เราควรจะวางแผนการใช้เงินอย่างไร ในขณะที่มีวิกฤตค่าครองชีพสูง และเงินเฟ้อ ?
ค่าครองชีพถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตประจำวัน และในปัจจุบันคนไทยหลายคนกำลังเผชิญกับปัญหารายรับที่สวนทางกับรายจ่าย อันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพพื้นฐานที่กำลังถูกปรับขึ้นหลายอย่าง หรือที่เราเรียกกันว่าค่าครองชีพสูงนั่นเอง ทั้งรายการที่เราสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนและทั้งที่เราไม่ทันได้สังเกตเห็นก็มีมาก ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อนั้นเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แต่เมื่อเทียบกับฐานเงินเดือนเฉลี่ยของประชากรส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ จากฐานข้อมูลค่าครองชีพในเว็บไซต์ numbeo พบว่ามีเงินเดือนสุทธิเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 22,283.62 บาท(หลังหักภาษีเรียบร้อยแล้ว)
และถ้าหากลองพิจารณาว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนของคนในกรุงเทพฯ นั้นจะเพียงพอต่อรายจ่ายในแต่ละเดือนหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ เหตุปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายจิปาถะ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เราก็จะพบว่ารายได้ในแต่ละเดือนนั้นแทบจะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในแต่ละเดือนเลย จึงส่งผลทำให้มีการเก็บออมที่น้อยลงตามมาด้วย ซึ่งก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเรื่องค่าครองชีพสูงนั้นจะส่งผลกระทบไปยังเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย โดยที่ดัชนีราคาผู้บริโภคประจำเดือนเมษายน 2566 ของประเทศไทยนั้นเท่ากับ 107.96 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันแต่เป็นของปี 2565 พบว่าเท่ากับ 105.15 จะเห็นได้ถึงการส่งผลทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เพิ่มสูงขึ้น 2.67%(YoY) ต่ำสุดในรอบ 16 เดือน และชะลอตัวต่อเนื่องมาได้ 4 เดือนแล้ว อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลง บวกกับราคาค่าอาหารที่ชะลอตัวลง หลังจากที่เกิดปัญหาค่าครองชีพสูงขึ้น
ทีนี้เราก็จะเริ่มเข้าใจมากขึ้นแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจนั้นถือว่าเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของทุกประเทศ เพราะนอกจากสภาวะทางเศรษฐกิจจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการพัฒนาและความเป็นอยู่ของประเทศแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องมีการวางแผนเพื่อรับมือและปรับตัวให้เท่าทันต่อเหตุการณ์ทั่วโลกอยู่เสมอ อย่างในเรื่องของค่าครองชีพสูงก็เหมือนกัน จะได้มีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และเป็นตัวช่วยสำคัญในการเพิ่มโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ
ค่าครองชีพคืออะไร?
ก่อนอื่นเราจะต้องมาทำความรู้จักกับสิ่งสำคัญที่จะสามารถนำไปใช้วัดค่าครองชีพสูงและภาวะเงินเฟ้อได้ นั่นก็คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรือ Consumer Price Index ที่จะเป็นเครื่องมือทางสถิติสำหรับใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกของสินค้า และการบริการในปริมาณที่เท่ากันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเทียบกับราคาของสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น ที่จะเรียกว่า ปีฐาน(Base Year) โดยที่ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปนี้ก็จะเป็นตัวที่จะคอยชี้วัดว่าประเทศนั้นมีความมั่นคงหรือมีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด และจะมีค่าครองชีพสูงหรือต่ำขนาดไหน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปวิเคราะห์ถึงการขยายตัวของเมือง การขยายตัวของเศรษฐกิจ และใช้อ้างอิงถึงมูลค่าสิ่งต่าง ๆ ได้โดยที่แนวความคิดพื้นฐานของดัชนีราคาผู้บริโภคนั้นถูกพัฒนามาจากแนวความคิดของดัชนีค่าครองชีพ หรือ Cost Of Livng Index ที่มีความต้องการจะวัดค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในเดือนหนึ่ง ๆ โดยจะยังคงรักษามาตรฐานการครองชีพให้เป็นไปตามในระดับที่กำหนดไว้ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นมันเป็นไปได้ยากมากในทางปฏิบัติ เพราะมาตรฐานการครองชีพก็ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน จึงได้มีการปรับให้นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งในเรื่องของปริมาณและลักษณะของสินค้าให้คงที่ไว้ ส่วนราคาของสินค้าก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลานั้น ๆ
ค่าครองชีพสูงเกิดจากอะไร และมีปัจจัยใดที่ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น?
การที่ค่าครองชีพสูงขึ้น จะยิ่งทำให้ประชาชนมีอำนาจและความสามารถในการซื้อสินค้า หรือการบริโภคสินค้าที่น้อยลง เพราะว่ามีรายได้ที่ไม่สัมพันธ์กับรายจ่าย เลยอาจจะทำให้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพได้ เพราะถ้าหากยังมีรายได้เท่าเดิมแต่รายจ่ายเพิ่มมากขึ้น มันจะทำให้เกิดผลเสียต่อประชาชนและเศรษฐกิจโดยตรง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นนั้นมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
- การขาดแคลนของสินค้า
- พฤติกรรมการอุปโภคและบริโภคสินค้าต่าง ๆ
- ราคาของพลังงานและราคาของน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น
- ค่าครองชีพสูงจากอุปสรรคทางด้านการค้า
- ต้นทุนของค่าขนส่งที่เพิ่มมากขึ้น
- ค่าจ้างหรือค่าแรงที่เพิ่มมากขึ้น
- การยุติการช่วยเหลือในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา
- ค่าครองชีพสูงจากผลกระทบทางด้านสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน
- การที่รัฐบาลจ่ายเงินงบประมาณเกินกว่ารายรับ
ค่าครองชีพสูง ผลกระทบมีมากมาย แล้วผลกระทบที่ว่านั้นจะมีอะไรบ้าง?
ผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มนั้นจะได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าครองชีพสูงที่แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจัยและสภาพแวดล้อมหลายอย่าง โดยกลุ่มคนที่มีโอกาสทางสังคมและโอกาสทางเศรษฐกิจน้อยจะได้รับผลกระทบมากที่สุดในปัญหาค่าครองชีพสูง ดังนี้
- ประชากรที่อาศัยอยู่ในชนบทจะได้รับผลกระทบค่าครองชีพสูงมากกว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง เพราะว่าสิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งที่ตั้งของโรงงานการผลิตส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก จึงทำให้สินค้าในชนบทมีต้นทุนที่สูงกว่าในเมือง เพราะมีทั้งค่าขนส่ง และค่าการกระจายสินค้า เป็นต้น
- ผู้ที่มีรายได้ต่ำจะได้รับผลกระทบค่าครองชีพสูงมากกว่าผู้ที่มีรายได้สูง
- ผู้ที่มีรายได้ประจำจะได้รับผลกระทบค่าครองชีพสูงมากกว่าเหล่ากลุ่มเกษตรกร เพราะเหล่าแรงงานลูกจ้างและผู้ที่มีรายได้ประจำนั้น จะต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงขึ้น แต่ในขณะที่เหล่าเกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากราคาผลผลิตทางการเกษตรที่สูงขึ้นนั่นเอง
วิธีรับมือหรือวิธีลดค่าครองชีพที่สูงขึ้น?
ในเรื่องปัญหาค่าครองชีพสูงและปัญหาเงินเฟ้อนั้น ปกติแล้วจะเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องพยายามแก้ไข เพราะถ้ายิ่งมีอัตราเงินเฟ้อสูงเมื่อไหร่ ก็จะไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนมากเท่านั้น เพราะถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นภัยทางเศรษฐกิจ โดยถ้าหากอัตราเงินเฟ้อนั้นมีเพียงเล็กน้อย ก็จะสามารถช่วยให้การค้าในประเทศคล่องตัวขึ้น อีกทั้งผู้คนยังมีเงินไปลงทุนทำมาหากินและหาเลี้ยงชีพได้ บวกกับจะสามารถช่วยส่งเสริมความเจริญทางด้านเศรษฐกิจได้อีกด้วย แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นอย่างรุนแรง ก็จะส่งผลทำให้เกิดการกระทบกระเทือนทางด้านการครองชีพของประชาชนโดยตรง คือ จะทำให้รายได้ที่แท้จริงของประชาชนนั้นตกต่ำมาก เลยทำให้เกิดการขอขึ้นค่าแรงตามมา และจะทำให้เกิดวัฏจักรของสินค้าที่มีต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ หากยิ่งปล่อยให้เกิดวิกฤติค่าครองชีพสูงไว้นานเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งส่งผลร้ายต่อประเทศชาติและประชาชนโดยตรง แต่ประชาชนอย่างเราก็ควรจะที่ต้องมีการวางแผนชีวิตเอาไว้ เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นแบบไม่ทันได้คาดคิดเอาไว้ด้วย เพื่อกระจายความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เช่น การทำประกันสุขภาพ หรือการทำประกันชีวิตก็สามารถช่วยได้เหมือนกัน แถมยังเหมือนกับการออมเงินไปในตัวด้วย เพราะจะได้รับเงินก้อนใหญ่เมื่อครบสัญญา หรือสามารถวางแผนทำเป็นมรดกไว้ส่งต่อให้กบลูกหลานก็ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรใช้ชีวิตอย่างประมาท และควรวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคใหม่ ลดการใช้สิ่งของฟุ่มเฟือยหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็จะสามารถช่วยให้เรามีเงินเก็บหรือมีเงินฉุกเฉินเอาไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็นได้พอสมควร
ประกันออมทรัพย์ที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ
คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย
อยากทำประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองในระยะยาว เพื่ออนาคตที่มั่นคง ควรเลือกแบบสะสมทรัพย์ดีไหม?
แนะนำว่าควรเลือกทำเป็นประกันชีวิตแบบออมทรัพย์เพราะนอกจากจะให้ความคุ้มครองยาว ๆ ทั้งในเรื่องของความคุ้มครองชีวิตและความคุ้มครองจากอุบัติเหตุแล้ว ก็ยังทำให้การออมเงินเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น และยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ครบสัญญาเมื่อไหร่ก็รับเงินก้อนใหญ่พร้อมเงินคืนทันที เรียกได้ว่าคุ้มค่า คุ้มราคา แถมยังมีเงินปันผลคืนให้อีก และยังสามารถทำได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ไปจนถึงวัยสูงอายุได้อีกด้วย สามารถเลือกดูแผนที่ใช่กับบริษัทชั้นนำมากมายได้ที่ประกันสะสมทรัพย์
เลือกซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
เพราะที่แรบบิท แคร์ นั้นให้สิทธิประโยชน์แก่ลูกค้ามากกว่าที่อื่นมากมาย เช่น ความสะดวกสบายที่มากกว่าที่อื่น เพราะเรามีแผนประกันที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ รวดเร็วทันใจ และสามารถชำระเบี้ยประกันได้หลากหลายช่องทาง อีกทั้งการบริการที่คุณจะได้รับการดูแลมากกว่าที่อื่น เพราะแรบบิท แคร์ ไม่ได้เป็นแค่โบรกเกอร์ประกันภัยเพียงอย่างเดียว แต่แรบบิท แคร์ จะอยู่เคียงข้างคุณ 24 ชั่วโมง หากคุณต้องการความช่วยเหลือ ก็สามารถติดต่อเราได้ทันทีที่ Care Certer เบอร์โทรศัพท์ 1438