Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

คนหูหนวกขับรถได้ไหม ทำใบขับขี่ได้หรือเปล่า

บ่อยครั้งที่เราเห็นที่จอดรถคนพิการตามสถานที่ต่าง ๆ หลายคนจึงอาจเกิดคำถามขึ้นว่า คนพิการขับรถได้จริงหรือเปล่า? พิการแบบไหน ขับรถได้? คนหูหนวกขับรถได้ไหม? คนพิการทำใบขับขี่ได้หรือไม่? วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพามาหาคำตอบกัน

คนหูหนวกขับรถได้ไหม ข้อสอบใบขับขี่ หูหนวกทำได้หรือไม่

คนหูหนวกขับรถได้ไหม? คนหูหนวกทำใบขับขี่ได้หรือไม่? ตอบเลยว่า คนหูหนวกไม่สามารถสอบใบขับขี่ ได้ เพราะจัดอยู่ในกลุ่มบุคคลต้องห้ามสอบใบขับขี่ และไม่สามารถขับรถได้

สาเหตุที่คนหูหนวกไม่สามารถขับรถได้ เพราะในทางกฎหมายแล้ว หากเกิดอุบัติเหตุหรือมีเสียงสัญญาณต่าง ๆ เกิดขึ้น คนหูหนวกจะไม่ได้ยินเสียงเหล่านี้ และจะทำให้เกิดอันตรายได้ แต่หากเป็นคนหูหนวกที่มีการใส่เครื่องช่วยฟัง หรือผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมแล้ว ก็อาจเป็นข้อยกเว้นให้สามารถทำใบขับขี่ได้ ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลไป

กฎหมายโรคที่ห้ามขับรถ มีโรคอะไรบ้าง

หลังจากคลายข้อสงสัยในประเด็น คนหูหนวกขับรถได้ไหม? กันไปแล้ว มาดูโรคต้องห้ามที่ไม่สามารถขับรถได้กัน

สำหรับโรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถขับรถได้ ได้แก่ โรคเท้าช้าง วัณโรค โรคเรื้อน โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคติดยาเสพติดให้โทษ ทั้งหมดนี้เป็นโรคที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้ว่าห้ามขับรถบนท้องถนน แต่นอกจาก 5 โรคที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีโรคอื่น ๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขเพิ่มเข้ามาอีก ได้แก่

  1. โรคเกี่ยวกับสายตา เช่น ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม
  2. โรคพาร์กินสัน จะมีอาการเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น เคลื่อนไหวช้า ตัดสินใจได้ช้าลง ซึ่งหากอาการกำเริบจะเป็นอันตรายขณะขับรถ
  3. โรคลมชัก เกิดจากคลื่นไฟฟ้าในสมองทำงานผิดปกติ มีอาการสั่น เกร็งชัก และกระตุกโดยไม่รู้สึกตัว ทั้งยังมีการตัดสินใจที่ช้าลง และหากอาการกำเริบจะทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและควบคุมการขับขี่ได้
  4. โรคเบาหวาน ระยะควบคุมไม่ได้ เพราะน้ำตาลในเลือดที่ต่ำจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว ใจสั่น และอาจหมดสติได้
  5. โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้การทำงานของสมองหยุดชะงักลง และหากมีความเครียดจากการขับขี่ ความดันจะยิ่งสูงขึ้น จนหน้ามืด เวียนศีรษะ แขนขาอ่อนแรง จนอาจเส้นเลือดในสมองแตกได้
  6. โรคหัวใจ หากเกิดภาวะเครียด กดดันจากการขับรถ หรือตกใจกับสถานการณ์ตรงหน้า อาจทำให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก และรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายเฉียบพลันหรือเกิดอุบัติเหตุขณะขับขี่ได้
  7. โรคข้อเสื่อม ข้ออักเสบ จะมีอาการปวดบริเวณข้อหากขับรถเป็นเวลานาน เนื่องจากข้อเสื่อมสภาพ ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเต็มที่ เป็นอันตรายต่อการขับขี่
  8. โรคหลอดเลือดสมอง จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง สมองสั่งการช้าลง ส่งผลต่อการตัดสินใจและตอบสนองในการขับขี่
  9. โรคทางสมองและระบบประสาท หากเป็นอาการไม่รุนแรง จะส่งผลให้มีอาการหลงลืม ตัดสินใจช้าลง จดจำเส้นทางไม่ได้ ไม่มีสมาธิในการขับขี่ และอาจขับรถหลงทางได้

ใบขับขี่ คนพิการทำได้ไหม พิการแบบไหน ขับรถได้บ้าง

หลังจากได้ทราบคำตอบในประเด็นที่ว่า คนหูหนวกขับรถได้ไหม กันไปเรียบร้อยแล้ว แม้ว่าคนหูหนวกจะไม่สามารถขับรถได้ แต่ก็ยังมีความพิการในบางรูปแบบที่ไม่ส่งผลต่อการขับรถ และสามารถสอบใบขับขี่ได้เช่นกัน ซึ่งผู้พิการที่สามารถขับรถได้ จะมีลักษณะดังต่อไปนี้



  • พิการทางดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งจะต้องให้จักษุแพทย์เป็นผู้ออกใบรับรองแพทย์ เพื่อแสดงว่าดวงตาอีกข้างยังสามารถใช้การได้ปกติ
  • เป็นผู้พิการทางหู เช่น หูตึง หูหนวก แล้วใส่เครื่องช่วยฟัง หรือผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมเรียบร้อยแล้ว จะต้องใช้ใบรับรองแพทย์จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
  • ไม่มีแขนขา 1 ข้าง จะต้องใช้ใบรับรองแพทย์จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรับรอง


ทั้งหมดนี้ คงจะเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า คนพิการขับรถได้ไหม? ได้เป็นอย่างดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม้จะเป็นคนพิการ แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นให้สามารถขับรถได้เช่นกัน

หูหนวกข้างเดียว พิการไหม ขับรถได้หรือเปล่า

ผู้ซึ่งมีการได้ยินบกพร่อง สามารถขับขี่ยานพาหนะได้หรือไม่? หูหนวกข้างเดียว ขับรถได้ไหม?

ในกรณีที่ผู้ขับขี่หูหนวกข้างเดียว สามารถขับรถได้ โดยจะต้องมีใบรับรองแพทย์รับรองว่าสามารถขับรถได้ และความพิการที่มีไม่ได้ส่งผลต่อการขับขี่

บุคคลประเภทไหน ทำใบขับขี่ไม่ได้บ้าง

หลังจากทราบคำตอบในประเด็น คนหูหนวกขับรถได้ไหม ไปเรียบร้อยแล้ว มาดูกันว่า ในการทำใบขับขี่จะมีข้อยกเว้นสำหรับบุคคลลักษณะไหน ที่ไม่สามารถทำใบขับขี่ได้บ้าง

  • อยู่ระหว่างการถูกยึดใบขับขี่
  • ถูกเพิกถอนใบขับขี่ ซึ่งจะสามารถสอบใบขับขี่ได้ก็ต่อเมื่อพ้นระยะเวลาไปแล้ว 3 ปี โดยนับตั้งแต่วันแรกที่ถูกเพิกถอน
  • ผู้พิการทางร่างกาย ตั้งแต่แขน ขา ตาบอด หูหนวก และพิการจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถขับรถได้
  • มีความผิดปกติทางประสาทและป่วยทางจิต
  • เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
  • ติดสุรา ของมึนเมา และติดยาเสพติดทุกประเภท
  • เคยจำคุกเพราะมีความผิดเกี่ยวกับคดีรถ ยกเว้นความผิดโดยประมาท และพ้นโทษมาแล้วเกิน 3 ปี
  • ถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม
  • มีข้อกล่าวหาหรือถูกพิพากษาถึงที่สุด และถูกเจ้าพนักงานเปรียบเทียบมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป โดยจะต้องพ้นโทษเป็นระยะเวลา 6 เดือน จึงจะสามารถทำเรื่องขอใบอนุญาตขับขี่ได้
  • ขับขี่โดยฝ่าฝืนสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจร
  • ขับขี่ขณะเมาสุราหรือของมึนเมาชนิดอื่น
  • ขับขี่ในลักษณะกีดขวางการจราจร
  • ขับขี่โดยใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
  • ขับขี่โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว
  • ขับขี่โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น

คนพิการ ทำประกันรถได้หรือไม่

ตามกฎหมายแล้ว คนพิการสามารถทำใบขับขี่ได้เช่นเดียวกันกับคนทั่วไป ทั้งยังสามารถทำประกันรถยนต์คนพิการได้เช่นกัน แต่จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่บริษัทประกันได้ตั้งเอาไว้ เพราะคนพิการจะมีความเสี่ยงในการขับขี่มากกว่าคนทั่วไป จึงต้องมีการพิจารณาเงื่อนไขในประกันอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการทำประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่หรือไม่ก็ตาม

ซึ่งโดยปกติแล้ว หากผู้ขับขี่เป็นผู้พิการ จะต้องนำรถยนต์มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละบุคคล โดยจะต้องให้ช่างผู้เชี่ยวชาญและวิศวกรเป็นผู้ดัดแปลงให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ซึ่งรถดัดแปลงของคนพิการก็สามารถทำประกันรถยนต์ได้เช่นกัน หากไม่ได้ดัดแปลงมาอย่างผิดกฎหมาย ก็จะเข้าเงื่อนไขการทำประกันรถยนต์ได้

ในส่วนของประกันรถคนพิการสำหรับผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ก็มีรองรับเช่นกัน สามารถทำได้ โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันแต่ละแห่งซึ่งแตกต่างกันออกไป

สมัครใบขับขี่คนพิการ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

หากต้องการทำใบขับขี่คนพิการ จะต้องใช้เอกสารเป็นบัตรประชาชนตัวจริง บัตรผู้พิการ และใบรับรองแพทย์ ที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน โดยต้องเป็นใบรับรองจากแพทย์เฉพาะทาง เพื่อแสดงว่าร่างกายสามารถใช้งานในการบังคับรถได้

สำหรับขั้นตอนการทำใบขับขี่ มีดังนี้

  • จองคิวทำใบขับขี่ล่วงหน้า ผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของกรมการขนส่งทางบก
  • ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อยื่นคำขอทำใบขับขี่คนพิการ พร้อมเอกสารรับรอง
  • ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย เพื่อเช็กความพร้อมในการขับขี่
  • อบรมใบขับขี่ โดยใช้เวลา 2 ชั่วโมง
  • สอบข้อเขียน โดยจะต้องสอบผ่าน 75% หรือต้องทำให้ได้ 25 ข้อ จาก 30 ข้อขึ้นไป หากสอบไม่ผ่าน สามารถสอบแก้ตัวได้ 1 ครั้ง หากยังไม่ผ่านอีก ต้องมาสอบใหม่ในวันถัดไป
  • สอบขับรถ โดยทดสอบทั้งหมด 3 ท่า ได้แก่ ถอยหลัง-เดินหน้าในทางตรง จอดเทียบทางเท้า และถอยเข้าออกจากช่องว่างด้านซ้าย หากสอบไม่ผ่าน สามารถยื่นคำขอกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอสอบแก้ตัวเฉพาะท่าที่ไม่ผ่านได้
  • ชำระค่าธรรมเนียม ถ่ายรูปทำบัตร และรอรับใบขับขี่ได้เลย

ทั้งหมดนี้ คงจะเป็นคำตอบในประเด็นที่ว่า คนหูหนวกขับรถได้ไหม? เพื่อให้ผู้พิการที่มีความประสงค์จะขับรถ นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เป็นประโยชน์ต่อไป ซึ่งการทำประกันรถยนต์โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ขับขี่เป็นผู้พิการนั้นนับว่าสำคัญมาก เนื่องจากการขับขี่จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้น หากผู้พิการจำเป็นต้องใช้รถ แนะนำให้ทำประกันรถยนต์จากบริษัทที่ไว้วางใจได้ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองคุ้มค่าที่สุด เช่นเดียวกับ ประกันรถยนต์ จาก แรบบิท แคร์ ที่มอบความคุ้มค่าได้ทุกแผนประกัน ให้คุณผ่อนสบาย 0% นาน 10 เดือนโดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต ประหยัดเบี้ยได้สูงสุดถึง 70% มีศูนย์ซ่อมครอบคลุม พร้อมบริการช่วยเหลือ 24 ชม

ความคุ้มครองประกันรถยนต์