Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

มือใหม่ต้องรู้! พรบ.รถจักรยานยนต์ เบิกจ่ายอะไรได้บ้าง?

หลายๆ คนสำหรับเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์ทั้งหลายถ้าไม่เคยได้ยินประโยคดังกล่าว คงต้องแอบคิดขึ้นมาบ้างว่าจริงๆ การเบิกพรบ.รถจักรยานยนต์ นี้ทำอย่างไรเพราะปกติแล้วมีประกันให้เลือกเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะชั้น 1 ชั้น 2 หรือชั้น 3 แต่ทำไมยังต้องลำบากเสียเงินต่อ พรบ.รถจักรยานยนต์ด้วย? วันนี้เราจะมาเจาะลึกข้อมูลว่าจริงๆแล้ว พรบ.มอเตอร์ไซค์หรือ พรบ.รถจักรยานยนต์นี้มีความสำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องมี เกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ไม่มีพรบ จะทำอย่างไร แล้วหากมี พรบ. จะสามารถเบิก พรบ.รถจักรยานยนต์ นี้ได้อย่างไร ให้หลายๆ คนคลายข้อสงสัยที่อาจจะค้างคาใจกันมาตลอด เรามารู้จักขั้นตอนการเบิก พรบ.รถจักรยานยนต์ กันในบทความนี้ที่เรารวบรวมแบบอัดแน่น ไปกันเลย!

พรบ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำและมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พรบ. ว่า จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงทีนั้นเอง

พอทราบความหมายของ พรบ. แล้ว มาดูกันต่อว่าถ้าเป็น การเบิก พรบ.รถจักรยานยนต์หล่ะ จะเป็นแบบไหน ครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนไหนบ้าง วันนี้เราจะรวบรวมข้อมูลแบบอัดแน่นให้ทุกท่านได้คลายข้อสงสัยกัน

ที่มาและการเบิก พรบ.รถจักรยานยนต์

หลังจากการใช้งานของรถจักรยานยนต์เริ่มแพร่หลาย ก็ปรากฏผู้ขับขี่รถที่รวดเร็ว อันตราย ไม่คำนึงถึงผู้อื่นบนท้องถนนมากขึ้น ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เกิดความสูญเสียหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้รถใช้ถนน หรือคนธรรมดาข้างทางก็ตาม

ประเทศอังกฤษจึงริเริ่ม พรบ.การจราจรบนท้องถนนขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้เคราะห์ร้ายในเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนน ว่าจะได้รับเงินชดเชยเบื้องต้นอย่างแน่นอน หลังจากนั้นหลายประเทศทั่วโลกจึงเริ่มประกาศใช้ พรบ.รูปแบบเดียวกันเป็นของตัวเอง และพัฒนาเป็น พรบ.รถยนต์ และ พรบ.รถจักรยานยนต์ แจกแจงตามความเหมาะสมตามแต่ละพื้นที่

ในปัจจุบันการคุ้มครองและการเบิก พรบ.รถจักรยานยนต์ กว้างขึ้นและครอบคลุมขึ้นเยอะ โดยเฉพาะถ้าเบิก พรบ รถมอเตอร์ไซค์ นั้นมีการปรับปรุงวงเงินและการทำงานให้รวดเร็วขึ้นมาก

พรบ.รถจักรยานยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

ดังที่กล่าวว่าหน้าที่ที่แท้จริงของตัว พรบ.คือการคุ้มครองค่าใช้จ่ายของผู้ขับขี่ ไม่ว่าจะเป็น พรบ. มอเตอร์ไซค์หรือ พรบ.รถจักรยานยนต์ แล้วได้ผ่านการปรับปรุงแบบแผน ทำให้หลายๆ คนสงสัยว่าตอนนี้ การเบิก พรบ.รถจักรยานยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง ซึ่งทุกคนจะทราบถึงรายละเอียดหลังจากนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้น ยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด

คือค่าใช้จ่ายที่ พรบ.รถจักรยานยนต์ จะดำเนินการชดเชยให้เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน สามารถเบิกจ่ายได้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด ครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อน

  • ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริง วงเงินไม่เกิน 30,000 บาท /คน
  • เสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ ชดเชย 35,000 บาท /คน

ค่าสินไหมทดแทน เมื่อพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก

คือค่าใช้จ่ายที่เราสามารถเบิก พรบ.รถจักรยานยนต์ และจะชดเชยให้เมื่อพิสูจน์แล้วว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก ครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อนเช่นกัน โดยมีการคุ้มครองดังนี้

  1. ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริง วงเงินไม่เกิน 80,000 บาท
  2. เสียชีวิต ทุพพลภาพ ชดเชย 300,000 บาท
  3. สูญเสียอวัยวะ
    • นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ชดเชย 200,000 บาท
    • สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชย 250,000 บาท
    • สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท
  4. หากมีการรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) ชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน สิ่งสำคัญคือต้องอย่าลืมว่าความคุ้มครองทั้งหมดนี้จะคุ้มครองเพียงการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเท่านั้น ไม่ได้ชดเชยไปถึงค่าซ่อมแซมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ

ซึ่งวงเงินคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ ได้มีการกำหนดไว้แล้วอย่างชัดเจนว่า จะมีความคุ้มครองในรูปแบบใด ๆ บ้าง ซึ่งการฝ่าฝืนไม่ทำ พรบ.รถจักรยานยนต์ นี้ ไม่ได้ทำให้เกิดผลดีกับผู้ใดเลย เพราะนอกจากการที่จะทำให้มีปัญหาในการต่อภาษีรถแล้ว ยังเป็นการทำผิดกฎหมายแบบตรง ๆ เลย เพราะกฎหมายได้บังคับให้ทำ พรบ.รถจักรยานยนต์ ไว้เป็นขั้นพื้นฐานอยู่แล้วเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้อย่างทันท่วงที และเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่รับผู้ประสบภัยเข้าดูแลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลด้วยเช่นกัน ซึ่งในแง่กฎหมายจะเป็นการแบ่งเบาภาระค่าเสียหาย และพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์นั้นบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัวได้นั่นเอง

แล้วประกันรถ ที่รู้จักกันในชื่อ ประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ หรือ 3+ ที่เห็นมีการโฆษณา หรือที่มีการพูดถึงกันล่ะ คืออะไร ประกันเหล่านี้ จะอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า ประกันภาคสมัครใจ ซึ่งจะเป็นการซื้อประกันเพิ่มเติมจากความคุ้มครองที่ได้รับจากการเบิก พรบ.รถจักรยานยนต์ ซึ่งในกรณีที่เราเป็นต้นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินการเบิก พรบ.รถจักรยานยนต์จะช่วยคุ้มครองเท่าที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าความเสียหายมีมาก ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหาย จะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายเอง ซึ่งประกันภาคสมัครใจ จะเข้ามาช่วยรับผิดชอบในกรณีเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งในประเทศไทย ประกันภาคสมัครใจ จะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท หรือที่เราเรียกกันว่า ประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ หรือ 3+ นั่นเอง โดย

  • ประกันชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัย รวมถึงกรณีเกิดไฟไหม้และการสูญหายด้วย
  • ประกันชั้น 2 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย
  • ประกันชั้น 3 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก และความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย
  • ประกันชั้น 2+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อในส่วนของความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย แต่เฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และจำเป็นต้องมีคู่กรณีด้วย
  • ประกันชั้น 3+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 3 แต่คุ้มครองรถยนต์คันเอาประกันภัยในวงเงินจำกัด และเฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น

ซึ่งจะเห็นได้ว่า เราสามารถเลือกที่จะทำประกันภาคสมัครใจได้หลากหลายรูปแบบ เพราะค่าเอาประกันภัยของประกันภาคสมัครใจ จะมีค่าบริการที่หลากหลาย และแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของความคุ้มครองที่เราต้องการนั่นเอง ซึ่งการเลือกประกันภัยรถยนต์ของแต่ละบุคคลเอง ไม่ได้มีสูตรที่แน่นอนตายตัวว่า แบบใดจะดีที่สุด ซึ่งถ้ากำลังมองหาประกันภาคสมัครใจร่วมกับการซื้อและใช่ร่วมกับการเบิก พรบ.รถจักรยานยนต์ นั้นอาจจะเลือกซื้อจากบริษัทประกันภัยเดียวกันไปเลย เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ การยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องสามารถทำได้พร้อมกัน เพื่อความสะดวกและความต่อเนื่องในการดำเนินการนั่นเอง แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นการบังคับทางกฎหมายนะว่า เราจะต้องซื้อจากบริษัทเดียวกัน เพียงแต่ในเรื่องการดำเนินการ กรณีที่เราเป็นฝ่ายผิดและคู่กรณีที่ได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นน่าจะทำได้สะดวกกว่ากันนั่นเอง

การเบิก พรบ.รถจักรยานยนต์ เคลมอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง

เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลต่างๆ จะอยู่ในการคุ้มครองของ พรบ.ก่อนเสมอ ถ้าค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีมากเกินวงเงิน จึงจะสามารถเคลมสิทธิอื่นๆ ได้ เช่น ประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิ์ประกันสังคม ต่อด้วยการเบิกจ่ายประกันอื่นๆ โดยมีวิธีการตามนี้

ขั้นต้อนการแจ้งเคลม

  • หลังจากนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล ให้ดำเนินการแจ้งเจ้าหน้าที่ทางโรงพยาบาลว่าขอใช้สิทธิ์เบิก พรบ.รถจักรยานยนต์ และอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่น เกิดเหตุที่ไหน เกิดได้อย่างไร รวมถึงเลขทะเบียน รุ่น รถที่เกี่ยวข้อง
  • ทางโรงพยาบาลจะดำเนินการประสานงานเพื่อดูแลสิทธิ์การเคลมเบิก พรบ.รถจักรยานยนต์ ซึ่งโดยส่วนมากจะมีหน่วยงานภายในดูแลด้านนี้อยู่แล้ว
  • แจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน และดำเนินการสอบสวนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเคลมค่าสินไหมทดแทน ที่ต้องพิสูจน์ว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก
  • ยื่นเอกสารสำหรับเคลมที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยภายใน 180 วันหลังเกิดเหตุ ซึ่งจะได้รับเงินชดเชยภายใน 7 วันทำการ (โทร. 1791)

เอกสารสำหรับการเบิก พรบ.รถจักรยานยนต์


1. กรณีบาดเจ็บเล็กน้อย

  • สำเนาบัตรประชาชน เซ็นรับรองแล้ว
  • สำเนาใบขับขี่ เซ็นรับรองแล้ว
  • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
    2. กรณีบาดเจ็บจนต้องนอนโรงพยาบาล
  • สำเนาบัตรประชาชน เซ็นรับรองแล้ว
  • สำเนาใบขับขี่ เซ็นรับรองแล้ว
  • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ถ้ามี)
  • ใบรับรองแพทย์ ระบุว่าจำเป็นต้องพักรักษาในโรงพยาบาล
    3. กรณีทุพพลภาพ
  • สำเนาบัตรประชาชน เซ็นรับรองแล้ว
  • สำเนาใบขับขี่ เซ็นรับรองแล้ว
  • ใบรับรองแพทย์
  • หนังสือรับรองความพิการ
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
    4. กรณีเสียชีวิต
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้เสียชีวิต
  • ใบมรณบัตร
  • สำเนาบัตรประชาชนทายาทหรือผู้รับมรดก
  • สำเนาทะเบียนบ้านทายาทหรือผู้รับมรดก
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

ทั้งนี้ทางบริษัทประกันอาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติมเป็นรายกรณี เช่น สำเนาทะเบียนรถ หรือเอกสารบันทึกประวันตัวจริง เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายสำหรับ การทำ พรบ.รถจักรยานยนต์

ในการแง่ของการคุ้มครองของ พรบ.รถยนต์และรถจักรยานยนต์นั้นเหมือนกัน แต่สิ่งที่ทำให้แตกต่างคือค่าใช้จ่ายในการทำ พรบ.รถจักรยานยนต์ ซึ่งรถจักรยานยนต์จะขึ้นอยู่กับ CC ของเครื่อง โดยมีราคาประมาณ ดังนี้

  • เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ไม่เกิน 75 CC 150 บาทขึ้นไป
  • เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ 75 - 125 CC 350 บาทขึ้นไป
  • เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์125 - 150 CC 450 บาทขึ้นไป
  • เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์มากกว่า 150 CC 650 บาทขึ้นไป

เป็นอย่างไรบ้างกับข้อมูล การเบิก พรบ. รถจักรยานยนต์ ที่เรารวบรวมแบบจัดเต็มจัดแน่นมาให้ทุกท่านได้เอาไว้เป็นความรู้ หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน หรือต้องเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการเคลมสินไหมต่างๆ

การทำประกันที่สามารถคุ้มครองทั้งท่านและรถจักรยานยนต์ผู้ขับขี่ ให้คุณได้หมดปัญหากังวลใจระหว่างการเดินทาง หากเกิดเหตุไม่คาดฝันก็สามารถเรียกใช้บริการฉุกเฉินได้ 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะรถยก รถลาก ทางประกันภัยยินดีให้บริการและอำนวยความสะดวกให้คุณลูกค้าทุกท่าน หากใครยังตัดสินในไม่ได้ว่าจะใช้ ประกันมอเตอร์ไซค์ ของบริษัทไหน ให้เรา แรบบิท แคร์ ช่วยเปรียบเทียบประกันแต่ละประเภทให้เหมาะสำหรับรถคุณ

ความคุ้มครองประกันมอเตอร์ไซค์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา