กรมขนส่งฯเตือน! ไฟหน้า-ไฟท้าย ดัดแปลงเกินมาตรา โทษปรับสูง 50,000 บาท
การดัดแปลงดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายคือ รถส่วนบุคคล รถแท็กซี่ มีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 ฐานใช้รถที่มีอุปกรณ์ส่วนควบไม่ถูกต้องตามที่กำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ส่วนรถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะมีความผิดตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ฐานเพิ่มเติมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
โดยการแก้ไข ดัดแปลง ไฟหน้า-ไฟท้าย ของรถยนต์ให้มีแสงสว่างจ้ามากจนเกินไป นอกจากมีความผิดตามกฎหมายแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันอีกด้วย เพราะการที่ดัดแปลง แก้ไข มากเกินไป อาจเกิดผลกระทบแสงไฟเข้าตาผู้ใช้รถใช้ถนนรายอื่น ทำให้สายตาพร่ามัว อาจเป็นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุได้
ส่วนการดัดแปลงไฟท้ายรถ โดยใช้แสงกะพริบ หรือใช้แสงสีต่างๆ เพื่อความสวยงาม รวมไปถึงการปรับแต่งทิศทางการส่องสว่างของโคมไฟหน้ารถให้สูงขึ้นจากเดิม หรือดัดแปลงอุปกรณ์ส่วนควบหรือเพิ่มเติมส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าไป จนทำให้แสงมีความสว่างจ้ามากจนเกินไป ก็นับว่าไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด นับว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายเช่นกัน
แล้วแบบนี้ พวกไฟตัดหมอก ผิดกฎหมายไหม ?
สำหรับไฟตัดหมอก และไฟสปอร์ตไลท์นั้น มีกฎหมายกำหนดไว้ว่า พ.ร.บ. 2536 อนุญาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลท์หรือ ไฟตัดหมอกเพิ่มได้ ข้างละ 1 ดวง (เท่ากับ 2 ดวง) ในระดับแนวเดียวกัน ความสูงจากพื้นถนนไม่ต่ำกว่า 40 cm. และไม่สูงกว่า 135 cm. ต้องเป็นแสงสีเหลือง หรือสีขาว
กำลังไฟไม่เกิน55 วัตต์ ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
ส่วนการเปิดไฟตัดหมอกนั้นทำได้เมื่อมีอุปสรรค์ในการขับขี่ เช่น มีหมอกควัน หรือฝนตกหนัก มองเห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่สวนทางมาในระยะไม่เกิน 150 เมตร เท่านั้น
หากติดไม่ถูกต้อง หรือเปิดโดยไม่มีเหตุให้เปิดใช้งาน ก็จะถือว่าผิดกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท รวมถึงการติดไฟนีออนใต้ท้อง หรือกรอบป้ายทะเบียน ก็เป็นสิ่งต้องห้าม ผิดอีกเช่นเดียวกันโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท อีกด้วย
กรมขนส่งฯ เอาจริง เตรียมคุมเข้ม สุ่มตรวจ
ทางกรมการขนส่งทางบกได้ขอความร่วมมือเจ้าของรถตระหนักถึงความสำคัญความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนเป็นหลักมากกว่าโทษปรับที่ตั้งไว้ และควรใช้งานรถตามมาตรฐานของผู้ผลิต ไม่ควรแก้ไขดัดแปลงไฟหน้า-ไฟท้ายรถ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย หากแสงไฟส่องเข้าตา
ทั้งนี้ ได้กำชับสำนักงานขนส่งจังหวัดทุกแห่งเข้มงวดตรวจสภาพรถให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนด และขอความร่วมมือสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) หากพบว่าอุปกรณ์ส่องสว่างของรถยนต์ที่เข้ารับบริการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ถือว่าผลการตรวจสภาพรถไม่ผ่านและต้องแจ้งเจ้าของรถแก้ไขให้ถูกต้อง
พร้อมกันนี้ ได้มีมาตรการเข้มงวดกวดขันจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบรถทุกประเภทอย่างต่อเนื่อง หากพบการแก้ไขดัดแปลงไฟหน้า-ไฟท้าย ดำเนินการตามกฎหมายทันที
นอกเหนือจากเรื่อง “กรมขนส่งฯ เอาจริง เตรียมคุมเข้ม สุ่มตรวจ” การดัดแปลงรถที่เราต้องระวังไม่ให้ผิดกฎหมายแล้ว การขับขี้บนท้องถนนก็สำคัญไม่แพ้กันเพราะเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ที่คุณอ่านเห็นนี้เป็นการเตือนให้คุณรู้ถึงความสำคัญของการประกันภัยรถยนต์ เพื่อความปลอดภัยของคุณและครอบครัว การเตรียมตัวด้วยประกันภัยรถยนต์ที่เหมาะสมช่วยให้คุณพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด
แรบบิท แคร์ ยินดีที่จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแผนประกันภัยรถที่ตรงกับความต้องการของคุณ เพื่อให้คุณได้สัมผัสความมั่นคงที่ดีที่สุดในการเดินทาง อย่ารอช้า! ติดต่อเราเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมและให้คำปรึกษาที่ไม่มีค่าใช้จ่าย โทร. 1438
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ปรับสูงสุด 5,000 บาท!!! กรมขนส่ง เตือน ดัดแปลงรถ ไม่ขออนุญาต
- 10 จุดที่สายแต่งกระบะซิ่งต้องระวัง หากไม่อยากโดนปรับเพราะผิดกฎหมาย
- ไฟหน้า – หลัง แบบไหน ถึงไม่ผิดกฎหมายกันนะ ?
- แต่งรถ แบบนี้ ทำประกันได้ไหม ?
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct