คนใบ้ขับรถได้ไหม และสามารถทำใบขับขี่ได้หรือไม่?
คนใบ้ขับรถได้ไหม ข้อสอบที่ต้องทำมีอะไรบ้าง?
คนเป็นใบ้สามารถขับรถได้ตามปกติ หากความพิการนั้นยังไม่ส่งผลเสียร้ายแรงต่อการขับรถ เช่น เป็นใบ้ แต่ได้ยินตามปกติ เป็นต้น ส่วนขั้นตอนและข้อสอบในการทำใบขับขี่นั้นก็จะไม่ค่อยแตกต่างไปจากการทำใบขับขี่แบบปกติ เพียงแต่อาจจะต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่อีกครั้ง ซึ่งก็จะมีการพิจารณาเป็นรายบุคคลไปนั่นเอง
คนพิการ มีขั้นตอนการทำใบขับขี่อย่างไรบ้าง?
- จองคิวทำใบขับขี่ของคนพิการล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์ www.gec.dlt.go .th หรือทางแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue
- เดินทางไปที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งทางบก ตามวันที่และเวลาที่ได้จองคิวล่วงหน้าเอาไว้แล้ว (แนะนำให้ไปล่วงหน้าก่อนประมาณ 30 นาที)
- ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับคำขอทำใบขับขี่ผู้พิการ และเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง บัตรผู้พิการ และใบรับรองแพทย์เฉพาะทางที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันกับเจ้าหน้าที่ว่าสามารถบังคับรถได้ตามปกติ โดยนำเอกสารเหล่านี้มายื่นให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางกายในขั้นตอนถัดไป
- เข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายให้ผ่านครบถ้วนทุกด่าน
- เข้าอบรมเรื่องใบขับขี่เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
- สอบข้อเขียนให้ผ่าน 95% ขึ้นไป เพื่อที่จะสามารถไปสอบภาคปฏิบัติได้ แต่ถ้าหากสอบไม่ผ่าน ก็สามารถสอบแก้ตัวได้อีก 1 ครั้งภายในวันเดียวกัน และถ้าหากว่ายังทำข้อสอบไม่ผ่านอีก ก็จะต้องมาสอบใหม่ในวันถัดไปได้อีกวันละ 2 ครั้ง
- สอบปฏิบัติ ต้องนำรถมาเอง และทดสอบทั้งหมด 3 ท่า ได้แก่ เดินหน้าและถอยหลังในทางตรง ถอยเข้าและถอยออกจากช่องว่างด้านซ้าย และจอดรถเทียบทางเท้า แต่ถ้าหากว่าสอบไม่ผ่าน ก็สามารถสอบแก้ตัวเฉพาะท่าที่ไม่ผ่านได้เลย โดยจะมีกำหนด 3 วัน (นับตั้งแต่วันที่ทดสอบ) แต่ไม่เกิน 90 วัน (นับแต่วันที่ยื่นคำขอ) เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรให้นายทะเบียนนั้นมีอำนาจพิจารณาให้ทดสอบแก้ตัวใหม่ได้ หากพ้นกำหนดจะต้องยื่นหลักฐานใหม่
- ถ่ายรูปติดใบขับขี่ พร้อมชำระเงินให้เรียบร้อย และรอรับใบขับขี่ได้เลยทันที
เอกสารที่คนพิการจะต้องใช้ในการทำใบขับขี่ มีอะไรบ้าง?
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง
- บัตรผู้พิการ
- ใบรับรองแพทย์เฉพาะทางที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน ยกตัวอย่างเช่น “เป็นใบ้” ก็จะต้องใช้ใบรับรองแพทย์ตามแบบที่แพทยสภารับรอง เพื่อให้มีข้อมูลการตรวจที่ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นรูปแบบที่ถูกต้อง
ข้อจำกัดในการใช้ใบขับขี่ของผู้พิการ มีอะไรบ้าง?
จากข้อมูลใน ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถ การอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2547 ได้กล่าวถึงข้อจำกัดในการใช้ใบขับขี่ไว้ดังนี้
- คนพิการทุกรูปแบบที่ได้รับใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวหรือชนิดส่วนบุคคล เช่น เป็นใบ้ หรือตาบอด 1 ข้าง เป็นต้น จะต้องติดเครื่องหมายรถคนพิการหรือคนหูหนวก ไว้ที่ตัวรถในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
- สำหรับคนตาพิการหรือคนตาบอด 1 ข้าง ที่มีปัญหาในการมองเห็นและจำเป็นที่จะต้องใส่แว่นตาหรือเลนส์สัมผัสในขณะที่เข้ารับการทดสอบการมองเห็น ถึงจะสามารถผ่านการทดสอบได้ ให้กำหนดข้อจำกัดการใช้ไว้ในใบอนุญาตขับรถด้วยว่า “ต้องใส่แว่นตาหรือเลนส์สัมผัสในขณะที่ขับรถ”
- ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ หรือว่าขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถ นั้นได้มีการแก้ไขอุปกรณ์ที่ใช้ในการขับขี่ ก็จะต้องให้นายทะเบียนบันทึกข้อจำกัดการใช้ไว้ในใบอนุญาตขับรถด้วย โดยจะให้ขับรถเฉพาะคันที่แก้ไขอุปกรณ์ที่ใช้ในการขับขี่เท่านั้น
- ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าคนพิการนั้นจำเป็นที่จะต้องขับรถเฉพาะลักษณะ เช่น รถเกียรอัตโนมัติ หรือพวงมาลัยไฟฟ้า เป็นต้น ให้นายทะเบียนบันทึกข้อจำกัดการใช้ไว้ในใบอนุญาตขับรถด้วย
พิการแบบไหน จึงจะสามารถทำใบขับขี่ได้?
ผู้พิการที่จะสามารถทำใบขับขี่ได้นั้น ต้องเป็นผู้พิการที่อยู่ในกรณีที่พิการไม่มากนัก หรือว่าไม่ถึงขั้นที่จะส่งผลต่อการขับขี่รถ ยกตัวอย่างเช่น ผู้พิการทางการพูด (เป็นใบ้ แต่ได้ยิน) ผู้พิการที่สูญเสียแขนหรือขา ข้างใดข้างหนึ่ง หรือผู้พิการทางสายตาข้างใดข้างหนึ่ง เป็นต้น เพราะทั้งหมดนี้จะถูกระบุอยู่ในใบรับรองแพทย์ และจะต้องมีการระบุเพิ่มเติมด้วยว่าสามารถขับรถได้ตามปกติ ไม่เป็นอุปสรรค หรือว่าส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุนั่นเอง
ใครที่ไม่มีสิทธิ์ทำใบขับขี่บ้าง?
- ผู้ที่พิการทางร่างกายตั้งแต่แขน ขา ตาบอด เป็นใบ้แต่ไม่ได้ยิน หรือหูหนวก ที่เป็นเหตุทำให้ไม่สามารถขับรถยนต์ได้
- ผู้ที่อยู่ในระหว่างการถูกยึดใบขับขี่
- ผู้ที่มีความผิดปกติทางประสาท หรือมีอาการป่วยทางจิต
- ผู้ที่ถูกเพิกถอนใบขับขี่ (จะสามารถสอบใบขับขี่ได้ใหม่ก็ต่อเมื่อ พ้นกำหนดระยะเวลาไปแล้ว 3 ปี นับตั้งแต่วันแรกที่ถูกเพิกถอนใบขับขี่ไป)
- ผู้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
- ผู้ที่เคยได้รับการจำคุกที่มีความผิดเกี่ยวกับคดีรถ (ยกเว้นผู้ที่ได้รับโทษฐานทำความผิดโดยประมาท และจะต้องได้รับการพ้นโทษมาแล้วเกิน 3 ปี)
- ผู้ที่ติดสุราหรือของมึนเมา รวมไปถึงผู้ที่ติดยาเสพติดทุกประเภทด้วย
- ผู้ที่มีข้อกล่าวหา หรือถูกพิพากษาถึงที่สุด และถูกเจ้าพนักงานเปรียบเทียบมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป (แต่จะสามารถทำใบขับขี่ได้ ก็ต่อเมื่อพ้นโทษเหล่านี้ไปแล้วเป็นระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป)
- ผู้ที่ถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม
- ผู้ที่ขับขี่ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร หรือฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร
- ผู้ที่เป็นโรคที่มีความเสี่ยงต่อการขับขี่รถยนต์ 5 โรค ได้แก่ โรคเท้าช้าง โรควัณโรค โรคเรื้อน โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคยาเสพติดให้โทษ
- ผู้ที่ขับขี่ในลักษณะกีดขวางทางจราจร
- ผู้ที่ขับขี่ในขณะที่กำลังเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น
- ผู้ที่ขับขี่โดยใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
- ผู้ที่ขับขี่โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนต่อผู้อื่น
- ผู้ที่ขับขี่โดยประมาณหรือขับขี่น่าหวาดเสียว
รถของผู้พิการ ควรมีลักษณะอย่างไร?
รถที่ผู้พิการใช้ขับขี่นั้น ควรจะเป็นรถที่ดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายและความถนัดของผู้พิการในแต่ละบุคคล เช่น รถของผู้ที่พิการทางขา ก็อาจจะต้องติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่ใช้มือช่วยบังคับในรถยนต์ เป็นต้น อีกทั้งอุปกรณ์ที่ติดตั้งนั้นจะต้องได้มาตรฐาน และได้รับการตรวจสอบจากวิศวกรร่วมด้วย เพื่อใช้ยืนยันได้ว่ารถคันนั้นจะสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัยจริง ๆ และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่แต่อย่างใดนั่นเอง
คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย
ใบขับขี่ผู้พิการหมดอายุ ต้องสอบปฏิบัติใหม่ไหม?
ผู้ขับขี่จะต้องมีการสอบปฏิบัติใหม่ทุกครั้ง เพื่อยืนยันว่าสามารถขับรถได้ตามปกติ และไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
คนหูหนวกทำใบขับขี่ได้ไหม?
คนหูหนวกขับรถได้ไหม ? ตามกฎหมายแล้วคนหูหนวกจะไม่สามารถทำใบขับขี่ได้ เนื่องจากว่าอาจจะมีปัญหาทางการได้ยินเมื่อถึงเวลาที่จะเกิดอุบัติเหตุ หรือว่ามีเสียงสัญญาณต่างๆ แต่คนหูหนวกจะไม่สามารถได้ยินเสียงนั้นได้ ซึ่งก็จะสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุอันตรายขึ้นได้นั่นเอง แต่ถ้าเป็นผู้พิการหูหนวกที่ใส่เครื่องช่วยฟัง หรือว่าได้รับการผ่าตัดพร้อมใส่ประสาทหูเทียมมาแล้ว ในกรณีก็อาจจะทำใบขับขี่ได้เช่นกัน ทั้งนี้จึงจะขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้ตรวจ และดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่อีกครั้ง ซึ่งก็จะมีการพิจารณาเป็นรายบุคคลไป
ควรเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?
แนะนำว่าควรทำประกันภัยชั้น 1 ไว้จะดีที่สุด เพราะถึงแม้ว่าราคาจะแพงเป็นอันดับต้นในบรรดาประกันภัยทุกชั้น แต่ในเรื่องของความคุ้มครองที่จะได้รับนั้นก็สามารถมั่นใจได้เลย 100% ว่าคุ้มค่า คุ้มราคาแน่นอน เพราะถือว่าเป็นประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นในกรณีรถหาย รถไฟไหม้ หรือรถน้ำท่วม ก็รับเคลมทั้งสิ้น
ซื้อประกันรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
เพราะลูกค้าสามารถมั่นใจได้เลยว่าจะได้รับสิทธิพิเศษตั้งแต่เริ่มวางแผนซื้อประกันภัยกับทางแรบบิท แคร์ เพราะว่าแรบบิท แคร์ นั้นจะมีระบบเปรียบเทียบแผนประกันออนไลน์ที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว ใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาที ก็จะสามารถรู้ราคาของประกันภัยรถยนต์ในแต่ละบริษัทประกันภัยชั้นนำทั่วประเทศได้เลย เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกสรรแผนประกันที่ตอบโจทย์และตรงตามความต้องการมากที่สุด อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาได้มาก และนอกจากนี้แรบบิท แคร์ ยังมีข้อเสนอสุดพิเศษอื่น ๆ ที่ลูกค้าจะได้รับหากซื้อประกันรถยนต์กับเรา ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของแรบบิท แคร์
ความคุ้มครองประกันรถยนต์