ปัญหา “ตู้แอร์รถยนต์รั่ว” เกิดจากอะไร?
ถึงแม้ว่าแอร์รถยนต์จะไม่ได้ส่งผลต่อการขับเคลื่อนของรถยนต์โดยตรง แต่ก็จัดว่าเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี เพราะด้วยสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในประเทศไทย การขับรถท่ามกลางอากาศที่เย็นสบายก็เป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้การขับขี่นั้นเป็นเรื่องที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ระบบปรับอากาศภายในรถยนต์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
- คอมเพรสเซอร์ จะติดตั้งอยู่ที่เครื่องยนต์ โดยอาศัยแรงขับจากเครื่องยนต์สู่สายพาน ทำหน้าที่หมุนเวียนน้ำยาแอร์รถยนต์ให้อยู่ในระบบ คอยดูดและอัดน้ำยาแอร์ให้มีแรงดันสูงขึ้น
- คอนเดนเซอร์ ทำหน้าที่ระบายความร้อนของน้ำยาแอร์ที่ออกมาจากคอมเพรสเซอร์ โดยอาศัยพัดลมระบายความร้อนในขณะที่รถยนต์กำลังวิ่งเคลื่อนที่
- รีซีฟเวอร์-ดรายเออร์ จะติดตั้งอยู่ระหว่างคอนเดนเซอร์กับตู้แอร์รถยนต์ คอยทำหน้าที่คอยดูดซับความชื้น กรองสิ่งสกปรกในน้ำยาแอร์ และกักเก็บน้ำยาแอร์รถยนต์ให้มีปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานภายในระบบปรับอากาศ และจะมีตาแมวไว้สำหรับดูปริมาณน้ำยาแอร์ได้ว่าเหลือมากน้อยเพียงใด โดยในรถยนต์บางรุ่นจะมีสวิตช์ความดันติดตั้งไว้อยู่ด้วย เวลาที่ความดันในระบบเกิดสูงหรือต่ำจนเกินไป ชุดคลัตช์แอร์ก็จะตัดการทำงานโดยทันที เพื่อป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์เกิดความเสียหาย
- ตู้แอร์
จะถูกติดตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของแผงหน้าปัดภายในห้องโดยสาร ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 ชิ้นส่วนที่สำคัญ ได้แก่
- 4.1 ตู้แอร์รถยนต์(Evaporator) ทำหน้าที่เปลี่ยนอากาศร้อนให้เย็นขึ้น
- 4.2 พัดลมตู้แอร์ ทำหน้าที่ดูดอากาศร้อนจากภายในห้องโดยสาร ให้ผ่านที่ตู้แอร์รถยนต์แล้วกลายเป็นลมเย็นเป่าออกมา
- 4.3 Expansion Valve ทำหน้าที่ปรับความดันของน้ำยาแอร์รถยนต์ให้มีคุณสมบัติในการดูดซับความร้อนจากอากาศ
- ชุดทำความร้อน โดยปกติจะใช้ในขณะที่อากาศหนาว เพราะจะต้องใช้ความร้อนจากน้ำหล่อเย็นภายในเครื่องยนต์นั้นมาอุ่นเพื่อให้เกิดอากาศที่ร้อนขึ้น แล้วเป่าออกมาทางพัดลม
ตู้แอร์รถยนต์คืออะไร?
ตู้แอร์รถยนต์(Evaporator) จะมีหน้าที่ในการนำพาความร้อนไปยังสารทำความเย็น จนเกิดเป็นไอและถูกดูดออกมาโดยคอมเพรสเซอร์กลับไปเป็นน้ำหรือของเหลวอีกครั้ง
วิธีการดูแลรักษาตู้แอร์รถยนต์
- หมั่นตรวจเช็กระบบแอร์รถยนต์เบื้องต้นด้วยตนเอง เช่น แอร์รถยนต์มีกลิ่นไหม หรือแอร์รถยนต์ยังเย็นปกติดีอยู่ไหม
- หมั่นนำรถยนต์เข้าไปที่ศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็กทุก ๆ 6 เดือน
- ควรศึกษาให้ดีก่อนว่ารถยนต์ของเรานั้นใช้น้ำยาแอร์รถยนต์แบบไหน ใช้แบบ R-12 หรือแบบ R134a เพราะน้ำยาแอร์รถยนต์ทั้ง 2 ประเภทนี้จะมีการทำงานที่แตกต่างกัน คือ รถยนต์ที่ใช้น้ำยาแอร์ประเภท R-12 จะไม่สามารถใช้ร่วมกันกับประเภท R134a แต่รถยนต์ที่ใช้น้ำยาแอร์ประเภท R134a จะสามารถใช้งานร่วมกันกับประเภท R-12 เพราะรถยนต์ที่ผลิตก่อนปี พ.ศ. 2538 จะใช้น้ำยาแอร์รถยนต์ประเภท R-12 และหลังจากนั้นจะเปลี่ยนมาใช้น้ำยาแอร์รถยนต์ประเภท R134a ทั้งหมด
ตู้แอร์รถยนต์รั่ว สาเหตุมาจากอะไร?
การที่ตู้แอร์รถยนต์รั่วนั้นจะมีความหมายเหมือนกันกับการที่น้ำยาแอร์ของรถยนต์รั่วออกมานั่นเอง ซึ่งระบบแอร์รถยนต์นั้นจะเป็นระบบแบบปิด จึงไม่ควรที่จะมีรอยรั่วหรือรอยซึมใด ๆ แต่ถึงอย่างไรแล้วก็อาจจะต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จึงถือว่าเป็นเรื่องปกติในการใช้งานอยู่แล้ว
ดังนั้นปัญหาตู้แอร์รถยนต์รั่วจึงมักจะมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของท่อ ซีล ข้อต่อ หรือวาล์วของอุปกรณ์ส่วนควบต่าง ๆ เช่น คอยล์ร้อน คอยล์เย็น คอมเพรสเซอร์ โดยที่ภายในของอุปกรณ์เหล่านี้จะมีแรงดันเพื่อดันให้น้ำยาแอร์ทะลุผ่านไปได้ และเมื่อระยะเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ ในส่วนของน้ำยาแอร์นั้นก็จะมีปริมาณที่ลดลงจนหมดไปในที่สุด เพราะฉะนั้นการที่ตู้แอร์รถยนต์รั่วจึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้แอร์ไม่เย็นนั่นเอง
ตู้แอร์รถยนต์รั่ว อาการจะเป็นอย่างไร?
เราอาจจะสามารถสังเกตได้จากการที่มีแต่ลมเป่าออกมาจากช่องแอร์ แทนที่จะเป็นความเย็นจากแอร์แบบปกติ และอาจจะมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
- จะรู้สึกได้เลยว่าแอร์รถยนต์นั้นไม่เย็นเหมือนเมื่อก่อน
- เมื่อรถยนต์จอดนิ่ง ๆ แล้วแอร์ไม่เย็น แต่ในทางกลับกันเมื่อรถยนต์เคลื่อนที่ แอร์ก็จะกลับมาเย็นปกติเหมือนเดิม
- มีเสียงดังผิดปกติออกมาจากด้านในของแอร์รถยนต์
- มีกลิ่นเหม็นผิดปกติออกมาจากด้านในของช่องแอร์รถยนต์
- มีน้ำหยดอยู่ภายในห้องโดยสาร ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่น้ำมันจากตัวคอมเพรสเซอร์รั่ว แล้วสะสมรวมกันกับฝุ่นจนเกิดเป็นท่อแอร์ตันขึ้นมา
วิธีตรวจสอบเบื้องต้นว่าตู้แอร์รถยนต์รั่ว
- ให้มองดูตามท่อ แผงระบายอากาศ หรือตามรอยต่อของอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่ามีรอยรั่วหรือไม่?
- ควรล้างแอร์รถยนต์ทุก ๆ 1 ปี หรือประมาณ 20,000 กิโลเมตรขึ้นไป
- หมั่นตรวจสอบน้ำยาแอร์ว่ายังมีเหลืออยู่เท่าไร หากพบว่าน้ำยาแอร์ใกล้จะหมดแล้วก็ควรที่จะรีบเติมน้ำยาแอร์โดยทันที อย่ารอให้น้ำยาแอร์รถยนต์แห้ง
ตู้แอร์รถยนต์รั่ว ซ่อมได้ไหม?
สามารถซ่อมได้ แต่เบื้องต้นแนะนำว่าควรที่จะนำรถยนต์ไปที่ศูนย์บริการหรือที่ร้านซ่อมแอร์รถยนต์เพื่อให้ช่างดูให้ก่อน จะได้เป็นการตรวจสอบให้แน่ใจว่าการที่แอร์รถยนต์ไม่เย็นนั้นเกิดจากอะไรกันแน่ เพราะมันมีได้หลายสาเหตุที่อาจจะทำให้แอร์รถยนต์ไม่เย็น เช่น การที่น้ำยาแอร์ขาด แผงคอยล์ร้อนระบายความร้อนได้ไม่เพียงพอ ลูกสูบภายในคอมเพรสเซอร์หลวม คลัตช์คอมเพรสเซอร์จับไม่สนิท ชุดวาล์วอุดตัน สายพานคอมเพรสเซอร์หย่อน หรือการใช้น้ำยาแอร์รถยนต์ที่ผิดประเภท ซึ่งถ้าหากว่าเกิดปัญหาเหล่านี้ เราไม่ควรที่จะปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะว่าอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้ ดังนั้นจึงควรที่จะทำการซ่อมบำรุงโดยทันที
ตู้แอร์รถยนต์รั่ว ราคาซ่อมแพงไหม?
โดยทั่วไปแล้วราคาซ่อมนั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ตู้แอร์รถยนต์รั่ว รวมไปถึงรุ่นของรถยนต์และอะไหล่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อาจจะมีราคาหลักร้อยไปจนถึงหลักพัน เพราะฉะนั้นจึงแนะนำว่าควรที่จะสอบถามและปรึกษากับทางร้านซ่อมแอร์รถยนต์ก่อนจะได้ตัดสินใจถูก
ถ้าหากตู้แอร์รถยนต์รั่ว แบบนี้ประกันจะรับเคลมไหม?
หากตู้แอร์รถยนต์รั่วหรือเกิดปัญหาโดยที่ไม่ได้มีสาเหตุจากอุบัติเหตุ ในส่วนนี้ทางบริษัทประกันภัยจะไม่ได้ให้ความคุ้มครองหรือไม่ได้รับเคลม แต่ถ้าหากว่ามีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุหรือว่าภัยธรรมชาติ ในกรณีนี้ทางบริษัทประกันภัยจะสามารถรับเคลมได้ เพราะว่าอยู่ในความคุ้มครองของประกันรถยนต์ คือจะคุ้มครองในส่วนที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือว่าเกิดจากภัยธรรมชาติเท่านั้น เลยแนะนำสำหรับท่านที่ต้องการจะได้รับความคุ้มครองแบบครอบคลุมที่สุด นอกจากจะเป็นการทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 การทำประกันอะไหล่รถยนต์ควบคู่ไปด้วยก็จะเป็นทางเลือกที่ดีเช่นเดียวกัน เพราะคุณจะสามารถมั่นใจได้เลยว่าจะได้รับความคุ้มครองแน่นอน ไม่ว่าปัญหานั้นจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม
ถ้าหากตู้แอร์รถยนต์รั่ว ประกันจะรับเคลมไหม?
กรณีตู้แอร์รถยนต์รั่ว ประกันรถยนต์จะรับเคลมหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของประกันภัยและสาเหตุของความเสียหาย ดังนี้
1. ประกันภัยชั้น 1
- ความคุ้มครอง : ประกันภัยชั้น 1 จะคุ้มครองในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตู้แอร์รั่วจากการชนหรือได้รับแรงกระแทกจากอุบัติเหตุภายนอก ประกันชั้น 1 จะครอบคลุมค่าซ่อมแซมหรือเปลี่ยนตู้แอร์ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์
- ความสึกหรอตามการใช้งาน : หากตู้แอร์รั่วเกิดจากการเสื่อมสภาพหรือการสึกหรอจากการใช้งานปกติ (ไม่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ) ประกันชั้น 1 จะไม่คุ้มครอง เพราะการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนรถยนต์เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบเอง
2. ประกันภัยชั้น 2/2+ และ 3/3+
- ความคุ้มครอง : ประกันชั้น 2, 2+ และ 3, 3+ มักจะไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากตู้แอร์รั่ว ไม่ว่าจะเกิดจากการเสื่อมสภาพหรือความเสียหายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุโดยตรง แต่สำหรับประกันชั้น 2+ และ 3+ อาจมีการคุ้มครองหากความเสียหายเกิดจากอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี แต่ถ้าตู้แอร์รั่วเกิดจากการใช้งานหรือสภาพแวดล้อม ประกันจะไม่คุ้มครอง
การบำรุงรักษาและสึกหรอตามปกติ
หากตู้แอร์รั่วเกิดจากการเสื่อมสภาพตามการใช้งาน หรือปัญหาทางเทคนิคของระบบแอร์ภายในรถ ประกันภัยทุกรูปแบบ (ทั้งชั้น 1, 2/2+, และ 3/3+) จะไม่ครอบคลุม เนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดจากการใช้งานตามปกติ ซึ่งเจ้าของรถจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนตู้แอร์เอง
โดยสรุปแล้ว ประกันชั้น 1 จะคุ้มครองในกรณีที่ตู้แอร์รั่วจากอุบัติเหตุภายนอก เช่น การชนหรือกระแทก แต่ไม่คุ้มครองในกรณีที่รั่วจากการเสื่อมสภาพตามการใช้งาน ขณะที่ ประกันชั้น 2/2+ และ 3/3+ มักจะไม่คุ้มครองความเสียหายจากตู้แอร์รั่ว โดยเฉพาะหากเกิดจากการเสื่อมสภาพตามการใช้งาน
ความคุ้มครองประกันรถยนต์
คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย
แล้วควรที่จะเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดี?
แนะนำว่าควรทำประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 ไว้จะดีที่สุด เพราะถึงแม้ว่าราคาจะแพงเป็นอันดับต้นในบรรดาประกันภัยทุกชั้น แต่ในเรื่องของความคุ้มครองที่จะได้รับนั้นก็สามารถมั่นใจได้เลย 100% ว่าคุ้มค่า คุ้มราคาแน่นอน เพราะถือว่าเป็นประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นในกรณีรถหาย รถไฟไหม้ หรือรถน้ำท่วม ก็รับเคลมทั้งสิ้น
ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
เพราะลูกค้าสามารถมั่นใจได้เลยว่าจะได้รับสิทธิพิเศษตั้งแต่เริ่มวางแผนซื้อประกันภัยกับทางแรบบิท แคร์ เพราะว่าแรบบิท แคร์ นั้นจะมีระบบเปรียบเทียบแผนประกันออนไลน์ที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว ใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาที ก็จะสามารถรู้ราคาของประกันภัยรถยนต์ในแต่ละบริษัทประกันภัยชั้นนำทั่วประเทศได้เลย เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกสรรแผนประกันที่ตอบโจทย์และตรงตามความต้องการมากที่สุด อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาได้มาก และนอกจากนี้แรบบิท แคร์ ยังมีข้อเสนอสุดพิเศษอื่น ๆ ที่ลูกค้าจะได้รับหากซื้อประกันรถยนต์กับเรา ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของแรบบิท แคร์