หมากัดรถทำยังไงดี? สามารถเคลมประกันได้หรือไม่
เห็นคำว่าหมากัดรถหลายคนอาจจะยังจินตนาการได้ไม่ออก ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเกิดขึ้นมาเพราะอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วมันมีโอกาสขึ้นสูงมาก โดยเฉพาะกับคนที่จอดรถยนต์ไว้นอกบ้าน แล้วในพื้นที่มีหมาจรจัด หรือมีบ้านอื่นปล่อยหมาออกมาเดินนอกบ้านบ่อยครั้ง หากต้องการระวังกรณีหมากัดรถให้รัดกุมมากที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นวิธีรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์หมากัดรถ วิธีป้องกันสุนัขกัดรถ กฎหมาย เอาผิดเจ้าของสุนัข ไปจนถึงข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองของประกันรถยนต์ ว่าถ้าหากโดยหมากัดรถ เคลมประกันได้ไหม และมีขั้นตอนการเคลมประกันในกรณีนี้อย่างไรได้บ้าง เพื่อเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวในอนาคต สำหรับคนที่กังวล ลองอ่านข้อมูลจากบทความของ แรบบิท แคร์ กันได้เลย
หมากัดรถของเราทำไม?
หมากัดรถของเราทำไม ถ้ากรณีที่เป็นหมาเลี้ยงไว้เอง น้องหมาอาจเกิดความรู้สึกเหงา อยากเรียกร้องความสนใจจากเราที่เป็นเจ้าของ เลยต้องกัด ต้องแทะสิ่งของไปทั่ว ไม่เว้นแม้แต่รถยนต์นั่นเอง แต่โดยปกติแล้วมักจะเริ่มจากกัดสิ่งของภายในบ้าน อย่างพวกเฟอร์นิเจอร์ ของชิ้นเล็กชิ้นน้อยก่อน เพราะการที่หมากัดรถถือเป็นกรณีที่ค่อนข้างรุนแรงทีเดียว ส่วนบริเวณที่มักถูกกัดบ่อย จะอยู่ตรงกันชน ยางล้อ หรือไม่ก็บังโคลน ถ้าเราปล่อยให้หมากัดรถจนเป็นนิสัย ขาดการตักเตือน อาจทำให้สถานการณ์แบบนี้มีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำได้หลายครั้งด้วย
นอกเหนือจากนั้นกรณีที่จะเกิดเหตุการณ์หมากัดรถ โดยที่เป็นหมาจรจัด หรือหมาของบ้านอื่นนั้น อาจมาจากการได้กลิ่นหมาตัวอื่นอย่างรุนแรงจากรถของเรา ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในกลิ่นหรือสัมผัสที่พวกมันพบเจอ และพากันมากัดรถของเราจนเสียหายนั่นเอง
วิธีรับมือเมื่อเห็นหมากัดรถ
วิธีรับมือเมื่อเห็นหมากัดรถ อันดับแรกต้องทำตัวให้ใจเย็น หยิบมือถือขึ้นมาถ่ายหลักฐานเอาไว้ให้ครบ ทั้งภาพและวิดีโอ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่หมากำลังกัดแทะรถ หรือเป็นช่วงที่เกิดร่องรอยความเสียหายไปแล้ว แต่ยังมีหมาอยู่ใกล้รถของคุณ เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานยื่นเคลมกับประกันรถยนต์ (กรณีที่เคลมได้) และเอาไว้เรียกร้องความเสียหายจากเจ้าของหมา ถ้าหากหมาตัวนั้นมีเจ้าของ ไม่ใช่หมาจรจัด ที่สำคัญอย่าตั้งใจขับรถชนหมาตัวต้นเหตุโดยเด็ดขาด เพราะถ้าขับรถชนสุนัขตายแล้วเป็นสุนัขที่มีเจ้าของก็อาจเกิดเป็นคดีความได้
วิธีป้องกันสุนัขกัดรถ
ส่วนวิธีป้องกันสุนัขกัดรถ กรณีที่เกิดเหตุการณ์หมากัดรถจากหมาที่เราเลี้ยงไว้เอง คงต้องเริ่มจากความใส่ใจในการเลี้ยงดู หาของเล่นที่สามารถกัดแทะได้อย่างปลอดภัยมาให้เล่นแทน พร้อมกับฝึกฝนหรือสร้างความเคยชินที่ดีในการกัดแทะของเล่นเหล่านั้น เช่น การโยนให้คาบมาคืน แล้วมอบรางวัลเป็นขนมหรือการชมเชย หากพบว่ามีเหตุการณ์หมากัดรถหรือสิ่งของภายในบ้านอีก ให้เราตีปากเบา ๆ พร้อมกับทำเสียงและท่าทางดุ เพื่อเป็นการเตือนว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดี
เมื่อถึงเวลาที่ต้องนำรถยนต์ออกนอกบ้านไปใช้งาน ไม่ว่าจะขับขี่ไปทำงาน หรือไปที่ไหนก็ตาม เราควรล้างรถให้บ่อย เพื่อชะล้างกลิ่นน้องหมาในบ้านของเราให้เบาบางลง จนไม่เสี่ยงต่อการดึงดูดให้หมากัดรถของเราอีก รวมถึงการเลือกที่จอดรถยนต์ในที่มิดชิด ไม่เลือกจอดในที่โล่งแจ้ง และการเลือกหาสเปรย์ป้องกันมาฉีดรอบตัวรถก็ถือว่าเป็นอีกทางเลือกที่น่าพิจารณา เพราะนอกจากจะเป็นวิธีป้องกันสุนัขกัดรถแล้ว ยังช่วยไม่ให้เข้ามาใกล้รถได้อีกด้วย
กฎหมาย เอาผิดเจ้าของสุนัข
ต่อเนื่องจากการที่เรามีหลักฐานหมากัดรถมาแล้ว เราสามารถนำหลักฐานนั้นไปเรียกร้องตามกฎหมาย เอาผิดเจ้าของสุนัขได้ด้วย ซึ่งการจะเอาผิดเจ้าของได้นั้น ต้องมีข้อมูลแน่ชัดแล้วว่าหมาตัวนั้นมีเจ้าของที่มีตัวตนอยู่จริง หากสืบค้นแล้วมีเจ้าของจริง เราสามารถแจ้งเอาผิดได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ถนนไม่ใช่ที่ทางสำหรับสัตว์ เจ้าของสุนัขต้องป้องกันไม่ให้สุนัขอยู่บนถนน ไม่ควรปล่อยสัตว์เลี้ยงออกที่สาธารณะโดยไม่ควบคุมหรือควบคุมไม่ได้ กรณีนี้เจ้าของสุนัขต้องรับผิดชอบค่าเสียหายให้แก่เจ้าของรถยนต์ที่ถูกหมากัดทั้งหมด
คำแนะนำเพิ่มเติม กรณีการฟ้องตามกฎหมาย เอาผิดเจ้าของสุนัข จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อหมากัดรถของเราบนถนนสาธารณะที่รถยนต์วิ่งกันตามปกติ ไม่ใช่ถนนส่วนบุคคล หรือพื้นที่ที่ห้ามรถยนต์วิ่ง เพราะอาจอยู่ในข่ายการเฝ้าระวังของเจ้าของตามพื้นฐานของกฎหมายสัตว์เลี้ยงแล้วเช่นกัน
หมากัดรถ เคลมประกันได้ไหม
หมากัดรถ เคลมประกันได้ไหม คำตอบ คือ สามารถเคลมประกันได้ก็ต่อเมื่อรถยนต์คันนั้น มีประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 อยู่ เนื่องจากเป็นประเภทประกันรถยนต์เพียงประเภทเดียว ที่มีการดูแลคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี ซึ่งเราสวามารถแจ้งเคลมเพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหายได้ทันทีโดยไม่ต้องกังวล แต่ถ้าหากรถยนต์ของคุณมีประกันประเภทอื่น จะไม่สามารถเคลมกรณีหมากัดรถได้ทันที เพราะอุบัติเหตุนี้ถูกจัดให้อยู่ในประเภทไม่มีคู่กรณีเท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้นการแจ้งเคลมกรณีหมากัดรถ หากแจ้งเคลมทันทีที่เกิดความเสียหาย พร้อมแนบหลักฐานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ว่าเราไม่ได้เป็นผู้ประมาทจนเกิดความเสียหายด้วยตัวเอง อาจไม่ต้องเสียค่า Excess หรือค่าเสียหายส่วนแรกเลย รวมถึงยังไม่เสียประวัติด้วย แต่ถ้าเราแจ้งเคลมหมากัดรถ ภายหลังจากที่เกิดเหตุไปค่อนข้างนานแล้ว อาจต้องมีการเสียค่าเสียหายส่วนแรกเล็กน้อย รวมถึงอาจทำให้เสียประวัติได้เช่นกัน (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และการพิจารณาที่แตกต่างกันออกไปของบริษัทประกันภัยรถยนต์)
หมากัดรถ ประกันรถยนต์แต่ละชั้นคุ้มครองอย่างไรบ้าง
การที่รถยนต์ถูกหมากัดหรือสัตว์ทำให้เกิดความเสียหายเป็นเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ และการคุ้มครองจากประกันรถยนต์ในกรณีนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่คุณมี ดังนี้
1. ประกันชั้น 1
- ประกันชั้น 1 จะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ซึ่งรวมถึงกรณีที่หมากัดหรือสัตว์อื่น ๆ ทำให้รถเสียหายด้วย
- คุณสามารถเคลมประกันเพื่อซ่อมแซมความเสียหาย เช่น รอยกัด รอยขีดข่วน หรือชิ้นส่วนที่เสียหายจากการถูกสัตว์ทำลาย
2. ประกันชั้น 2+
- ประกันชั้น 2+ คุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเท่านั้น เช่น รถชนกับรถหรือวัตถุอื่นที่ระบุว่าเป็นคู่กรณี การที่หมากัดรถไม่ได้ถือว่าเป็นอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี ดังนั้น ประกันชั้น 2+ จะไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์นี้
3. ประกันชั้น 3+
- ประกัน3+ เช่นเดียวกับประกันชั้น 2+ จะคุ้มครองเฉพาะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเท่านั้น ดังนั้นความเสียหายจากหมากัดหรือสัตว์ทำลายรถจะไม่อยู่ในขอบเขตความคุ้มครอง
4. ประกันชั้น 2 และชั้น 3
- ประกันชั้น 2 คุ้มครองอะไรบ้าง และประกันรถยนต์ชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบุคคลที่สามหรือคู่กรณีเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมความเสียหายต่อรถของผู้เอาประกันเอง ดังนั้นกรณีที่หมากัดรถจะไม่สามารถเคลมประกันได้
ขั้นตอนการเคลมประกัน กรณีหมากัดรถ
ขั้นตอนการเคลมประกันรถ กรณีหมากัดรถ มีทั้งหมด 6 ขั้นตอนด้วยกัน คือ โทรแจ้งบริษัทประกันภัย, เตรียมเอกสารที่จำเป็น, รับใบเคลมจากประกัน, ติดต่อสถานที่บริการซ่อมรถ, นำรถเข้าซ่อม และเมื่อรถซ่อมเสร็จก็รับรถตามวันนัดหมาย เพียงเท่านี้ก็ถือเป็นอันเสร็จขั้นตอนการเคลมประกันเมื่อถูกมากัดรถเรียบร้อยแล้ว ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมในแต่ละขั้นตอน สามารถติดตามอ่านได้จากลิสต์รายการด้านล่าง
- โทรแจ้งบริษัทประกันภัย หากเป็นไปได้อย่างที่เราได้แนะนำในหัวข้อด้านบน เมื่อเกิดเหตุหมากัดรถขึ้นมาแล้ว ให้รีบทำการโทรแจ้งบริษัทประกันภัยทันที ยิ่งเร็วยิ่งดี แจ้งสถานที่เกิดเหตุ เวลาเกิดเหตุ เมื่อตัวแทนประกันมาถึงก็เตรียมหลักฐานคลิปวิดีโอ หรือภาพถ่ายไว้ให้พร้อม
- เตรียมเอกสารที่จำเป็น ได้แก่ สำเนาใบอนุญาตขับขี่ของผู้ขับ สำเนาบัตร ประจำตัวประชาชน หรือพาสปอร์ตผู้ขับ สำเนาทะเบียนรถ สำเนากรมธรรม์
- รับใบเคลมจากประกัน หลังจากที่เจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันภัยเข้ามาตรวจสอบที่เกิดเหตุ รับหลักฐานที่เราถ่ายเก็บเอาไว้ จัดการกับเอกสารของเรา จะมีการออกใบเคลมเพื่อให้เราเอารถไปซ่อมตามสถานบริการภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์ได้เลย
- ติดต่อสถานที่บริการซ่อมรถ ที่กำหนดเอาไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ของเรา พร้อมนำใบเคลมไปด้วย
- นำรถเข้าซ่อม ตามเวลาที่ได้รับการนัดหมายจากอู่ หรือศูนย์บริการรถยนต์
- รับรถหลังจากซ่อมเสร็จ ซึ่งเราต้องเตรียมเอกสารสำคัญมาด้วย ได้แก่ สำเนาใบขับขี่ สำเนาทะเบียนรถ สำเนากรมธรรม์ พร้อมกับต้องเซ็นเอกสารสำเนาถูกต้องเอาไว้ให้เรียบร้อย
เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการเคลมรถยนต์หลังจากหมากัดรถเรียบร้อย เราจะได้รถยนต์ที่ผ่านการซ่อมแซมจนสวยงามเหมือนเดิม และที่สำคัญพอเคลมมาแล้ว อย่าลืมหากวิธีป้องกันสุนัขกัดรถให้ดี เพื่อที่จะได้ไม่เกิดเหตุซ้ำเดิม จนต้องเสียเวลานำรถยนต์เข้าซ่อมอีกครั้ง
สำหรับคนที่ไม่อยากให้เหตุการณ์หมากัดรถ เกิดขึ้นกับรถยนต์ที่เรารัก และไม่อยากต้องรับผิดชอบด้วยตัวเองแบบเต็ม ๆ การพิจารณาเลือกทำประกันรถยนต์ชั้น 1 เอาไว้ คงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว เพราะนอกจากจะช่วยดูแลคุ้มครองในเหตุการณ์ดังกล่าว ยังช่วยดูแลในอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณีได้ด้วย เช่น รถโดนข่วน ชนเสาไฟฟ้า ชนฟุตบาท ชนต้นไม้ ชนกำแพง ฯลฯ ซึ่งหากสนใจ สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามโดยตรงกับ แรบบิท แคร์ ได้ที่เบอร์ 1438 โทรได้ 24 ชั่วโมง และเรายังมีส่วนลดพิเศษสูงสุดถึง 70% พร้อมมอบให้คุณอีกต่างหาก!
สรุป
สำหรับสาเหตุที่หมากัดรถของเราทุกครั้งที่วิ่งผ่านนั้น อาจมาจากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะมาจาก นิสัยการเลี้ยงดูของเจ้าของ หรือในกรณีที่เป็นหมาจรจัดอาจเกิดจากการที่รถของเรามีกลิ่นของหมาตัวอื่นติดอยู่ ในกรณีที่ต้องฟ้องตามกฎหมาย เอาผิดเจ้าของสุนัข จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อหมากัดรถของเราบนถนนสาธารณะที่รถยนต์วิ่งกันตามปกติ ไม่ใช่ถนนส่วนบุคคล หรือพื้นที่ที่ห้ามรถยนต์วิ่งเท่านั้น และเบื้องต้นแม้หมาจะกัดรถยนต์จนเกิดเป็นรอยข่วน หรือมีความเสียหายจากตัวรถ เราก็ยังสามารถเบิกเคลมประกันรถได้อยู่! โดยขั้นตอนการเคลมจะมี ดังนี้
- โทรแจ้งบริษัทประกันภัย และเตรียมเตรียมเอกสารที่จำเป็นต่อการเคลม
- หลังจากที่เจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันภัยเข้ามาตรวจสอบที่เกิดเหตุ รับหลักฐานที่เราถ่ายเก็บเอาไว้ และรับใบเคลมไว้
- ติดต่อสถานที่บริการซ่อมรถ ที่กำหนดเอาไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ของเรา จากนั้นนำรถเข้าซ่อมตามที่นัดหมายไว้ เสร็จแล้วรอรถซ่อมเสร็จได้เลย!
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology