Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบประกันมอเตอร์ไซค์ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

motorcycle sprocket_MOBILE.png

สเตอร์รถคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรกับมอเตอร์ไซค์?

รถมอเตอร์ไซค์ถือว่าเป็นยานพาหนะที่ช่วยทุ่นแรงในการเดินทางได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง ประหยัดทรัพยากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นรถมอเตอร์ไซค์จึงถือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์อีกชิ้นหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์ที่มีประโยชน์มาก

และเมื่อเราลองมองย้อนดูไปที่ระบบการขับเคลื่อนของมอเตอร์ไซค์ ก็จะทำให้รู้ว่าอะไหล่และการทำงานของรถมอเตอร์ไซค์นั้นจะมี “สเตอร์รถ” และโซ่อยู่ด้วย ซึ่งการทำงานควบคู่กันไปของชิ้นส่วนทั้งสองอย่างนี้เองที่ทำให้มอเตอร์ไซค์นั้นเคลื่อนที่ได้ เพราะถ้าหากว่ารถมีเครื่องยนต์ แต่ไม่ได้มีการส่งแรงขับหรือแรงกำลังไปยังล้อ รถก็จะไม่สามารถเคลื่อนที่ไปยังข้างหน้าได้นั่นเอง ดังนั้นสเตอร์รถและโซ่จึงสำคัญต่อรถมอเตอร์ไซค์มาก

สเตอร์รถ คืออะไร?

“สเตอร์มอเตอร์ไซค์” หรือ “สเตอร์รถ” นั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในระบบการขับเคลื่อนและส่งกำลังของรถมอเตอร์ไซค์ทุกรุ่นที่มีเกียร์ แต่จะไม่มีในรถมอเตอร์ไซค์ที่เป็นระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยสเตอร์รถจะมีลักษณะเป็นฟันเฟืองรูปวงกลมแบบมีซี่ และทำหน้าที่ควบคู่ร่วมกันไปกับโซ่ในลักษณะที่จะคอยจับโซ่ไว้ ซึ่งจะใช้ฟันเฟืองที่เป็นซี่ในการเกี่ยวข้อต่อเข้ากับโซ่ เพราะฉะนั้นสเตอร์รถก็จะมีหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งต่อกำลังและความเร็วจากเครื่องยนต์ไปยังล้อรถมอเตอร์ไซค์ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้นั่นเอง

สเตอร์รถอยู่ตรงไหนของมอเตอร์ไซค์?

สเตอร์รถนั้นจะมีอยู่เฉพาะในรถมอเตอร์ไซค์ที่มีเกียร์ทุกรุ่น เพราะสเตอร์รถจะต้องทำงานควบคู่กันไปกับโซ่ของรถมอเตอร์ไซค์อย่างสัมพันธ์กัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วสเตอร์รถจะไม่มีอยู่ในรถมอเตอร์ไซค์ที่เป็นระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นเวลาที่เรามองไปที่โซ่ของรถ ก็จะสังเกตเห็นจานฟันเฟืองรูปวงกลมที่มีซี่คอยยึดเกี่ยวไม่ให้โซ่หลุดออกจากฟันเฟือง ตรงนี้เราจะเรียกกันว่า “สเตอร์รถ” โดยสเตอร์หลังจะอยู่บริเวณล้อรถข้างหลัง และสเตอร์หน้าจะอยู่ติดกับเครื่องยนต์นั่นเอง

สเตอร์รถมีกี่ประเภท?

ในปัจจุบันนี้สเตอร์รถจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • สเตอร์หน้า (Front Sprocket) จะอยู่ที่บริเวณด้านหน้าของเครื่องยนต์ ซึ่งจะอยู่ติดกับเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ ดังนั้นสเตอร์หน้าจึงจะมีขนาดที่เล็กกว่าสเตอร์หลังนั่นเอง และจะมีซี่แหลมอยู่ประมาณ 14-16 ซี่
  • สเตอร์หลัง (Rear Sprocket) จะอยู่ที่บริเวณด้านหลังของรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งจะอยู่ติดกับล้อหลัง ดังนั้นสเตอร์หลังจึงจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าสเตอร์หน้า และจะมีซี่แหลมประมาณ 36-52 ซี่

เพราะฉะนั้นจำนวนซี่แหลมของสเตอร์รถในแต่ละประเภทก็จะมีความสัมพันธ์กันทั้งหมด โดยสเตอร์หน้าจะมีซี่น้อยกว่าสเตอร์หลัง จึงจะส่งผลทำให้ความเร็วของล้อหลังนั้นมากกว่าความเร็วของเครื่องยนต์ และในทางกลับกัน หากสเตอร์หน้ามีซี่แหลมที่มากกว่าสเตอร์หลัง ก็จะส่งผลทำให้ความเร็วของล้อหลังนั้นน้อยกว่าความเร็วของเครื่องยนต์นั่นเอง

การทดสเตอร์คืออะไร?

การทดสเตอร์นั้นคือแนวคิดในการปรับแต่งรถมอเตอร์ไซค์ โดยเฉพาะในรถมอเตอร์ขนาดเล็ก และเนื่องจากว่าวิธีการนี้ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับในส่วนของเครื่องยนต์หรือไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับระบบไฟอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ต้องมาคอยกังวลในเรื่องของปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะตามมาได้ในภายหลัง เพียงแค่เปลี่ยนโซ่กับเบอร์หน้าหลังสเตอร์ไปมาเท่านั้น โดยจะมีสูตรในการทดสเตอร์ ดังนี้

  • การเพิ่มสเตอร์หน้า หรือการลดสเตอร์หลัง = การลดอัตราทดลง จึงจะส่งผลทำให้ความเร็วปลายที่รอบสูงสุดนั้นมากขึ้น ส่วนอัตราเร่งจะจัดได้น้อยลง
  • การลดสเตอร์หน้า หรือการเพิ่มสเตอร์หลัง = การเพิ่มอัตราทดขึ้น จึงจะส่งผลทำให้รถมอเตอร์ไซค์นั้นมีอัตราเร่งที่จัดขึ้น ส่วนความเร็วปลายที่รอบสูงสุดจะน้อยลงนั่นเอง

แต่ในการทดสเตอร์รถนั้น การเพิ่มหรือการลดสเตอร์หน้า 1 ฟัน มักจะมีค่าเทียบเท่ากับการเพิ่มหรือลดสเตอร์หลัง ประมาณ 3 ฟัน เนื่องจากว่าการขยับสเตอร์หน้าขึ้นหรือลง 1 ฟัน บนสเตอร์รถหลังเดิมนั้นมักจะให้อัตราทดของขั้นสุดท้ายตอนที่คำนวณออกมาแล้ว ใกล้เคียงกับอัตราทดขั้นสุดท้ายของการขยับสเตอร์หลังขึ้นหรือลง 3 ฟัน บนสเตอร์รถหน้าเท่าเดิม

และสำหรับการเปลี่ยนเบอร์ของสเตอร์รถนั้น ก็มักจะนิยมเปลี่ยนที่สเตอร์หลังมากกว่า โดยการเอาค่ามาตรฐานจากโรงงานมาคำนวณใหม่ ถ้าหากว่าผู้ขับขี่นั้นเน้นการใช้งานเฉพาะในเมือง หรือว่ามีน้ำหนักตัวที่มากกว่าปกติ ก็ควรจะต้องทดสเตอร์หลังให้ใหญ่ขึ้น เพื่อทำให้รถมอเตอร์ไซค์นั้นมีรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้นมากกว่าเดิมและยังอยู่ในความเร็วที่เท่าเดิม แต่ถ้าหากว่าผู้ขับขี่นั้นเน้นการใช้งานไปที่การเดินทางออกต่างจังหวัด หรือการขับขี่เพียงคนเดียวมาตลอด ก็ควรที่จะเน้นให้รอบเครื่องนั้นต่ำลงกว่าเดิมเล็กน้อย เพื่อเป็นการถนอมเครื่องยนต์ไปในตัวด้วย เนื่องจากว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางที่ยาวนาน ก็ควรจะทดสเตอร์หลังให้ลดลงกว่าเดิมสัก 1 -2 ฟัน

การทดสเตอร์รถให้เหมาะสมกับการใช้งาน

สำหรับการปรับแต่งสเตอร์รถนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคล เพราะว่าจะต้องดูจากหลาย ๆ ปัจจัยรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของน้ำหนักตัวผู้ขับ น้ำหนักของสัมภาระที่จะต้องบรรทุก ลักษณะเส้นทางถนน หรือแม้แต่ในเรื่องของลักษณะการขับขี่ของแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย อีกทั้งการทดสเตอร์รถนั้นยังทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก เพราะว่าจะเป็นการถอดเปลี่ยนแค่สเตอร์รถกับโซ่เท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์และระบบอื่น ๆ ของรถมอเตอร์ไซค์ โดยการเพิ่มหรือลดสเตอร์หน้า 1 ฟัน จะมีค่าเท่ากับการเพิ่มหรือลดสเตอร์หลังโดยประมาณ 3 ฟัน ดังนั้นการทดสเตอร์รถจึงมีหลักการคิดง่าย ๆ ดังนี้

  • การเพิ่มสเตอร์หน้า หรือ การลดสเตอร์หลัง (ลดอัตราทดลง)
    จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาสำหรับคนที่จะต้องขับขี่รถมอเตอร์ไซค์เป็นประจำอยู่แล้วในเส้นทางตรงยาว เพราะว่าจะช่วยลดรอบของเครื่องยนต์ให้น้อยลง และเป็นการช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ได้ในระดับหนึ่ง
  • การลดสเตอร์หน้า หรือ การเพิ่มสเตอร์หลัง (เพิ่มอัตราทดขึ้น)
    จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาสำหรับคนที่จะต้องขับขี่ในเส้นทางที่ลาดชันบ่อย ๆ หรือมีการบรรทุกสัมภาระไปด้วยเยอะ เพราะว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มรอบของเครื่องยนต์ให้มากขึ้น และทำให้มีอัตราเร่งที่จัดขึ้นอีกด้วย จึงทำให้เครื่องยนต์นั้นสามารถส่งแรงบิดมายังล้อหลังได้อย่างเต็มที่

การไล่สเตอร์รถมีปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง?

  • 1. เส้นทางที่ใช้งาน วัตถุประสงค์หลักหรือการใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นเส้นทางแบบใด เป็นถนนทางเรียบ เป็นการขับขี่ในเมือง เป็นการขับขี่บนซูเปอร์ไฮเวย์ที่เป็นทางเรียบพิเศษ เป็นการใช้งานบนเส้นทางลาดชัน หรือเป็นการขับขี่บนเส้นทางที่คดเคี้ยว เพราะลักษณะของพื้นถนนที่ต่างกัน ล้วนมีความแตกต่างของอัตราการทดที่เหมาะสมด้วย
  • 2. กำลังของเครื่องยนต์ ต้องดูว่ารถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้งานนั้นให้กำลังและอัตราเร่งเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าเราจะทดสเตอร์อย่างเดียวแล้วจะวิ่งได้ดี เพราะถ้าหากว่ารถมอเตอร์ไซค์ของเรานั้นไม่มีกำลังที่มากพอ การทดสเตอร์ลงอย่างเดียวก็อาจจะทำให้รถนั้นช้าลงกว่าเดิม หรืออืดมากขึ้นกว่าเดิมได้นั่นเอง
  • 3. การใช้งานจริง ต้องดูน้ำหนักของผู้ขับขี่ด้วยว่ามีน้ำหนักเท่าไร ชอบใช้งานหนักไหม ชอบขนของหนักไหม มีคนซ้อนไหม มีการใช้งานรถมอเตอร์ไซค์บ่อยแค่ไหน หรือส่วนใหญ่ใช้ในการออกทริป เพราะทุกอย่างล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการไล่สเตอร์รถทั้งสิ้น

ถ้าสเตอร์หมด ดูยังไง?

  1. ให้เราสังเกตไปที่สเตอร์รถว่าซี่ของฟันเฟืองนั้นเริ่มบางหรือเริ่มแหลมแล้วหรือยัง เพราะถ้าหากว่าสเตอร์รถเริ่มบางแล้ว ก็อาจจะเสี่ยงที่สเตอร์รถนั้นจะแตกหักได้ง่าย
  2. ถ้าหากว่าซี่ฟันเฟืองของสเตอร์รถนั้นเริ่มเอียงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ก็แสดงว่าสเตอร์รถเริ่มบางจนรับแรงกระชากได้ไม่มากเท่าเดิมแล้ว ดังนั้นจึงควรที่จะรีบเปลี่ยนสเตอร์รถให้เร็วที่สุด เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่
  3. แต่ถ้าหากพบเห็นว่าสเตอร์รถเริ่มมีรอยร้าวหรือรอยแตกหัก ให้รีบเปลี่ยนสเตอร์รถอันใหม่โดยทันที เพราะอันตรายมากต่อการขับขี่
  4. และเมื่อพบว่าสเตอร์รถใกล้หมดแล้ว ให้รีบเปลี่ยนสเตอร์รถใหม่โดยเร็วที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุในอนาคตได้ และสำหรับโซ่ก็ให้เราสังเกตดูอีกครั้งว่าจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน แต่ทางที่ดีแนะนำว่าให้เปลี่ยนพร้อมกับสเตอร์รถไปเลยจะดีกว่า เพราะชิ้นส่วนทั้งสองอย่างนี้มีการทำงานร่วมกันอยู่แล้ว หากชิ้นส่วนใดเกิดสึกหรอขึ้นมา ก็มักจะส่งผลต่อคู่ชิ้นส่วนไปด้วย

วิธีการดูแลรักษาสเตอร์รถ?

สำหรับวิธีการดูแลรักษาสเตอร์รถและโซ่นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดูแลรักษาได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก และไม่ซับซ้อนมากนัก เพราะถึงแม้ว่าเราจะขับรถดีแค่ไหน ขับไม่กระชาก หรือขับแบบถนอมรถเพียงใด แต่ตัวสเตอร์รถและโซ่นั้นก็จะมีการสึกหรอที่ง่ายกว่าระบบเพลาด้วยเหมือนกัน เพราะว่าตัวสเตอร์รถและโซ่นั้นจะทำงานร่วมกันอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากว่าโซ่มีการเสื่อมสภาพก็จะทำให้สเตอร์รถนั้นเกิดความเสียหายไปด้วย หรือถ้าหากว่าสเตอร์รถนั้นเกิดการสึกหรอ มันก็จะส่งผลทำให้โซ่นั้นเกิดความเสียหายไปด้วยอีกเช่นเดียวกัน

เราจึงต้องคอยหมั่นสังเกต คอยดูแลรักษา และคอยตรวจเช็กสภาพของสเตอร์รถและโซ่อย่างเป็นประจำ ไม่ควรตั้งสายโซ่ให้ตึงมากจนเกินไป เพราะว่าจะทำให้สเตอร์รถนั้นเกิดการสึกหรออย่างรวดเร็ว หรือสเตอร์รถหมดเร็วนั่นเอง อีกทั้งควรเลือกความยาวของโซ่ให้เหมาะสมกับสเตอร์หลังและสวิงอาร์มด้วย

ดังนั้นถ้าเกิดว่าจะต้องมีการเปลี่ยนสเตอร์รถหรือเปลี่ยนสายโซ่ใหม่ ก็จะแนะนำว่าให้เปลี่ยนยกชุดทั้งสเตอร์รถและโซ่ไปพร้อมกันเลย เพราะจากการทำงานร่วมกันของสเตอร์รถและโซ่ หากอะไหล่ชิ้นใดชิ้นหนึ่งเกิดการสึกหรอ ตัวอะไหล่อีกชิ้นหนึ่งก็จะพลอยสึกหรอหรือเสียหายไปด้วย ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องของการสึกหรอ ก็ควรที่จะเปลี่ยนสเตอร์รถและโซ่ไปพร้อมกันเลยจะดีที่สุด หรือถ้าหากว่ามีการใช้งานไปแล้วประมาณ​ 10,000 กิโลเมตร ก็ควรที่จะเปลี่ยนสเตอร์รถและโซ่ใหม่ยกชุดไปเลย

วิธีการเลือกใช้สเตอร์รถที่เหมาะสมมีอะไรบ้าง?

อันดับแรกควรเลือกใช้สเตอร์รถที่มีขนาดที่เหมาะสมกับรถมอเตอร์ไซค์ เพราะถ้าหากว่าเลือกใช้ขนาดของสเตอร์รถที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะส่งผลทำให้สมรรถนะของรถมอเตอร์ไซค์นั้นมีประสิทธิภาพที่ต่ำลง เช่น สเตอร์หน้าที่มีจำนวนของซี่แหลมมากเกินไป ก็จะไปทำให้รถมอเตอร์ไซค์นั้นมีอัตราเร่งที่ช้าลง และทำให้มีอัตราความเร็วสูงสุดของรถที่สูงมากขึ้นด้วย เป็นต้น อีกทั้งควรเลือกใช้สเตอร์รถที่ผลิตมาจากวัสดุดูราลูมิน เพราะว่ามีน้ำหนักที่เบา แต่ยังคงความแข็งแรงเอาไว้อยู่

หากสเตอร์รถมีปัญหาหรือได้รับความเสียหาย แบบนี้ทางบริษัทประกันภัยจะรับเคลมหรือไม่?

ถ้าหากว่าสเตอร์รถนั้นเกิดการสึกหรอไปตามสภาพการใช้งาน หรือว่าเกิดปัญหาโดยที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ ในส่วนนี้ทางบริษัทประกันภัยจะไม่ได้ให้ความคุ้มครองหรือจะไม่ได้รับเคลมให้ แต่ถ้าเกิดว่ามีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุหรือว่าภัยธรรมชาติ ในกรณีนี้ทางบริษัทประกันภัยก็จะมีการรับเคลมให้ตามปกติ เนื่องจากว่าอยู่ในความคุ้มครองของแผนกรมธรรม์ นั่นก็คือจะคุ้มครองในส่วนที่เกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุหรือจากภัยธรรมชาติเท่านั้น

จึงแนะนำสำหรับใครที่ต้องการอยากจะได้รับความคุ้มครองแบบครอบคลุมมากที่สุด ว่าให้เลือกทำเป็นประกันภัยมอเตอร์ไซค์ที่เป็นแผนกรมธรรม์ชั้น 1 ไปเลย เพราะไม่ว่าปัญหานั้นจะเกิดจากสาเหตุอะไร ทางบริษัทประกันภัยก็จะให้ความคุ้มครองคุณได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในการขับขี่ได้อีกด้วย

ความคุ้มครองประกันรถจักรยานยนต์

ตารางความคุ้มครอง    
 
ผลประโยชน์ 
ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 1ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 2+ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 2ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 3+ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 3
คู่กรณี
บุคคล ✔️✔️✔️✔️✔️
ทรัพย์สินของคู่กรณี✔️✔️✔️✔️✔️
รถของผู้เอาประกันภัย
การชนแบบมีคู่กรณี✔️✔️✔️
การชนแบบไม่มีคู่กรณี✔️
ไฟไหม้✔️✔️✔️
รถหาย✔️✔️✔️
ภัยธรรมชาติ✔️✔️✔️
ช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมง✔️✔️
ความคุ้มครองชีวิตจากอุบัติเหตุส่วนบุคคล
อุบัติเหตุส่วนบุคคล✔️✔️✔️✔️✔️
การรักษาพยาบาล✔️✔️✔️✔️✔️
การประกันตัวผู้ขับขี่✔️✔️✔️✔️✔️

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย

ควรจะเลือกทำประกันภัยมอเตอร์ไซค์ชั้นไหนดี?

ก็ยังคงสอดคล้องมาจากคำแนะนำข้างต้นที่ว่า ควรจะเลือกทำเป็น ประกันภัยมอเตอร์ไซค์ชั้น 1 ไว้จะดีที่สุด เพราะถึงแม้ว่าราคาเบี้ยประกันจะแพงเป็นอันดับต้นในบรรดาประกันภัยทุกชั้น แต่ในเรื่องของความคุ้มครองที่จะได้รับนั้นก็คุ้มค่ามากที่สุด และยังช่วยทำให้ผู้ขับขี่นั้นมีความมั่นใจในการขับขี่ไปด้วย ดังนั้นจึงถือว่าคุ้มค่า คุ้มราคามากที่สุด เพราะประกันภัยชั้น 1 ถือว่าเป็นประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นในกรณีที่รถชนรถ รถชนคน รถหาย รถไฟไหม้ หรือรถน้ำท่วม ทางประกันภัยก็จะรับเคลมให้ทั้งสิ้น

ซื้อประกันรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

นอกจากนี้ แรบบิท แคร์ ยังมีระบบเปรียบเทียบแผนประกันภัยออนไลน์ ที่จะช่วยให้คุณได้เช็กเบี้ยประกันของแต่ละบริษัทประกันภัยชั้นนำได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังใช้งานง่ายและรวดเร็ว ใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาที ก็สามารถที่จะให้รายละเอียดแผนประกันภัยที่ตอบโจทย์และตรงตามความต้องการของคุณได้มากที่สุดอีกด้วย จึงทำให้ช่วยประหยัดเวลาไปได้มาก และนอกจากนี้ แรบบิท แคร์ ยังมีข้อเสนอสุดพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ แรบบิท แคร์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา