Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบประกันมอเตอร์ไซค์ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

claims-if-motorbike-is-hit_MOBILE.png

มอเตอร์ไซค์โดนชนเรียกร้อง อะไรได้บ้าง? แล้วเรียกร้องได้เท่าไหร่?

การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีความคล่องตัวสูง สามารถขับขี่ไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการเร็วกว่ารถยนต์ เนื่องจากสามารถแทรกหรือวิ่งในทางแคบ ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม อุบัติเหตุบนท้องถนนสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งมอเตอร์ไซค์เป็นหนึ่งในรถที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความประมาท เมาแล้วขับ สภาพอากาศ เป็นต้น ดังนั้นก่อนขับรถมอเตอร์ไซค์อยากให้คุณมีสติและสวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง หากมอเตอร์ไซค์โดนชน จะสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง อย่าพลาดบทความนี้ อ่านเลย!

มอเตอร์ไซค์โดนชน เรียกร้องอะไรได้บ้าง?

หากมอเตอร์ไซค์ของคุณโดนชน คุณสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเบื้องต้นจากประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ) และประกันภัยภาคสมัครใจในกรณีที่คุณทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตาม หากมอเตอร์ไซค์โดนชนแล้วเกิดความเสียหายต่อตัวรถ ในกรณีนี้คุณสามารถแจ้งเคลมได้กับประกันภาคสมัครใจ

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์จะให้ความคุ้มครองเบื้องต้นในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยไม่สนใจว่าคุณจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก นอกจากนี้ยังสามารถเคลมได้ทั้งคนขับและคนซ้อน โดยจะคุ้มครองดังนี้

  1. ค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่มอไซค์โดนชนสามารถขอเบิกค่ารักษาพยาบาลตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดถึง 30,000 บาท ในกรณีนี้จะจ่ายตามค่ารักษาตามจริง แต่หากเกิน 30,000 จำเป็นต้องจ่ายส่วนที่เหลือเอง
  2. ค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้ 35,000 บาท หมายเหตุ: ในข้อ 1 และ ข้อ 2 ต้องรวมกับไม่เกิน 65,000 บาท/คน

จึงสามารถสรุปได้คร่าว ๆ ว่า พ.ร.บ. ภาคบังคับจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในทางการแพทย์เท่านั้น แต่จะไม่ได้ให้ความคุ้มครองความเสียหายของรถจักรยานยนต์หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ของผู้ขับขี่

มอเตอร์ไซค์โดนชนแล้วหนี ประกันคุ้มครองไหม?

เมื่อคุณโดนชนแล้วคู่กรณีขับหนีไป หรือไม่รับผิดชอบค่าเสียหาย สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือตั้งสติ อย่าล่ก พยายามตรวจสอบดูก่อนว่าตนเองได้รับบาดเจ็บตรงไหนหรือไม่ หรือรถมอเตอร์ไซค์มีจุดไหนที่เสียหายบ้าง หลังจากนั้นให้คุณขับไปที่สถานีตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวันเสียก่อน เพราะใบบันทึกประจำวันถือเป็นอีกหนึ่งหลักฐาน

แต่ถ้าหากคุณจำทะเบียนรถของคู่กรณีไม่ได้ แนะนำว่าให้ตรวจสอบจากกล้องหน้ารถที่มีการติดเอาไว้ หรือติดต่อสถานที่เกิดเหตุเผื่อขอดูกล้องวงจรปิด หลังจากที่คุณมีใบแจ้งความแล้ว ให้คุณติดต่อกับบริษัทประกันและแจ้งรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น ทะเบียนรถของคู่กรณี สีของรถ ยี่ห้อรถ ลักษณะของรถ สถานที่เกิดเหตุ และเวลาเกิดเหตุ

ประกันรถจักรยานยนต์ภาคสมัครใจ ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง?


หากคุณมีประกันรถจักรยานยนต์ชั้นที่ 1 คุณจะได้รับความคุ้มครองสูงที่สุด ครอบคลุมการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนทั้งแบบมีคู่กรณีหรือไม่มีคู่กรณี ดังนั้น จึงสามารถตอบได้ว่า หากโดนชนแล้วหนี คุณสามารถติดต่อกับบริษัทประกันได้เลยเพื่อขอรับความคุ้มครอง
แต่ถ้าหากคุณมีประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 2 หรือ 3 จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะมีคู่กรณีเท่านั้น แต่ถ้าหากคุณจำทะเบียนรถหรือมีหลักฐานจากกล้องวงจรปิดที่สามารถบันทึกเหตุการณ์การเฉี่ยวชนกันได้ คุณก็สามารถนำหลักฐานนั้นมาแจ้งเคลมกับบริษัทประกันได้
ในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ไม่ว่าคุณจะทำประกันชั้นไหน ทั้งผู้ขับขี่และคนซ้อนก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตามจริงกับบริษัทประกันได้ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์




โดนชนแล้วหนีเสีย ค่าเอ็กเซส (Excess) หรือไม่?


การที่รถมอเตอร์ไซค์โดนชน แล้วคู่กรณีหนีไป จำนวนเงินของค่าเอ็กเซสขึ้นอยู่กับลักษณะของรอยและความเสียหายที่เกิดขึ้น บางกรณีอาจเกิดความเสียหาย 2 จุด ก็จะทำให้ต้องเสียค่าเอ็กเซสเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องมีหลักฐานมาประกอบเพื่อเป็นการยืนยัน อย่างไรก็ตามหากเกิดจากความประมาทในการใช้รถ หรือถ้าคุณไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ อาจจะมีการเสียค่าเอ็กเซสเพิ่มเติมด้วย แต่โดยปกติทั่วไปแล้ว ค่า excess จะเริ่มต้นที่ 1,000-2,000 บาท

ขั้นตอนการเคลม พ.ร.บ รถจักรยานยนต์ มีอะไรบ้าง?

หลังจากที่ทราบกันแล้วว่า พ.ร.บ รถจักรยานยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง มาดูวิธีและขั้นตอนเคลมกันดีกว่า ว่ามีแบบไหนบ้าง และต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการเคลม ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การขอเคลม พ.ร.บ. เมื่อมอเตอร์ไซค์โดนชน สามารถทำได้ 2 วิธี คือเคลมแบบสด และแบบแห้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. เคลม ณ ที่เกิดเหตุ

การเคลมประเภทนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเคลมแบบสด ซึ่งการเคลมแบบนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีคู่กรณีอยู่ด้วย ซึ่งจะมีขั้นตอน ดังนี้

  1. ขั้นตอนแรกคุณต้องโทรหาบริษัทประกันเสียก่อน หลังจากนั้นทำการแจ้งข้อมูลเลขทะเบียนรถ เลขกรมธรรม์ แจ้งชื่อและเบอร์ติดต่อของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และทำการแจ้งจุดที่เกิดเหตุคร่าว ๆ ให้บริษัทประกันทราบ
  2. รอเจ้าหน้าที่ (survayor) จากบริษัทประกันเดินทางมาถึงจุดเกิดเหตุ เพื่อประเมินความเสียหายเบื้องต้น
  3. หลังจากที่เจ้าหน้าที่ทำการประเมินความเสียหายแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการออกใบแจ้งเคลมให้ หลังจากนี้คุณสามารถนำรถเข้าศูนย์และเข้าอู่ได้ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์

หมายเหตุ: หากอุบัติเหตุมีผู้บาดเจ็บ คุณอาจต้องดำเนินการแจ้งความด้วย อย่างไรก็ตามขอแนะนำให้คุณพกใบขับขี่และหน้ากรมธรรม์ติดตัวไว้ตลอดเวลาเผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน

2. เคลมหลังจากเกิดเหตุ

การเคลมประเภทนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเคลมแห้ง หากอุบัติเหตุนั้นไม่มีคู่กรณี เช่น โดนชนแล้วหนี หรือมีคู่กรณีแต่ไม่ใช่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ อาจเป็นการเฉี่ยวชนกับเสาไฟฟ้าหรือวัตถุอื่น ๆ ก็สามารถแจ้งเคลมกับบริษัทประกันได้เช่นกัน โดยน้องแคร์ขอแนะนำให้คุณรีบแจ้งเคลมภายใน 2-3 วันหลังเกิดเหตุ โดยหลักฐานและขั้นตอนการเคลมแบบแห้ง มีดังนี้

  1. การแจ้งเคลมแบบแห้งจำเป็นต้องมีรูปถ่ายความเสียหายต่าง ๆ ณ ที่เกิดเหตุ ดังนั้นหากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน อยากให้คุณถ่ายรูปความเสียหาย เช่น รอยขูด รอยบุบ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการแจ้งเคลม
  2. จดบันทึกเวลา และสถานที่เกิดเหตุให้ชัดเจน
  3. หลังจากนั้นให้คุณติดต่อบริษัทประกันเพื่อทำการแจ้งเคลม
  4. บริษัทประกันจะทำการออกใบประเมินความเสียหายให้คุณ
  5. นำรถเข้าศูนย์หรืออู่ซ่อมรถใกล้บ้านคุณได้เลย

ยื่นเคลม พรบ. ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

การเคลมประกัน เปรียบเสมือนการเรียกร้องสิทธิประโยชน์ของบุคคลผู้ซึ่งมี พ.ร.บ. หรือประกันภัยต่าง ๆ ซึ่งการยื่นเคลม พ.ร.บ. ต้องยื่นภายใน 180 วันหลังจากเกิดเหตุ โดยเอกสารที่ต้องใช้ มีดังนี้

  1. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาสูติบัตร
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.
  4. สำเนาใบขับขี่ (หากเป็นผู้ขับขี่)
  5. สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ
  6. ใบแจ้งความหรือใบบันทึกประจำวัน ที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ

กรณีได้รับบาดเจ็บ

กรณีที่คุณได้รับบาดเจ็บหากมอเตอร์ไซค์โดนชน และประสงค์จะขอเบิกค่ารักษาเพิ่มเติม ต้องใช้เอกสารดังนี้

  1. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาสูติบัตร
  2. ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล

แต่หากคุณบาดเจ็บ จนต้องนอนโรงพยาบาล คุณสามารถเบิกได้โดยใช้เอกสารดังนี้

  1. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาสูติบัตร
  2. ใบแจ้งค่ารักษา หนังสือรับรองการรักษาผู้ป่วยใน

กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือ กรณีทุพพลภาพถาวร

หากรถมอเตอร์ไซค์โดนชนแล้วทำให้คุณเกิดสูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพแบบถาวร คุณสามารถแจ้งเคลมกับ พ.ร.บ. ที่คุณมีอยู่ได้ โดยใช้เอกสารดังนี้

  1. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาสูติบัตร
  2. ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองความพิการ หรือหลักฐานทางการแพทย์ที่บ่งชี้ว่าพิการจากอุบัติเหตุ
  3. สำเนาใบแจ้งความ บันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจ

กรณีเสียชีวิต

หากรถมอเตอร์ไซค์โดนชน แล้วทำให้เกิดเสียชีวิตขึ้นมา กรณีนี้ก็สามารถแจ้งเคลมได้ โดยใช้เอกสารดังนี้

  1. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาสูติบัตร
  2. ใบมรณบัตร
  3. สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยชอบธรรม
  4. สำเนาใบแจ้งความ บันทึกประจำวัน หรือหลักฐานการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

บทสรุปส่งท้าย

เมื่อรถมอเตอร์ไซค์โดนชน น้องแคร์ขอแนะนำให้คณแจ้งบริษัทประกันและแจ้งตำรวจเพื่อลงบันทึกประจำวันให้เร็วที่สุด เพราะการที่จะยื่นขอเคลม พ.ร.บ คุณจำเป็นต้องมีเอกสารที่ครบถ้วน อย่างไรก็ตามอย่าปลอมแปลงเอกสาร หรือสร้างหลักฐานเท็จ เพราะจะมีโทษทางกฎหมาย คือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เพื่อความอุ่นใจกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการขับไปชนหรือโดนชน นอกจากทำประกัน พ.ร.บ. แล้ว น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณมีประกันภัยรถจักรยานยนต์ภาคสมัครใจเพิ่มด้วย เพราะจะได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากกว่ากรณีรถมอเตอร์ไซค์โดนชน หากคุณกำลังลังเลว่าจะซื้อประกันกับเจ้าไหนดี แนะนำให้คุณซื้อประกันรถจักรยานยนต์ผ่าน แรบบิท แคร์ เพราะคุณจะได้ส่วนลดสุดพิเศษ และมีศูนย์ซ่อมครอบคลุมทั่วไทย และสามารถเปรียบเทียบแผนประกันง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน หากสนใจโทรเลย 1438

ความคุ้มครองประกันมอเตอร์ไซค์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา