แคร์ขับขี่ปลอดภัย

12 กฎจราจรที่ผู้คนมักเข้าใจผิด พร้อมค่าปรับฉบับอัพเดท

ผู้เขียน : Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
 
Published: June 14,2022
ผิดกฎจราจร

หากกล่าวถึงกฎจราจรในเมืองไทยแล้วก็พบว่ามีข้อห้ามต่าง ๆ มากมาย และมีหลายข้อที่เหล่านักขับไม่รู้หรือเข้าใจผิดจนถูกตำรวจจับ เชื่อว่าต้องมีบางกรณีที่คุณเคยโดนจับแบบงง ๆ พร้อมสงสัยว่าเราทำผิดตรงไหน ขับมาหลายปีก็ไม่เคยจะโดนจับ วันนี้แรบบิท แคร์ จึงขอรวบรวมกฎจราจรที่หลายคนมักเข้าใจผิดและกระทำผิดบ่อย ๆ มาชี้แจงให้ได้ทราบอีกครั้ง เพื่อยกระดับความปลอดภัยบนท้องถถนนและไม่ให้คุณถูกใบสั่ง ดังนี้

คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

1. จอดรถทับเส้นทางม้าลาย

เป็นข้อกฎจราจรง่าย ๆ แต่คนทำผิดกันเป็นจำนวนมาก เพราะทางม้าลายนั้นเป็นช่องทางไว้ให้คนเดินข้าม หากมีการจอดรถทับเส้นทางม้าลายก็จะเป็นการกีดขวางไม่ให้คนเดินข้าม ดังนั้นเวลารถติดไฟแดงผู้ขับควรเว้นระยะจอดไว้ให้ห่างจากทางม้าลายประมาณ 2-3 เมตร เพราะหากฝ่าฝืนคุณจะถูกค่าปรับตามกฎหมาย 500 บาท

2. จอดทับเส้นหยุดบริเวณแยก

ยังคงว่ากันต่อด้วยเรื่องการหยุดรถ หากใครสงสัยแรบบิท แคร์ จะอธิบายให้เพิ่มว่า เส้นหยุดรถคือเส้นสีขาว ๆ ที่เราพบบ่อยบริเวณแยก เพื่อกันไม่ให้รถยนต์จอดล้ำแยกจนเกินไปและเป็นการป้องกันการชนจากรถที่วิ่งมาจากถนนเส้นอื่น ตลอดจนเป็นการสร้างพื้นที่ให้คนข้ามถนนอย่างปลอดภัย ดังนั้นเวลาหยุดตรงแยกก็ให้สังเกตเส้นสีขาวดี ๆ อย่าจอดทับหรือจอดเลย เพราะคุณอาจผิดกฎจราจรและโดนค่าปรับจราจรไม่เกิน 1,000 บาท 

จอดทับเส้นทางม้าลาย

3. จอดทับเส้นทแยงเหลือง

เป็นเส้นทแยงสีเหลืองที่เรามักพบบ่อย ๆ บริเวณหน้าปากซอยต่าง ๆ โดยเส้นดังกล่าวมีไว้สำหรับกันพื้นที่เป็นเขตห้ามหยุด เพื่อเว้นที่ให้รถยนต์เข้า-ออก ซอย หรือสถานที่สำคัญได้อย่างสะดวก และเป็นการลดปัญหาจราจรติดขัด หากผู้ใดฝ่าฝืนมีค่าปรับจราจร 400-1,000 บาท

4. เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด

ผู้ขับต้องพึงจำไว้ว่ากฎเลี้ยวซ้ายผ่านตลอดนั้นไม่สามรารถใช้ได้กับทุกแยก เพราะจะเลี้ยวซ้ายผ่านตลอดได้นั้นต้องมีป้ายแสดงเครื่องหมายเลี้ยวซ้ายผ่านตลอดบอกไว้ที่แยกเท่านั้น ซึ่งบางแยกก็ไม่มีป้ายบอก หากคุณเลี้ยวไปก็ผิดกฎจราจรทันที นอกจากนี้แม้ว่าจะมีป้ายเลี้ยวซ้ายผ่านตลอดระบุไว้ แต่ก่อนเลี้ยวคุณต้องระมัดระวังให้คนเดินข้ามทางม้าลายให้หมดก่อน รวมถึงต้องระวังรถที่วิ่งมาจากทางตรงด้วย หากคุณเลี้ยวซ้ายบริเวณแยกที่ไม่มีป้ายกำกับคุณอาจโดนค่าปรับ 500 บาท

5. ขับในช่องเดินรถประจำทาง

ถนนบางเส้นจะมีป้ายกำกับไว้ว่าเป็นช่องเดินรถประจำทางและมีเวลากำหนด นั้นหมายถึงคุณห้ามใช้ช่องทางดังกล่าวตามวันและเวลาที่ระบุไว้ในป้าย เพื่อให้การสัญจรของรถประจำทางไหลลื่น หากฝ่าฝืนมีค่าปรับจราจร 200-500 บาท

6. จอดรถเกยฟุตบาท

ฟุตบาทเป็นช่องทางไว้สำหรับคนเดินเท้าโดยเฉพาะ ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางอยู่บนทางเดินเท้า ทาคุณจอดรถเกยฟุตบาทหรือจอดรถบนฟุตบาทจะถือว่าผิดกฎจราจรและมีค่าปรับ 500 บาท จึงขอฝากผู้ขับขี่ทุกท่านให้หาที่จอดรถที่ถูกต้อง อย่ามักง่ายจอดรถบนฟุตบาท เพราะนอกจากจะมีความผิดแล้ว รถยนต์ของคุณอาจได้รับความเสียหายขณะปีนฟุตบาทด้วย

7. กลับรถในที่ห้ามกลับ

รู้หรือไม่ว่าคุณสามารถกลับรถได้ในบริเวณที่มีเครื่องหมายกลับรถระบุไว้เท่านั้น หรือกลับรถบริเวณใต้สะพาน หรือสะพานกลับรถ อย่างการขับรถทางตรงอยู่ดี ๆ แล้วอยากกลับรถกระทันหันนั้นจะถือว่ามีความผิดซึ่งแสดงถึงความมักง่ายของผู้ขับขี่ อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ การกลับรถในที่ห้ามกลับมีค่าปรับจราจร 400- 1,000 บาท

8. ฝ่าฝืนสัญญาณไฟเหลือง

ผู้ขับหลายคนมักโฟกัสกับสัญญาณไฟแดงเป็นหลักจนลืมความสำคัญของไฟเหลือง ซึ่งไฟเหลืองเป็นสัญญาณเตือนว่าให้คุณชะลอรถและเตรียมหยุดเมื่อเกิดสัญญาณไฟแดง ดังนั้นหากคุณเห็นไฟเหลืองเมื่อไหร่ห้ามเหยียบขันเร่งข้ามแยกไปเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุชนกับรถที่มาจากอีกแยก การฝ่าฝืนกฎจราจรสัญญาณไฟเหลืองมีโทษปรับถึง 1,000 บาท

9. ไม่ให้สัญญาณไฟตอนเปลี่ยนเลน

เป็นอีกเรื่องที่ผู้ขับหลายคนรู้แต่มักละเลยที่จะทำ ซึ่งการให้สัญญาณไฟขณะเปลี่ยนเลนนั้นจะช่วยสื่อสารให้รถคันที่ขับตามหลังมาเข้าใจว่าเราจะเปลี่ยนไปเลนไหน ทำให้โอกาสเกิดอุบัติเหตุขณะขับขี่ ซึ่งกฎหมายได้ระบุให้ผู้ขับขี่ก่อนเปลี่ยนเลนต้องให้สัญญาณทุกครั้ง หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500 บาท ทั้งนี้เราแนะนำให้ทุกท่านหมั่นให้สัญญาณไฟจนเกิดเป็นความเคยชินเพื่อที่จะไม่ได้ผิดกฎจราจร 

10. ขับรถแซงในเส้นทึบ

หลายคนอาจเข้าใจว่าเราสามารถขับรถแซงคันข้างหน้าได้เมื่อถนนว่าง แต่จริง ๆ แล้วการขับแซงนั้นมีข้อกฎหมายมาบังคับอย่างชัดเจน โดยมีเส้นประตามเลนที่กำหนดอยู่ หากเป็นเส้นประแสดงว่าคุณสามารถแซงได้ แต่ถ้าเป็นเส้นทึบเมื่อไหร่นั่นคือการแจ้งว่าเป็นพื้นที่ห้ามขับแซง (หรือถ้าเป็นเส้นสองเส้นคู่กัน เส้นประข้างนึง และอีกข้างนึงเป็นเส้นทึบ ข้างที่เป็นเส้นประสามารถแซงได้แต่ข้างที่เป็นเส้นทึบแซงไม่ได้) ทั้งนี้พื้นที่เส้นทึบจะเป็นการบอกเราว่าจุดดังกล่าวเป็นเขตอันตรายไม่ควรแซง เช่น พวกทางโค้ง หรือบริเวณแยก การแซงในเส้นทึบมีโทษปรับ 400-1,000 บาท

กำหนดความเร็ว

11. ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ

หลายคนอาจจะรู้แล้วว่าการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์ การแชท การใช้แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ หรือแม้แต่การเปิดดู google map ขณะขับรถนั้นเป็นการกระทำผิดและมีโทษปรับ 400 – 1,000 บาท แต่ทั้งนี้ก็มีข้องดเว้นให้คุณสามารถสื่อสารได้แต่คุณต้องใช้อุปกรณ์เสริมเข้ามาช่วย เช่น การใช้แท่นวางโทรศัพท์เพื่อเปิดดู Map หรือการใช้หูฟังสื่อสารขณะขับรถ ให้พยายามจำไว้ง่าย ๆ ว่า การใช้มือจับโทรศัพท์ขณะขับรถจะเป็นความผิด แต่ถ้ามีตัวช่วยให้คุณสามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ในขณะที่สองมือของคุณจับพวงมาลัยนั้นจะไม่เป็นความผิด ดังนั้นคุณควรเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมก่อนการขับรถ

12. ขับรถแช่ขวา

ข้อนี้หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าถนนเลนขวามีไว้เพื่อให้ขับแซงเท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วรถยนต์ทุกคันต้องขับขี่ที่เลนซ้ายตลอด และเมื่อจะแซงก็ให้เปลี่ยนเป็นเลนขวา และเมื่อแซงได้แล้วก็ต้องกลับมาเปลี่ยนเป็นเลนซ้ายเหมือนเดิมเพื่อให้รถคันอื่นที่จะแซงได้ใช้เลนขวา ดังนั้นให้คุณจำไว้ไม่ว่าคุณจะขับช้าหรือขับเร็วก็ต้องอยู่เลนซ้ายที่เป็นเลนหลักเสมอและใช้เลนขวาเพื่อแซง หากฝ่าฝืนย่อมมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท


ท่ามกลางกระแสสังคมในตอนนี้ที่กำลังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยบนท้องถนน เนื่องจากมีข่าวผู้กระทำความผิดกฎจราจารจำนวนมากและเป็นต้นตอของการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้หากผู้ขับขี่เคารพกฎจราจรรวมถึงใช้ความระมัดระวังในการขับขี่ ดังนั้นขอให้คุณปฏิบัติตามข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัดและมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมทางเสมอ และที่สำคัญก็อย่าลืมต่อ พ.ร.บ. และประกันรถยนต์ ด้วย เพราะหากพลาดพลั้งเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็จะได้ค่าซ่อมรถ และค่ารักษาพยาบาล จากที่ต้องจ่ายหนักก็จะช่วยผ่อนให้กลายเป็นเบา แต่ถ้าคุณยังไม่รู้ว่าจะซื้อประกันรถยนต์แบบไหนดี คุณสามารถติดต่อมาหาเราแรบบิท แคร์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


 

บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย

Rabbit Care Blog Image 94050

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

บีบแตรแบบไหนมีโทษทางกฎหมาย ? รวมเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการบีบแตร

การบีบแตรรถยนต์นั้นนอกจากจะมีจุดประสงค์ในการใช้ส่งสัญญาณเตือนเพื่อความปลอดภัย ในปัจจุบันหลายคนมักใช้แตรรถผิดจุดประสงค์หลักกันอย่างมากมาย
Natthamon
26/08/2024
Rabbit Care Blog Image 90930

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

วิธีดูแลรถยนต์ไฟฟ้า ev ช่วงหน้าฝนให้ปลอดภัยในทุกการขับขี่

ไฟฟ้ากับน้ำไม่ใช่สิ่งที่จะอยู่ร่วมกันได้เลยในความเป็นจริง แต่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ev ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในตอนนี้
Thirakan T
18/07/2024