แคร์รถยนต์

ถอยรถเข้าซองยากไหม วิธีถอยหลังเข้าซอง สอบใบขับขี่มีขั้นตอนอย่างไร ?

ผู้เขียน : Natthamon
Natthamon

ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

close
linkedin icon
 
ตรวจทาน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
Published: January 10,2025
  
 
  
Reviewed: January 8, 2025
สอบใบขับขี่ถอยรถเข้าซอง วิธีถอยหลังเข้าซอง

ถอยรถเข้าซอง เรื่องที่มือใหม่หัดขับทุกคนต่างก็กังวลใจตั้งแต่เริ่มหัดขับรถยนต์ครั้งแรก ไปจนถึงการสอบใบขับขี่ถอยหลังเข้าซอง เพราะการถอยเข้าซองนั้นดูเป็นเรื่องที่ยาก และต้องใช้ความชำนาญในการขับรถสูง แต่ความจริงแล้วการถอยรถเข้าซองยากอย่างที่คิดจริงหรือไม่ มีเทคนิควิธีการถอยเข้าซองแบบง่าย ๆ ไหม วันนี้ แรบบิท แคร์ ได้รวบรวมความรู้ และเทคนิคการถอยหลังเข้าซองมาฝากให้ เพื่อน ๆ ที่เพิ่งจะหัดขับรถใหม่ลองไปอ่าน และนำไปปรับใช้กันได้เลย!

ถอยรถเข้าซอง

ถอยหลังเข้าซอง คือ การถอยรถเข้าซองเพื่อนำรถยนต์ของเราจอดในบริเวณที่กำหนดไว้ภายในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า คอนโด ตลาดนัด ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีการตีเส้นเป็นการกำหนดช่องว่างสำหรับจอดรถแต่ละคันไว้ให้ ดังนั้นหน้าที่ของคนขับก็คือการถอยเข้าซองให้ไปอยู่ในเส้นที่ได้มีการกำหนดไว้ ถือเป็นการปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่ที่ไป และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการจอดรถนั่นเอง

ถอยรถเข้าซอง คร่อมเส้น

ถอยรถเข้าซองคร่อมเส้นเป็นอะไรหรือไม่ ? คำตอบคือเป็นการกระทำที่ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาด รวมถึงหากเรายังถอยไม่ชำนาญ ทำให้เผลอตัวถอยเข้าซองคร่อมเส้นก็ควรทำการถอยหลังเข้าซองใหม่ให้อยู่ในซองที่ได้มีการขีดเส้นกำหนดไว้ เพื่อจะได้ไม่เป็นการกีดขวางที่จอดของรถยนต์คันอื่น ไม่กินพื้นที่จอดรถโดยไม่จำเป็น เป็นการปฏิบัติที่พึงกระทำ และถือเป็นมารยาทต่อผู้ใช้รถท่านอื่นอีกด้วย

ถอยเข้าซองยากไหม ?

อีกหนึ่งคำถามที่ผู้ขับรถยนต์มือใหม่มักจะกังวลใจ คือการถอยเข้าซองยากไหม ความจริงแล้วการถอยหลังเข้าซองนั้นไม่ได้ยากแต่อย่างใด เพียงแต่เราต้องเข้าใจเทคนิควิธีการถอยที่ถูกต้อง และต้องลองปฏิบัติจริงจนคุ้นชินนั่นเอง

ถอยรถเข้าซอง มือใหม่ทำได้ไหม ?

อย่างที่ได้กล่าวถึงไปแล้วว่าการถอยหลังเข้าซองนั้นไม่ได้ยากอย่างที่ใครหลายคนอาจจะกังวลไว้ ดังนั้นการถอยเข้าซองมือใหม่หัดขับก็สามารถทำได้ เรียกได้ว่าขอเพียงได้เรียนรู้เทคนิควิธีการที่ถูกต้อง ลองหัดถอยหลังเข้าซองไม่กี่ครั้งก็สามารถทำได้ หรือสำหรับหลาย ๆ คนลองหัดเพียงครั้งเดียวก็สามารถทำได้เลยก็มี

ถอยหลังเข้าซอง มีเทคนิคอะไรบ้าง ?

สำหรับการถอยรถยนต์เข้าซองนั้นโดยปกติแล้วเราจะเจอรูปแบบซองจอดรถอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ ถอยหลังเข้าซองแบบเฉียง และถอยรถยนต์เข้าซองแบบตรง ซึ่ง สนภ. กรมการขนส่งทางบก ได้ให้ข้อมูลวิธีการถอยเข้าซองทั้ง 2 แบบไว้ ดังนี้

วิธีถอยหลังเข้าซอง 45 องศา (เข้าซองเฉียง)

สำหรับการถอยหลังเข้าซองแบบเฉียง หรือถอยรถยนต์เข้าซอง 45 องศา จะมีวิธีการในการถอย คือ

  • ขั้นตอนที่ 1 : จอดรถให้เลียบขนานกับที่จอด แล้วเดินหน้าไปจนถึงเส้นขีดด้านหน้าของซองจอด จากนั้นหมุนพวงมาลัยไปทางขวา เพื่อเลี้ยวรถให้ขนานกับเส้นจอดในแนวเฉียงทั้งคัน
  • ขั้นตอนที่ 2 : เมื่อรถขนานกับเส้นจอดแล้ว ให้หมุนพวงมาลัยคืนล้อตรง จากนั้นค่อยๆ ถอยหลังเพื่อให้รถเข้าซองจนสุด

วิธีถอยหลังเข้าซอง 90 องศา (เข้าซองตรง)

สำหรับการถอยหลังเข้าซองแบบตรง หรือถอยรถยนต์เข้าซอง 90 องศา จะมีวิธีการในการถอย คือ

  • ขั้นตอนที่ 1 : จอดรถให้เลียบขนานกับที่จอดรถ จากนั้นเริ่มตีโค้งโดยหมุนพวงมาลัยไปทางขวาเพื่อเลี้ยวเข้าหาที่จอด ทำมุมเฉียงประมาณ 30 องศา
  • ขั้นตอนที่ 2 : หมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายจนสุด และค่อย ๆ ถอยหลังรถเข้าซอง จนตัวรถขนานกับเส้นจอด เมื่อถอยจนรถอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ให้คืนพวงมาลัยให้ล้อตรงเพื่อจัดระเบียบของรถ

วิธีถอยหลังเข้าซอง สอบใบขับขี่

แน่นอนว่าถอยรถเข้าซอง สอบใบขับขี่นั้นเป็นเรื่องที่แทบทุกคนกังวลใจ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าการถอยเข้าซอง สอบใบขับขี่จะมีข้อกำหนดที่มากกว่าการถอยรถยนต์เข้าซองตามปกติที่เราอาจใช้ในการขับขี่ในชีวิตประจำวัน
โดยวิธีการถอยหลังเข้าซอง สอบใบขับขี่จะมีข้อกำหนด และขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ผู้สอบใบขับขี่จะต้องทำการขับรถถอยหลังเข้าช่องจอดทางด้านซ้าย ซึ่งประกอบด้วยหลักหรือเส้นที่กำหนด โดยช่องจอดจะมีความกว้างเท่ากับความกว้างของรถรวมกระจกมองข้าง และเพิ่มระยะด้านละ 0.5 เมตร ส่วนความยาวของช่องจอดจะเท่ากับความยาวของรถบวกเพิ่มอีก 2.5 เมตร
  • ในการสอบใบขับขี่ถอยรถยนต์เข้าซองจะมีการจำกัดการเปลี่ยนเกียร์ไม่เกิน 7 ครั้ง
    ตั้งแต่เริ่มถอยเข้าจอด จนถึงการขับออกจากช่องว่างด้านซ้าย ต้องเปลี่ยนเกียร์หรือเข้าเกียร์ไม่เกิน 7 ครั้ง
  • มีข้อห้ามในการชน หรือล้ำเส้นที่กำหนด ในระหว่างการถอยเข้าจอด ต้องไม่ชนหรือเบียดหลัก ไม่ล้ำเส้น หรือล้ำแนวเส้นที่กำหนด
  • จะต้องมีการปรับรถให้ขนานกับขอบทาง หรือเส้นที่กำหนด ตัวรถต้องขนานกับขอบทาง หลัก หรือเส้นที่กำหนดด้านซ้าย โดยต้องไม่เบียดขอบทาง หรือทับเส้น

ถอยหลังเข้าซอง รถเก๋งกี่เมตร ?

สำหรับคนที่สงสัยว่า ถอยเข้าซอง กี่เมตร การถอยหลังเข้าซอง รถเก๋งโดยทั่วไปจะใช้พื้นที่ว่างประมาณ 1 – 1.5 เมตร ระหว่างรถของเรากับรถคันหน้า หรือคันหลัง เพื่อให้มีระยะเพียงพอสำหรับการหักพวงมาลัย และปรับตัวรถให้เข้าซองได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ระยะที่ใช้จริงอาจแตกต่างไปตามขนาดของรถ และทักษะของผู้ขับขี่ ดังนั้นจึงควรประเมินพื้นที่รอบข้าง และขับอย่างระมัดระวังเมื่อถอยหลังรถเข้าซอง

ถอยหลังเข้าซอง รถกระบะ กี่เมตร ?

การถอยหลังรถเข้าซองสำหรับรถกระบะมักต้องการพื้นที่ว่างมากกว่ารถยนต์ทั่วไป เนื่องจากมีตัวรถที่ยาวกว่า ปกติแล้วพื้นที่ที่เหมาะสมในการถอยรถกระบะเข้าซองควรมีระยะห่างจากรถคันหน้า และรถคันหลังประมาณ 1.5 – 2 เมตร เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการหักเลี้ยว และปรับตัวรถให้เข้าซองอย่างปลอดภัย

ถอยเข้าซอง สอบใบขับขี่ กี่เมตร ?

ในการสอบใบขับขี่สำหรับการถอยรถยนต์เข้าซอง ขนาดของช่องจอดจะถูกกำหนดตามมาตรฐานที่เหมือนกัน ซึ่งจะมีการกำหนดเอาไว้ ดังต่อไปนี้

  • ความกว้างของช่องจอด : เท่ากับความกว้างของตัวรถรวมกระจกมองข้าง บวกเพิ่มข้างละ 0.5 เมตร ซึ่งช่วยให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเลี้ยว และถอยเข้าออกได้สะดวก
  • ความยาวของช่องจอด : เท่ากับความยาวของรถ บวกเพิ่มอีก 2.5 เมตร เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับการจัดระเบียบรถและหักเลี้ยวในขณะถอยรถยนต์เข้าซอง

หากถอยรถยนต์เข้าซองไม่ได้ควรทำอย่างไร ?

หากพยายามแล้วแต่ยังไม่สามารถทำการถอยรถยนตืเข้าซองได้ สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกก็คือประเมินว่าสาเหตุที่เราไม่สามารถถอยหลังรถยนต์เข้าซองได้เป็นเพราะเหตุใด หากเป็นเพราะช่องว่างแคบเกินไป ก็ควรที่จะเปลี่ยนที่จอด และหาที่ใหม่ แต่หากเป็นเพราะเรายังไม่ชำนาญก็อย่าพึ่งท้อใจ ค่อย ๆ ลองพยายามใหม่เดี๋ยวต้องทำได้อย่างแน่นอน

เคล็ด(ไม่)ลับในการถอยรถยนต์เข้าซอง

  • หมุนพวงมาลัยตามทิศทางที่ต้องการให้ท้ายรถไป : หากต้องการให้ท้ายรถหันไปทางใด ให้หมุนพวงมาลัยไปทางนั้น เช่น หากต้องการให้ท้ายรถเลี้ยวไปทางซ้าย ให้หมุนพวงมาลัยไปทางซ้าย
  • เปิดสัญญาณไฟช่วย : เมื่อถอยรถในบริเวณที่การจราจรหนาแน่น ควรเปิดสัญญาณไฟเพื่อให้สัญญาณแก่รถคันอื่น และตรวจสอบด้านท้ายรถก่อนทุกครั้ง จากนั้นถอยหลังอย่างช้า ๆ โดยพิจารณาขนาดรถ ช่องว่าง และพื้นที่ที่เหลือสำหรับการเลี้ยว
  • ใช้เบรกและแสงไฟท้ายช่วยในเวลากลางคืน : ขณะถอยรถในตอนกลางคืน การแตะเบรกเพื่อเปิดไฟท้ายจะช่วยให้สามารถประเมินรัศมีการถอยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือ หากไฟท้ายดูหรี่ลงหรือไม่เห็นแสงไฟ แสดงว่าถอยจอดใกล้เกินไป แต่หากไฟท้ายยังจ้า แสดงว่ายังสามารถถอยได้

ถ้าถอยรถยนต์เข้าซองแล้วเกิดอุบัติเหตุชนท้าย ประกันรถยนต์แต่ละชั้นคุ้มครองอย่างไร

การถอยรถเข้าซองแล้วเกิดอุบัติเหตุชนท้ายเป็นสถานการณ์ที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในพื้นที่จอดรถที่แคบหรือมีการจราจรหนาแน่น หากเกิดเหตุการณ์นี้ การคุ้มครองของประกันรถยนต์แต่ละประเภทจะแตกต่างกันดังนี้:

1. ประกันรถยนต์ชั้น 1

  • คุ้มครอง: ประกันชั้น 1 ครอบคลุมความเสียหายทั้งรถของผู้เอาประกันและรถคู่กรณี ไม่ว่าคุณจะถอยชนรถยนต์หรือสิ่งของ เช่น กำแพงหรือเสาไฟฟ้า ประกันชั้น 1 จะรับผิดชอบค่าซ่อมแซมทั้งหมด
  • ข้อควรระวัง: อาจต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) หากไม่สามารถระบุคู่กรณีได้หรือเป็นเหตุที่ไม่มีพยาน

2. ประกันรถยนต์ชั้น 2+ และ 3+

  • คุ้มครอง: ประกันชั้น 2+ และ 3+ จะคุ้มครองเฉพาะกรณีที่มีคู่กรณีเป็นรถยนต์เท่านั้น หากคุณถอยชนรถยนต์คันอื่น ประกันจะครอบคลุมค่าซ่อมแซมทั้งรถของคุณและรถคู่กรณี
  • ไม่คุ้มครอง: หากการชนเกิดขึ้นกับสิ่งของอื่นๆ เช่น กำแพงหรือเสา ประกันจะไม่รับผิดชอบความเสียหายดังกล่าว

3. ประกันรถยนต์ชั้น 2 และ 3

  • คุ้มครอง: เฉพาะค่าซ่อมแซมรถของคู่กรณีในกรณีที่มีคู่กรณีเป็นรถยนต์เท่านั้น
  • ไม่คุ้มครอง: รถของคุณเองจะไม่ได้รับความคุ้มครอง และหากชนสิ่งของหรือสิ่งกีดขวางที่ไม่ใช่รถยนต์ ประกันจะไม่รับผิดชอบค่าซ่อมแซมเช่นกัน

สรุป

สรุปบทความ
  • หากต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุมทุกกรณี ควรเลือกประกันชั้น 1
  • ประกันชั้น 2+ และ 3+ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุ้มครองเฉพาะกรณีชนกับรถยนต์
  • ประกันชั้น 2 และ 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น รถของคุณจะไม่ได้รับการซ่อมแซม

การตรวจสอบเงื่อนไขกรมธรรม์ก่อนทำประกันและการขับขี่อย่างระมัดระวังในพื้นที่จอดรถ จะช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์รถยนต์

Rabbit Care Blog Image 98829

แคร์รถยนต์

รถชนกันต้องทำอย่างไร ? สิ่งที่ควรรู้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์รถชน !

รถยนต์ชนกันเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง หรือคนรอบตัวที่ห่วงใย
Thirakan T
10/01/2025
Rabbit Care Blog Image 98817

แคร์รถยนต์

รถครอบครัว 7 ที่นั่ง ยี่ห้อไหนดี สำหรับตัวเลือกรถ 7 ที่นั่ง 2025

อัปเดตรถสำหรับครอบครัว 7 ที่นั่งไปพร้อมกับอ่านเก็บเกี่ยวความรู้เรื่องราวรถประเภทนี้ เพื่อให้คนที่กำลังสนใจอยากถอยรถ 7 ที่นั่งสักคัน
Thirakan T
09/01/2025
Rabbit Care Blog Image 98806

แคร์รถยนต์

รถ PHEV รถปลั๊กอินไฮบริด เป็นรถอะไร แตกต่างจากรถประเภทอื่นอย่างไรบ้าง

ขณะที่นวัตกรรมยานยนต์เกิดความก้าวหน้า ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่รถประเภทปลั๊กอินไฮบริดยังคงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ได้รับความนิยม
Thirakan T
08/01/2025