Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบประกันชีวิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

กองทุนเงินทดแทน
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Oct 02, 2023

กองทุนเงินทดแทน

สำหรับลูกจ้างที่ทำงานกับนายจ้าง ก็จะมีสวัสดิการสำหรับให้ความคุ้มครองลูกจ้างในกรณีการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุอย่างกองทุนเงินทดแทน ซึ่งจะให้ความคุ้มครองที่คล้ายคลึงกับกองทุนประกันสังคมที่รู้จักกันเป็นอย่างดีสำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคน กองทุนเงินทดแทนจะให้ความคุ้มครองเรื่องใดบ้าง? เหมือนหรือแตกต่างกับกองทุนประกันสังคมอย่างไรบ้าง หาคำตอบที่แรบบิท แคร์ได้เลย

กองทุนเงินทดแทน คืออะไร?

ความหมายของกองทุนเงินทดแทนตามกำหนดคปภ. ให้ความหมายว่ากองทุนเงินทดแทน คือ กองทุนที่ถูกจัดตั้งตามกฎหมายพระราชบัญญัติเงินทดแทน ปี พ.ศ.2537 เป็นกองทุนที่เป็นสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมเช่นเดียวกับกองทุนประกันสังคม แต่จะมีการเก็บเงินสมทบจากนายจ้างตามประเภทความเสี่ยงของกิจการเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้จ่ายชดเชยให้กับลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย รวมถึงกรณีการสูญเสียสมรรถภาพ การทุพพลภาพหรือเสียชีวิตเนื่องมาจากการทำงาน โดยประเภทของลูกจ้างที่กองทุนเงินทดแทนให้ความคุ้มครองได้แก่

  1. ลูกจ้างองค์กรเอกชน
  2. ลูกจ้างราชการ ทั้งนี้จะไม่รวมข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  3. ลูกจ้างองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ
  4. ลูกจ้างที่ได้รับการจ้างงานในต่างประเทศ (Local staff) ของสถานเอกอัครราชทูตและองค์กรระหว่างประเทศ

ซึ่งกองทุนเงินทดแทนนี้จะให้ความคุ้มครองนายจ้างทันทีตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างเข้าทำงานและเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน และให้การคุ้มครองในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

  • คุ้มครองกรณีลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ตั้งแต่วันแรก โดยจะได้รับเงินต่อเนื่องไม่เกิน 1 ปี
  • คุ้มครองกรณีลูกจ้างสูญเสียสมรรถภาพร่างกายในการทำงาน (คุ้มครองไม่เกิน 10 ปี)
  • คุ้มครองกรณีลูกจ้างทุพพลภาพตลอดชีวิต
  • คุ้มครองกรณีลูกจ้างเสียชีวิตหรือสูญหาย (คุ้มครอง 10 ปี)

และมีสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากกองทุนเงินทดแทน ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลของลูกจ้างทั้งลูกจ้างราชการและลูกจ้างส่วนเอกชนในสถานพยาบาล ตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดการรักษาไม่ว่าค่ารักษาจะเป็นจำนวนเท่าไหร่ก็ตาม
  1. กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน : นายจ้างจะต้องจ่ายค่ารักษาเท่าที่จ่ายตามความจำเป็นในอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
  2. กรณีลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานหลังประสบเหตุ : นายจ้างต้องจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานของลูกจ้างเท่าที่จ่ายตามความจำเป็นในอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • ค่าทำศพ จำนวน 50,000 บาท ในกรณีเสียชีวิต
  • ค่าทดแทนเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน ในกรณีที่ลูกจ้างมีการหยุดงานเนื่องจากการทุพพลภาพ สูญเสียสมรรถภาพ ตายหรือสูญหาย

กองทุนประกันสังคม vs กองทุนเงินทดแทน แตกต่างกันอย่างไร?

ส่วนใหญ่แล้วคนทั่วไปมักจะรู้จักกับกองทุนประกันสังคมมากว่า นั่นเพราะกองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนที่ลูกจ้างในฐานะผู้ประกันตนจะมีส่วนร่วมในการจ่ายเงินสมทบร่วมกับนายจ้างและรัฐบาล ซึ่งกองทุนประกันสังคมก็จะมีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนในกรณีประสบอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย การทุพพลภาพที่ไม่ได้เกิดมาจากการทำงาน รวมไปถึงให้ความคุ้มครองในการคลอดบุตร การสงเคราะห์บุตร การชราภาพและกรณีการว่างงานด้วย แต่สำหรับกองทุนเงินทดแทนนั้นจะเป็นส่วนความรับผิดชอบที่นายจ้างเจ้าของกิจการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ทั้งสองกองทุนนั้นก็มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการดูแลลูกจ้างเช่นเดียวกันแต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่กองทุนเงินทดแทนเป็นส่วนที่นายจ้างต้องเป็นผู้จ่ายเงินสมทบและให้ความคุ้มครองเฉพาะจากการทำงานเท่านั้น ซึ่งในส่วนของกองทุนประกันสังคมนั้นมีไม่ได้มีข้อยกเว้นการจ่ายเงินสมทบในบางกิจการ กล่าวคือนายจ้างทุกกิจการจำเป็นจะต้องมีการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทั้งหมด แต่ในส่วนของกองทุนเงินทดแทนนั้นจะมีข้อยกเว้นในบางกิจการที่นายจ้างไม่ต้องร่วมสมทบในกองทุนเงินทดแทน ได้แก่ กิจการ 7 ประเภท ดังนี้

  1. ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
  2. รัฐวิสาหกิจ
  3. กิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้และเลี้ยงสัตว์ ที่ไม่ได้มีการใช้ลูกจ้างตลอดทั้งปีและไม่มีงานในลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย
  4. ครูโรงเรียนเอกชน
  5. กิจการที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ
  6. ลูกจ้างของนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งงานที่ลูกจ้างทำนั้นมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
  7. ลูกจ้างของนายจ้างซึ่งประกอบการค้าเร่หรือการค้าแผงลอย

ซึ่งสามารถสรุปส่วนที่แตกต่างของกองทุนประกันสังคม vs กองทุนเงินทดแทน อย่างเข้าใจง่าย คือ แตกต่างกัน 2 ส่วนหลัก ๆ 1.ผู้ที่จ่ายเงินสมทบ และ 2.สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองนั่นเอง

กองทุนเงินทดแทน นายจ้างจ่ายเท่าไหร่?

ตามข้อมูลข้างต้นแล้วกองทุนเงินทดแทนนายจ้างจะมีหน้าที่เป็นผู้จ่ายเงินสมทบแต่เพียงผู้เดียวเป็นรายปี โดยที่กระทรวงแรงงานจะเป็นผู้แจ้งยอดเงินสมทบที่นายจ้างจะต้องดำเนินการจ่ายให้ทราบล่วงหน้า ซึ่งอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนที่นายจ้างจะต้องจ่ายจะมีความแตกต่างกันตามลักษณะความเสี่ยงภัยของแต่ละกิจการ 131 ประเภทกิจการ แต่จะมีอัตราเงินสมทบอยู่ที่ระหว่าง 0.2%-1.0% ของค่าจ้าง หากกิจการใดที่จัดอยู่ในกิจการประเภทเสี่ยงภัยสูง นายจ้างก็จะต้องมีการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนในอัตราที่สูงนั่นเอง ในกรณีที่นายจ้างมีการจ่ายเงินสมทบครบ 4 ปีปฏิทินแล้ว ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไปอัตราเงินสมทบอาจจะมีการลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากเดิมก็ได้ ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับค่าของอัตราส่วนการสูญเสียที่ทางกระทรวงแรงงานได้มีการเก็บเป็นข้อมูลสถิติไว้

เงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน จ่ายอย่างไร?

สำหรับวิธีการจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและช่วงเวลาในการจัดเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนนั้นจะมีรายละเอียดในการจัดเก็บปีละ 2 ครั้ง ดังนี้

• การจัดเก็บครั้งที่ 1

นายจ้างจะต้องดำเนินการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน ภายในวันที่ 31 มกราคมของทุกปี เรียกว่าเงินสมทบประจำปี (ปีแรกที่ขึ้นทะเบียนนายจ้างจะต้องจ่ายภายใน 30 วันนับตั้งแต่มีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป)

• การจัดเก็บครั้งที่ 2

นายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เรียกว่าเงินสมทบจากการรายงานค่าจ้าง

โดยภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีนายจ้างจะต้องแจ้งจำนวนค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้ลูกจ้างทุกคนรวมกันทั้งปีในปีที่ผ่านมา เพื่อนำไปเทียบกับค่าจ้างที่มีการประมาณการไว้ตอนต้นปีผ่านมา หากพบว่าค่าจ้างที่ประมาณการไว้เดิมน้อยกว่าก็จะต้องมีการเรียกเก็บเงินสมทบเพิ่มในเดือนมีนาคมด้วย กรณีที่นายจ้างจ่ายเงินสมทบเกินกำหนดเวลาก็จะต้องถูกปรับเป็นจำนวน 3% ต่อเดือนของเงินสมทบที่ต้องจ่าย

วิธีการคำนวณ กองทุนเงินทดแทน คิดอย่างไร?

ในการคำนวณ กองทุนเงินทดแทนนั้นจะมีวิธีในการคิดตามเงื่อนไขความคุ้มครองและกรณีที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น

• กรณีเจ็บป่วย

ที่จะมีการจ่ายค่าทดแทนกรณีที่ลูกจ้างมีการหยุดงานเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน เช่น ได้รับค่าจ้าง 20,000 บาท/เดือน มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดงาน 20 วัน สามารถคำนวณได้ ดังนี้ 20,000x70% = 14,000 บาท หยุดงานไป 20 วัน จะได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนเท่ากับ (14,000x20)/30 = 9,333.33 บาท เป็นต้น

• กรณีสูญเสียอวัยวะบางส่วน

รับค่าทดแทนในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน ไม่เกิน 10 ปี หรือ 120 เดือน เช่น ได้รับเงินค่าจ้าง 15,000 บาท สามารถคำนวณได้ ดังนี้ 15,000x70% = 10,500 บาท ได้เงินทดแทนทั้งหมด 120 เดือน จะได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนเท่ากับ 10,500x120 = 1,260,000 บาท เป็นต้น

• กรณีทุพพลภาพ

รับเงินทดแทนอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน ไม่น้อยกว่า 15 ปี หรือ 180 เดือน เช่น ได้รับเงินค่าจ้างรายเดือน 20,000 บาท สามารถคำนวณได้ ดังนี้ 20,000x70% = 14,000 บาท ได้รับเงินทดแทน 180 เดือน จะได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนเท่ากับ 14,000x180 = 2,520,000 บาท เป็นต้น

• กรณีเสียชีวิตหรือสูญหาย

รับเงินทดแทนอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี หรือ 120 เดือน เช่น รับเงินค่าจ้าง 15,000 บาท จะคำนวณได้ ดังนี้ 15,000x70% = 10,500 บาท ได้รับเงินทดแทน 120 เดือน จะได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนเท่ากับ 10,500x120 = 1,260,000 บาท เป็นต้น

นอกจากกองทุนเงินทดแทนให้ความคุ้มครองกับคุณ ประกันชีวิตก็ดูแลคุณได้เช่นกัน!

นอกจากกองทุนเงินทดแทนแล้ว ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะให้ความคุ้มครองคุณในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดทั้งจากการทำงานและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการซื้อประกันชีวิตก็มีความคล้ายคลึงกับกองทุนเงินทดแทนในส่วนของการให้ความคุ้มครองทั้งกรณีเสียชีวิตหรือสูญหาย หลายแผนประกันชีวิตก็ยังให้ความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพด้วย โดยหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่ทำให้เกิดกรณีร้ายแรงดังกล่าวกับคุณ บริษัทประกันก็จะทำการจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองให้กับคุณในรูปแบบทุนประกันชีวิตที่คุณได้ทำเอาไว้ และสำหรับในกรณีที่ไม่ได้มีการเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงไม่คาดคิดคุณยังสามารถเลือกที่จะยุติความคุ้มครองโดยการเวนคืนกรมธรรม์ เพื่อนำเงินที่ได้จากการเวนคืนกรมธรรม์มาใช้เป็นเงินเกษียณอายุใช้ยามชราภาพได้ด้วย

ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

Gen Life Plus 10 GeneraliGen Life Plus 10

Generali

  • คุ้มครอง 20 ปี จ่ายเบี้ย 10 ปี
  • เสียชีวิต รับเงิน 270% มีชีวิต 310%
  • รับเงินคืน 3% ทุกปี ตลอดสัญญา
  • ลดหย่อนภาษีสูงสุด 100,000 บาท
  • สมัครได้ อายุ 1 เดือน - 65 ปี
  • ค่าเบี้ยคงที่ ไม่ปรับตามอายุ
  • สมัครได้ทุกอาชีพ ตอบโจทย์ทุกวัย
Credit Care ไทยประกันชีวิตCredit Care

ไทยประกันชีวิต

  • เบี้ยไม่แพง เริ่ม 3 บาท/วัน
  • เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ สูงสุด 1 ล้าน
  • ชดเชยบัตรเครดิต เสียชีวิต 1 แสนบาท
  • ชีวิตคู่สมรส สูงสุด 1.5 ล้าน
  • ขับขี่ จยย. คุ้มครอง สูงสุด 1 แสน
  • ขับขี่ จยย. คุ้มครอง สูงสุด 1 แสน
  • สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เบี้ยคงที่
ประกันบำนาญ 90/2 ทิพยประกันชีวิตประกันบำนาญ 90/2

ทิพยประกันชีวิต

  • บำนาญรวม สูงสุด 465%
  • ชำระเบี้ย 2 ปี รับบำนาญ 31 ปี
  • เบี้ยเริ่มต้นเบา จ่าย 2 ปี
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 300,000 บาท
  • สมัคร 20-54 ปี
  • ชดเชยรายได้ รพ. รับบำเหน็จ
  • จ่ายเบี้ยสั้น รับบำนาญนาน
ฟอร์ เพนชัน 85/7 เอฟดับบลิวดีฟอร์ เพนชัน 85/7

เอฟดับบลิวดี

  • วางแผนเกษียณ จ่ายเบี้ย 7 ปี คุ้มครองถึง 85 ปี
  • รับบำนาญเพิ่มตามอายุ สูงสุด 24%
  • เสียชีวิตรับเงินก้อน 110%
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 300,000 บาท
  • สมัครได้ 20-52 ปี จ่ายเบี้ย 7 ปี
  • ทุนประกันขั้นต่ำ 50,000 บาท
  • บำนาญตั้งแต่อายุ 60 ปี ถึง 85 ปี

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา