แคร์ขับขี่ปลอดภัย

3 เรื่องต้องรู้! ก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (รถ EV) คันแรก

ผู้เขียน : Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care

close
Published May 03, 2022

กระแสรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV ในไทยกำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากทั้งมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐและตัวเลขขอจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ที่เพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดด แต่หลายคนอาจยังกังวลอยู่ว่าจะซื้อรถไฟฟ้าในตอนนี้เลยดีไหม? หรือซื้อรถไฟฟ้าคันแรกต้องเตรียมอะไรบ้าง?

เเรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อรถ EV คันแรก ไม่ว่าจะเป็นประเภทของรถยนต์ EV, ระบบชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และประกันภัยสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ามาฝากกัน

ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

1. ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles : EV, EVs)

1.1 รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicles : HEV, HEVs)

รถยนต์ไฟฟ้าแบบลูกครึ่งหรือลูกผสม (Hybrid) ที่ยังคงมีทั้งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานขับเคลื่อนหลัก ร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมแบตเตอรี่ที่เพิ่มเข้ามา เพื่อช่วยเพิ่มกำลังของรถยนต์ในการเคลื่อนที่และกักเก็บพลังงานกลที่เหลือไว้ที่แบตเตอรี่เพื่อใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าต่อไป

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารถไฮบริดจะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากกว่ารถยนต์ปกติที่ใช้เฉพาะเครื่องยนต์แต่เพียงอย่างเดียว แต่รถไฮบริดจะยังไม่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้าได้โดยตรง ทำให้ยังต้องพึ่งพาการใช้น้ำมันอยู่เช่นเดิม

1.2 รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicles : PHEV, PHEVs)

รถยนต์ EV รุ่นต่อมาที่ได้รับการพัฒนาจากรถไฮบริด (HEV) โดยยังคงใช้รูปแบบแหล่งพลังงานจากทั้ง 2 ระบบเช่นเดิม ทั้งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมแบตเตอรี่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า แต่เพิ่มระบบช่องเสียบชาร์จไฟฟ้าภายนอก (Plug-in) เพิ่มเข้ามากับตัวรถไฟฟ้า (EV)

ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าประเภท PHEV สามารถขับขี่ด้วยพลังงานไฟฟ้าได้ในระยะทางเเละความเร็วที่มากกว่ารถไฟฟ้าประเภท HEV จากการที่สามารถชาร์จเพิ่มประจุไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าภายนอกมาเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ของตัวรถไฟฟ้าได้ โดยมีระยะทางวิ่งสูงสุดด้วย EV Mode อยู่ที่ 25-50 กม. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

นอกจากนั้นแล้ว รถ PHEV ยังแบ่งรูปแบบการใช้พลังงานของตัวรถยนต์ไฟฟ้าออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ ประเภทที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลักก่อน หรือแบบ Extended Range EV (EREV) และประเภทที่ใช้พลังงานผสมผสานทั้งเครื่องยนต์และพลังงานไฟฟ้า หรือแบบ Blended PHEV

1.3 รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicles : BEV, BEVs)

รถ EV ประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นรถไฟฟ้าที่จะออกแบบให้ไม่มีเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง หรือเครื่องยนต์ประเภทอื่นๆ อีกต่อไป แต่จะมีเฉพาะมอเตอร์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนหลัก พร้อมกับใช้พลังงานไฟฟ้าภายในแบตเตอรี่ที่ได้จากการเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้า (Wall Charger) ในการขับขี่รถ BEV เท่านั้น

ทำให้นอกจากจะไม่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศอีกต่อไป จากการที่ไม่มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว ยังสามารถชาร์จประจุพลังงานไฟฟ้าได้ตลอดตามต้องการจากทั้งจุดชาร์จไฟฟ้าภายในที่พักอาศัย หรือจุดบริการจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม ระยะทางในการวิ่งของรถไฟฟ้า BEV ที่มีเพียงมอเตอร์ไฟฟ้าและเเบตเตอรี่ จะขึ้นอยู่กับความจุไฟฟ้าและชนิดของแบตเตอรี่ที่ทำหน้าที่กักเก็บและสำรองพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนตัวรถ รวมถึงการออกแบบน้ำหนักบรรทุกของตัวรถร่วมด้วย โดยมีระยะทางวิ่งสูงสุด 300-600 กม. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

1.4 รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicles : FCEV, FCEVs)

รถ EV ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel) ที่มีบรรจุอยู่แล้วในถังเก็บความดันสูงของตัวรถ เป็นเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ตั้งต้นในการทำปฏิกริยาเคมีกับออกซิเจน (Oxygen) จากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติรอบตัวรถเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนตัวมอเตอร์ไฟฟ้า และการทำงานส่วนอื่นๆ ของรถ

จุดสำคัญที่ต้องใช้ในการตัดสินใจเมื่อสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภท FCEV คือ รถ EV ประเภทนี้ จะเข้าเติมไฮโดรเจนนอกสถานที่ได้จากสถานีไฮโดรเจน (Hydrogen Station) เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีจุดเติมก๊าซไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel) ในไทยให้บริการน้อย เมื่อเทียบกับจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV ทั่วไป

2. ระบบชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า

2.1 ระบบชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้าน

– ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า

มิเตอร์ไฟฟ้าควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 30A ซึ่งโดยทั่วไปมิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัยจะใช้แบบ 15A

– ตู้ควบคุมไฟฟ้า (Main Distribution Board : MDB)

ภายในตู้ต้องมีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit  Breaker สำหรับควบคุมวงจรชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า แบบ 1P ขนาด 16A จำนวน 1 ลูก

– สายเมนไฟฟ้า (Main Circuit Breaker : MCB)

เพิ่มขนาดสายเมนให้รองรับกับกระแสไฟฟ้าที่ใช้เพิ่มขึ้น เช่น หากเพิ่มมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นแบบ 30 (100) A ต้องเพิ่มสายเมนไฟฟ้าเป็นแบบ 100 A ด้วยเช่นกัน

– เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)

เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติต้องเป็นแบบ Type B แต่หากสายชาร์จแบบพกพา (EVSE) มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วแบบ Type B อยู่ภายในสายชาร์จอยู่แล้ว ไม่ต้องติดตั้งตัวตัวไฟเพิ่ม

– เต้ารับ (EV Socket)

เต้าเสียบสายชาร์จไฟฟ้าต้องเป็นแบบชนิด 3 รู หรืออาจมีลักษณะรูปร่างของเต้ารับตามที่แต่ละผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ากำหนด โดยต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 16A

2.2 สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

อีกหนึ่งตัวแปรที่มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อรถ EV คือ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ ซึ่งมีให้บริการอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ปั๊มน้ำมัน หรือแม้กระทั่งร้านสะดวกซื้อ 7-11 โดยในปัจจุบันมีให้บริการทั้งแบบช่องชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charger) ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-8 ชั่วโมง และช่องชาร์จเแบบเร็ว (Quick Charger) จะใช้เวลาชาร์จอย่างน้อย 30-40 นาที ด้วยหัวชาร์จมาตรฐาน 3 แบบ ได้แก่ CHAdeMO, CCS (Type 1, Type 2) และ AC (Type 1, Type 2)

ในขณะที่จุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจบุันมีเปิดให้บริการทั่วประเทศทั้งแบบให้บริการฟรีและแบบมีค่าใช้จ่าย จากทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและสั่งจ่ายไฟฟ้าของประเทศไทย เช่น MEA EV โดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) PEA VOLTA โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือ EleX by EGAT โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

รวมถึงจุดบริการของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่น EV Station PluZ PPT Station หรือ ปตท. ผู้ให้บริการสถานีบริการน้ำมัน “พีทีที สเตชั่น” และ “EA Anywhere” ของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ที่รวมแล้วมีให้บริการมากกว่าหนึ่งพันจุดบริการ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีสถานีชาร์จรถอีวี (EV) ในระหว่างเส้นทางการเดินทางอย่างแน่นอน

โดยจากข้อมูลของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย หรือ Electric Vehicle Association Of Thailand (EVAT) เปิดเผยว่า ในปี 2564 มีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) จำนวน 693 แห่ง และหัวจ่ายไฟรวม 2,285 พร้อมให้บริการทั่วประเทศ และตัวเลขจุดชาร์จไฟรถ EV จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2565

แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้า EV อาจจะมีระยะขับขี่ที่จำกัดและน้อยกว่ารถยนต์แบบสันดาปที่ใช้น้ำมันเครื่องทั่วไป ทำให้ในการเดินทางไกลระหว่างจังหวัดในแต่ละครั้ง อาจต้องวางแผนล่วงหน้าสำหรับการแวะชาร์จไฟฟ้าให้กับรถ EVs จากสถานีเติมประจุไฟฟ้าที่กระจายตัวให้บริการอยู่ทั่วประเทศ อย่างน้อย 30-40 นาทีต่อครั้งสำหรับจุดชาร์จแบบ Quick Charge ซึ่งสามารถตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้ง รูปแบบหัวจ่ายชาร์จไฟที่มีให้บริการ และจองคิวเข้าใช้บริการได้ล่วงหน้าหรือเข้าใช้บริการทันทีผ่านแอปพลิเคชั่น

3. ประกันรถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ EV สามารถทำประกันรถยนต์ได้ไม่ต่างจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไป โดยความคุ้มครองหรือทุนประกันไม่ได้แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกจากกรณีรถชนคน หรือความเสียหายต่อตัวรถในกรณีรถชนรถ รถหาย หรือรถไฟไหม้ รวมถึงความคุ้มครองเพิ่มเติม ทั้งประกันอุบัติเหตุ หรือค่ารักษาพยาบาล และเลือกใช้บริการได้จากทั้งแบบซ่อมห้างและซ่อมอู่

แม้ว่าเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าอาจจะสูงกว่าเบี้ยประกันรถยนต์ทั่วไปอยู่บ้าง แต่รถยนต์ไฟฟ้าหลายแบรนด์อาจมีส่วนลดสำหรับใช้ซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้า หรือแถมความคุ้มครองจากประกันรถยนต์ไฟฟ้าให้ฟรีเริ่มต้นอย่างน้อย 1 ปีเมื่อซื้อรถอีวีในรุ่นที่กำหนด

อย่างไรก็ตาม บริษัทรับประกันภัยอาจเลือกรับพิจารณาประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าให้กับรุ่นรถยนต์ไฟฟ้าเฉพาะบางยี่ห้อและรุ่น และส่วนใหญ่จะต้องเป็นรถยนต์ระบบไฟฟ้า 100% เท่านั้น โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นยอดนิยม เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ามีชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ที่มีเทคโนโลยีที่แตกต่างจากอะไหล่รถยนต์แบบทั่วไป รวมถึงจำนวนผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังน้อยอยู่ ทำให้เบี้ยประกันรถยนต์ EV มีราคาสูงกว่ารถยนต์แบบปกตินั่นเอง

แม้ว่ายี่ห้อและรุ่นของรถยนต์ไฟฟ้าที่รับประกันภัยจะยังน้อย และทำให้มีราคาค่าเบี้ยต่อปีที่สูงกว่าประกันภัยรถยนต์ แต่ในปัจจุบันที่มีความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่าเบี้ยประกันรถยนต์สำหรับรถไฟฟ้ามีแนวโน้มลดลง รวมถึงทำให้หลายบริษัทประกันภัยเริ่มหันมาให้ความสนใจใจการออกแบบประกันภัยสำหรับรถไฟฟ้าโดยเฉพาะเพิ่มมากขึ้น

แรบบิท แคร์ รวบรวมประกันรถยนต์และประกันรถยนต์ไฟฟ้าจากทุกบริษัทชั้นนำมาให้ได้เลือกครบก่อนใครและเปรียบเทียบออนไลน์ได้จบภายในไม่กี่วินาที พร้อมรับส่วนสูงสุด 70% และสิทธิพิเศษเฉพาะลูกค้าที่เลือกซื้อประกันรถยนต์กับ แรบบิท แคร์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเท่านั้น

ไม่ว่าจะเป็นบริการให้คำแนะนำและช่วยเหลือผ่านทาง Care Center โทร. 1438 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือบริการแจ้งเคลมออนไลน์ และบริการโทรแจ้งประสานงานเหตุฉุกเฉิน ผ่านทาง LINE Official Account (@rabbitcare) ขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือเปรียบเทียบแบบประกันรถได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โทรเลย. 1438 หรือ rabbitcare.com


บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

พวงมาลัยสั่น อันตรายไหม เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

การเดินทางด้วยรถยนต์นั้นพวงมาลัยถือเป็นส่วนสำคัญมากในการควบคุม ถ้าเกิดเจอพวงมาลัยสั่นระหว่างเดินทาง คงทำให้หลายคนตกใจอย่างมากว่ารถยนต์ของเรา
Thirakan T
17/04/2024

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

สรุปสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย

รวมข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย ว่าแท้จริงแล้วมันมาจากอะไรได้บ้าง และถ้าหากเปรียบเทียบข้อมูลจากหน่วยงาน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

ขับรถปวดหลัง เพราะนั่งนานหลายชั่วโมง มีวิธีแก้ปวดแบบไหนให้ทำตามบ้าง

อาการขับรถปวดหลังสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ใช้งานรถยนต์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไกลหรือระยะสั้นก็ตาม
Thirakan T
11/04/2024