ออกรถฟรีดาวน์ ต้องจ่ายอะไรบ้าง? มีเงื่อนไขอะไรที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจ
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ เรามักจะได้ยินคำว่าออกรถฟรีดาวน์กันค่อนข้างบ่อยครั้ง หรือการออกรถแบบไม่ใช้เงิน ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ออกรถฟรีดาวน์ คือ อะไรกันแน่? ออกรถฟรีดาวน์ ต้องจ่ายอะไรบ้าง ไม่ต้องคำประกันจริงไหม แล้วถ้าต้องการออกรถแบบฟรีดาวน์ไม่ใช้เงินออกรถ จะเลือกแบบผ่อนถูกเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าต้องการซื้อรถยนต์ด้วยเงื่อนไขนี้ควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ซึ่งคำตอบทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่คนออกรถควรรู้อย่างมาก และเพื่อให้ทุกคนที่เข้ามาอ่านเนื้อหาบทความวันนี้ ได้รับความรู้กันแบบเต็มที่ แรบบิท แคร์ จึงพยายามรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาให้เรียบร้อยแล้ว
ออกรถฟรีดาวน์คืออะไร
ออกรถฟรีดาวน์ คือ การที่เราซื้อรถโดยไม่ต้องใช้เงินในการดาวน์รถ หรือทำสัญญาในครั้งแรก นั่นหมายความว่าพื้นฐานแล้วการที่เราไม่ได้วางเงินดาวน์เลย เราต้องรับยอดจัดเต็มยอด พร้อมดอกเบี้ยที่สูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละศูนย์บริการ ทำให้ต้องรับภาระค่างวดแตกต่างกันออกไปนั่นเอง สามารถทดลองคำนวณผ่อนรถหรือค่างวดรถออนไลน์ที่แรบบิท แคร์ เพื่อวางแผนการเงินของคุณอย่างเหมาะสม
ออกรถฟรีดาวน์ต้องจ่ายอะไรบ้าง
ออกรถฟรีดาวน์ ต้องจ่ายอะไรบ้าง โดยความเป็นจริงแล้วถึงแม้จะไม่ใช้เงินในการทำสัญญาครั้งแรก แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกประมาณ 3 รายการด้วยกัน คือ ค่ามัดจำป้ายแดง, ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน และประกันสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งแต่ละรายการค่าใช้จ่ายจะถูกคิดคำนวณนอกเหนือจากการออกรถฟรีดาวน์ ส่วนรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ดล่าวมา สามารถติดตามอ่านได้จากหัวข้อย่อยดังนี้
ค่ามัดจำป้ายแดง
ค่ามัดจำป้ายแดง เป็นค่าสำหรับป้ายทะเบียนสีแดงที่ทางกรมขนส่งออกให้ใช้ชั่วคราว ก่อนที่จะได้รับป้ายทะเบียนตัวจริง (สีขาว) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะถูกเก็บประมาณ 2,000-3,000 บาท พอเราได้รับป้ายขาวจากกรมขนส่งเรียบร้อยแล้ว เงินมัดจำส่วนนั้นจะได้คืนทั้งหมด และหลังจากที่ทำการออกรถฟรีดาวน์เสร็๗จนได้รับป้ายแดง ให้ทำการตรวจสอบป้ายแดงอีกครั้งว่าเป็นของจริง จากกรมขนส่งใช่หรือไม่ เพราะปัจจุบันมีป้ายแดงปลอมระบาดขึ้นมาเป็นจำนวนมากเลยทีเดียว
ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน
ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนอยู่นอกเหนือจากการออกรถฟรีดาวน์ เพราะเป็นกระบวนการจดทะเบียนรถยนต์ของเรากับกรมขนส่งโดยตรง ซึ่งตามปกติแล้วมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป ตามขนาดของรถและเครื่องยนต์ โดยรวมแล้วจะมีค่าใช้จ่ายพื้นฐานดังนี้
- ค่าต่อภาษีรถยนต์ ขึ้นอยู่กับขนาดและเครื่องยนต์
- ค่าป้ายทะเบียนรถ 100 บาท
- ค่าใบคู่มือจดทะเบียนรถ 100 บาท
- อัตราค่าจดทะเบียนรถใหม่ 315 บาท
ค่าประกันสินเชื่อรถยนต์
เนื่องจากการออกรถฟรีดาวน์เป็นการทำสัญญาแบบไม่ใช่เงิน โดยส่วนใหญ่แล้วทางไฟแนนซ์จึงมักให้เราทำประกันสินเชื่อรถยนต์ เพื่อเปรียบเสมือนเป็นหลักประกันกับทางไฟแนนซ์ ซึ่งแต่ละแห่งจะมีราคาประกันรถยนต์ที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทที่เราเลือก รวมถึงบริษัทที่ให้บริการเรื่องประกันภัยด้วย
ฉะนั้นต้องห้ามลืมเด็ดขาดว่าการออกรถฟรีดาวน์ในวันจริง ใช่ว่าจะต้องฟรีทุกค่าใช้จ่ายเสมอไป ควรติดต่อกับศูนย์บริการให้ดีว่ามีค่าอะไรอีกบ้างที่เรารับผิดชอบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทั้ง 3 ค่าใช้จ่ายที่กล่าวมาก มักเป็นสิ่งที่เจ้าของรถยนต์ต้องรับผิดชอบด้วยตัวเองทั้งสิ้น
ออกรถฟรีดาวน์ ไม่ต้องค้ำจริงไหม
ออกรถฟรีดาวน์ ไม่ต้องค้ำจริงไหม คำตอบ คือ ส่วนมากต้องมีคนค้ำ รวมถึงผู้ที่มาค้ำประกันให้กับการออกรถต้องมีคุณสมบัติที่ไม่น้อยไปกว่าผู้ออกรถเลย หรือบางแห่งอาจต้องมีกำหนดว่าเงินเดือนของผู้ค้ำประกัน ต้องมากว่าค่างวดในการผ่อนรถถึง 2 เท่า ถึงจะสามารถมาค้ำประกันการออกรถฟรีดาวน์ได้ อย่าลืมศึกษาเงื่อนไขให้ดีก่อนตัดสินใจออกรถในเงื่อนไขนี้ด้วย
ออกรถฟรีดาวน์ ผ่อนถูก
ออกรถฟรีดาวน์ ผ่อนถูก ในความเป็นจริงแล้วมีโอกาสเป็นไปได้ยากมาก ๆ เพราะการที่เราเลือกเงื่อนไขแบบออกรถฟรีดาวน์ เป็นการที่ไม่ได้ดาวน์เงินเพื่อลดเงินต้นเลยแม้แต่บาทเดียว ทำให้เราต้องผ่อนเต็มค่ารถทั้งหมด รวมถึงบางครั้งที่ไม่มีโปรโมชั่นดอกเบี้ย 0% จะส่งผลให้เราต้องรับภาระดอกเบี้ยต่อเดือนหนักขึ้นไปอีก อีกทั้งยังมีค่า VAT 7% ที่ยกระดับค่าใช้จ่ายของเราให้สูงขึ้นไปอีก กลายเป็นว่าการจะออกรถฟรีดาวน์ ผ่อนถูก แทบเป็นไปไม่ได้เลยก็ว่าได้
คุณสมบัติที่จะออกรถฟรีดาวน์ได้
คุณสมบัติที่จะออกรถฟรีดาวน์ได้ พื้นฐานต้องผ่านเกณฑ์ 5 ข้อ ได้แก่ ต้องมีรายได้ 2 เท่าของค่างวดที่ต้องรับผิดชอบ, ไม่ติดเครดิตบูโร, มีที่อยู่ชัดเจน, ต้องประกอบอาชีพที่กำหนด และอายุงานเป็นไปตามเงื่อนไขกำหนด โดยรายละเอียดของเกณฑ์แต่ละข้อจะมีดังนี้
- ต้องมีรายได้ 2 เท่าของค่างวดที่ต้องรับผิดชอบ: เพื่อเป็นสิ่งยืนยันขั้นพื้นฐาน ว่าเราสามารถรับผิดชอบค่างวดได้ เช่น ออกรถฟรีดาวน์ยอดผ่อน 9,000 บาทต่องวด แปลว่าพื้นฐานเงินเดือนต้องไม่น้อยไปกว่า 18,000 บาท ถึงจะผ่านเงื่อนไข
- ไม่ติดเครดิตบูโร: ไม่มีประวัติการค้างค่างวด ไม่มีประวัติชำระเงินที่ล่าช้า ไม่มีภาระหนี้สินในช่วงเวลาหนึ่ง มีภาพรวมประวัติการเงินที่ดี
- มีที่อยู่ชัดเจน: ที่สามารถติดต่อได้
- ต้องประกอบอาชีพที่กำหนด: เช่น เจ้าของกิจการ รับราชการ พนักงานบริษัท พนักงานรัฐวิสาหกิจ หากเป็นอาชีพนอกเหนือจากนี้ อาจไม่ผ่านเงื่อนไขของไฟแนนซ์ ทำให้ไม่สามารถออกรถฟรีดาวน์ได้
- อายุงานเป็นไปตามเงื่อนไขกำหนด: ไม่ต่ำกว่า 3 เดือน หรือต้องผ่านโปรไปแล้ว
ออกรถฟรีดาวน์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ออกรถฟรีดาวน์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง ตามปกติทั่วไปแล้วมีเอกสารที่ต้องใช้ประมาณ 6 รายการด้วยกัน คือ บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้านตัวจริง, สลิปเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือน (ออกโดยบริษัทปัจจุบัน), รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน (Statement), เอกสารรายงานสถานะเครดิตบูโร (หากมี) และทะเบียนการค้า หรือทะเบียนพาณิชย์ (กรณีเป็นเจ้าของกิจการ) ควรเตรียมเอาไว้ให้พร้อมก่อนทำสัญญาออกรถฟรีดาวน์ เพื่อป้องกันความผิดพลาด หรือปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง
สรุปแล้วออกรถฟรีดาวน์มีอะไรที่ควรรู้ก่อน
สรุปการออกรถฟรีดาวน์มีสิ่งที่ควรรู้ก่อนประมาณ 4 ข้อ คือ เรื่องยอดจัดที่สูง, ค่างวดสูง, ดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ และถ้าเป็นรถมือสองต้องดูให้ดีก่อนตัดสินใจ โดยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อควรรู้ก่อนออกรถฟรีดาวน์ สามารถอ่านได้จากลิสต์รายการด้านล่าง
- เรื่องยอดจัดที่สูง: เนื่องจากเราไม่ได้ใช้เงินในการดาวน์รถเลย ทำให้ยอดจัดมีราคาเต็มตามค่ารถ บวกกับค่าดอกเบี้ยที่สูงตามเงื่อนไข และค่า VAT 7% อีก
- ค่างวดสูง: จากหลายปัจจัยที่เรากล่าวมาในเรื่องยอดจัดสูง ดอกเบี้ยแพง และอื่น ๆ ทำให้ค่างวดต่อเดือนที่ต้องรับผิดชอบ เพิ่มสูงขึ้นไปมากกว่าปกติ
- ดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ: โดยปกติแล้วยิ่งเราวางเงินดาวน์สูง ทางไฟแนนซ์จะมีดอกเบี้ยที่ต่ำมากให้บริการ แต่ถ้าเราออกรถฟรีดาวน์ด้วยเงิน 0% ส่วนใหญ่แล้วจะมีดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 5 ที่ถือว่าค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
- ถ้าเป็นรถมือสองต้องดูให้ดีก่อนตัดสินใจ: เพราะถ้าเป็นรถมือสองมาจัดฟรีดาวน์ อาจเป็นรถที่มีสภาพไม่ดีเท่าไหร่นัก ทำให้มีราคาต่ำกว่าราคาตลาด หรือราคาประเมินทั่วไป จนสามารถนำมาจัดโปรฟรีดาวน์ได้
พอรู้ครบถ้วนแบบนี้แล้วก่อนจะเตรียมตัวออกรถฟรีดาวน์ อย่าลืมคิดให้ดีว่าเราต้องแบกรับภาระไปตลอดหลายงวดจนกว่าจะผ่อนจบ ถ้าหากเราสะดวกที่จะเลือกวิธีการนี้ สามารถรับผิดชอบได้อย่างไร้ปัญหา ก็ถือว่าช่วยแบ่งเบาภาระเงินดาวน์ไปได้ตั้งแต่ช่วงแรก แต่ใครที่คิดว่าอนาคตยังไม่แน่นอน การเก็บเงินเพื่อเอาไปดาวน์รถสักส่วนหนึ่งอาจเป็นการตัดสินใจที่ดีกว่าได้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และความต้องการที่แตกต่างกันไปอีกทีหนึ่ง
ไม่ว่าจะออกรถฟรีดาวน์ หรืออกรถด้วยวิธีไหนก็ตาม หากสามารถแบ่งรายจ่ายมาเป็นการดูแลรถยนต์อีกทางหนึ่งเพิ่มเติมเข้าไปได้ ควรตัดสินใจเรื่องประกันรถยนต์เผื่อเอาไว้ ให้พร้อมกับการคุ้มครองในทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับการใช้งานรถยนต์ต่อจากนี้ ซึ่งประเภทประกันรถยนต์จะให้การดูแลที่แตกต่างกันออกไปตามเงื่อนไข ถ้าต้องการสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อหา แรบบิท แคร์ ได้ที่เบอร์ 1438 และเมื่อตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์กับ แรบบิท แคร์ เรามีส่วนลดพิเศษสูงสุดให้ถึง 70% อีกด้วย
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี