การ Retention คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร?
สำหรับใครที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ ก็คงจะต้องพอทราบกันมาบ้างว่าในเรื่องของดอกเบี้ยนั้นจะแตกต่างกันไปตามระยะเวลา โดยที่ดอกเบี้ยในช่วง 3 ปีแรกของการผ่อนนั้นจะอยู่ในลักษณะของดอกเบี้ยคงที่ (MRR) และหลังจากนั้นจะเข้าสู่ภาวะดอกเบี้ยลอยตัว (MLR) เพราะฉะนั้นผู้คนส่วนมากจึงมักจะทำเรื่องยื่นขอปรับลดอัตราดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นวิธีการ Refinance หรือ Retention ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ก็จะมีข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกันไป เพื่อช่วยลดภาระยอดผ่อนในแต่ละเดือนที่จะเพิ่มมากขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง
Retention คืออะไร?
เว็บไซต์ moneybuffalo ได้พูดถึงความหมายของคำว่า Retention ว่าเป็นการยื่นเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิม โดยที่เรานั้นได้มีการผ่อนบ้านครบ 3 ปีในอัตราดอกเบี้ยคงที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเราสามารถเดินเข้าไปยื่นเรื่องกับทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินได้เลย และการทำ Retention นั้นจะไม่ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่มากขึ้นเหมือนกับการไปยื่นเรื่องขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ แต่ว่าการทำ Retention นั้นจะช่วยลดขั้นตอน ลดความยุ่งยาก และไม่ต้องเสียเวลาคำนวณเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นั่นเอง ดังนั้นการขออนุมัติ retention ก็จะเร็วกว่าการขอรีไฟแนนซ์เป็นอย่างมาก โดยจะใช้ระยะเวลาในการขออนุมัติสินเชื่อประมาณ 7 วันจึงจะรู้ผล เพราะที่ธนาคารเดิมนั้นมีข้อมูลของเราอยู่แล้ว จึงไม่ต้องเสียเวลาในการตรวจสอบเอกสาร หรือตรวจสอบประวัติผู้กู้ใหม่อีกรอบ
Refinance คืออะไร?
การรีไฟแนนซ์ก็จะเป็นการยื่นเรื่องขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น เมื่อเรามีการผ่อนชำระบ้านหรือคอนโดมาแล้ว 3 ปี ซึ่งก็จะช่วยลดภาระยอดผ่อนต่อเดือนลงไปได้มาก โดยเราสามารถเลือกยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์กับธนาคารที่ให้ข้อเสนอปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ถูกใจเราได้เลย จึงมีโอกาสเลือกอัตราดอกเบี้ยที่หลากหลายมากกว่า แต่ก็จะต้องมีการเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมด และตรวจเครดิตบูโรใหม่อีกครั้ง เพื่อส่งเรื่องให้ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินพิจารณาผลคำขออนุมัติใหม่อีกรอบ จึงจะไม่เหมือนกับการขอ Retention ที่จะไม่ต้องตรวจเครดิตบูโรใหม่ เพราะยังจะเป็นการขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมที่มีข้อมูลของเราอยู่แล้วนั่นเอง ดังนั้นก็จะขึ้นอยู่กับผู้กู้อีกครั้งว่าสะดวกแบบไหน เมื่อคำนวณแล้วแบบใดคุ้มค่ามากกว่ากัน
MLR และ MRR คืออะไร?
MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ทางธนาคารกำหนดไว้เรียกเก็บลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีที่มีประวัติการเงินดี โดยจะใช้กับเงินกู้ที่มีระยะยาว เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ เป็นต้น
ส่วน MRR (Minimum Retail Rate) คืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ทางธนาคารจะเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีที่ไม่มีประวัติเสียทางด้านการเงิน เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น
วิธีการขอ Retention มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
- 1. เตรียมเอกสารที่จะใช้ยื่นเรื่องกับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินให้ครบถ้วน
- 2. ยื่นเรื่องกับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ขอสินเชื่ออยู่ในปัจจุบันโดยตรงได้เลย
- 3. เตรียมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้พร้อม
- 4. รอทางธนาคารหรือสถาบันการเงินอนุมัติคำขอพิจารณา
และเมื่อยื่นเอกสารครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินจะใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 7 วัน หลังจากนั้นจะมีการเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 1-2% ของวงเงินกู้
ยกตัวอย่างการยื่นขอ Retention
ยื่นขอ Retention ในวงเงินกู้ 1,000,000 บาท บวกกับค่าธรรมเนียม 1.25%
ค่าธรรมเนียม = (1,000,000 x 1.25) ÷ 100
= 12,500 บาท
การรีเทนชั่นใช้เอกสารอะไรบ้าง?
การ Retention นั้นมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก เพราะเป็นการยื่นเอกสารกับธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิม ดังนั้นธนาคารจึงจะยังมีเอกสารของเราอยู่แล้ว จึงไม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรเพิ่มเติมมากมาย ดังนี้
- 1. สัญญาเงินกู้ หรือสัญญาในการกู้เงินซื้อบ้านกับธนาคารเดิม
- 2. ทะเบียนบ้านตัวจริงและสำเนาของตัวผู้กู้
- 3. บัตรประชาชนตัวจริงและสำเนาของตัวผู้กู้
Retention กับ Refinance ต่างกันอย่างไร?
Retention | Refinance |
ใช้ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิม | ใช้ธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ |
สามารถใช้เอกสารเดิมได้ | ต้องเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมด |
ใช้เวลาพิจารณาอนุมัติเร็วกว่า ประมาณ 7 วันทำการ | ใช้เวลาพิจารณานานกว่า เหมือนตอนยื่นกู้ใหม่ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ |
ค่าธรรมเนียมประมาณ 1-2% | ค่าธรรมเนียมมากกว่า |
อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า Refinance | อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า Retention |
ไม่ต้องตรวจเช็กเครดิตบูโรใหม่ | ต้องตรวจเช็กเครดิตบูโรใหม่ |
ดอกเบี้ยจะลดลงประมาณ 0.2 - 0.5% เท่านั้น | ดอกเบี้ยจะลดลงประมาณ 1 - 2% เท่านั้น |
ควรเลือกแบบไหนดีระหว่าง Retention หรือ Refinance?
อันดับแรกแนะนำให้พิจารณาถึงเครดิตทางการเงินของเราก่อนว่าในตอนนี้มีสถานะเป็นอย่างไร หรือตรวจเช็กเครดิตบูโรว่าตอนนี้เรามีสถานะทางการเงินเป็นอย่างไรบ้าง เพราะถ้าหากว่าตอนนี้เครดิตทางการเงินของเรายังดีอยู่ และไม่ได้มีอะไรที่ผิดปกติหรือไม่ได้มีหนี้สินอะไรเพิ่มเติมเข้ามา การเลือกทำ Refinance ก็จะมีข้อดีมากกว่า แต่ถ้าหากว่าเรามีภาระหนี้สินที่เพิ่มเข้ามา การเลือกทำ Retention ก็จะมีข้อดีตรงที่ไม่ต้องตรวจสถานะทางการเงินใหม่นั่นเอง
ต่อมาให้พิจารณาในเรื่องของยอดผ่อนบ้านที่เหลือ หากมียอดผ่อนชำระต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท หรือใกล้ผ่อนจนครบยอดกู้แล้ว แบบนี้การเลือกทำ Retention ก็จะสะดวกสบายมากกว่าทั้งในด้านของเอกสาร ระยะเวลาในการอนุมัติ และค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าการทำรีไฟแนนซ์เป็นอย่างมาก เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้วก็จะพบว่าคุ้มค่ามากกว่านั่นเอง แต่ถ้าหากว่าผู้กู้ยังมียอดผ่อนบ้านที่เหลือมากกว่าหนึ่งล้านบาท ก็แนะนำว่าให้เลือกทำ Refinance ไปเลยจะคุ้มค่ามากกว่า เมื่อคำนวณจากค่าธรรมเนียมที่ต้องเสีย รวมไปถึงการจัดเตรียมเอกสารเพื่อขอยื่นกู้ใหม่ เพราะว่าผู้กู้จะสามารถเลือกธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ยื่นข้อเสนออัตราดอกเบี้ยที่ลดลงได้นั่นเอง
ข้อดีและข้อเสียของ Retention มีอะไรบ้าง?
ข้อดีของ Retention
- ใช้ระยะเวลาในการอนุมัติเร็ว
- มีค่าใช้จ่ายเพียงแค่ในส่วนของค่าธรรมเนียมสินเชื่อ 1-2 % ของวงเงินที่กู้
- ไม่ต้องเสียเวลายื่นและตรวจสอบเอกสารใหม่
- ไม่ต้องเสียเวลาตรวจสอบประวัติผู้กู้ใหม่
ข้อเสียของ Retention
- ได้อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงไม่มากนัก
สรุปแล้ว Retention เหมาะกับใคร?
- 1. เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้อัตราดอกเบี้ยลดน้อยลง เพื่อแบ่งเบาภาระยอดผ่อนในแต่ละเดือน
- 2. เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความรวดเร็ว น้อยขั้นตอน และไม่ยุ่งยาก
- 3. เหมาะสำหรับผู้ที่สามารถยอมรับอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ทางธนาคารเสนอให้ได้
- 4. เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่อยากมีค่าใช้จ่ายในการขอสินเชื่อใหม่ที่เยอะเกินไป
การ Retention สามารถทำได้กี่ครั้ง?
ถ้าหากว่าผู้กู้มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ทางธนาคารก็จะพิจารณาให้สามารถยื่นขอ Retention ได้ทุก 3 ปีตามปกติ แต่ถ้าหากว่าวงเงินกู้คงเหลือต่ำกว่า 1,000,000 บาท ก็อาจจะยื่นขอลดอัตราดอกเบี้ย Retention ไม่ได้ แนะนำให้ลองสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางธนาคารโดยตรง
โปรแกรมคำนวณรีไฟแนนซ์กับแรบบิท แคร์ ทำอย่างไร?
โดยปกติแล้วถ้าเราจะคำนวณรีไฟแนนซ์จากสูตรก็จะพบถึงความยุ่งยากมากมาย แต่ที่แรบบิท แคร์ นั้นได้มองเห็นถึงความสำคัญในการอำนวยความสะดวกสบายแก่ลูกค้าด้วยโปรแกรมคำนวณรีไฟแนนซ์ เพียงแค่ใส่ข้อมูลก็จะรู้ผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็วทันใจ จึงทำให้ช่วยประหยัดเวลา และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นในการคำนวณ ส่วนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการคำนวณรีไฟแนนซ์นั้น หลัก ๆ ก็จะใช้ค่าประเมินราคา (อยู่ที่ประมาณ 2,000-3,000 บาท) ค่าจดจำนอง (ปกติ 1% ของวงเงินที่กู้ใหม่) ค่าอากรแสตมป์ (0.05% ของวงเงินที่กู้ใหม่) และค่าปรับในกรณีที่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของในแต่ละธนาคาร)
ยื่นขอสินเชื่อบ้านกับแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
นอกจากแรบบิท แคร์ จะมีสินเชื่อที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อกู้บ้าน สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน หรือสินเชื่อบ้านแลกเงิน ก็ยังมีบริการให้คำปรึกษาเสมือนเป็นผู้ช่วยส่วนตัวให้กับคุณ โดยที่คุณนั้นสามารถขอรับฟังข้อเสนอสุดพิเศษ หรือขอรับคำปรึกษาเรื่องสินเชื่อได้ที่ Care Center เบอร์ 1483 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือขอสมัครสินเชื่อบ้านผ่านหน้าเว็บไซต์ของแรบบิท แคร์