วิเคราะห์สถิติ! อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดจากสาเหตุอะไรมากที่สุด

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: August 15,2022
  
 
อุบัติเหตุรถชน

รู้หรือไม่ว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด เพราะในแต่ละวันผู้คนจำนวนมากต่างใช้รถยนต์เดินทางไปทำงานรวมถึงทำธุระต่าง ๆ ยิ่งคนใช้รถมากเท่าไหร่โอกาสเกิดอุบัติเหตุก็ย่อมมากตาม และถ้าเป็นการขับขี่ด้วยความประมาทแล้วก็จะเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นไปอีกดังที่เราเห็นเป็นข่าวในสื่อแทบทุกวัน เพื่อให้คุณตระหนักถึงความสำคัญของการขับขี่อย่างปลอดภัยน้องแคร์จึงขอรวบรวมสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนในทุก ๆ ด้านมานำเสนอ บอกเลยว่าเป็นข้อมูลเชิงลึกที่เว็บไซต์ไหน ๆ ก็ไม่เคยนำเสนอมาก่อน แล้วคุณจะพบข้อเท็จจริงบนท้องถนนที่คุณจะต้องอึ้ง

เพื่อเป็นการชี้ให้คุณเห็นสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนในแต่ละประเภท น้องแคร์จึงนำข้อมูลอุบัติเหตุรถยนต์ปี 2564 (ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุด) จากสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม มาวิเคราะห์ข้อเท็จจริงให้คุณได้เห็นในแง่มุมต่าง ๆ และถ้ามีข้อมูลชุดใหม่ ๆ ในอนาคตเราก็จะมาอัพเดทให้คุณได้ทราบก่อนใคร 

ในแต่ละปีมีอุบัติเหตุบนท้องถนนกี่ครั้ง 

จากข้อมูลสถิติอุบัติเหตุรถยนต์ที่บันทึกโดยกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยนั้นได้ระบุว่า เมื่อปี พ.ศ 2564 ที่ผ่านมานั้นมีการเกิดอุบัติเหตุรถชนน้อยใหญ่รวมทั้งหมดถึง 20,457 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่าปี พ.ศ. 2563 ที่เกิดอุบัติเหตุรวม 21,052 ครั้ง, ส่วนปี พ.ศ. 2562 จะเกิดอุบัติเหตุรวมทั้งสิ้น 19,189 ครั้ง, ซึ่งบ่งบอกได้ว่าในแต่ละปีนั้นมีอุบัติเหตุรถชนกันจำนวนมากเฉลี่ยแล้วประมาณวันละ 50 – 60 ครั้ง เลยทีเดียว 

หมายเหตุ – บันทึกข้อมูลดังกล่าวมาจากกรมทางหลวง โดยเป็นอุบัติเหตุรถชนบนท้องถนนและเป็นคดีความ ยังไม่รวมกับข้อมูลของสำนักงานตำรวจ

สถิติอุบัติเหตุบนถนน

จังหวัดไหนเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด

จาก 77 จังหวัดในประเทศไทยในปี 2564 เราได้รวบรวมมาให้แล้วว่าจังหวัดไหนเกิดอุบัติเหตุรถยนต์มากที่สุดเรียงตามลำดับข้อมูลมากที่สุดดังนี้

  • กรุงเทพมหานนคร มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนถนนทั้งสิ้น 1,442 ครั้ง หรือเทียบเป็น 7.04%
  • จังหวัดเชียงใหม่ มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนถนนทั้งสิ้น 1,103 ครั้ง หรือเทียบเป็น 5.39%
  • จังหวัดชลบุรี มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนถนนทั้งสิ้น 960 ครั้ง หรือเทียบเป็น 4.69%
  • จังหวัดนครราชสีมา มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนถนนทั้งสิ้น 825 ครั้ง หรือเทียบเป็น 4.03%
  • จังหวัดสุพรรณบุรี มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนถนนทั้งสิ้น 783 ครั้ง หรือเทียบเป็น 3.82%

จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนน้อยที่สุดคือ

  • จังหวัดพิจิตร มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนถนนทั้งสิ้น 40 ครั้ง หรือเทียบเป็น 0.19%
  • จังหวัดระนอง มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนถนนทั้งสิ้น 41 ครั้ง หรือเทียบเป็น 0.20%
  • จังหวัดอำนาจเจริญ มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนถนนทั้งสิ้น 50 ครั้ง หรือเทียบเป็น 0.24%

เห็นได้ว่ากรุงเทพฯ ยังคงครองแชมป์อันดับ 1 ของจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุรถชนบ่อยที่สุด ซึ่งอัตราเกิดอุบัติเหตุทั้งหมดนั้นย่อมขึ้นกับจำนวนผู้ใช้รถใช้ถนน จึงไม่แปลกใจว่าจังหวัดใหญ่ ๆ ที่มีการสัญจรหนาแน่นอย่างกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี ฯลฯ ย่อมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ประกอบกับจังหวัดใหญ่ ๆ มักมีแยกเยอะ ซึ่งจุดนี้ก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยได้เช่นกัน ตรงข้ามกับจังหวัดที่มีผู้อาศัยน้อยย่อมเกิดอุบัติเหตุน้อยอย่าง จังหวัดพิจิตร หรือจังหวัดระนองนั่นเอง

อุบัติเหตุบนท้องถนน

ยานยนต์ประเภทไหนเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนบ่อยที่สุด

การเกิดอุบัติเหตุรถชนในแต่ละครั้ง ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการบันทึกประเภทของยานยนต์เอาไว้ด้วย ซึ่งสถิติปี 2564 ได้ระบุไว้ว่ามีรถยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุรถยนต์รวมทั้งสิ้น 30,869 คัน จากอุบัติเหตุรวมทั้งสิ้น 20,457 ครั้ง โดยแบ่งออกตามประเภทยานยนต์ดังนี้

  • รถกระบะ 4 ล้อเกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุด รวมทั้งหมด 11,012 ครั้ง หรือเทียบเป็น 35.67%
  • รถยนต์ส่วนบุคคล/รถยนต์นั่งสาธารณะ เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งหมด 7,522 ครั้ง หรือเทียบเป็น 24.36%
  • รถจักรยานยนต์ เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งหมด 5,213 ครั้ง หรือเทียบเป็น 16.88%
  • รถบรรทุกขนาดใหญ่ 10 ล้อขึ้นไป เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งหมด 2,500 ครั้ง หรือเทียบเป็น 8.09%
  • รถบรรทุกขนาดเล็ก 6 ล้อ เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งหมด 1,231 ครั้ง หรือเทียบเป็น 3.98%

ส่วนยานยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุด จะเป็นไปตามสถิติดังนี้

  • รถโดยสารขนาดใหญ่ เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งหมด 61 ครั้ง หรือเทียบเป็น 0.19%
  • รถกระบะโดยสาร เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งหมด 109 ครั้ง หรือเทียบเป็น 0.35%
  • รถสามล้อ เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งหมด 124 ครั้ง หรือเทียบเป็น 0.40%

เห็นสถิติแล้วต้องบอกว่าน่าทึ่งมาก เพราะรถที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุดนั้นเป็นรถกระบะ 4 ล้อ ซึ่งมากกว่ารถยนต์ทั่วไปตามที่เราคาดการณ์กัน ส่วนรถจักรยานยนต์ก็เองก็นับว่าเกิดอุบัติเหตุบ่อยไม่แพ้รถยนต์เลยทีเดียว(ทั้งนี้ทางกระทรวงคมนาคมอาจบันทึกแต่อุบัติเหตุรถชนใหญ่ ๆ ที่มีการเป็นคดีความ ไม่ได้นับการเฉี่ยวชนเล็กน้อย) ทางด้านรถที่เกิดอุบัติน้อยอย่างรถสามล้อและรถโดยสารนั้นไม่ต้องสงสัยเลยเพราะเป็นประเภทยานยนต์ที่ใช้งานบนนถนนน้อยนั่นเอง

ลักษณะถนนที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนบ่อยที่สุด

จากอุบัติเหตุรถยนต์ทั้งหมด 20,457 ครั้ง ในปี 2564 พบว่า

  • ถนนทางตรงที่ไม่มีความลาดชันเกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุด เป็นจำนวน 13,872 ครั้ง หรือมีอัตรา 67.81%
  • ถนนทางโค้งกว้างที่ไม่มีความลาดชัน เกิดอุบัติเหตุจำนวน 2,277 ครั้งหรือมีอัตรา 11.13%
  • ถนนทางโค้งกว้างที่มีทางลาดชันหรือทางขึ้นลงเนินเขา เกิดอุบัติเหตุจำนวน 791 ครั้ง หรือมีอัตรา 3.86%

ในขณะที่บริเวณทางโค้งหักศอก, บริเวณถนนที่มีการเปลี่ยนจำนวนช่องเลน, และบริเวณจุดกลับรถต่างระดับ มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุดแค่อย่างละ 1 ครั้งในปี 2564 

จากสถิติดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าถนนที่เป็นทางตรงธรรมดา ๆ นั่นแหละเป็นจุดที่มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุด เนื่องจากลักษณะท้องถนนในเมืองไทยส่วนใหญ่มักจะเป็นทางตรง อุบัติเหตุบนท้องถนนจึงมักเกิดกับถนนเส้นทางตรง แต่ทั้งนี้ก็ตั้งข้อสังเกตได้ว่าแม้จะเป็นทางตรงขับขี่ง่าย ๆ แต่ผู้ขับขี่ก็ยังขับรถโดยประมาทจนเกิดอุบัติเหตุได้ สะท้อนให้เห็นว่าผู้ขับขี่ทั่วไปขาดวินับทางจราจรอยู่มากนั่นเอง แต่ในทางกลับกันถนนที่เป็นโค้งหักศอกที่เป็นถนนอัตรายกลับมีสถิติเกิดอุบัติเหตุรถชนน้อยมาก อาจเป็นเพราะยิ่งถนนอันตรายผู้ขับก็มักจะตั้งสมาธิและลดความเร็วลงจนทำให้โอกาสเกิดอุบัติเหตุต่ำ

อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดจากสาเหตุอะไรมากที่สุด?

จากบันทึกของกระทรวงคมนาคมได้มีการทำหลักฐานอธิบายมูลเหตุของการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ในแต่ละเคสไว้ดังนี้

  • ขับรถเร็วเกิดที่อัตรากำหนด เป็นสาเหตุที่เกิดรถชนบนท้องถนนมากที่สุดซึ่งมีจำนวน 15,305 ครั้ง หรือมีอัตรา 74.81%
  • คน/รถ/สัตว์ วิ่งตัดหน้า จำนวน 1603 ครั้ง หรือมีอัตรา 7.83%
  • หลับใน จำนวน 973 ครั้ง หรือมีอัตรา 4.75%
  • อุปกรณ์ยานพาหนะบกพร่อง จำนวน 769 ครั้ง หรือมีอัตรา 3.75%
  • เมาแล้วขับ จำนวน 316 ครั้ง หรือมีอัตรา 1.54%

ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุดได้แก่ มีสิ่งบดบังการมองเห็น, ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ, ถนนชำรุด ซึ่งทั้งหมดนี้มีอัตราเกิดอุบัติเหตุเพียงประเภทละ 1 ครั้งเท่านั้น 

ส่วนลักษณะการเกิดอุบัติเหตุส่วนมากจะเป็นการพลิกคว่ำหรือตกถนนในทางตรงมากที่สุด โดยเกิดเหตุไปทั้งสิ้นรวม 8,222 ครั้ง, ตามมาด้วยการชนท้าย 5,942 ครั้ง, การพลิกคว่ำหรือตกถนนในทางโค้ง 2,570 ครั้ง, การชนในทิศทางตรงข้าม 950 ครั้ง, และการชนสิ่งกีดขวาง 702 ครั้ง’

จะเห็นได้ว่าจากการเกิดอุบัติเหตุรถชนทั้งหมดนั้นส่วนใหญ่มีมาจากการไม่เคารพกฎจราจรของตัวผู้ขับขี่เอง โดยเฉพาะการใช้ความเร็วเกินกฏหมายกำหนดซึ่งเทียบตามอัตราแล้วมากกว่าสาเหตุใด ๆ รวมกันเสียอีก ขณะที่การหลับในและเมาสุราขณะขับขี่เป็นเป็นสาเหตุต้น ๆ ของการเกิดอุบัติเหตุด้วยเช่นกัน ส่วนปัจจัยอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่อย่างคน/รถ/สัวต์วิ่งตัดหน้า รวมถึงยานพาหนะบกพร่องนั้น ยังนับว่าเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุบนท้องถนนน้อยกว่าความบกพร้องของตัวผู้ขับขี่อยู่มาก

สภาพอากาศแบบไหนเกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุด

จากข้อมูลสถิติที่บันทึกไว้พบว่า อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในวันที่สภาพอากาศแจ่มใส ซึ่งเกิดขึ้น 17,447 ครั้ง หรือเทียบเป็นอันตรา 85.28%, ตามมาด้วยสภาพอากาศฝนตก ซึ่งมีการเกิดอุบัติเหตุทั้งสิ้น 2,769 ครั้ง หรือเทียบเป็น 13.53%, และอากาศหมอกหนา มีควัน หรือมีฝุ่น ซึ่งเกิดอุบัติเหตุทั้งสิ้น 130 ครั้ง หรือเทียบเป็น 0.63%, ส่วนสภาพอากาศมืดครึ้มมีอุบัติเหตุเกิดรวมดันทั้งสิ้น 74 ครั้ง หรือเทียบเป็น 0.36% 

ดูจากสถิติแล้วนับว่าไม่แปลกใจเท่าไหร่เพราะสภาพอากาศส่วนมากมักจะแจ่มใส่อยู่แล้ว แต่ก็สะท้อนให้คนขับเห็นว่าแม้จะเป็นสภาพอากาศแจ่มใส แต่ถ้าขับรถประมาทหรือไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุรถชนได้เช่นกัน ในทางกลับกันหากขับรถในสภาพอากาศฝนตก ผู้ขับก็ต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยให้มากขึ้น

อุบัติเหตุบนท้องถนนในแต่ละปี มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งหมดกี่คน

จากสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนทั้งหมดที่อ้างอิงจากปี พ.ศ. 2564 นั้น มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมทั้งสิ้นดังนี้

  • จำนวนผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 2,726 ราย
  • จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสรวมทั้งสิ้น 2,884 ราย
  • จำนวนผู้บาดเจ็บเล็กน้อยรวมทั้งสิ้น 12,224

ประกันรถยนต์แต่ละชั้นคุ้มครองกรณีอุบัติเหตุบนท้องถนนอย่างไร

ประกันรถยนต์แต่ละชั้นมีความคุ้มครองในกรณีอุบัติเหตุบนท้องถนนที่แตกต่างกันไปตามระดับความคุ้มครอง โดยหลัก ๆ แล้ว การคุ้มครองในกรณีอุบัติเหตุบนท้องถนนสามารถสรุปได้ดังนี้:

1. ประกันรถยนต์ชั้น 1

  • คุ้มครองความเสียหายของรถยนต์: ครอบคลุมทั้งรถของผู้เอาประกันและรถของคู่กรณี ไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายผิด
  • คุ้มครองทุกกรณี: รวมถึงกรณีไม่มีคู่กรณี (เช่น ชนเสา กำแพง หรือสิ่งของ) และกรณีรถชนกัน
  • คุ้มครองทรัพย์สินและบุคคลภายนอก: หากเกิดอุบัติเหตุและมีความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก หรือมีผู้บาดเจ็บ บริษัทประกันจะชดเชยค่าเสียหายให้
  • คุ้มครองชีวิตและร่างกาย: ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร รวมถึงค่าเสียหายในกรณีเสียชีวิต
  • คุ้มครองกรณีชนแล้วหนี: หากไม่สามารถระบุตัวคู่กรณีได้ ประกันชั้น 1 จะยังคงคุ้มครองรถของผู้เอาประกัน

2. ประกันรถยนต์ชั้น 2+

  • คุ้มครองความเสียหายของรถยนต์: คุ้มครองความเสียหายของรถยนต์ผู้เอาประกันเฉพาะกรณีที่เกิดอุบัติเหตุกับยานพาหนะที่มีคู่กรณี เช่น ชนกับรถคันอื่น
  • ไม่คุ้มครองอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี: หากเป็นการชนสิ่งของหรืออุบัติเหตุที่ไม่สามารถระบุตัวคู่กรณีได้ (เช่น ชนเสา หรือชนต้นไม้) ประกันชั้น 2+ จะไม่ครอบคลุม
  • คุ้มครองทรัพย์สินและบุคคลภายนอก: ครอบคลุมความเสียหายต่อทรัพย์สินและร่างกายของบุคคลภายนอก
  • คุ้มครองชีวิตและร่างกาย: เช่นเดียวกับประกันชั้น 1 คือ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

3. ประกันชั้น 2 คุ้มครองอะไรบ้าง

  • คุ้มครองความเสียหายของรถคู่กรณี: หากเกิดอุบัติเหตุ ประกันชั้น 2 ราคาประหยัดจะคุ้มครองความเสียหายของรถคู่กรณีเท่านั้น
  • ไม่คุ้มครองรถของผู้เอาประกัน: รถยนต์ของผู้เอาประกันจะไม่ได้รับการซ่อมแซมจากประกันในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
  • คุ้มครองทรัพย์สินและบุคคลภายนอก: ความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือบุคคลภายนอกจะได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับชั้น 1 และ 2+
  • คุ้มครองกรณีรถหายและไฟไหม้: คุ้มครองเพิ่มเติมในกรณีที่รถยนต์ถูกโจรกรรมหรือเกิดไฟไหม้

4. ประกันรถยนต์ชั้น 3+

  • คุ้มครองความเสียหายของรถยนต์ผู้เอาประกัน: เฉพาะกรณีที่เกิดอุบัติเหตุกับยานพาหนะที่มีคู่กรณีเท่านั้น
  • ไม่คุ้มครองอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี: เช่นเดียวกับชั้น 2+ ประกันรถยนต์ชั้น 3+ ราคาถูกจะไม่คุ้มครองหากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี
  • คุ้มครองทรัพย์สินและบุคคลภายนอก: คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินและบุคคลภายนอกเช่นเดียวกับประกันชั้นอื่น ๆ

5. ประกันรถยนต์ชั้น 3

  • คุ้มครองเฉพาะความเสียหายของคู่กรณี: หากเกิดอุบัติเหตุ ประกันชั้น 3 คุ้มครองอะไรบ้าง เฉพาะความเสียหายของรถคู่กรณีเท่านั้น
  • ไม่คุ้มครองรถของผู้เอาประกัน: รถของผู้เอาประกันจะไม่ได้รับการคุ้มครองในการซ่อมแซมใด ๆ
  • คุ้มครองทรัพย์สินและบุคคลภายนอก: คุ้มครองในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือบุคคลภายนอก

จะเห็นได้ว่าจากอัตราการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ทั้งหมดส่วนมากมักจะเป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย แต่ถึงกระนั้นผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บสาหัสก็ยังคงมีจำนวนมากนับหลักพันต่อปีเลยทีเดียว จึงไม่แปลกใจเลยที่ทุกวันนี้มีรายงานข่าวอุบัติเหตุและมีผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์อันเศร้าสลดให้ได้เห็นกันอยู่ทุกวัน 

สุดท้ายนี้น้องแคร์ขอฝากให้ทุกคนใช้ถนนอย่างระมัดระวังเพื่อหลักเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพราะหากพลาดพลั้งเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาแล้วย่อมมีการสูญเสียตามมาแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียทรัพย์สินจนถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือชีวิตของคุณเองและชีวิตของคนที่คุณรัก จากสถิติอุบัติเหตุบนถนนที่นำมาให้ดูทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าเรื่องที่ไม่คาดฝันนั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ

สิ่งสำคัญสำหรับผู้ขับรถเลยก็คือประกันรถยนต์ต้องมีติดไว้เสมออย่าขาด เพราะประกันจะช่วยคุ้มครองค่าซ่อมรถยนต์ คุ้มครองค่ารักษาเวลาบาดเจ็บ รวมไปถึงคุ้มครองชีวิตเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน หากคุณรู้ตัวว่าประกันรถยนต์กำลังจะหมด อย่ารอช้า! รีบติดต่อมาเช็กความคุ้มครองและตรวจสอบเบี้ยประกันรถยนต์กับเราได้ทันทีกับแรบบิท แคร์ ตลอด 24 ชั่วโมง


บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


 

บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย

Rabbit Care Blog Image 99360

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

แผลรถล้มอันตรายหรือไม่ ? มีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร ?

เหตุการณ์รถล้ม เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้ใช้รถทุกคนมีโอกาสที่จะเผชิญกันได้อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากในการขับขี่รถบนท้องถนนนั้นมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก
Natthamon
06/02/2025
Rabbit Care Blog Image 99165

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

การจอดและถอยรถแบบครบสูตร อ่านแล้วช่วยให้เก่งขึ้นได้!

ปัญหาเรื่องการจอดกับถอยรถ ถือเป็นอุปสรรคแรก ๆ ที่ผู้ขับขี่ต่างพบเจอกันมาหลายต่อหลายสถานการณ์ ซึ่งในแต่ละครั้งถ้าหากโชคดี
Natthamon
20/01/2025
Rabbit Care Blog Image 98882

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

อบรมใบขับขี่ออนไลน์ 2568 ยากไหม ? มีขั้นตอนในการอบรมใบขับขี่ออนไลน์อย่างไร ?

เมื่อพูดถึงการอบรมใบขับขี่ออนไลน์แล้วทุกคนก็จะนึกถึงการอบรมที่สะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลาไปนั่งอบรมเป็นวัน ๆ เหมือนเมื่อก่อน
Thirakan T
14/01/2025