Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ

ผู้พิการสามารถทำใบขับขี่ได้หรือไม่?

ตามกฎหมายแล้ว ผู้พิการนั้นสามารถทำใบขับขี่คนพิการหรือประกันรถยนต์คนพิการได้ไม่ต่างไปจากคนปกติ โดยมีเงื่อนไขเบื้องต้น ดังนี้

ใบขับขี่รถจักรยานยนต์

  • ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (ยกเว้นสำหรับรถจักรยานยนต์ความจุ กระบอกสูบขนาดไม่เกิน 110 ซีซี ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี บริบูรณ์)
  • มีความรู้ความสามารถในการขับรถ
  • มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
  • ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
  • ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
  • ไม่มีใบอนุญาตขับรถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
  • ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

ใบขับขี่รถยนต์

  • มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
  • มีร่างกายที่ไม่บกพร่อง เช่น ตาบอด, ตาบอดสี, หูหนวก, แขนขาดทั้ง 2 ข้าง

ทั้งนี้ แม้จะมีข้อกำหนดว่าต้องมีร่างกายไม่บกพร่อง แต่หากมีบัตรคนพิการสามารถติดต่อเพื่อขอสอบใบขับขี่คนพิการ โดยมีเงื่อนไขว่า มีใบรับรองแพทย์ระบุว่าสามารถขับรถได้ เช่น

  • กรณีพิการทางตา ใช้ใบรับรองแพทย์ตามแบบที่กรมฯ กำหนด โดยให้จักษุแพทย์ เป็นผู้ออกใบรับรอง
  • กรณีที่พิการหูตึง, หูหนวก, แขน ขา ใช้ใบรับรองแพทย์สำหรับแพทย์ ผู้เชี่ยวชำนาญการรักษาเฉพาะโรครับรอง

และอาจมีการสอบถามเพิ่มเติมควบคู่ไปกับดุลยพินิจของทางเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะมีการพิจารณาเป็นรายบุคคล เมื่อเจ้าหน้าที่พิจารณาให้ผ่าน ก็สามารถเริ่มต้นสอบใบขับขี่คนพิการได้

ในกรณีที่สอบใบขับขี่ผู้พิการและรถมีการดัดแปลงให้ผู้พิการสามารถขับขี่ได้ ควรแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ว่ามีการใช้อุปกรณ์สำหรับผู้พิการช่วยเหลือ เช่น ตุ้มช่วยหมุนที่พวงมาลัย, คันเร่งมือ, เบรคที่มือ และนำรถยนต์ของตนไปเอง เนื่องจากรถยนต์ที่ทางกรมขนส่งให้ยืมอาจไม่มีอุปกรณ์ในการช่วยเหลือ

นอกจากนี้การสอบใบขับขี่คนพิการนั้น เมื่อต้องต่ออายุจะต้องมีการสอบคนพิการขับรถยนต์สำหรับใบขับขี่ใหม่ทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่ายังสามารถขับรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ ต้องมีการต่อ พ.ร.บ. รถ และมีการทำประกันรถยนต์คนพิการด้วยเพื่อเพิ่มความปลอดภัยอยู่เสมอ

รถดัดแปลงเพื่อผู้พิการคืออะไร?

เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการขับรถยนต์ จึงมีการนำรถยนต์มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เช่น หากเป็นผู้พิการขา อาจมีการติดตั้งเสริมอุปกรณ์ช่วยเหลือให้สามารถใช้เบรค หรือคันเร่งได้โดยไม่ต้องใช้ขา หรือหากเป็นผู้พิการแขน อาจมีการเสริมอุปกรณ์ช่วยเหลือให้สามารถหมุนพวงมาลัยได้สะดวกยิ่งขึ้น เป็นต้น

ทั้งนี้จะต้องเป็นการติดตั้ง ดัดแปลง จากช่างยนต์และวิศวะผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การดัดแปลงรถดั่งกล่าวปลอดภัย สามารถใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน พร้อมปรึกษาควบคู่ไปด้วยว่าแบบไหนไม่ถึงขั้นผิดกฎหมายจนไม่สามารถทำประกันรถยนต์คนพิการได้

ทั้งนี้ สำหรับผู้พิการที่ต้องการความช่วยเหลือ สามารถใช้โทรสายด่วน 1479 คนพิการประชารัฐ หรือรายละเอียดที่ www.1479hotline.org เพื่อสอบถามข้อกฎหมายอื่น ๆ สำหรับคนพิการขับรถยนต์

หรือสอบถามการทำประกันรถยนต์คนพิการ หรือประกันรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุเพิ่มเติมกับทาง แรบบิท แคร์ ได้

อยากสมัครสอบใบขับขี่คนพิการต้องเริ่มต้นอย่างไร?

สำหรับผู้ที่ต้องการสอบใบขับขี่คนพิการนั้น นอกจากเอกสารที่ต้องเตรียมอย่าง บัตรประชาชนตัวจริง, บัตรผู้พิการ,ใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 1 เดือน (ต้องเป็นใบรับรองจากแพทย์เฉพาะทาง เพื่อแสดงว่าร่างกายสามารถใช้งานในการบังคับรถได้) แล้ว จะมีขั้นตอนต่าง ๆ ไม่ต่างกับผู้สอบใบขับขี่ทั่วไป ดังนี้

  • จองคิวทำใบขับขี่ล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือผ่านเว็บไซต์ gecc.dlt.go.th ของกรมการขนส่งทางบก
  • ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อยื่นคำขอทำใบขับขี่คนพิการ พร้อมเอกสารรับรอง
  • เข้าทดสอบสมรรถภาพร่างกาย เพื่อเช็กความพร้อมต่าง ๆ
  • เข้าอบรมใบขับขี่ 2 ชั่วโมง
  • สอบข้อเขียน โดยมีเงื่อนไขว่าผู้สอบจะต้องผ่าน 75% หรือต้องทำให้ได้ 23 ข้อ จาก 30 ข้อขึ้นไป ในกรณีที่สอบไม่ผ่านสามารถสอบแก้ตัวได้ 1 ครั้ง หากยังไม่ผ่านอีกต้องมาสอบใหม่ในวันถัดไป
  • สอบขับรถ โดยผู้สอบใบขับขี่คนพิการจะต้องสอบทั้งหมด 3 ท่า ได้แก่ ถอยหลังและเดินหน้าในทางตรง, จอดรถเทียบทางเท้า และถอยเข้าออกจากช่องว่างด้านซ้าย หากไม่ผ่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อยื่นคำขอสอบแก้ตัวเฉพาะท่าที่ไม่ผ่านได้
  • ชำระค่าธรรมเนียมพร้อมถ่ายรูปทำบัตร

มีประกันรถคนพิการไหม? รถที่ดัดแปลงสามารถทำประกันได้หรือเปล่า?

นอกจากสามารถทำใบขับขี่คนพิการได้แล้ว เบื้องต้นนั้นการทำประกันรถยนต์คนพิการนั้น สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่น ๆ ที่บริษัทประกันตั้งไว้ เนื่องจากความเสี่ยงที่จะเกิดภัยของผู้พิการมีแนวโน้มสูงกว่าคนปกติ ทำให้ต้องมีการพิจารณาในเรื่องการทำประกันรถยนต์คนพิการอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการทำประกันรถยนต์คนพิการแบบระบุชื่อผู้ขับหรือไม่ก็ตาม

โดยรถยนต์ที่ได้รับการดัดแปลงให้ผู้พิการสามารถขับขี่ได้นั้น หากมีการปรึกษาวิศวะและช่างมาเป็นอย่างดี ไม่ได้ดัดแปลงผิดกฎหมาย ก็จะสามารถทำประกันรถยนต์คนพิการได้เช่นกัน

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการทำประกันรถยนต์นั้นสำคัญมาก เพราะช่วยคุ้มครองครอบคลุมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ค่าซ่อมรถ, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าสินไหมชดเชยต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้

นอกจากประกันรถยนต์คนพิการ และ พ.ร.บ. รถยนต์ แล้ว อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนพิการขับรถยนต์คือการทำประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ โดยทาง คปภ. ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทยและสมาคมประกันชีวิตไทย รองรับความพิการให้สามารถทำประกันอุบัติเหตุได้ 3 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มพิการทางการมองเห็น
  • กลุ่มพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
  • กลุ่มคนพิการทางการเคลื่อนไหวร่างกาย

ซึ่งการทำประกันอุบัติเหตุผู้พิการโดยเฉพาะ จะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้น ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

มีประกันรถคนพิการสำหรับคนพิการที่ขับขี่รถจักรยานยนต์หรือไม่ ?

เบื้องต้นผู้พิการที่สามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ได้นั้น จะเป็นผู้พิการที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน ซึ่งเบื้องต้นสามารถทำได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันนั้น ๆ ด้วยว่า ตั้งเงื่อนไขประกันรถคนพิการไว้อย่างไรบ้าง หรือหากกังวลอาจเพิ่มความคุ้มครองด้วยการทำประกันอุบัติเหตุเพิ่มเติมก็ได้เช่นกัน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา