SPAC คืออะไร มีบทบาทในการลงทุนอย่างไร?
หากพูดถึงการลงทุนที่ให้นักลงทุนเข้าไปเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาก็คงจะไม่มีอะไรมาแรงไปกว่าการลงทุนแบบหุ้น IPO ที่เป็นเหมือนการเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทให้แก่นักลงทุน ซึ่งบริษัทก็จะนำเงินทุนไปสร้างสรรค์ธุรกิจให้ได้ผลตอบแทนที่ดี ซึ่งนับว่าเป็นการระดมทนรูปแบบหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว การลงทุนกับ SPAC ที่นับว่าป็นการระดมทุนเช่นกันนั้นก็กำลังมีกระแสได้รับความนิยมมาแรงไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากข้อมูลของ SPAC inside ระบุในปี 2019 SPAC สามารถระดมทุนได้สูงถึง 13.6 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ statista.com ยังระบุว่า SPAC สามารถเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนใน 163 IPOs ได้ภายใน 1 ปี
SPAC คืออะไร?
SPAC คือบริษัทที่ไม่มีสินทรัพย์หรือการดำเนินงานแน่ชัด แต่จะใช้เป็นองค์ประกอบของการประกอบธุรกิจ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีชื่อเต็มว่า Special Purpose Acquisition Company โดยวัตถุประสงค์ของ SPAC คือ เพื่อระดมทุนจากนักลงทุน เพื่อนำไปซื้อหุ้นและเข้าซื้อกิจการในบริษัทเอกชนอื่นๆ นอกตลาดหลักทรัพย์ และทำให้บริษัทนั้นๆ สามารถเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้โดยไม่ผ่านวิธีการ IPO (Initial Public Offering) ซึ่งหากอ้างอิงตาม SEC แล้ว SPAC จะต้องระดมทุนเพื่อการควบรวมในระยะเวลาจำกัดตามที่กำหนด โดยทั่วไปคือ 2 ปี ในการค้นหาธุรกิจและเจรจาตกลงเพื่อควบรวมหรือเข้าซื้อกิจการให้แล้วเสร็จ
หลักการเบื้องต้นของ Special Purpose Acquisition Company?
- 1. บริษัทจะถูดจัดตั้งด้วยเงินทุนของผู้ก่อตั้ง (SPAC sponsor) ส่วนหนึ่ง ซึ่งส่วนนี้จะเป็นการถือหุ้นโดยผู้ก่อตั้งประมาณ 20%
- 2. 80% ที่เหลือ จะถูกเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินระดมทุน
- 3. หลังจากนั้นเงินที่ได้มาจะถูกเก็บไว้ในบัญชีดูแลผลประโยชน์ ที่สามารถแบ่งไปลงทุนกับตราสารความเสี่ยงต่ำได้ และอีก 10% จะจะถูกใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
- 4. หลังจากระดมทุนเสร็จแล้ว SPAC sponsor จะต้องหาบริษัทหรือกิจการที่น่าสนใจ และไม่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเข้าเจรจา สำหรับการดำเนินการซื้อหรือควบรวมให้เสร็จภายระยะเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปไม่เกิน 2 ปี
- 5. เมื่อได้บริษัทเป้าหมายแล้ว จะมีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อขออนุมัติการซื้อหรือควบรวม หากที่ประชุมมีมิอนุมัติ SPAC ก็จะดำเนินการเข้าซื้อต่อไป แต่สำหรับคนที่ออกเสียงค้าน ก็สามารถนำหุ้น มาขายคืนได้
ข้อดีของ SPAC มีอะไรบ้าง?
- 1. ใช้เวลาในการดำเนินการน้อย ประมาณ 6 เดือนขึ้นอยู่กับความพร้อมของบริษัท
- 2. มีการกำหนดราคาขายชัดเจน ซึ่งบริษัทเป้าหมายสามารถต่อรองกับบริษัทได้
- 3. มีความผันผวนน้อยกว่าการ IPO เนื่องจากไม่ได้อ้างอิงจากตลาดเป็นหลัก
- 4. เพิ่มแรงจูงใจในการเข้าสู่ตลาดสำหรับธุรกิจใหม่ๆ ที่มีเทคโนโลยีที่น่าสนใจแต่ยังทุนน้อย
ข้อจำกัดของ SPAC คืออะไรบ้าง?
- 1. ถูกจำกัดด้วยระยะเวลาในการเข้าเจรจาปิดดีลของการเข้าซื้อควบรวม ที่ต้องทำให้สำเร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ที่ 2 ปี
- 2. ค่าใช้จ่ายในการเสนอขาย SPAC มีราคาที่สูงกว่า
- 3. ในมุมมองของบริษัทเอกชน อาจจะมีความเสี่ยงในการประเมินบริษัท SPAC เนื่องมาจากชื่อเสียงของ SPAC spnsor
ตัวอย่างบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ในอเมริกาด้วยวิธีการควบรวมกับบริษัท SPAC?
- Paysafe บริษัทผู้ให้บริการ online payment จากบริษัท SPAC ที่ชื่อ Foley Trasimene Acquisition II (จดทะเบียนใน NYSE)
- Luminar technologies บริษัทผู้ผลิต LIDAR sensors ใช้ใน self-driving car โดยบริษัท SPAC Gores Metropoulos Inc. (จดทะเบียนใน NASDAQ)
- Virgin Galactic บริษัทให้บริการท่องเที่ยวอวกาศเชิงพาณิชย์ โดยบริษัท SPAC Social Capital Hedosophia (จดทะเบียนใน NYSE)
และถึงแม้ว่าการระดมทุนเพื่อการเข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วยวิธี SPAC ยังคงใหม่มากสำหรับประเทศไทย แต่ความน่าสนใจ และระยะเวลาที่ใช้น้อยลง ก็เป็นแรงดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาร่วมลงทุนได้ดีไม่น้อย ซึ่งเป็นการมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชนที่อยากจะเป็นบริษัทมหาชน ได้มีโอกาสต่อรองราคาเพื่อขายให้แก่ SPAC ได้ เรียกได้ว่าได้ประโยชน์ทั้งนักลงทุน และเจ้าของกิจการกันเลยทีเดียว
สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ