Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

เกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ไม่มีพรบ รับมืออย่างไร ประกันคุ้มครองไหม

เกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ไม่มีพรบ ทำอย่างไรดี? รถมอเตอร์ไซค์ ไม่มีพรบ ใครรับผิดชอบ? หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่าเมื่อรถจักรยานยนต์ของตนไม่มีพรบ หากเกิดอุบัติเหตุจะทำอย่างไรได้บ้าง จะต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเองหรือไม่? แล้วหากคู่กรณี ไม่มี พ ร บ รถจักรยานยนต์ เหมือนกันกับเรา จะทำอย่างไรได้บ้าง? แรบบิท แคร์ มีคำตอบ

รถชนกับคู่กรณี ไม่มี พ ร บ รถจักรยานยนต์ ทำอย่างไรได้บ้าง

หากคู่กรณี ไม่มี พ ร บ รถจักรยานยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ จะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้อย่างไร? คำตอบก็คือ หากคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด แล้วไม่มี พ ร บ ก็จะยังได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ของเราอยู่ โดยได้เงินชดเชยจาก พ ร บ และกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถก็จะไปเรียกเก็บกับคู่กรณีของเราที่ไม่มี พ.ร.บ. โดยบวกเงินเพิ่มอีก 20% พร้อมด้วยค่าปรับที่นำรถจักรยานยนต์ไม่มี พ.ร.บ. มาใช้ เป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท

แต่หากคู่กรณี ไม่มี พ ร บ รถจักรยานยนต์ แต่เป็นฝ่ายถูก โดยที่เรามี พ.ร.บ. คู่กรณีก็ยังจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ของเราอยู่ในฐานะผู้ประสบภัย สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

รถชน ไม่มี พรบ ทั้งคู่ ทำอย่างไรดี

เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ไม่มีพรบ ทั้งคู่ สามารถเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดได้ก่อน แต่หากอีกฝ่ายไม่จ่าย หรือพยายามยืดเยื้อ จ่ายช้า หรือจ่ายไม่ครบ สามารถใช้สิทธิเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

รถมอเตอร์ไซค์ ไม่มีพรบ เกิดอุบัติเหตุแต่เป็นฝ่ายถูก เรียกร้องค่าเสียหายได้ไหม

เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วรถมอเตอร์ไซค์ ไม่มีพรบ เป็นฝ่ายถูก อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้จากพ.ร.บ. ของอีกฝ่ายที่เป็นคู่กรณีของเรา ใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ แต่ต้องรอให้ทราบผลการตัดสินถูกผิดก่อน และในระหว่างนั้นก็จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองไปก่อน

รถมอเตอร์ไซค์ ไม่มีพรบ เสียสิทธิ์คุ้มครองอะไรบ้าง เมื่อเกิดอุบัติเหตุ

รถมอเตอร์ไซค์ ไม่มีพรบ เสียสิทธิ์คุ้มครองอะไรบ้าง หากเกิดอุบัติเหตุ…

อย่างที่ทราบกันดีว่า หากเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ไม่มีพรบ จะก่อให้เกิดความเสียเปรียบในเรื่องของความคุ้มครอง และในทางกฎหมาย ก็ยังนับว่าผิดกฎหมายอีกด้วย หากขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ ไม่มีพรบ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของรถหรือไม่ ก็ถือว่าผิดกฎหมายทั้งสิ้น โดยจะมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท และเมื่อไม่มีพรบ ก็จะทำให้ต่อภาษีรถไม่ได้ ซึ่งส่งผลให้ต้องจ่ายค่าปรับเพิ่มขึ้น และหากถูกจับเพราะป้ายวงกลม (ป้ายภาษี) หมดอายุก็จะต้องเสียค่าปรับ 400-1,000 บาท หรือหากจ่ายภาษีช้าก็จะต้องจ่ายค่าปรับอีก 1% และอาจทำให้ทะเบียนรถถูกระงับอีกด้วย และหากรถทะเบียนขาด ก็อาจส่งผลกับการเคลมประกันภาคสมัครใจ แม้ว่าจะเป็นประกันชั้น 1 ก็ตาม

ซึ่งหากขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ ไม่มีพรบ จะส่งผลให้เสียสิทธิ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • สิทธิ์ได้รับเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ.
    เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ไม่มีพรบ เราจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้คู่กรณีเองทั้งหมด แม้ว่าคู่กรณีจะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ก่อน แต่สุดท้ายแล้ว กองทุนก็จะมาเรียกเก็บค่าเสียหายกับเราในที่สุด ทั้งยังถูกบวกเงินเพิ่มอีก 20% ถูกเรียกเก็บค่าปรับที่ไม่ทำหรือขาดพ.ร.บ. รวมทั้งค่าปรับที่นำรถมอเตอร์ไซค์ ไม่มีพรบ มาใช้งานอีกไม่เกิน 10,000 บาท นอกจากนี้ ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลของเราเอง ก็ยังจะต้องจ่ายเองอีกด้วย
  • ไม่มีวงเงินดูแลในกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ
    เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ไม่มีพรบ หากเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ก็จะไม่ได้รับเงินชดเชย จนอาจเป็นภาระของครอบครัว
  • สิทธิ์ในการต่อภาษีรถยนต์
    เมื่อรถไม่มีพ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ จนอาจทำให้ต้องเสียค่าปรับ และถูกระงับทะเบียนรถในที่สุด
  • ถูกปรับ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
    เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ไม่มีพรบ นอกจากจะไม่ได้รับเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล และไม่มีเงินดูแลในกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพแล้ว ยังจะถูกปรับเป็นเงินจำนวนไม่เกิน 10,000 บาทอีกด้วย เพราะนำรถไม่มีพรบมาขับขี่นั้นผิดกฎหมาย

ประมาทร่วม คู่กรณี ไม่มี พ ร บ ใครต้องรับผิดชอบ เคลมประกันได้ไหม

หลังจากได้ทราบข้อมูลในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ไม่มีพรบ ไปแล้วเรียบร้อย มาดูกันที่กรณีประมาทร่วม คู่กรณี ไม่มี พ ร บ กันบ้างว่าจะมีหลักเกณฑ์การชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร

สำหรับกรณีประมาทร่วม คู่กรณี ไม่มี พ ร บ นั้น จะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายด้วยกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งประมาทร่วม หมายถึง ทั้งสองฝ่ายประมาท ทำผิดกฎจราจร จนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งหมายความว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความผิดของทั้งสองฝ่าย หากเป็นกรณีนี้ ทั้งสองฝ่ายจะแยกกันไปรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ โดยจะแบ่งเป็นกรณีต่าง ๆ ดังนี้

ประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บ

ก่อนที่จะไปดูในกรณี ประมาทร่วม คู่กรณี ไม่มี พ ร บ มาดูกันที่ประเด็นของการประมาทร่วม แล้วคู่กรณีบาดเจ็บกันก่อน เมื่อเกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ และเป็นการประมาทร่วม ประกันภาคสมัครใจ หรือประกันรถจักรยานยนต์ที่เราทำไว้ ก็จะช่วยชดเชยค่าเสียหาย หากเป็นประกันชั้น 1 จะดูแลความเสียหายได้ครอบคลุม ทั้งในส่วนของผู้ขับขี่ ทรัพย์สิน และบุคคลภายนอก แต่หากเป็นประกันชั้น 2+ หรือ 3+ ก็จะจ่ายค่าชดเชยให้ตามจริง

ประมาทร่วม คู่กรณีเสียชีวิต

อีกกรณีที่น่าสนใจ ก็คือ การประมาทร่วม แล้วคู่กรณีเสียชีวิต ประกันจะคุ้มครองได้มากน้อยเพียงใด คำตอบก็คือ หากคู่กรณีเสียชีวิตจะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ทั้งจากประกันรถจักรยานยนต์ และจาก พ.ร.บ. เลยนั่นเอง โดยพ.ร.บ. จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าปลงศพในจำนวน 35,000 บาท และจะมีเงินคุ้มครองกรณีเสียชีวิตอีก 300,000 บาท สำหรับในส่วนของประกันรถจักรยานยนต์ ก็จะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิดก็ตาม แต่หากเป็นกรณีประมาทร่วม แล้วมีบุคคลที่ 3 ซึ่งไม่มีส่วนร่วมกระทำความประมาทในครั้งนี้ เช่น ผู้ที่เดินเท้าได้รับบาดเจ็บ ทั้งสองฝ่ายก็จะต้องช่วยกันจ่ายค่าเสียหายให้กับบุคคลที่ 3 คนละครึ่ง

ประมาทร่วม คู่กรณี ไม่มี พ ร บ

หากในกรณีประมาทร่วม คู่กรณี ไม่มี พ ร บ สามารถเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ ซึ่งกองทุนก็จะช่วยจ่ายค่าเสียหายให้ก่อน แล้วจึงเรียกเก็บกับคู่กรณีในภายหลัง ซึ่งหมายความว่าหากเป็นการประมาทร่วม คู่กรณี ไม่มี พ ร บ ทางฝ่ายของคู่กรณีที่ไม่มี พ ร บ ก็จะต้องจ่ายค่าเสียหายด้วยตัวเองทั้งหมด

จะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ไม่มีพรบ จะส่งผลเสียต่อผู้ขับขี่เป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องรับผิดชอบค่าเสียหายของตนเองและคู่กรณีด้วยตัวเองทั้งหมด

พรบ รถจักรยานยนต์ คุ้มครองคู่กรณีไหม เบิกอะไรได้บ้าง

เมื่อคู่กรณี ไม่มี พ ร บ รถจักรยานยนต์ แต่เรามี แล้วคู่กรณีเป็นฝ่ายถูก ก็จะได้รับความคุ้มครองจากพ ร บ ของเราอยู่ แต่หากคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด ก็จะต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อให้นำมาชดใช้ให้กับอีกฝ่ายที่เป็นฝ่ายถูก

ซึ่งพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะคุ้มครองความเสียหายให้กับตัวผู้ขับขี่ เจ้าของรถจักรยานยนต์ และคู่กรณี รวมไปถึงผู้โดยสารทั้ง 2 ฝ่าย และบุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น โดยแบ่งความคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทน

ค่าเสียหายเบื้องต้น

ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร รวมถึงคู่กรณีสามารถเบิกเงินชดเชยจากพ.ร.บ. ได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด หรือหากเป็นอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถล้มเอง หรือขับชนสิ่งของ ก็สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้ โดยในกรณีบาดเจ็บ จะเบิกค่ารักษาได้ตามจริงไม่เกิน 30,000 บาท/คน กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ จะชดเชยในจำนวน 35,000 บาท/คน แต่หากเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะหลังได้รับการรักษา จะชดเชยในจำนวน 65,000 บาท/คน

ค่าสินไหมทดแทน

หากเกิดอุบัติเหตุแล้ว สามารถพิสูจน์ได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูก ฝ่ายนั้นจะได้รับทั้งเงินค่าเสียหายเบื้องต้น และเงินค่าสินไหมทดแทน โดยหากบาดเจ็บ จะได้ค่ารักษาพยาบาลตามจริง สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท/คน กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพสิ้นเชิง จะได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท/คน กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน จะชดเชย 250,000 บาท สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป จะชดเชย 500,000 บาท หรือหากสูญเสียนิ้วตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป จะชดเชย 200,000 บาท แต่หากนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) จะได้รับเงินชดเชย 200 บาท/วัน ไม่เกิน 20 วัน

รถไม่มีพรบ โดนชน เบิกค่ารักษาได้ไหม

รถไม่มีพรบ โดนชน เบิกค่ารักษาได้ไหม? อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ว่าหากคู่กรณี ไม่มี พ ร บ รถจักรยานยนต์ แล้วรถถูกชนได้รับความเสียหาย ก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้กับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย โดยจะได้รับเงินชดเชยจากพ ร บ ของอีกฝ่ายที่เป็นฝ่ายชนนั่นเอง

คู่กรณี ไม่มี พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ รถชนแล้วเสียชีวิต ต้องทำอย่างไร

หากคู่กรณี ไม่มี พ ร บ รถจักรยานยนต์ ถูกรถชนแล้วเสียชีวิต จะได้รับเงินชดเชยจาก พ ร บ ของอีกฝ่าย เป็นจำนวนเงินตามที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุโดยที่คู่กรณี ไม่มี พ ร บ รถจักรยานยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ ไม่มีพรบ แล้วเกิดอุบัติเหตุจนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หรือจะเป็นการประมาทร่วม คู่กรณี ไม่มี พ ร บ ก็ตาม เราก็จำเป็นจะต้องต่อ พ.ร.บ. ไม่ให้ขาด ซึ่งหากต่อ พ.ร.บ. กับแรบบิท แคร์ ก็จะได้ราคาดีกว่าการซื้อตรง หรือหากเป็นรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุชนกับรถจักรยานยนต์ การซื้อประกันรถยนต์ เอาไว้ ก็ช่วยให้ทั้งตัวผู้ขับขี่รถยนต์ และตัวรถมอเตอร์ไซค์ที่เป็นคู่กรณีได้รับความคุ้มครอง ซึ่งหากซื้อ ประกันรถยนต์ กับแรบบิท แคร์ ก็จะมั่นใจได้ว่า ได้ราคาที่คุ้มค่าที่สุด พร้อมแผนประกันจากบริษัทชั้นนำที่มีให้เลือกมากมาย

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา