ มีเงินเดือน 15,000 บาท จะหักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่าไหร่ดี ต้องบอกว่า ถ้าเราเงินเดือนยังไม่เยอะ (ซึ่ง 15,000 บาทยังไม่ถึงเกณฑ์ที่เสียภาษี) ดังนั้น ผลประโยชน์ตรงนี้ตัดทิ้งไปได้เลย

แต่ส่วนตัวแนะนำว่า ให้หักเยอะที่สุดเท่าที่จะหักได้ หรือตามกฎหมายที่กำหนดเอาไว้ว่า สูงสุดอยู่ที่ 15% เลย เพราะว่า ยิ่งหักเยอะ แปลว่าเรายิ่งตัดเงินลงทุนไปก่อน แล้วถ้าเริ่มทำงานตอนอายุ 22 กว่าจะอายุ 55 ปี อีกตั้ง 33 ปี กว่าที่เราจะถอนเงินออกมาได้ เวลานานๆ นี้แหละ จะทำให้เงินเราเกิดดอกเบี้ยทบต้นได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับเงินสมทบจากนายจ้าง ยิ่งจะทำให้เราได้เงินในกองทุนเป็นทวีคูณเลย

นอกจากนี้ การหักเยอะจะช่วยทำให้เรามีวินัยทางการเงินที่ดีด้วยการหักเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพถือว่าเป็นหักออมเงินก่อนใช้ใช้จ่ายอย่างแท้จริง เพราะว่าเงินก้อนนี้จะไม่เข้ามาอยู่ในบัญชีของเราเลย

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกจากงานเดิมแล้วต้องทำอย่างไร?

หลายคนอาจมีคำถามว่า หากเราลาออกจากงานแล้วจะทำอย่างไรกับเงินในกองทุนดี ควรลาออกจากงานประจำด้วยหรือไม่ จะจัดการเงินส่วนนี้ยังไงดี สามารถปฎิบัติตาม 4 วิธีนี้ได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. คงเงินไว้ที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม 

ถึงแม้ว่าคุณจะลาออกจากบริษัทเก่าแล้ว แต่คุณยังมีสิทธิคงเงินไว้ที่กองทุนเดิมแต่ต้องอยู่ในระยะเวลาที่กองทุนกำหนด บางครั้งอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมบางส่วน อย่างไรก็ตามวิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ลาออกจากงานประจำและไปทำธุรกิจส่วนตัว หรือคนที่ยังตัดสินใจเลือกกองทุนของที่ทำงานใหม่ไม่ได้ 

2. ย้ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่

การโอนย้ายจากกองทุนเก่าไปยังกองทุนของที่ทำงานใหม่ใหม่ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมากเพราะสามารถทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือภาษีใด ๆ เลย  

3. ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  

สำหรับวิธีการลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ วิธีนี้ส่วนใหญ่ทำเพราะต้องการเงินสด แต่คุณจำเป็นต้องทราบว่าการลาออกนั้นจำเป็นต้องเสียภาษีด้วยหากคุณยังมีอายุยังไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนน้อยกว่า 5 ปี 

4. โอนเข้าไปซื้อกองทุนรวม RMF for PVD 

สำหรับวิธีนี้เหมาะมาก ๆ สำหรับผู้ที่ออกจากงานประจำเก่าและบริษัทใหม่ไม่มีนโยบายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเป็นผู้ที่ลาออกไปแล้วเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว ก็เหมาะกับวิธีนี้เพราะจะทำให้คุณไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการนำเงินออกจากกองทุนก่อนอายุเกษียณ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีจากการคงเงินไว้ที่กองทุนเดิมด้วย

เมื่อไหร่ถึงจะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืน (provident fund)?

คุณจะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืน ก็ต่อเมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิก ไม่ว่าจะสิ้นสุดโดยการลาออกจากงาน ลาออกจากกองทุน โอนย้ายกองทุน พิการ ทุพลภาพ หรือเสียชีวิต อย่างไรก็ตามหากคุณลาออกจากงานหรือกองทุน คุณจะได้รับการยกเว้นภาษีก็ต่อddเมื่อมีอายุครบ 55 ปี และต้องเป็นสมาชิกกองทุนไม่ต่ำกว่า 5 ปีด้วย หากไม่ตรงตามเงื่อนไขนี้จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

เหล่านี้คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทุกคนควรรู้และวางแผนไว้ ดังนั้นหากคุณไม่รู้จะปรึกษาใคร ให้นักวางแผนทางการเงินช่วยคุณวางแผนชีวิตและทรัพย์สินของคุณ อย่างไรก็ตามอย่างลังเลที่จะวางแผนอนาคตโดยการเลือกซื้อประกันเกษียณอายุ กับแรบบิท แคร์ เพื่อรับเงินบำนาญ 15% ทุกปี ตั้งแต่อายุครบ 60 – 90 ปี และสามารถลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท หากสนใจโทรเลย 1438 


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 90939

แคร์การเงิน

ถูกยืมเงินบ่อย ๆ ควรปฏิเสธอย่างไร เพราะอะไรเราถึงมักตกเป็นเหยื่อการขอยืมเงิน ?

ปัญหาชวนปวดหัวอย่างการถูกยืมเงินถือเป็นปัญหาที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเผชิญ ไม่ว่าจะด้วยเพราะสถานการณ์การเงินที่เป็นอยู่ลำพังเอาตัวเองให้รอดก็ลำบาก
คะน้าใบเขียว
23/07/2024
Rabbit Care Blog Image 90909

แคร์การเงิน

กู้ซื้อคอนโดดีไหม ? ข้อดีและข้อเสียของการซื้อคอนโด

ควรตัดสินใจซื้อคอนโดเป็นของตัวเองดีหรือไม่ ? ปัญหากวนใจของหลายคนซึ่งอยากที่จะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองโดยที่ไม่ต้องเช่าซื้ออีกต่อไป
คะน้าใบเขียว
04/07/2024
Rabbit Care Blog Image 90795

แคร์การเงิน

สุขภาพทางการเงินสำคัญอย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีสุขภาพทางการเงินที่ดี

แน่นอนว่าในเรื่องของสุขภาพทางการเงินนั้นถือเป็นเรื่องที่เราต่างก็พอทราบกันอยู่บ้าง ว่าควรจะดูแลสุขภาพทางการเงินของตนเองให้ดีอยู่เสมอ
คะน้าใบเขียว
20/06/2024