เพลาลูกเบี้ยวคืออะไร ? หากไม่ดูแล จะส่งผลอย่างไรต่อเครื่องยนต์ ?
แม้รถ หรือมอเตอร์ไซค์ จะเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตสำหรับสังคม หลาย ๆ คนขับรถทุกวัน แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจเรื่องการทำงานของเครื่องยนต์รถ พอรถเกิดปัญหา สุดท้ายก็จะต้องไปเสียเงินเยอะ ๆ ในการซ่อม หรือขับขี่แล้วเพิกเฉยต่อสภาพเครื่องยนต์รถจนปัญหาเล็ก ๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ และเสี่ยงอันตรายอีกด้วย ฉะนั้นวันนี้แรบบิท แคร์ อยากพูดเรื่องเพลาลูกเบี้ยว หนึ่งในส่วนสำคัญของเครื่องยนต์ ที่หลาย ๆ คนมักมองข้าม อ่านต่อกันเลย
เพลาลูกเบี้ยว คืออะไร ?
เพลาลูกเบี้ยว (camshaft) คือส่วนประกอบสำคัญในเครื่องยนต์ของทั้งรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์ ทำหน้าที่ควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วทั้งฝั่งไอดีและไอเสียสลับกันไป อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ที่สุดคือเพลาลูกเบี้ยวทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเพลา กับวาล์ว เพื่อทำให้เครื่องยนต์รถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ทำงานได้ต่อไป
เพลาลูกเบี้ยว หน้าที่
เพลาหลัก (Camshaft Sprocket) ที่จะหมุนร่วมกันกับ เพลารอง (Crankshaft Sprocket) โดยจะทำงานไปด้วยกันภายใต้โซ่ราวลิ้น (Timing Chain) ลักษณะคล้าย ๆ จักรยาน ซึ่งหลังจากโซ่หมุน จึงขยับเพลาลูกเบี้ยวในลักษณะขึ้นลง โดยเพลาลูกเบี้ยวจะเชื่อมกับก้านกระทุ้ง (push rod) ซึ่งเป็นตัวการทำให้วาล์วไอดี ไอเสีย เปิดปิด และเครื่องยนต์ทำงานได้ตามปกติ ฉะนั้นเพลาลูกเบี้ยว จะต้องเป็นส่วนที่มีการหล่อลื่นอยู่ตลอดเวลา เพราะหากติดขัดจะทำให้ระบบเครื่องยนต์ผิดพลาดติดขัดทั้งหมด
ซึ่งเพลาลูกเบี้ยวในเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ OHC, SOHC และ DOHC หมุนได้โดยอาศัยแรงหมุนจากเพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft) ผ่านตัวกลางอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 รูปแบบ ได้แก่
- เฟืองราวลิ้น (Timing gear)
- โซ่ราวลิ้น (Timing chain)
- สายพานราวลิ้น (Timing belt)
สัญญาณเตือนว่าเพลาลูกเบี้ยวกำลังมีปัญหา
• ไฟรูปเครื่องยนต์โชว์
ส่วนมากเมื่อเพลาลูกเบี้ยว หรือส่วนสำคัญ ๆ ของเครื่องยนต์มีปัญหา จะมีไฟแดงขึ้นแสดงบนหน้าปัดรถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ ซึ่งหากมีไฟขึ้นให้นำรถไปเช็กอาการ และจัดการให้เรียบร้อยจนไฟที่หน้าปัดหายไป
• เครื่องยนต์ขัดข้อง สตาร์ทไม่ติด
เครื่องยนต์เริ่มมีปัญหาในการทำงานบ่อยครั้ง ทำงานแล้วขัดข้อง ติด ๆ ดับ ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าเพลาลูกเบี้ยวมีปัญหา โดยปัญหาที่เจอบ่อยที่สุดคือเพลาลูกเบี้ยวฝืด ขาดการหล่อลื่น หรือนำมันไม่ดีทิ้งคราบไว้เยอะเกินไป ทำให้วาล์วปิดเปิดทำงานไม่ได้ดีเหมือนเคย
• เสียงดัง
สัญญาณแรก ๆ ที่สามารถสังเกตได้ง่ายที่สุดโดยเฉพาะสำหรับผู้ขับรถเป็นประจำคือเมื่อขับขี่จะเกิดเสียงดัง ลักษณะคล้ายเสียงคลิก เสียงเคาะ โดยจะเป็นเสียงที่มีความสม่ำเสมอ คล้ายลักษณะการหมุน ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเพลาลูกเบี้ยวเกา หรือน้ำมันหล่อลื่นมีปัญหา หรือมีส่วนหนึ่งภาพในเพลา และวาล์วมีปัญหาเสริมแทรกเข้ามากด้วย
• เร่งเครื่องไม่ติด
เริ่มรู้สึกว่าเครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้น หรือลดความเร็วได้ช้ากว่าปกติ กล่าวคือควบคุมรถยนต์ได้ยากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่อันตรายมาก ๆ สามารถนำไปสู่อุบัติเหตุได้ ฉะนั้นหากเกิดขึ้นแล้วควรนำไปซ่อมโดยช่างมืออาชีพโดยด่วน
• ควบคุมรถได้ยากขึ้น
เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่อันตรายมาก โดยอาจเริ่มรู้สึกว่ารถพวงมาลัยหนัก หากเป็นมอเตอร์ไซค์ จะรู้สึกว่าเลี้ยวไม่ค่อยไป ขับขี่ได้ยากมากขึ้น แสดงว่าปัญหาสามารถเกิดได้ที่เพลาลูกเบี้ยว และวาล์วเปิดปิด
ควรเปลี่ยนเพลาลูกเบี้ยวเมื่อไหร่
ระยะเวลาในการเปลี่ยนเพลาลูกเบี้ยวทั่วไปอาจแตกต่างขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ยี่ห้อและโมเดลของรถจักรยานยนต์ เครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ และคำแนะนำจากผู้ผลิต โดยทั่วไปถูกออกแบบให้ทนทานและให้การใช้งานในระยะยาว
ในส่วนมากไม่ต้องการการเปลี่ยนเพลาเพื่อซ่อมบำรุงเป็นระยะหนึ่งในการบำรุงรักษาทั่วไป อย่างไรก็ตามหากคุณพบอาการที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ เช่น การเผลาะหน้าเครื่องยนต์ เสียงดังที่ไม่ธรรมดา เสียกำลังและความเร่งลดลง หรือการยืดหยุ่นไม่สม่ำเสมอ จะเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องส่งเพลาลูกเบี้ยวไปตรวจสอบกับช่างที่มีความรู้และความชำนาญ
หากพบว่าเพลามีความเสียหาย สึก สามารถแสดงอาการถูกทดแทน หรือมีปัญหาสำคัญ คุณจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ ระยะเวลาที่เหมาะสมจึงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงและคำแนะนำจากช่างหรือผู้ผลิต
สำหรับการดูแลบำรุงรักษารถจักรยานยนต์ของคุณ คุณควรปฏิบัติตามตารางการบำรุงรักษาที่ผู้ผลิตกำหนด และอ่านคู่มือเจ้าของรถเพื่อดูข้อมูลแนะนำเฉพาะเรื่องการตรวจสอบหรือเปลี่ยน การบำรุงรักษาที่สม่ำเสมอ เช่น เปลี่ยนน้ํามันเครื่องมอไซค์และการให้เกลือสารเคลือบเคลิ้มอย่างถูกต้อง สามารถช่วยให้เพลาและส่วนประกอบเครื่องยนต์อื่น ๆ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
เพลาลูกเบี้ยวเสีย ประกันรับเคลมรึเปล่า ?
ต้องพิจารณาเสียก่อนว่าเพลาลูกเบี้ยว เสียเองจากการใช้งานอย่างหนัก แล้วไม่ได้รับการดูแล หรือเสียหายจากการเฉี่ยวชน ซึ่งหากเป็นกรณีการเสียหายจากการใช้งานอย่าง แล้วเครื่องยนต์เสียหายตามกาลเวลา ประกันไม่ว่าจะชั้นไหนจะไม่รับเคลม แต่หากเป็นการเสียหายจากการชน อุบัติเหตุ ทั้งแบบไม่มีคู่กรณี และมีคู่กรณี ประกันสามารถเคลมได้ขึ้นอยู่กับระดับชั้นของประกัน
ประกันชั้น 1
คือคุ้มครองสูงสุดและครอบคลุมมากที่สุด เหมาะกับ
- รถป้ายแดงที่เพิ่งออกมาที่ต้องการการคุ้มครองดูแลที่ครอบคลุม แล้วอยากให้รถดูใหม่เหมือนเพิ่งออกมาจากศูนย์ เพราะประกันภัยชั้น 1 มีความคุ้มครองสูงสุด หรือรถที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี
- ผู้ที่ยังขับรถไม่ค่อยแข็ง เพราะอาจจะเฉี่ยว ชน ได้ง่ายกว่า แบบทั้งมีคู่กรณี และไม่มีคู่กรณี
- ผู้ที่ขับรถเร็ว
- ผู้ที่ต้องใช้รถบ่อย ๆ
- รถที่ต้องขับทางไกล ออกต่างจังหวัดบ่อย ๆ เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นแม้ว่าจะขับรถแข็ง และชำนาญทางแล้วก็ตาม อีกทั้งยังคุ้มครองกรณีรถหาย ไฟไหม้ หรือภัยธรรมชาติอีกด้วย
ประกันชั้น 2+ / 3+
ใกล้เคียงกับชั้น 1 แต่คุ้มครองเฉพาะคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น เหมาะกับ
- รถที่ไม่ค่อยได้ใช้งานมาก เพราะให้ประหยัดค่าเบี้ย
- หากต้องจอดในที่ ๆ ไม่ได้มีการรักษาความปลอดภัยมากนัก ขอแนะนำให้ทำแบบ 2+
- แต่ถ้าที่จอดรถของคุณมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี รถไม่มีความเสี่ยงไฟไหม้ ก็ทำแค่ 3+ ก็ได้
- รถมีอายุเกิน 7 ปี
ประกันชั้น 2 / 3
จะคุ้มครองเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น ส่วนรถคุณก็ต้องซ่อมเอง เหมาะกับ
- คนที่ขับรถชำนาญ มีประสบการณ์ขับรถเยอะแล้ว มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขับรถไปชนคนอื่นน้อย
- อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะไม่หนัก
- รถมีอายุเกิน 7 ปี
มารู้จักเพลาลูกเบี้ยวเสร็จเรียบร้อย อย่าลืมทำให้ทุกการขับขี่ของคุณมีแต่ความปลอดภัย อุ่นใจ แรบบิท แคร์ อยากแนะนำประกันมอเตอร์ไซค์ คุ้มครองครบครัน มีประกันครบทุกชั้น คลิกเลย!
ความคุ้มครองประกันรถจักรยานยนต์
ตารางความคุ้มครอง | ผลประโยชน์ | ||||
ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 1 | ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 2+ | ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 2 | ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 3+ | ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 3 | |
คู่กรณี | |||||
บุคคล | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
ทรัพย์สินของคู่กรณี | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
รถของผู้เอาประกันภัย | |||||
การชนแบบมีคู่กรณี | ✔️ | ✔️ | ❌ | ✔️ | ❌ |
การชนแบบไม่มีคู่กรณี | ✔️ | ❌ | ❌ | ❌ | ❌ |
ไฟไหม้ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ❌ | ❌ |
รถหาย | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ❌ | ❌ |
ภัยธรรมชาติ | ✔️ | ✔️ | ❌ | ✔️ | ❌ |
ช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมง | ✔️ | ✔️ | ❌ | ❌ | ❌ |
ความคุ้มครองชีวิตจากอุบัติเหตุส่วนบุคคล | |||||
อุบัติเหตุส่วนบุคคล | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
การรักษาพยาบาล | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
การประกันตัวผู้ขับขี่ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |