ประมาทร่วม คืออะไร? ประกันจ่ายไหม และเราต้องชดใช้อะไรบ้าง?
อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่การใช้ถนนร่วมกันของคนหลายคนในสังคมที่มีลักษณะนิสัย และวินัยในการขับขี่ที่ต่างกัน ย่อมจะมีโอกาสให้เกิดการกระทบกระทั่งกันไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งอยู่แล้ว ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้ที่จะรับมือกับอุบัติเหตุแต่ละรูปแบบเอาไว้ก่อน หากว่าเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริงเราจะได้รับมือกับสถานการณ์ได้ย่างถูกต้อง ทันท่วงที และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยครั้งนี้ แรบบิท แคร์ จะมาพูดถึงกรณี “ประมาทร่วม” ว่าถ้าหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ เราในฐานะผู้ใช้รถใช้ถนนจะมีวิธีจัดการกับเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง
ประมาทร่วม คืออะไร? มีระบุในกฎหมายหรือไม่?
การประมาทร่วม คือ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากความประมาทของทั้งสองฝ่ายที่ไม่น้อยไปกว่ากัน เช่น นาย A ขับรถยนต์ที่มีไฟหน้าเสียข้างหนึ่งจนทำให้มองไม่เห็น จักรยานยนต์ของนาย B ที่ขับย้อนศรมาในช่วงเวลากลางคืนทำให้มีการเฉี่ยวชนกันเกิดขึ้น แต่ถ้าหากเป็นคดีประมาทร่วมที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมความและต้องการคำตัดสินตามกฎหมายก็จะต้องพิจารณาอยู่ดีว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาทมากกว่ากัน เพื่อตัดสินคดีให้ฝ่ายที่ประมาทมากกว่าต้องรับผิดชอบมากกว่า โดยขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้นร่วมด้วย อาทิ หากเป็นการประมาทร่วมที่ทำให้อีกฝ่ายเสียหายร้ายแรง ถึงขั้นบาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิต ก็จะต้องมีการตัดสินโทษของผู้กระทำความผิดไปตามข้อกฎหมาย และค่าเสียหายก็ต้องเฉลี่ยตามส่วนของความประมาทของแต่ละคนด้วย หรือก็คือ ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนทั้งคู่ เพียงแต่ใครจะต้องจ่ายมากกว่าก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินว่าประมาทกว่าเท่านั้น
แต่ทุกคนรู้กันหรือไม่ว่าแท้ที่จริงแล้วคำว่า “ประมาทร่วม” ไม่มีระบุในข้อกฎหมาย สิ่งที่ผู้คนเรียกกันชินปากแล้วว่าคือการประมาทร่วม ทางกฎหมายใช้คำว่า “ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” ถือเป็นการกระทำเฉพาะตัวบุคคล ไม่ได้ถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทร่วมกัน เพราะถ้าหากเป็นการกระทำผิดร่วมกันในทางกฎหมายจะถือว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาทันที ดังนั้นในการตัดสินจะต้องพิจารณาความผิดเป็นรายบุคคลกับทั้งสองฝ่ายแยกกัน โดยวินิจฉัยตามหลักเกณฑ์อย่างแรกคือ เจตนา ถ้าหากว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังของบุคคลก็ให้ถือว่าประมาท แต่ถ้าสืบทราบว่ากระทำโดยจงใจหรือไตร่ตรองไว้ก่อนก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง อย่างที่สองคือ บุคคลและวิสัย การตัดสินจะต้องคำนึงถึง เพศ อายุ อาชีพ และการศึกษาประกอบด้วยด้วย เพราะความระมัดระวังของบุคคลที่มีวิสัยแตกต่างกันย่อมมีไม่เท่ากัน เช่น ความระมัดระวังจากวุฒิภาวะของเยาวชนย่อมจะเทียบกับของผู้ใหญ่ไม่ได้ อย่างที่สาม คือ พิจารณาจากพฤติการณ์ในสภาวะนั้น หรือก็คือถ้าหากสภาพแวดล้อมในขณะนั้นส่งเสริมให้ต้องยิ่งระมัดระวังแต่บุคคลนั้นก็ยังขับขี่โดยประมาท น้ำหนักในความผิดฐานขับขี่โดยประมาทก็จะเพิ่มมากขึ้น เช่น ประมาทในการขับรถยนต์ในช่วงเวลากลางคืนผู้ใช้รถควรต้องระวังมากขึ้น เป็นต้น
เหตุประมาทร่วมแบบไหน ต้องจัดการอย่างไรบ้าง?
ส่วนใหญ่อุบัติเหตุที่พิจารณาแล้วว่าเป็นการประมาทร่วม และคู่กรณีทั้งสองฝ่ายยอมรับต่อการตัดสินของเจ้าหน้าที่และไม่ได้มีการติดใจเอาความซึ่งกันและกัน ทั้งคู่ก็จะแยกย้ายไปจัดการความเสียที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินและร่างกายของตัวเอง ทั้งเรื่องค่าซ่อมแซมรถยนต์ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่สามารถเบิกจากพ.ร.บ.ได้แต่ก็ต้องสำรองจ่ายไปก่อน ทว่าในหลายครั้งการตัดสินความผิดบนท้องถนนก็ไม่อาจจบได้ด้วยการไกล่เกลี่ยของเจ้าหน้าที่เช่นกัน ดังนั้นเราควรจะรู้จักกับวิธีรับมือเหตุการณ์แต่ละรูปแบบกันไว้ก่อน ดังนี้
กรณีประมาทร่วม คู่กรณีไม่มีพ.ร.บ.
ในกรณีที่เป็นการประมาทร่วมโดยคู่กรณีไม่มี หรือจ่ายไม่ครบ หรือขาดต่อพรบ.รถยนต์ หรือเป็นรถที่กฎหมายยกเว้นให้ไม่ต้องทำประกันภัยภาคบังคับ เช่น รถราชการ รถตำรวจ และรถทหาร เราจะยังสามารถใช้สิทธิเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนเงินทดแทนผู้ประสบภัยได้จากพ.ร.บ.ของเราได้ เฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับตัวรถ อาทิ ค่ารักษาพยาบาล
กรณีประมาทร่วม ไม่มีใบขับขี่
หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีใบขับขี่อยู่กับตัวขณะเกิดอุบัติเหตุและเป็นเหตุร้ายแรงมาก เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสามารถตีความเปลี่ยนจากเหตุประมาทร่วม เป็นให้ฝ่ายที่ไม่พกใบขับขี่เป็นฝ่ายผิดได้ และจะต้องถูกปรับตามข้อหาไม่พกใบขับขี่อีกกระทง แต่ถ้าตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่มองว่าเป็นเหตุที่ไม่ร้ายแรง ก็อาจจะสรุปว่าเป็นเหตุประมาทร่วมทั่วไป และฝ่ายที่ไม่มีใบขับขี่ก็ต้องจ่ายค่าปรับไปตามระเบียบ
กรณีประมาทร่วม คู่กรณีไม่ยอมรับการการตัดสิน
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้เป็นเหตุประมาทร่วมแล้วมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่พอใจกับคำตัดสินก็จะต้องฟ้องร้องสถานเดียว เพื่อให้มีการไต่สวนเพื่อตัดสินว่าใครเป็นผู้ประมาทมากกว่ากัน และเพื่อให้ได้รับสินไหมทดแทนที่สมควรแก่ความเสียหายของฝ่ายที่ต้องการความยุติธรรมให้แก่ตนเอง
กรณีประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บ
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการประมาทร่วมจนทำให้คู่กรณีบาดเจ็บ พนักงานสอบสวนมีสิทธิดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ว่าด้วยการขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนเรื่องค่ารักษาพยาบาลของและค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหายต่อร่างกาย ประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบให้ตามเงื่อนไขและวงเงินคุ้มครองที่ระบุเอาไว้
กรณีประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการประมาทร่วมจนทำให้คู่กรณีบาดเจ็บสาหัสถึงขั้นพิการ สูญเสียอวัยวะ หรือต้องรักษาตัวเกิน 20 วัน พนักงานสอบสวนมีสิทธิดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ว่าด้วยการขับรถโดยประมาทเป็นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหายต่อร่างกาย ประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบให้ตามเงื่อนไขและวงเงินคุ้มครองที่ระบุเอาไว้เช่นเดียวกับในกรณีบาดเจ็บเล็กน้อย
กรณีประมาทร่วม คู่กรณีเสียชีวิต
การเสียชีวิตถือว่าเป็นอุบัติเหตุขั้นร้ายแรงที่สุดของเหตุประมาทร่วม พนักงานสอบสวนมีสิทธิดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ว่าด้วยการขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และคู่กรณีฝ่ายที่เสียชีวิตมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยภาคบังคับหรือพ.ร.บ.ของผู้ขับขี่อีกฝ่าย เป็นจำนวน 35,000 บาท และจากประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้ขับขี่อีกฝ่ายตามความคุ้มครองที่ระบุในเงื่อนไขของกรมธรรม์ไม่ว่าผู้เสียชีวิตว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิดก็ตาม และแม้ว่าจะเป็นเหตุประมาทร่วม บริษัทประกันก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพียงแต่หากผู้ตายมีส่วนร่วมในความประมาท ค่าเสียหายและสินไหมทดแทนจะต้องหักส่วนประมาทของผู้เสียชีวิตออกไป โดยต้องให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่าคดีนี้จะมีที่สิ้นสุดอย่างไร และหากทายาทผู้เสียชีวิตยังคงติดใจก็สามารถยื่นอุทธรณ์ในศาลชั้นอื่นได้ตามลำดับ
ค่าสินไหมทดแทน กรณีประมาทร่วมชดใช้ยังไง? ประกันจ่ายให้หรือไม่?
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีประมาทร่วมและไม่ได้ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจไว้เลย เราจะต้องชดใช้ค่าสินไหมหลังจากหักลบความผิดฐานประมาทของอีกฝ่ายแล้วด้วยตัวเองทั้งหมด และในบางครั้งคู่กรณีที่ประมาทร่วม ซึ่งอาจจะได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตไม่ยอมรับค่าสินไหมตามตกลงก็จะต้องหาทนายเพื่อสู้คดีด้วยตัวเอง หากเป็นในกรณีที่เราได้ทำประกันภัยไว้บริษัทประกันภัยจะจัดเตรียมทนายให้ ส่วนเรื่องค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทน กรณีประมาทร่วม บริษัทประกันจะจัดการให้ แบ่งตามประเภทของประกันภัยได้ ดังนี้
- ประกันชั้น 1 หากประมาทร่วมสามารถเคลมได้ทั้งค่าซ่อมแซมส่วนที่เสียหายทั้งรถยนต์ของเราและคู่กรณี รวมถึงค่าสินไหมทดแทนตามที่ระบุในเงื่อนไขประกัน แต่ในบางกรมธรรม์จะระบุไว้เลยว่าไม่ครอบคลุมค่าซ่อมรถของเราให้เต็มจำนวนหากเป็นการประมาทร่วม เพราะถือว่าผู้เอาประกันก็เป็นฝ่ายผิดฐานประมาทด้วย
- ประกันชั้น 2+ และ ประกันรถยนต์ 3+ กรณีประมาทร่วมสามารถนำใบบันทึกประจำวันหรือใบแจ้งความไปแจ้งเคลมได้บางรายการตามที่ระบุในกรมธรรม์ โดยประกันจะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทั้งกรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตตามที่ระบุในกรมธรรม์ และจะชำระค่าเสียหายให้กับคู่กรณีโดยมีเงื่อนไขว่า คู่กรณีต้องอยู่ที่จุดเกิดเหตุด้วยเมื่อตัวแทนประกันไปถึง
- ประกันชั้น 2 และ ประกันรถยนต์ชั้น 3 ราคาถูก เมื่อเกิดกรณีประมาทร่วมประกันจะรับผิดชอบเพียงค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทนให้กับคู่กรณีตามที่ระบุในกรมธรรม์ ด้วยเงื่อนไขเดิมคือ คู่กรณีต้องอยู่ในที่เกิดเหตุด้วยเมื่อตัวแทนประกันเดินทางไปถึงเท่านั้น
เห็นได้ชัดว่าแม้จะเป็นเหตุประมาทร่วม แต่การมีประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจก็ดีกว่าการไม่สมัครประกันเอาไว้เลย ดังนั้นการจ่ายเบี้ยประกันรถยนต์เพียงไม่กี่บาทต่อปี ย่อมคุ้มค่ากว่าการเสียเงินก้อนใหญ่ไปกับทั้งค่าสินไหมทดแทนให้คู่กรณีและค่าซ่อมรถของตัวเองเมื่อเกิดอุบัตติเหตุขึ้นมา และหากว่าใครเริ่มสนใจอยากสมัคร ประกันรถยนต์ แต่ไม่รู้จะเริ่มที่ไหน แรบบิท แคร์ เรามีระบบเปรียบเทียบแผนประกันมากมายจากบริษัทชั้นนำให้คุณสามารถเลือกเบี้ยประกันและความคุ้มครองที่ตรงไลฟ์สไตล์ พร้อมบริการช่วยเหลืออีกมากมายที่ทั้งใส่ใจและให้มากกว่าอย่างแน่นอน
ความคุ้มครองประกันรถยนต์
ตารางความคุ้มครอง | ผลประโยชน์ | ||||
ประกันรถยนต์ ชั้น 1 | ประกันรถยนต์ ชั้น 2+ | ประกันรถยนต์ ชั้น 2 | ประกันรถยนต์ ชั้น 3+ | ประกันรถยนต์ ชั้น 3 | |
คู่กรณี | |||||
บุคคล | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
ทรัพย์สินของคู่กรณี | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
รถของผู้เอาประกันภัย | |||||
การชนแบบมีคู่กรณี | ✔️ | ✔️ | ❌ | ✔️ | ❌ |
การชนแบบไม่มีคู่กรณี | ✔️ | ❌ | ❌ | ❌ | ❌ |
ไฟไหม้ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ❌ | ❌ |
รถหาย | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ❌ | ❌ |
ภัยธรรมชาติ | ✔️ | ✔️ | ❌ | ✔️ | ❌ |
ช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมง | ✔️ | ✔️ | ❌ | ❌ | ❌ |
ความคุ้มครองชีวิตจากอุบัติเหตุส่วนบุคคล | |||||
อุบัติเหตุส่วนบุคคล | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
การรักษาพยาบาล | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
การประกันตัวผู้ขับขี่ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
หมายเหตุ
- ความคุ้มครองจากภัยธรรมชาติ สำหรับประกันรถยนต์ชั้น 2+ และ 3+ ขึ้นอยู่กับแพคเกจประกันรถยนต์ของบริษัทนั้นๆ
- ให้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมง จำกัดเฉพาะรถยนต์ส่วนบุคคล อายุรถไม่เกิน 15 ปี เท่านั้น