Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

ก่อนผ่อนรถมอเตอร์ไซค์ควรรู้อะไรบ้าง
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: May 28, 2024

การเซ็นเอกสารที่ถูกต้อง หรือวิธีเซ็นสำเนาถูกต้อง มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

วิธีการเซ็นสำเนาถูกต้อง บัตรประชาชนต้องเขียนอะไรบ้าง?

จากข้อมูลในเว็บไซต์ของ PDPA PRO ได้กล่าวถึงการเซ็นสำเนาถูกต้องไว้ว่า วิธีการเซ็นเอกสารที่ถูกต้องหรือการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง มีขั้นตอนดังนี้

  • 1. ให้ขีดคร่อมลงไปบนสำเนาบัตรประชาชน โดยแนะนำให้ขีดเป็นสองเส้น แต่จะต้องระวังไม่ให้เส้นที่ขีดนั้นไปทับในบริเวณรูปถ่ายใบหน้าของเจ้าของบัตรประชาชน
  • 2. ให้เขียนระบุวัตถุประสงค์ในการใช้สำเนาบัตรประชาชนลงไปให้ชัดเจน เช่น ใช้ในการสมัครเรียน ใช้ในการสมัครงาน ใช้ในการยื่นกู้สินเชื่อ แจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ เป็นต้น
  • 3. ให้เขียนคำว่า “สำเนาถูกต้อง” พร้อมทั้งระบุวันเดือนปีที่ใช้สำเนาบัตรประชาชนลงไปด้วย

วิธีการเซ็นสำเนาถูกต้อง ทะเบียนบ้านต้องเขียนอะไรบ้าง?

หลักการการเซ็นสำเนาถูกต้องนั้นจะเหมือนกันหมดเลย เพียงแต่ว่าควรจะเขียนรายละเอียดหรือวัตถุประสงค์ในการใช้สำเนานั้นทับลงไปบนบัตรประชาชนด้วย อีกทั้งควรระมัดระวังไม่ให้ขีดเขียนทับลงไปยังบริเวณรูปถ่ายใบหน้า และไม่ควรเขียนรับรองสำเนาถูกต้องไว้ที่มุมใดมุมหนึ่ง หรือพื้นที่ว่าง ๆ บริเวณรอบสำเนาบัตรประชาชน เพราะอาจจะเสี่ยงต่อการถูกมิจฉาชีพนำไปแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนข้อความที่ระบุไว้ แล้วนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายนั่นเอง

การเซ็นสำเนาถูกต้อง เอกสารราชการต้องเขียนอะไรบ้าง?

นอกจากการเซ็นสำเนาถูกต้องแล้ว สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างคือไม่ควรส่งภาพถ่ายหลังบัตรประชาชนให้แก่ผู้อื่น เนื่องจากว่าด้านหลังบัตรประชาชนนั้นจะมีชุดตัวเลขที่เรียกว่า Laser ID ซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่มีไว้สำหรับยืนยันตัวตนร่วมกับเลขบัตรประชาชน และส่วนมากการดำเนินการกับทางหน่วยงานของรัฐก็มักจะต้องใช้ตัวเลขชุดนี้ด้วย ดังนั้นหากมีหน่วยงานใดที่ยืนยันว่าจะต้องถ่ายสำเนาบัตรทั้งด้านหน้าและด้านหลังพร้อมทั้งเซ็นสำเนาถูกต้อง ก็ควรที่จะปิดเลข Laser ID ตอนถ่ายสำเนาไว้ด้วย หรือถ้าหากว่าต้องกรอกข้อมูล Laser ID ก็ควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเหล่านั้นเป็นของหน่วยงานราชการหรือสถาบันการเงินจริง ๆ เพราะว่าอาจจะถูกมิจฉาชีพสวมรอยแล้วนำข้อมูลในบัตรไปใช้ในทางผิดกฎหมาย

“ลายเซ็น” เขียนยังไงถึงจะถูกต้อง?

โดยปกติแล้วทางกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าการเขียนลายเซ็นนั้นจะต้องสอดคล้องกับชื่อจริง เราสามารถใช้ชื่ออะไรก็ได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเซ็นเป็นตราสัญลักษณ์ ตัวบรรจง ตัวหวัด ตัวหวัดแกมบรรจง ชื่อเล่น ชื่อร้าน ชื่อสมมติ นามปากกา หรือแม้แต่กระทั่งเป็นชื่อปลอม ก็ล้วนแล้วแต่ใช้ได้ทั้งสิ้น ขอเพียงแค่นำสืบได้ว่าเป็นการลงลายมือชื่อของผู้เซ็นจริง ๆ ลายมือชื่อดังกล่าวก็จะถือว่าเป็นหลักฐานที่สมบูรณ์ และบุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้รับผิดทางกฎหมายทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้ก็จะต้องเป็นลายเซ็นที่มีผลตามกฎหมายด้วย ดังนี้

1. ลายเซ็นจริง (แบบดั้งเดิม)

โดยจะต้องเป็นลายเซ็นที่เขียนจริง หากเป็นกรณีที่เขียนหนังสือไม่เป็น ก็สามารถใช้ลายนิ้วมือแทนลายเซ็นได้เช่นเดียวกัน และแนะนำว่าควรจะมีพยานลงลายเซ็นด้วยอย่างน้อย 2 คน หรือถ้าหากว่าเป็นกรณีที่พิการ ก็สามารถใช้เครื่องหมายกากบาทหรือตราปั๊มได้เช่นเดียวกัน พร้อมทั้งจะต้องมีพยานลงลายเซ็นด้วยจำนวน 2 คน (หากเป็นกรณีที่ถูกบังคับให้เซ็น ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม จะถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะทันที)

2. ลายเซ็นดิจิทัล (ในระบบอิเล็กทรอนิกส์)

จากข้อมูลในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ลายเซ็นดิจิทัลประเภทนี้จะมีผลทางกฎหมายก็ต่อเมื่อสามารถใช้ระบุตัวตนของผู้ที่เป็นเจ้าของลายเซ็นนั้นได้ และจะต้องเป็นระบบลายเซ็นดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ พร้อมทั้งมีการเข้ารหัสไว้ด้วย ถ้าหากว่ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลายเซ็น หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ก็จะต้องอยู่ในความควบคุมของเจ้าของเท่านั้น กล่าวคือเจ้าของจะต้องรู้ได้นั่นเอง

Laser ID คืออะไร?

Laser ID คือ รหัสกำกับบัตรประจำตัวประชาชน โดยจะเป็นเลขที่กรมการปกครองใช้ในการควบคุมการจ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ที่จะมีการแจกจ่ายให้กับที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาลและเมืองพัทยา ซึ่งจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน โดยที่ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจะอยู่เพียงด้านหน้าของบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น ซึ่ง Laser ID จะประกอบไปด้วยรหัสจำนวน 3 ชุด ได้แก่

  • 1. รหัสชุดแรก จะประกอบไปด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษจำนวน 2 หลัก และตัวเลขจำนวน 1 หลัก ซึ่งจะหมายถึงรุ่นของชิปข้อมูลของบัตรประชาชน ตามช่วงระยะเวลาที่กรมการปกครองกำหนด
  • 2. รหัสชุดที่สอง จะประกอบไปด้วยตัวเลขจำนวน 7 หลัก ซึ่งจะหมายถึงหมายเลขของกล่องที่ใช้ในการบรรจุบัตรประชาชน
  • 3. รหัสชุดที่สาม จะประกอบไปด้วยตัวเลขจำนวน 2 หลัก ซึ่งจะหมายถึงลำดับของบัตรประชาชนที่บรรจุอยู่ในกล่องในรหัสชุดที่สองนั่นเอง

    การเซ็นเอกสารที่ถูกต้อง
    ที่มาของรูปภาพ : https://i.industry.go.th/lasercode/

ยกตัวอย่างเช่น รหัสหลังบัตรประชาชนเป็น JC3-0002505-10 ดังนั้นจะมีความหมายดังนี้

  • รุ่นของชิปประมวลผลข้อมูลของบัตรประชาชนใบนี้คือ JC3
  • บัตรประชาชนใบนี้ถูกบรรจุในกล่องที่กรมการปกครองแจกจ่ายบัตรให้กับหน่วยงานต่าง ๆ เป็นกล่องลำดับที่ 2505
  • บัตรประชาชนใบนี้เป็นบัตรลำดับที่ 10 ของกล่องหมายเลขที่ 2505

ข้อควรรู้เกี่ยวกับวิธีการเซ็นสำเนาถูกต้อง

เอกสารที่ต้องเซ็นสำเนาถูกต้อง มีอะไรบ้าง?

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสือรับรองเงินเดือน
  • ใบขับขี่
  • โฉนดที่ดิน
  • บัตรประจำตัวข้าราชการ
  • หนังสือรับรองการศึกษา
  • สูติบัตร
  • ทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน
  • ทะเบียนการศึกษา
  • ทะเบียนบ้านของลูกบ้าน
  • ทะเบียนรถยนต์
  • สมุดบัญชี
  • หนังสือรับรองรายได้
  • หนังสือรับรองการทำงาน
  • ฯลฯ

การส่งบัตรประชาชนทางไลน์ต้องทำอย่างไร?

  • 1. ต้องมีการเซ็นสำเนาถูกต้องทุกครั้ง โดยให้ลงลายเซ็นทับรูปบัตรประชาชนไปเลย เพื่อป้องกันการนำรูปไปตกแต่งใหม่ หรืออาจจะใช้เป็นวิธีการพิมพ์ข้อความวางทับบนรูปเลยก็ได้
  • 2. เขียนข้อความระบุลงไปให้ชัดเจนว่าใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร
  • 3. ลงลายมือชื่อหรือลายเซ็น พร้อมทั้งวันที่ให้ชัดเจน
  • 4. ปิดเลขประจำตัวประชาชน 3 ตัวหลัง (หากทำได้ หรืออยู่ในกรณีที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้เลขประจำตัวประชาชนในการทำธุรกรรม)
  • 5. ปิดบาร์โคดที่อยู่ด้านข้างของบัตรประชาชนเอาไว้ เนื่องจากว่าบาร์โคดนั้นอาจถูกนำไปสแกนเพื่อเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลบางอย่างได้
  • 6. ไม่ถ่ายด้านหลังบัตรประชาชนส่งให้ผู้อื่นโดยเด็ดขาด เพราะด้านหลังของบัตรประชาชนจะมี Laser ID ที่สามารถนำไปใช้ในการยืนยันตัวตนได้

การถ่ายรูปบัตรประชาชน ข้อห้ามมีอะไรบ้าง?

  • 1. ไม่สวมหมวก
  • 2. ไม่สวมแว่นตาสีเข้ม
  • 3. ไม่ใส่ผ้าคลุมหน้าหรือผ้าโพกศีรษะ (เว้นแต่ผู้ที่มีความจำเป็นทางศาสนา เช่น ศาสนาอิสลาม หรือซิกข์ และการคลุมหน้าจะต้องเปิดให้เห็นทั้งใบหน้า หน้าผาก คิ้ว ตา จมูก ปาก และคาง)
  • 4. ไม่ควรใส่ต่างหู หรือเครื่องประดับต่าง ๆ เพื่อความเป็นทางการและความสุภาพ
  • 5. ไม่ควรใส่เสื้อที่คอลึกหรือเสื้อแขนกุด เพื่อความเป็นทางการและความสุภาพ

ควรเลือกสมัครสินเชื่อแบบไหนดี เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานสูงสุด?

หากมีความจำเป็นที่จะยื่นขอสินเชื่อ แนะนำว่าให้ยื่นขอสินเชื่อที่ถูกกฎหมายจะดีที่สุด แต่ถ้าหากไม่รู้ว่าจะยื่นกู้สินเชื่อธนาคารอะไรดี ทางเราขอแนะนำเป็นบริการจากทางแรบบิท แคร์ เพราะเป็นบริษัทที่มั่นคง ปลอดภัย และสามารถไว้วางใจได้ อีกทั้งยังมีบริการสุดพิเศษที่จะช่วยให้คุณเลือก ยื่นกู้สินเชื่อ ได้ตรงตามความต้องการของคุณได้มากที่สุด รวดเร็วทันใจ ภายใน 30 วินาที

สมัครสินเชื่อผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

หากคุณมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาต่าง ๆ นอกจากคุณจะได้รับคำปรึกษาต่าง ๆ คุณยังสามารถสอบถามรายละเอียดกับทางแรบบิท แคร์ ได้เลย จึงทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่ธนาคารเอง อีกทั้งไม่ต้องกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว เพราะ แรบบิท แคร์ มีระบบรักษาความปลอดภัยสูง ดังนั้นจึงไว้วางใจที่จะเลือกใช้บริการของแรบบิท แคร์ ได้เลย

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

UOB Xpress สินเชื่อส่วนบุคคลUOB Xpress

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำ 9.99% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้าน
  • รวมหนี้บัตรเครดิต ผ่อน 60 เดือน
  • รายได้ 25,000 บาท อายุงาน 4 เดือน
  • รายได้ 25,000 บาท กิจการ 3 ปี
  • อายุ 20-60 ปี รวมอายุผ่อน
สินเชื่อส่วนบุคคลไทยเครดิตไทยเครดิต

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำสุด 9.99% ต่อปี
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้าน
  • จ่ายขั้นต่ำ 3% หรือ 500 บาท
  • อายุ 20-60 ปี สัญชาติไทย
  • รวบหนี้บัตรและเงินสด
  • ไม่มีค้ำประกัน
สินเชื่อเงินสด MoneyThunderMoneyThunder

สินเชื่อเงินสด

  • วงเงินสูงสุด 1 ล้าน
  • อนุมัติไวสุดใน 10 นาที
  • ดอกเบี้ยเบา 2.08% ต่อเดือน
  • รับวงเงินหมุนเวียน ผ่อนเริ่มต้น 200 บาท
  • รับเงินก้อนเดียว แบ่งจ่ายสูงสุด 60 เดือน
  • ไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือผู้ค้ำ
LINE BKLINE BK

สินเชื่อเงินสด

  • รายได้ 5,000 บาท ก็ยืมได้
  • ใช้เงินได้ทันทีหลังอนุมัติ
  • ใช้จ่ายจำเป็น ดอกเบี้ยไม่เกิน 25%
  • ทุนหมุนเวียนธุรกิจ ดอกเบี้ยสูงสุด 33%
  • อนุมัติสูงสุด 5 เท่าของรายได้
  • มีบัญชี LINE BK สมัครได้เลย

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา