ตาบอดสี ทำใบขับขี่ได้ไหม มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
ตาบอดสี ทำใบขับขี่ได้ไหม? คงเป็นคำถามคาใจใครหลายคนว่าเมื่อมีภาวะตาบอดสี จะสามารถสอบใบขับขี่ได้เหมือนกับคนทั่วไปหรือไม่ มีข้อยกเว้นในการสอบใบขับขี่สำหรับคนกลุ่มนี้หรือเปล่า แรบบิท แคร์ จะพามาหาคำตอบกัน
กฎหมายโรคที่ห้ามขับรถ มีโรคอะไรบ้าง
ในการทำใบขับขี่หรือต่อใบขับขี่ มักจะต้องใช้ใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันความสามารถในการควบคุมยานพาหนะของเราเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เพราะหากมีความผิดปกติทางร่างกาย ก็จะทำให้ไม่สามารถควบคุมยานพาหนะได้
ซึ่งกรมการขนส่งทางบกได้กำหนดโรคต้องห้ามในการขับขี่เอาไว้ทั้งหมด 5 โรค ได้แก่ โรคเท้าช้าง วัณโรค โรคเรื้อน โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคติดยาเสพติดให้โทษ แต่ปัจจุบัน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มโรคต้องห้ามเข้ามาอีก 9 โรค ได้แก่
1.โรคลมชัก
เกิดจากความผิดปกติจากระบบประสาทในสมอง เมื่อมีความเครียดหรือปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ เป็นแรงกระตุ้น อาจส่งผลให้เกิดอาการชักเกร็ง กระตุก ไม่รู้สึกตัว เป็นอันตรายในการขับขี่ได้
2.โรคเกี่ยวกับสายตา
ผู้ที่เป็นโรคต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ส่งผลให้มุมมองสายตาแคบ มองไฟจราจรไม่ชัด ส่งผลเสียต่อการขับขี่ได้
3.โรคทางสมองและระบบประสาท
ส่งผลให้มีอาการหลงลืม จดจำเส้นทางไม่ได้ กระทบกับการตัดสินใจขณะขับรถได้
4.โรคหัวใจ
หากเจอความเครียด กดดันจากการขับรถ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก จนอาจถึงขั้นหัวใจวายเฉียบพลันได้
5.โรคเบาหวาน ระยะควบคุมไม่ได้
หากปริมาณน้ำตาลตกขณะขับขี่ อาจเกิดอาการหน้ามืด เป็นลม ก่อให้เกิดอันตรายได้
6.โรคหลอดเลือดสมอง
ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก หากเกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด วิงเวียนศีรษะ แขนขาอ่อนแรง จะเป็นอันตรายต่อการขับขี่
7.โรคพาร์กินสัน
มีอาการเกร็ง มือเท้าสั่น เคลื่อนไหวช้า ตัดสินใจได้ช้าลง ส่งผลโดยตรงต่อการขับขี่
8.โรคข้ออักเสบ ไขข้อเสื่อม
จะมีอาการปวดบริเวณข้อ ใช้ร่างกายไม่ถนัด ความสามารถในการขับขี่น้อยลง หรือบังคับทิศทางรถได้ไม่ดีเท่าที่ควร
9.โรคความดันโลหิตสูง
เกิดจากภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้การทำงานของสมองหยุดชะงักลง และหากมีความเครียดจากการขับขี่ ความดันจะยิ่งสูงขึ้น จนหน้ามืด เวียนศีรษะ แขนขาอ่อนแรง จนอาจเส้นเลือดในสมองแตกได้
ใบขับขี่ คนพิการ ทำได้ไหม มีเงื่อนไข หรือข้อยกเว้นอะไรบ้าง
คนพิการขับรถได้ไหม มีเงื่อนไข หรือข้อยกเว้นอะไรบ้าง? หลายคนอาจจะคิดว่าคนพิการไม่สามารถทำใบขับขี่ หรือขับรถได้เหมือนกับคนทั่วไป ซึ่งความจริงแล้ว คนพิการสามารถขับรถได้เช่นกัน หากความพิการนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขับขี่ เช่น พิการทางการพูด หรือพิการแขนขาหนึ่งข้าง เป็นต้น โดยจะต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าสามารถขับขี่ได้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุ
ขับรถได้ไหม ถ้ามีใบรับรองแพทย์ ตาบอดสี ใบขับขี่ทำได้ไหม
ตาบอดสี ทำใบขับขี่ได้ไหม? ตาบอดสีสอบใบขับขี่ ได้หรือเปล่า?
คำตอบคือ ได้ หากไม่ได้ตาบอดสีกับสีหลัก และสามารถบอกความแตกต่างของสัญญาณไฟจราจรได้ถูกต้องในการทดสอบตาบอดสี หรือหากมีความผิดปกติกับสีหลักทั้ง 3 สี คือ แดง เหลือง เขียว ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ในการประเมินความสามารถในการแยกสี ว่าสามารถแยกความแตกต่างของทั้ง 3 สีได้หรือไม่ ในขั้นตอนการตรวจสมรรถภาพร่างกาย แต่จะต้องมีใบรับรองแพทย์มารับรองจึงจะสามารถทำใบขับขี่ได้
ตาบอดข้างเดียวขับรถได้ไหม มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
หลังจากทราบคำตอบในประเด็นที่ว่า ตาบอดสี ทำใบขับขี่ได้ไหม กันไปแล้ว มาที่ประเด็นตาบอดข้างเดียวกันบ้าง หากผู้ขับขี่ตาบอดข้างเดียว ก็ยังสามารถทำใบขับขี่และขับรถได้ไม่ต่างจากคนทั่วไป โดยจะต้องมีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่า ตาอีกข้างที่ไม่บอดนั้นมีสมรรถภาพดี มองเห็นได้ปกติ โดยนำมายื่นให้เจ้าหน้าที่เพื่อเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางกายในระหว่างทำใบขับขี่
ตาบอดสี รักษาได้ไหม เป็นตลอดชีวิตหรือเปล่า
โรคตาบอดสี เกิดจากความบกพร่องของเซลล์รับรู้การเห็นสี (Photoreceptor) ภายในดวงตา ที่มีการทำงานผิดปกติ จนทำให้สีภาพที่แสดงออกมาผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ส่วนใหญ่จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยผู้ที่มีภาวะนี้จะมองเห็นภาพต่าง ๆ ชัดเจน แต่จะเห็นสีผิดไปจากปกติ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคตาบอดสี มีดังนี้
- อายุที่มากขึ้น ส่งผลให้เซลล์ต่าง ๆ เกิดการเสื่อมสภาพ
- พันธุกรรม เป็นสาเหตุที่พบได้ในคนส่วนใหญ่ที่มีภาวะตาบอดสี โดยมักจะเป็นผู้ที่มีตาบอดสีเขียวและแดง
- โรคทางกาย กระทบต่อการมองเห็นสีของดวงตา เช่น โรคต้อหิน ต้อกระจก พาร์กินสัน ฯลฯ
- เกิดอุบัติเหตุ จนทำให้ดวงตาได้รับความเสียหาย
- ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาต้านอาการทางจิต
- ได้รับสารเคมีบางชนิด เช่น สาร Styrene ในพลาสติกหรือโฟมต่าง ๆ
การทดสอบตาบอดสี สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง โดยใช้แบบทดสอบตาบอดสีที่เรียกว่า แผ่นภาพทดสอบอิชิฮาระ ที่สามารถค้นหาได้ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยจะมีภาพสำหรับทดสอบตาบอดสีหลากหลายรูปแบบ โดยสีที่นำมาให้ทดสอบตาบอดสีนั้น จะเป็นคู่สีที่มักจะเป็นปัญหาในการมองเห็น ซึ่งหากสามารถอ่านตัวเลขหรือลากเส้นได้ถูกต้อง จะถือว่าไม่อยู่ในภาวะตาบอดสี
ผู้ที่มีภาวะดังกล่าว ไม่ใช่แค่กระทบกับการใช้ชีวิตเพียงอย่างเดียว แต่ยังอาจส่งผลต่อการขับขี่รถยนต์ด้วยเช่นกัน หากไม่ได้ตาบอดในสีหลักที่เป็นสีของสัญญาณไฟจราจรก็จะสามารถขับรถได้ตามปกติ แต่หากเป็นสีของสัญญาณไฟจราจร ก็จะต้องมีการทดสอบตาบอดสีว่าสามารถแยกแยะความแตกต่างของสีได้ถูกต้องหรือไม่ หากไม่สามารถทำได้ ก็จะไม่สามารถทำใบขับขี่ได้
มาดูที่การรักษากันบ้าง โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยเฉพาะในกรณีที่โรคเกิดจากพันธุกรรม แต่หากเกิดเพราะการเป็นโรคจนทำให้มีภาวะตาบอดสี สามารถแก้ได้ที่ต้นเหตุด้วยการรักษาโรคนั้น ๆ หากโรคทุเลาลง ก็จะมีโอกาสกลับมามองเห็นสีได้ตามปกติ
นอกจากการรักษาแล้ว ก็ยังมีอุปกรณ์ช่วยเหลือที่ช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น ใส่แว่นกรองสีหรือคอนแทคเลนส์สีชั่วคราว เพื่อให้เกิดความเข้มของสีที่มากขึ้น และแยกสีได้ดีขึ้นในที่สุด
สอบใบขับขี่ ทดสอบตาบอดสี มีขั้นตอนอะไรบ้าง
ตาบอดสี ทำใบขับขี่ได้ไหม? การทดสอบ มีขั้นตอนอย่างไร?
การสอบใบขับขี่ ปกติแล้วจะมีการทดสอบตาบอดสี เป็นหนึ่งในขั้นตอนการทดสอบสมรรถภาพอยู่แล้ว โดยจะต้องทำแบบทดสอบอิชิฮาระ ซึ่งเป็นจุดสีหลาย ๆ สี เรียงกันเป็นตัวเลข ซึ่งยากต่อการแยกแยะสีให้ถูกต้อง หากสามารถแยกแยะได้ก็จะผ่านการทดสอบในจุดนี้
โรคประจำตัวอะไรบ้าง ที่เกิดอุบัติเหตุรถยนต์ แล้วประกันไม่จ่าย
หลังทราบคำตอบในประเด็นที่ว่า ตาบอดสี ทำใบขับขี่ได้ไหม? กันไปแล้ว มาดูในส่วนของประกันรถยนต์กันบ้าง หากเกิดอุบัติเหตุรถยนต์จากการเจ็บป่วยด้วยโรคต้องห้าม ประกันมีสิทธิที่จะปฏิเสธการรับผิดชอบค่าเสียหายได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันแต่ละแห่งที่แตกต่างกันไป โดยโรคต้องห้ามนั้น ได้แก่ โรคเท้าช้าง วัณโรค (ระดับแพร่กระจาย) โรคเรื้อน โรคพิษสุราเรื้อรัง และผู้ติดสารเสพติด รวมไปถึงอีก 9 โรคที่กระทรวงสาธารณสุขเพิ่มเข้ามา ได้แก่ โรคลมชัก โรคเกี่ยวกับสายตา โรคทางสมองและระบบประสาท โรคหัวใจ โรคเบาหวาน (ระยะควบคุมไม่ได้) โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคข้ออักเสบ ไขข้อเสื่อม และโรคความดันโลหิตสูง
ข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ น่าจะเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ตาบอดสี ทำใบขับขี่ได้ไหม? ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อเป็นผู้ขับขี่แล้ว ไม่ว่าจะมีสภาพร่างกายที่ปกติหรือไม่ ก็ควรจะทำประกันรถยนต์เอาไว้เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเอง
ซึ่งหากทำประกันรถยนต์จากบริษัทที่ไว้วางใจได้ เช่นเดียวกับ แรบบิท แคร์ ก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจได้ในทุกครั้งที่ใช้รถ เพราะเรามีแผนประกันที่หลากหลายให้เลือกได้จาก 15 บริษัทประกันชั้นนำ มีศูนย์ซ่อมครอบคลุมทั่วไทย มีบริการช่วยเหลือ 24 ชม. พร้อมให้คุณประหยัดค่าเบี้ยได้สูงสุดถึง 70% ราคาคุ้มค่ากว่าเจ้าไหน ๆ แน่นอน
ความคุ้มครองประกันรถยนต์