ซื้อรถในนามบริษัทยากหรือไม่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ?
รถบริษัทสิ่งเล็ก ๆ แต่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่แทบทุกบริษัทจะต้องมี ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่พึ่งจัดตั้งบริษัทได้ไม่นานอาจมีความลังเลสงสัยว่าหากต้องการจะซื้อรถบริษัทสักคันแล้ว ควรทำการซื้อรถในนามบริษัทหรือไม่
หากต้องการจะซื้อรถในนามบริษัทจะต้องจัดเตรียมเอกสารอย่างไร การเลือกซื้อในนามบริษัทนั้นดีกว่าจริงหรือไม่ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไหม วันนี้ แรบบิท แคร์ ได้นำเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับการซื้อรถยนต์ในนามบริษัทมาฝากให้ในบทความนี้แบบครบถ้วน!
ซื้อรถในนามบริษัท
สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบว่าการซื้อรถยนต์ในนามบริษัทนั้นคืออะไร การซื้อรถยนต์ในนามบริษัทหรือในนามนิติบุคคล คือการซื้อรถเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจขององค์กร ซึ่งถือเป็นรถยนต์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพาณิชย์ โดยนอกจากจะมีประโยชน์ในด้านการใช้ดำเนินงาน เช่น เป็นยานพาหนะของบริษัทแล้ว ยังมีประโยชน์ในด้านการเงิน เช่น การนำมาหักค่าเสื่อมราคา หรือการนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถมาใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีของบริษัทได้อีกด้วย
ซื้อรถในนามบริษัท ใช้เอกสารอะไรบ้าง ซื้อรถในนามบริษัท เอกสารอะไรบ้าง?
ซื้อรถบริษัท เอกสาร ซื้อรถในนามบริษัท เงินสด-เงินผ่อน เอกสารที่ต้องใช้ในการซื้อรถยนต์ในนามบริษัทอาจแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของแต่ละสถานที่ แต่โดยทั่วไปแล้วมีเอกสารสำคัญที่จะต้องทำการจัดเตรียมดังต่อไปนี้
- หนังสือรับรองบริษัท เป็นเอกสารที่ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อยืนยันตัวตนและสถานะทางธุรกิจของบริษัท
- ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) ใช้ในกรณีที่บริษัทได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร เพื่อเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงิน
- สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารยืนยันตัวตนของผู้มีอำนาจลงนามในนามบริษัท ซึ่งข้อกำหนดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เกี่ยวข้อง
- เอกสารทางการเงิน ในกรณีที่ไม่ได้ซื้อรถด้วยเงินสด ต้องแสดงงบการเงินของบริษัทย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อยืนยันความสามารถทางการเงิน
และนี้ก็คือรายการเอกสารหลัก ๆ ที่จะต้องเตรียมเมื่อต้องการซื้อรถในนามบริษัท เอกสารอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้อาจมีเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละที่ ซึ่งสามารถสอบถามเพิ่มเติมกับพนักงานขายที่ทำการดูแลเราได้เพื่อความถูกต้องแม่นยำ
ซื้อรถในนามบริษัท ต้องเปิดมากี่ปี ?
TOYOTA LEASING THAILAND ให้ข้อมูลว่า ในการจะซื้อรถยนต์ในนามบริษัทแบบผ่อน (เช่าซื้อ) ผู้เช่าต้องเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี ถึงจะสามารถทำการซื้อรถยนต์ในนามบริษัทได้
ซื้อรถในนามบริษัท หักค่าใช้จ่าย ได้ไหม ?
สำหรับผู้ที่กำลังสงสัยว่าหากทำการซื้อรถในนามของบริษัทนั้น จะสามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้หรือไม่ คำตอบคือการซื้อรถในรูปแบบนิติบุคคลหรือในนามบริษัทนั้นสามารถนำมาใช้หักค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เกี่ยวกับการซื้อรถยนต์นั่งทั่วไป ไม่เกิน 1 ล้านบาท ได้
ซื้อรถในนามบริษัท ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ?
นอกจากการนำมาหักค่าใช้จ่ายของบริษัทแล้ว บางคนอาจมีข้อสงสัยต่อว่าแล้วแบบนี้การซื้อรถในรูปแบบนิติบุคคลหรือในนามบริษัทนั้นสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ คำตอบก็คือการซื้อรถในรูปแบบบริษัทนั้นสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ กล่าวคือ สามารถนำค่าใช้จ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวกับการซื้อรถยนต์นั่งทั่วไป ไม่เกิน 1 ล้านบาท มาเป็นรายจ่ายหรือต้นทุนสินทรัพย์ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้นั่นเอง
ซื้อรถในนามบริษัท ผ่านยากไหม ?
สำหรับผู้ประกอบการที่กังวลว่าหากต้องการจะซื้อรถในนามนิติบุคคลจะผ่านยากหรือไม่ หรือแม้กระทั่งบางคนกังวลว่าเป็นบริษัทเล็ก ๆ หากต้องการจะซื้อในรูปแบบบริษัทจะผ่านยากไหม คำตอบก็หรือไม่ได้มีขั้นตอนหรือความยากมากกว่าการซื้อรถในนามบุคคลทั่วไป สิ่งสำคัญก็คือต้องเตรียมเอกสารจำเป็นให้ครบถ้วน รวมถึงมีคุณสมบัติตรงตามที่ได้กำหนดไว้ในการซื้อรถในนามของบริษัทนั่นเอง
ข้อดีของการซื้อรถยนต์ในนามบริษัท
แน่นอนว่าในการซื้อรถบริษัทสักคัน การจะตัดสินใจว่าจะซื้อในนามของบริษัทดีหรือไม่นั้นก็อาจต้องลองชั่งใจ ว่าการซื้อในนามบริษัทนั้นจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร โดยการซื้อรถยนต์ในนามบริษัทจะมีข้อดี ดังต่อไปนี้
- สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ และดูแลรถ เช่น ค่าผ่อนชำระ ค่าน้ำมัน และค่าบำรุงรักษา สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีของบริษัทได้
- สามารถนำมาหักค่าเสื่อมได้ รถยนต์ที่ซื้อในนามบริษัทสามารถนำมาหักค่าเสื่อมราคาเป็นรายปี ช่วยลดภาระทางภาษีได้เพิ่มเติม
- ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน การซื้อรถยนต์ในนามบริษัทสามารถเลือกใช้ไฟแนนซ์ในการจัดการค่าใช้จ่าย ทำให้ไม่ต้องใช้เงินสดจำนวนมากในคราวเดียว และสามารถบริหารงบประมาณของบริษัทได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
- เป็นการแยกทรัพย์สินส่วนตัวออกจากทรัพย์สินบริษัท การซื้อรถยนต์ในนามบริษัทช่วยให้การจัดการทรัพย์สินมีความชัดเจน แยกจากทรัพย์สินส่วนตัว ลดความเสี่ยงจากการใช้ทรัพย์สินร่วมกันอย่างไม่เป็นระบบระเบียบ
ข้อดีเหล่านี้ถือเป็นข้อดีหลัก ๆ ในการเลือกซื้อรถยนต์ในนามบริษัทซึ่งถือเป็นข้อดีที่มีประโยชน์ในแง่ของการบริหารจัดการการเงินภายในบริษัทที่ดีมากเลยทีเดียว
ข้อเสียของการซื้อรถยนต์ในนามบริษัท
แน่นอนว่าเมื่อมีข้อดีแล้ว การซื้อรถยนต์ในนามบริษัทก็ย่อมมีข้อเสียด้วยเช่นกัน ซึ่งตรงจุดนี้ก็ต้องนำทั้งข้อดี-ข้อเสียมาชั่งน้ำหนักเพื่อตัดสินใจกัน โดยข้อเสียของการซื้อรถยนต์ในนามบริษัทจะมีดังนี้
- รถบริษัทมีข้อจำกัดในการใช้รถ รถที่ซื้อในนามบริษัทต้องใช้เพื่อกิจการของบริษัทเป็นหลัก หากนำมาใช้ในเรื่องส่วนตัวอาจมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาด้านการลดหย่อนภาษีหรือการตรวจสอบจากหน่วยงานรัฐ
- มีภาระการดูแลรักษา และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แม้จะสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ แต่บริษัทต้องรับผิดชอบในเรื่องของค่าซ่อมบำรุง ค่าประกันภัย และค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินได้
- มีขั้นตอนในการซื้อ และเอกสารที่ค่อนข้างซับซ้อน การซื้อรถยนต์ในนามบริษัทมีขั้นตอนทางกฎหมาย และเอกสารมากกว่าการซื้อในนามบุคคลธรรมดา เช่น การจัดเตรียมหนังสือรับรองบริษัท รายงานงบการเงิน และเอกสารภาษีต่าง ๆ
- ภาระค่าใช้จ่ายเมื่อรถหมดอายุการใช้งาน แม้จะสามารถหักค่าเสื่อมราคาได้ แต่เมื่อรถหมดอายุการใช้งาน หรือไม่คุ้มค่าต่อการใช้งานแล้ว การขายรถออกไปอาจทำให้บริษัทต้องแบกรับผลจากขาดทุน หรือรายได้ที่เกิดจากการขายนั้น อีกทั้งยังมีผลต่อการคำนวณภาษีในภายหลัง
- ภาระผูกพันด้านภาษีและการเงินในระยะยาว การซื้อรถผ่านไฟแนนซ์ในนามบริษัททำให้เกิดภาระในการผ่อนชำระระยะยาว ซึ่งต้องวางแผน และคำนวณให้รอบคอบเพื่อไม่ให้กระทบต่อกระแสเงินสดของบริษัท
เมื่อทราบทั้งข้อดี และข้อเสียของการซื้อรถยนต์ในนามบริษัทกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องทำก็คือการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย รวมถึงสำรวจว่าบริษัทของเราจำเป็นต้องมีรถบริษัทหรือไม่ มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน หากซื้อในนามบริษัทจะส่งผลดีหรือผลเสียต่อบริษัทมากกว่ากันก่อนตัดสินใจ เพื่อให้การซื้อรถบริษัทครั้งนี้เป็นการซื้อที่ให้ประโยชน์สูงสุดนั่นเอง
การซื้อรถยนต์ในนามบริษัท เหมาะกับใคร ?
- เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการ ผู้ที่ต้องใช้รถยนต์ในการดำเนินธุรกิจ เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับการขนส่ง การส่งสินค้า หรือการให้บริการลูกค้า จะได้รับประโยชน์จากการซื้อรถในนามของบริษัท ทั้งในด้านการหักค่าใช้จ่าย และการจัดการภาษี
- บริษัทที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคล บริษัทที่ต้องการแยกทรัพย์สินของบริษัทออกจากทรัพย์สินส่วนตัว การซื้อรถในนามบริษัทช่วยให้การจัดการทรัพย์สินชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้น ลดความเสี่ยงจากการใช้ทรัพย์สินร่วมกัน
- องค์กรที่มีค่าใช้จ่ายทางด้านการเดินทางสูง สำหรับองค์กรที่ต้องเดินทางบ่อย เช่น การเยี่ยมลูกค้า การประชุม หรือการสำรวจพื้นที่ รถที่ซื้อในนามบริษัทสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านภาษี และเพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุนได้
- ผู้ประกอบการที่ต้องการสิทธิประโยชน์ทางภาษี ธุรกิจที่มีรายได้สูง และต้องการลดหย่อนภาษี การซื้อรถของในนามบริษัทสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าซ่อมบำรุง และค่าน้ำมัน มาหักลดหย่อนภาษีได้
- ธุรกิจที่ต้องการเสริมสร้างภาพลักษณ์ การใช้รถในนามบริษัทช่วยเสริมภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพและความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร โดยเฉพาะในธุรกิจที่ต้องพบปะลูกค้าเป็นประจำ
ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลซึ่งผู้ที่มีความคิดที่จะซื้อรถในนามบริษัทควรทราบกันไว้ ที่สำคัญไม่ว่าจะทำการซื้อรถในนามบริษัทหรือไม่ เมื่อมีรถในครอบครองก็ควรที่จะต่อประกันรถยนต์ กับ แรบบิท แคร์ เอาไว้ ดูแลครอบคลุมเรื่องรถให้คุณอุ่นใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันบนท้องถนนที่เราอาจหลีดเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง
สรุป
การซื้อรถยนต์ในนามบริษัทเป็นกระบวนการที่มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป โดยข้อดีหลัก ๆ ได้แก่ การลดหย่อนภาษี การหักค่าเสื่อมราคา และการแยกทรัพย์สินบริษัทออกจากทรัพย์สินส่วนตัว แต่มีข้อเสียเช่น การจำกัดการใช้งานรถในกิจการบริษัท ค่าใช้จ่ายและการดูแลเพิ่มเติม รวมถึงขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าการซื้อในนามบุคคลธรรมดา ผู้ซื้อจำเป็นต้องเตรียมเอกสารสำคัญ เช่น หนังสือรับรองบริษัท งบการเงิน และทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการซื้อผ่านไฟแนนซ์ในนามบริษัท ผู้ประกอบการควรดำเนินกิจการมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี ทั้งนี้ การซื้อรถในนามบริษัทเหมาะสำหรับธุรกิจที่มีค่าใช้จ่ายการเดินทางสูงหรือผู้ที่ต้องการสิทธิประโยชน์ทางภาษี อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจควรชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียให้รอบคอบและพิจารณาความจำเป็นในการใช้งานเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนดังกล่าว
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology