รถจอดอยู่แล้วโดนชนใครผิด? จะรู้ได้อย่างไร? เรียกร้องอะไรได้บ้าง?
รถจอดอยู่แล้วโดนชนอาจเป็นอีกหนึ่งอุบัติเหตุที่หลายคนไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะจอดในที่ห้ามจอด หรือจอดในพื้นที่ที่อนุญาตให้จอดได้ก็ตาม และหลายคนอาจเข้าใจว่าในเมื่อจอดรถในที่ห้ามจอด และโดนชน เจ้าของรถที่โดนชนไม่มีสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหาย หรือฝ่ายที่ชนสามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ จริงหรือไม่นั้น? สรุปแล้วรถจอดอยู่แล้วโดนชนใครผิด? วันนี้ แรบบิท แคร์ จะมาเล่าให้ฟัง
รถจอดอยู่แล้วโดนชนใครผิด?
ฝ่ายชน
ฝ่ายชนมักถูกพิจารณาให้เป็นฝ่ายผิดเสมอ เนื่องจากตามกฎหมายแล้วถือว่าเป็นผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินผู้อื่นจากความประมาทเล่นเล่อของตัวเอง จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการชนรถจอดอยู่แล้วโดนชนในพื้นที่ห้ามจอด เช่น ทางเลี้ยว ทางร่วมแยก ทางโค้ง ข้างทาง เส้นขาวแดง หรือแม้กระทั่งพื้นที่ที่มีป้ายห้ามจอดกำกับไว้
อย่างไรก็ตาม หากฝ่ายถูกชนจอดรถในลักษณะที่เสี่ยงต่อการถูกเฉี่ยวชนโดยง่าน เช่น จอดในจุดอับสายตา จอดกีดขวางจราจร อาจถูกพิจารณให้มีความผิดฐานประมาทร่วมด้วยก็เป็นได้
ฝ่ายถูกชน
ฝ่ายถูกชนขณะที่รถจอดหรือฝ่ายที่รถจอดอยู่แล้วโดนชนอยู่มักได้รับการสรุปให้เป็นฝ่ายถูก ไม่ว่าจะจอดรถอยู่ในบริเวณพื้นที่ห้ามจอด หรือจอดในพื้นที่ที่สามารถจอดได้ตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นผู้ได้รับความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์จากความประมาทของผู้อื่น แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายได้จากกรณีการจอดในพื้นที่ห้ามจอดตามกฎหมายจราจรทางบก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการจอดในพื้นที่ห้ามจอดที่มีป้ายจราจรกำกับในบริเวณดังกล่าวอย่างชัดเจน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และโดนตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ 1 คะแนน
บริเวณไหนบ้างห้ามจอด?
พื้นที่ห้ามจอดรถตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 57 มีการระบุพื้นที่หรือบริเวณที่ห้ามจอดรถ ไว้ดังต่อไปนี้
- จอดบนทางเดินเท้า
- จอดบนสะพานหรืออุโมงค์
- จอดในทางร่วมทางแยก หรือในระยะ 10 เมตร จากทางร่วมทางแยก
- จอดในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
- จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
- จอดรถ ในระยะ 3 เมตร จากท่อน้ำดับเพลิง
- จอดรถในระยะ 10 เมตร จากที่ดินตั้งสัญญาณจราจร
- จอดในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
- จอดซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
- จอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถหรือในระยะ 5 เมตร จากปากทางเดินรถ
- จอดรถในระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
- จอดรถในที่คับขัน ทางที่มีการจราจรพลุกพล่าน
- จอดรถในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทาง ให้จอดเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
- จอดรถในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
- จอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
ทั้งนี้ เมื่อรถยนต์หรือยานพาหนะทางบกตามที่ระบุไว้ในกฎหมายจราจรทางบก จอดหรือหยุดรถในพื้นที่ดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร จะมีความผิดตามกฎหมายจราจรทางบก ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท รวมถึงเจ้าหน้าที่จำรวจหรือตำรวจจราจรสามารถเคลื่อนย้ายรถให้พ้นพื้นที่ดังกล่าว หรือใส่เครื่องบังคับล้อห้ามเคลื่อนย้าย โดยเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่รถดังกล่าว ต้องชำระค่าเทียบปรับก่อนที่จะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ถอดเครื่องบังคับล้อ และรับรถกลับไปใช้งานได้
รถจอดอยู่แล้วโดนชน ประกันรับผิดชอบไหม?
บริษัทประกันจะให้ความคุ้มครองกรณีรถจอดอยู่โดนชน เฉพาะกรณีที่รถที่ถูกชนได้ทำประกันภันรถยนต์ชั้น 1, ชั้น 2+ หรือชั้น 3+ โดยให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์ ซึ่งโดยสถานการณ์ทั่วไปแล้ว ฝ่ายที่เป็นคนชนมักจะนับว่าเป็นฝ่ายผิด เนื่องจากประมาทจนทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย
บริษัทประกันภัยจะเป็นผู้ติดตามเรียกเก็บเบี้ยชดเชยความเสียหายจากคู่กรณีให้รวมถึงบริษัทประกันภัยและคู่กรณีจะไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ แม้ว่ารถคันเอาประกันจะได้รับความเสียหายจากการรถจอดอยู่แล้วโดนชนหรือการจอดรถในที่ห้ามจอดก็ตาม เช่น บริเวณทางโค้ง หรือข้างทาง ทั้งนี้ การจอดในพื้นที่ห้ามจอดมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งมีอัตราโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท
อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นฝ่ายผิด (ฝ่ายชน) โดยขับรถชนกับรถที่จอดในพื้นที่ห้ามจอด บริษัทประกันที่รับประกันรถของเราไว้จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นให้กับคู่กรณี และจะให้ความรับผิดชอบต่อ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถเรา เฉพาะกรณีที่รถคันเอาประกันหรือรถจอดอยู่แล้วโดนชนได้ทำประกันรถยนต์ชั้น 1, ชั้น 2 หรือชั้น 3+ เท่านั้น ในขณะที่หากเป็นรถยนต์ที่ทำประกันรถยนต์ชั้น 2 หรือ 3 ฝ่ายผิดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถตัวเอง
รถจอดอยู่แล้วโดนชน เรียกร้องอะไรได้บ้าง?
ค่ารักษาพยาบาล
หากเจ้าของรถที่โดนชนขณะจอดรถถูกชนได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย สามารถแจ้งเบิกเคลมค่ารักษาพยาบาลได้จากประกันรถยนต์ภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. ซึ่งครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาล รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท และค่าปลงศพโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกหรือผิด
ค่าเสียหายต่อตัวรถ
สามารถเรียกร้องค่าซ่อมรถจอดอยู่แล้วโดนชนได้จากกรมธรรม์ประกันภัยของคู่กรณี ในกรณีที่คู่กรณีได้ทำประกันภัยรถยนต์เอาไว้ โดยบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นให้ หรือเรียกร้องค่าชดเชยซ่อมรถได้โดยตรงจากผู้กระทำผิด ในกรณีที่ไม่มีประกันรถยนต์ รวมถึงอาจต้องแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ไว้เป็นหลักฐานประกอบด้วย
ค่ารถยก หรือรถลาก
บริษัทประกันของคู่กรณีจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเคลื่อนย้ายรถโดยรถยก หรือรถลาก เพื่อเคลื่อนย้ายรถจอดอยู่แล้วโดนชนออกจากพื้นที่จราจร หรือเพื่อนำส่งรถไปยังศูนย์ซ่อม หรือศูนย์บริการรถยนต์ ในกรณีที่รถของฝ่ายที่ถูกชน ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามปกติ
ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน
นอกจากค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถแล้ว ฝ่ายที่ถูกชนสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมได้จากกรณีที่ฝ่ายผู้กระทำผิดได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับทรัพย์สินส่วนตัวอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากตัวรถ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กระเป๋าแบรนด์เนม หรืออื่น ๆ โดยสามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้โดยตรงจากคู่กรณีหรือกรมธรรม์ประกันภัยจากคู่กรณี
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรถจอดอยู่แล้วโดนชน สามารถเรียกค่าชดเชยจากการขาดประโยชน์จากการใช้รถได้ ในขณะที่รถเสียหรืออยู่ในระหว่างรอซ่อม ซึ่งสามารถเรียกร้องได้โดยตรงจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี รวมถึงสามารถเรียกร้องอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้ตามที่ คปภ. ประกาศไว้ อย่างไรก็ตาม หากรถคู่กรณีไม่มีการจัดทำประกันรถยนต์ไว้ ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ติดตามเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถด้วยตัวเอง
รถจอดอยู่แล้วโดนชน ต้องทำอย่างไรบ้าง?
ติดต่อบริษัทประกันภัยรถยนต์
ติดต่อบริษัทประกันภัยโดยแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดนรถชนขณะรถจอดอยู่ ลักษณะการเกิดเหตุ ความเสียหายเบื้องต้น ตลอดจนตำแหน่งที่เกิดเหตุ พร้อมแจ้งข้อมูลกรมธรรม์ประกันรถยนต์ ซึ่งอาจประกอบด้วยเลขกรมธรรม์ ชื่อผู้เอาประกัน เลขทะเบียนรถและยี่ห้อรถคันเอาประกัน ของทั้งฝั่งเราและคู่กรณี (ถ้ามี) ทั้งนี้ หากเป็นเหตุการร์ที่มีความรุนแรง มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ควรต้องโทรแจ้งตำรวจด้วยเช่นกัน
สำรวจความเสียหายเบื้องต้น
ตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้นของรถคันเอาประกันหรือรถจอดอยู่แล้วโดนชนโดยรอบ ระหว่างรอเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันเดินทางเข้าตรวจสอบสภาพความเสียหาย พร้อมรวบรวมหลักฐานการเฉี่ยวชนที่เกิดขึ้นด้วยการบันทึกภาพนิ่ง หรือภาพวีดีโอเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการแจ้งเคลมในขั้้นตอนถัดไป ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการเข้าตรวจสอบสภาพความเสียหายของตัวรถที่โดนชนขณะจอดด้วยตัวเอง ในกรณีที่รถได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ร่วมด้วย
ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ประกันภัย
แจ้งข้อมูลรถจอดอยู่แล้วโดนชนทั้งหมดที่เกิดขึ้นให้เจ้าหน้าที่ตัวแทนบริษัทประกันรับทราบอีกครั้ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สรุปความเสียหาย และฝ่ายถูก/ฝ่ายผิด ทั้งนี้ กรณีที่ต้องมีการเจรจาต่อรองไกล่เกลี่ย เจ้าหน้าที่ตัวแทนประกันจะเป็นผู้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยและรักษาผลประโยชน์แก่รถคันเอาประกัน
รับใบแจ้งเคลม
เมื่อเจ้าหน้าที่ตัวแทนจากบริษัทประกันภัยสรุปเหตุการณ์ความเสียหายหรือไกล่เกลี่ยความรับผิดชอบกับคู่กรณีที่เฉี่ยวชนรถคันเอาประกันได้แล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการออกใบแจ้งเคลมให้สำหรับใช้นำรถคันเอาประกันเข้ารับบริการ ณ ศูนย์ซ่อมหรืออู่บริการที่อยู่ในเครือของบริษัทประกันภัยต่อไปนั่นเอง
แม้ว่าฝ่ายชนรถจอดอยู่แล้วโดนชนจะถูกพิจารณาให้เป็นฝ่ายผิดในทุกครั้ง แต่มีหลายครั้งที่ฝ่ายถูกชนถูกพิจารณาให้มีความผิดฐานประมาทร่วมด้วยเช่นกัน จากกรณีการจอดรถในพื้นที่ที่เสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุ ร่วมถึงอาจมีความผิดตามกฎจราจรทางบกอีกด้วย ดังนั้นแล้ว นอกจากจะต้องมีจิตสำนักและสติในการขับขี่และการเลือกที่จดแล้ว ควรต้องมีประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ติดไว้เพื่อความอุ่นใจ เพราะไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่ขับรถไปชนหรือฝ่ายที่ถูกชนย่อมได้รับความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินตนเองและคู่กรณี
รถจอดอยู่แล้วโดนชน ประกันแต่ละชั้นคุ้มครองอย่างไรบ้าง
การที่รถจอดอยู่แล้วถูกชน ถือเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้บ่อย และวิธีการคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์จะแตกต่างกันไปตามประเภทของประกันที่คุณมี นี่คือรายละเอียดของการคุ้มครองของประกันรถยนต์แต่ละชั้นในกรณีที่รถจอดอยู่แล้วถูกชน:
- ความคุ้มครองเมื่อรถจอดแล้วถูกชน: ประกันชั้น 1 จะคุ้มครองครบถ้วนไม่ว่าคุณจะจอดรถอยู่แล้วถูกชนโดยมีคู่กรณีหรือไม่มีคู่กรณี เช่น หากมีรถคันอื่นมาชนรถของคุณในขณะที่คุณจอดอยู่ ประกันจะคุ้มครองทั้งค่าซ่อมแซมรถของคุณเองและค่าซ่อมแซมรถคู่กรณี (ถ้าคุณเป็นฝ่ายผิด)
- ไม่มีคู่กรณี (ชนแล้วหนี): หากคุณไม่ทราบตัวตนของคู่กรณี ประกันชั้น 1 จะยังคงคุ้มครองค่าซ่อมแซมรถของคุณ แต่คุณอาจต้องจ่าย “ค่าเสียหายส่วนแรก” (deductible) ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่คุณต้องรับผิดชอบก่อนที่ประกันจะคุ้มครอง
- ขั้นตอนการเคลม: สามารถเคลมประกันได้โดยใช้หลักฐาน เช่น ภาพจากกล้องวงจรปิด กล้องหน้ารถ หรือภาพถ่ายของรถที่เสียหาย
2. ประกันชั้น 2+
- ความคุ้มครองเมื่อมีคู่กรณี: ประกันชั้น 2+ จะคุ้มครองกรณีที่มีคู่กรณีชนกับรถของคุณในขณะที่จอดอยู่ เช่น รถคันอื่นขับมาชน ประกันจะคุ้มครองค่าซ่อมแซมรถของคุณ และถ้าคุณเป็นฝ่ายผิด ประกันจะคุ้มครองความเสียหายต่อคู่กรณีด้วย
- ไม่มีคู่กรณี (ชนแล้วหนี): หากคุณไม่ทราบตัวตนของคู่กรณี ประกันชั้น 2+ จะไม่คุ้มครองความเสียหายต่อรถของคุณเอง เพราะประกันประเภทนี้จะคุ้มครองเฉพาะกรณีที่มีการชนกับรถคันอื่นเท่านั้น
- ขั้นตอนการเคลม: ต้องมีหลักฐานว่าคุณถูกชนจากรถคันอื่น และคุณต้องทราบตัวตนของคู่กรณีเพื่อดำเนินการเคลม
3. ประกันชั้น 3+ ราคาย่อมเยาว์
- ความคุ้มครองเมื่อมีคู่กรณี: ประกันชั้น 3+ จะคุ้มครองในกรณีที่รถของคุณถูกชนโดยรถคันอื่นที่เป็นยานพาหนะที่มีเครื่องยนต์เท่านั้น และต้องมีคู่กรณีที่ชัดเจน เช่น รถคันอื่นชนรถคุณในที่จอด ประกันจะคุ้มครองค่าซ่อมแซมรถของคุณ
- ไม่มีคู่กรณี (ชนแล้วหนี): ประกันชั้น 3+ จะไม่คุ้มครองหากคุณไม่ทราบตัวตนของคู่กรณีหรือไม่มีคู่กรณีเลย เช่น การชนแล้วหนี
4. ประกันรถยนต์ชั้น 2 และชั้น 3
- ความคุ้มครองต่อคู่กรณีเท่านั้น: ประกันชั้น 2 และประกันภัยชั้น 3 จะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดกับคู่กรณีเท่านั้น และไม่คุ้มครองค่าซ่อมแซมรถของคุณเอง ไม่ว่าคุณจะจอดอยู่แล้วถูกชนหรือเกิดเหตุใด ๆ ก็ตาม
- ไม่มีคู่กรณี (ชนแล้วหนี): ประกันชั้น 2 และชั้น 3 ไม่คุ้มครองในกรณีนี้ เพราะไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถของคุณ
5. กรณีชนแล้วหนี
- ประกันชั้น 1: คุ้มครองความเสียหายต่อรถของคุณแม้ไม่มีคู่กรณีที่ชัดเจน
- ประกันชั้น 2+ และ 3+: ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อรถของคุณหากไม่มีคู่กรณีที่ชัดเจน
- ประกันชั้น 3: ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อรถของคุณ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีคู่กรณี
6. ขั้นตอนการเคลมกรณีรถจอดแล้วถูกชน
- แจ้งประกันทันที: เมื่อรถของคุณถูกชน ควรติดต่อบริษัทประกันทันทีและแจ้งรายละเอียดเหตุการณ์
- รวบรวมหลักฐาน: หากมีกล้องวงจรปิดหรือกล้องหน้ารถ ให้รวบรวมภาพหรือวิดีโอเป็นหลักฐาน การถ่ายภาพรถที่เสียหายก็เป็นหลักฐานสำคัญในการเคลมประกัน
- แจ้งความกรณีชนแล้วหนี: หากไม่ทราบตัวตนของคู่กรณี ควรไปแจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐาน
การเลือกประกันที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่คุณอาจเผชิญ เช่น การถูกชนในที่จอดรถ จะช่วยให้คุณได้รับความคุ้มครองที่เพียงพอในสถานการณ์ต่างๆ
แรบบิท แคร์ รวบรวมแบบประกันรถยนต์ออนไลน์ให้เลือกได้ครบด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง การันตีถูกกว่าซื้อตรงกับบริษัประกันด้วยตนเอง หรือขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือประกันชั้นอื่นๆ ได้จากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของ แรบบิท แคร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โทรเลย 1438
สรุป
โดยทั่วไปแล้ว ฝ่ายชนมักถูกพิจารณาให้เป็นฝ่ายผิดเสมอ เนื่องจากตามกฎหมายแล้วถือว่าเป็นผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินผู้อื่นจากความประมาทเล่นเล่อของตัวเอง จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการชนรถจอดอยู่แล้วโดนชนในพื้นที่ห้ามจอด เช่น ทางเลี้ยว ทางร่วมแยก ทางโค้ง ข้างทาง เส้นขาวแดง หรือแม้กระทั่งพื้นที่ที่มีป้ายห้ามจอดกำกับไว้
อย่างไรก็ตาม หากฝ่ายถูกชนจอดรถในลักษณะที่เสี่ยงต่อการถูกเฉี่ยวชนโดยง่าน เช่น จอดในจุดอับสายตา จอดกีดขวางจราจร อาจถูกพิจารณให้มีความผิดฐานประมาทร่วมด้วยก็เป็นได้
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology