แคร์รถยนต์

ใบขับขี่สาธารณะ ต่างกับใบขับขี่ทั่วไปอย่างไร ใช้กับรถประเภทใดบ้าง ?

ผู้เขียน : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
ตรวจทาน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
Published: January 13,2025
  
 
  
Reviewed: January 13, 2025
ใบขับขี่สาธารณะ ต่างกับใบขับขี่ทั่วไปอย่างไร

ใบขับขี่สาธารณะ สิ่งสำคัญที่ผู้ต้องการประกอบอาชีพขับขี่รถสาธารณะจะต้องทราบ และมีติดตัวไว้ ใบขับขี่สาธารณะแตกต่างจากใบขับขี่ทั่วไปอย่างไร วันนี้ แรบบิท แคร์ นำเรื่องราวที่ควรรู้เกี่ยวกับใบขับขี่สาธารณะมาฝากให้ในบทความนี้แบบจัดเต็ม

ใบขับขี่สาธารณะ คืออะไร ?

ใบขับขี่สาธารณะ คือ เอกสารสำคัญที่ผู้ขับขี่ยานพาหนะสาธารณะ เช่น รถยนต์รับจ้าง แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ และรถสามล้อ ต้องมีติดตัวอยู่เสมอ เพื่อเป็นการแสดง และยืนยันถึงความสามารถในการขับขี่ รวมถึงการได้รับอนุญาตให้ขับยานพาหนะดังกล่าวตามกฎหมายอย่างถูกต้อง โดยผู้ถือใบขับขี่สาธารณะสามารถใช้ใบขับขี่สาธารณะได้ทั้งในรูปแบบบัตรใบขับขี่สาธารณะตัวจริง หรือจะเลือกใช้ใบขับขี่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ใบขับขี่ออนไลน์) ในการยืนยันตัวตนก็ได้เช่นกัน

ประเภทของใบขับขี่สาธารณะ

สำหรับประเภทของใบขับขี่สาธารณะนั้น ใบขับขี่สาธารณะสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามชนิดของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะ ดังนี้

ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ (เช่น ใบขับขี่สาธารณะ แท็กซี่)

เป็นใบขับขี่สาธารณะสำหรับผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะประเภทรถยนต์ที่ให้บริการรับส่งผู้โดยสาร เช่น รถแท็กซี่ หรือรถโดยสารที่สังกัดองค์กรเอกชนต่าง ๆ

ใบขับขี่สาธารณะ ประเภท 2 ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ  (เช่น ใบขับขี่สาธารณะ ตุ๊ก ตุ๊ก)

เป็นใบขับขี่สาธารณะสำหรับผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะประเภทสามล้อเครื่องที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร เช่น รถตุ๊กตุ๊ก

ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ (เช่น ใบขับขี่สาธารณะ มอเตอร์ไซค์)

เป็นใบขับขี่สาธารณะสำหรับผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะประเภทจักรยานยนต์ที่ให้บริการรับส่งผู้โดยสาร เช่น มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือรถมอเตอร์ไซค์ที่สังกัดองค์กรเอกชนต่าง ๆ

ใบขับขี่สาธารณะ ขับรถอะไรได้บ้าง ?

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าใบขับขี่สาธารณะ ขับรถอะไรได้บ้างนั้น ใบขับขี่สาธารณะอนุญาตให้ผู้ถือสามารถขับขี่ยานพาหนะที่ใช้ในกิจการสาธารณะได้หลากหลายประเภทด้วยกัน เช่น

  • รถแท็กซี่ หรือรถยนต์สาธารณะที่ให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร
  • รถสามล้อ
  • รถตู้สาธารณะ
  • รถจักรยานยนต์สาธารณะ

กล่าวคือใบขับขี่สาธารณะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ทำงานในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งผู้โดยสารหรือบริการสาธารณะตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้นั่นเอง

ใบขับขี่สาธารณะ มีอายุกี่ปี ?

ใบขับขี่สาธารณะ อายุกี่ปี หลังจากทำแล้วใบขับขี่สาธารณะ หมดอายุภายในกี่ปี คำตอบคือ ใบขับขี่สาธารณะมีอายุ 3 ปี นับจากวันที่ออกใบอนุญาต หลังจากนั้นหากต้องการใช้งานต่อ ผู้ถือใบขับขี่ต้องทำการต่ออายุใบขับขี่ก่อนที่ใบอนุญาตจะหมดอายุ โดยต้องผ่านการอบรม และทดสอบตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด

ใบขับขี่สาธารณะ ทํายังไง ?

ในส่วนของผู้ที่ต้องการทำใบขับขี่สาธารณะแต่ไม่ทราบว่าจะมีขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง ความจริงแล้วการทำใบขับขี่สาธาณะนั้นไม่ยาก โดยจะมีขั้นตอนในการทำ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ใบขับขี่สาธารณะ

เข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.dlt-elearning.com เพื่อทำการลงทะเบียนออนไลน์ กรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำใบขับขี่ และเข้าชมวิดีโอการอบรมพร้อมทำแบบทดสอบให้ครบถ้วน เมื่อผ่านการอบรมออนไลน์ จะได้รับ QR Code ที่มีอายุ 180 วัน สำหรับการเข้ารับการอบรมซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 3 ชั่วโมง โดยการอบรมนี้จะประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ

  • การอบรมภาคบังคับ
  • สถานที่ท่องเที่ยวและเส้นทางการเดินทาง
  • ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ขับขี่รถสาธารณะ
  • การให้บริการ

ขั้นตอนที่ 2 จองคิวเพื่อเข้ารับการทดสอบ

หลังจากผ่านการอบรมแล้ว ขั้นตอนถัดไปจะสามารถทำการจองคิวเพื่อเข้ารับการทดสอบผ่านทางเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th หรือแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue โดยสามารถเลือกชนิดใบขับขี่ที่ต้องการทำ สถานที่ วัน และเวลาที่สะดวก โดยจะได้รับ QR Code เพื่อยืนยันการจองคิว

ขั้นตอนที่ 3 ยื่นเอกสาร

ก่อนถึงวันที่จองไว้ จะต้องเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย จากนั้นนำไปยื่นที่กรมการขนส่งทางบกตามวันที่กำหนด โดยเอกสารที่ต้องเตรียม ได้แก่

  • บัตรประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ
  • ใบขับขี่ส่วนบุคคลที่ยังไม่หมดอายุ
  • ใบรับรองแพทย์สำหรับทำใบขับขี่สาธารณะ (ขอภายใน 30 วันก่อนวันทดสอบ)
  • QR Code จากการผ่านการอบรม (อายุไม่เกิน 180 วัน)

ขั้นตอนที่ 4 เข้ารับการทดสอบ

หลังจากยื่นเอกสารแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย

  • การทดสอบตาบอดสี
  • การทดสอบสายตา
  • การทดสอบปฏิกิริยาเท้า (การใช้เบรก)

นอกจากนี้ ยังมีการสอบข้อเขียน โดยต้องผ่าน 90% ของการสอบภาคทฤษฎี หากผ่านการทดสอบข้อเขียนแล้ว จะต้องเข้าสอบภาคปฏิบัติ ซึ่งก็คือการสอบขับรถในลำดับถัดไป หลังจากผ่านการทดสอบทุกขั้นตอนแล้ว จะได้รับ

  • หนังสือขอตรวจประวัติอาชญากรรม (เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนถัดไป)
  • ใบรับรองการผ่านการอบรม

ขั้นตอนที่ 5 ตรวจประวัติอาชญากรรม

นำหนังสือขอตรวจประวัติจากขั้นตอนที่ 4 ไปยื่นที่สถานที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการตรวจประวัติอาชญากรรม โดยสถานที่ที่จะต้องทำเอกสารไปยื่นขอตรวจคือ

  • พื้นที่กรุงเทพฯ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ปทุมวัน)
  • พื้นที่ต่างจังหวัด ศูนย์พิสูจน์หลักฐานหรือสถานีตำรวจในพื้นที่

ทั้งนี้การตรวจสอบประวัติ ใบขับขี่สาธารณะมีค่าธรรมเนียม 100 บาท และจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์เพื่อรอผล

ขั้นตอนที่ 6 รับใบขับขี่ที่กรมการขนส่ง

หลังจากได้รับผลการตรวจประวัติอาชญากรรมแล้ว ให้นำเอกสารไปยื่นที่กรมการขนส่งทางบก ถ่ายรูปสำหรับทำใบขับขี่ และชำระค่าธรรมเนียม 305 บาท เพื่อรับใบขับขี่สาธารณะ

ทำใบขับขี่สาธารณะ กี่บาท

ค่าใช้จ่ายในการทำใบขับขี่สาธารณะอยู่ที่ประมาณ 305 บาท สำหรับค่าธรรมเนียมการออกใบขับขี่สาธารณะที่กรมการขนส่งทางบก นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าตรวจประวัติอาชญากรรมที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือสถานีตำรวจท้องถิ่น ซึ่งมีค่าธรรมเนียมประมาณ 100 บาท

คุณสมบัติ ใบขับขี่สาธารณะ คุณสมบัติของผู้ทำใบขับขี่สาธารณะ

สำหรับผู้ที่ต้องการทำใบขับขี่แบบสาธารณะแต่ไม่ทราบว่าการทำใบขับขี่ชนิดนี้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ตนเองมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่จะทำใบขับขี่รถสาธารณะหรือไม่ คุณสมบัติของผู้ทำใบขับขี่สาธารณะนั้นจะมีข้อกำหนดดังนี้

  • ต้องมีใบขับขี่รถส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ มาไม่น้อยกว่า 1 ปี เช่น ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล รถสามล้อส่วนบุคคล หรือรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
  • สำหรับผู้ที่ต้องการทำใบขับขี่สาธารณะ เช่น ใบขับขี่แท็กซี่หรือรถยนต์สามล้อสาธารณะ ผู้สมัครต้องมีอายุ 22 ปีขึ้นไป ในขณะที่ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะต้องมีอายุอย่างน้อย 20 ปี
  • ผู้ทำใบขับขี่ต้องมีความสามารถในการขับขี่ และมีความเข้าใจในกฎหมายจราจรอย่างดี
  • ร่างกายของผู้ทำใบขับขี่ต้องไม่พิการจนไม่สามารถขับรถได้ และไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคในการขับขี่
  • ผู้ทำใบขับขี่ต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีภาวะจิตฟั่นเฟือน
  • ผู้ทำใบขับขี่ไม่อยู่ในระหว่างการถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
  • ผู้ทำใบขับขี่ไม่เคยมีประวัติเกี่ยวกับการขับรถผิดกฎหมายหรือถูกปรับเกินกว่า 2 ครั้ง
  • ผู้ทำใบขับขี่ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญา หากเคยต้องโทษ ผู้สมัครต้องพ้นโทษมาแล้วตามระยะเวลาที่กำหนดดังนี้ กรณีจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน , กรณีจำคุกเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน , กรณีจำคุกเกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • ในกรณีอื่น ๆ เช่น การถูกปรับ การรอลงอาญา หรือการรอขึ้นศาล ผู้สมัครต้องมีเอกสารทางคดีจากสถานีตำรวจเพื่อยืนยันและชี้แจงเกี่ยวกับคดีนั้น ๆ

ใบขับขี่สาธารณะ ต้องพ้นโทษกี่ปี ?

ในส่วนของผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญา และต้องการทำใบขับขี่แบบสาธารณะ แต่ไม่แน่ใจว่าตนเองจะสามารถทำได้ไหม จะต้องพ้นโทษมากี่ปี หรือระยะเวลาเท่าไหร่ จึงจะสามารถทำใบขับขี่ได้ คำตอบก็คือผู้ที่เคยต้องโทษผู้ยื่นคำร้องทำใบขับขี่แบบสาธารณะต้องพ้นโทษมาแล้วตามระยะเวลาที่กำหนดดังนี้

  • กรณีจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  • กรณีจำคุกเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน
  • กรณีจำคุกเกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 3 ปี

ส่วนในกรณีที่ไม่ได้ต้องโทษจำคุกในคดีอาญา แต่อยู่ในกรณีอื่น ๆ เช่น การถูกปรับ การรอลงอาญา หรือการรอขึ้นศาล ผู้สมัครต้องมีเอกสารทางคดีจากสถานีตำรวจเพื่อยืนยันและชี้แจงเกี่ยวกับคดีนั้น ๆ เพื่อมาประกอบการพิจารณานั่นเอง

ใบขับขี่สาธารณะ ทําต่างจังหวัดได้ไหม ?

ใบขับขี่ประเภทนี้สามารถทำในต่างจังหวัดได้ โดยสามารถยื่นคำขอที่สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือศูนย์บริการขนส่งที่ใกล้ที่สุด ทั้งนี้ขั้นตอนการทำใบขับขี่สาธารณะในต่างจังหวัดนั้นจะมีขั้นตอนเช่นเดียวกับการทำในกรุงเทพฯ ทุกประการ

นอกจากการมีใบขับขี่แบบสาธารณะแล้ว ประกันรถ เช่น ประกันรถยนต์ยังถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะหลงลืมทำไปไม่ได้ เพราะขึ้นชื่อว่ารถโดยสารสาธารณะ แน่นอนว่าย่อมมีความเสี่ยงมากกว่ารถยนต์ส่วนตัวทั่วไป เลือกทำประกันรถยนต์ กับ แรบบิท แคร์ ไว้ อุ่นใจ ปลอดภัยแน่นอน


สรุป

สรุปบทความ

ใบขับขี่สาธารณะ เป็นเอกสารสำคัญสำหรับผู้ประกอบอาชีพขับรถสาธารณะ เช่น แท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง หรือรถสามล้อ เพื่อยืนยันความสามารถและการอนุญาตตามกฎหมาย โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทตามยานพาหนะที่ใช้ และมีอายุ 3 ปี ต้องต่ออายุเมื่อหมดอายุ การทำใบขับขี่สาธารณะต้องผ่านขั้นตอน เช่น การอบรม ทดสอบ ยื่นเอกสาร และตรวจประวัติอาชญากรรม พร้อมค่าใช้จ่ายประมาณ 305 บาท ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ เช่น อายุ 20-22 ปีขึ้นไป มีใบขับขี่ส่วนบุคคลมากกว่า 1 ปี และไม่มีประวัติอาชญากรรม ทั้งนี้ สามารถทำได้ในต่างจังหวัดตามขั้นตอนเดียวกับกรุงเทพฯ

จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์รถยนต์

Rabbit Care Blog Image 98492

แคร์รถยนต์

คลายข้อสงสัยทำสีรถกับเปลี่ยนสีรถราคาเท่าไหร่ ใช้เวลานานกี่วัน

การทำสีรถหรือเปลี่ยนสีรถนั้นมีหลายจุดประสงค์ ทั้งการซ่อมแซมในส่วนที่เสียหาย หรือมีความต้องการแต่งรถเพราะอยากทำสี รถยนต์แบบเฉพาะส่วน
Natthamon
12/01/2025
Rabbit Care Blog Image 98866

แคร์รถยนต์

โอนลอย ผิดกฎหมายหรือไม่ ? ต่างกับการโอนปกติอย่างไร ?

โอนลอย อีกหนึ่งวิธีการในการโอนรถที่มีการทำอย่างแพร่หลาย ความจริงแล้วการโอนลอย คืออะไร ผิดกฎหมายไหม ? มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ? แรบบิท แคร์
Thirakan T
12/01/2025
Rabbit Care Blog Image 98844

แคร์รถยนต์

ล้างอัดฉีด หมายถึงอะไร ในความจริงแล้วต่างจากล้างรถธรรมดาหรือไม่

เวลาที่เราต้องการทำความสะอาดรถภายนอก ให้ดูสวยเหมือนใหม่ หลายคนเลือกใช้บริการล้างอัดฉีดกับร้านที่ใกล้เคียง หรือร้านที่วางใจได้
Thirakan T
12/01/2025