Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Mar 24, 2023

เคลมค่ารักษาจาก พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไร? ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิก พ.ร.บ. ได้ไหม ? และถ้า พ.ร.บ. ขาด ยังมี พ.ร.บ. หรือประกันคุ้มครองไหม?

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หากมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคู่กรณี ประกันภัยรถยนต์ที่ทำไว้จะให้ความคุ้มครอง ชดเชยค่าเสียหาย ค่ารักษาพยาบาลให้ตามที่กรมธรรม์กำหนด แต่นอกจากค่าชดเชยจากบริษัทประกันแล้ว เมื่อเกิดอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บ ยังสามารถยื่นเรื่องเคลมค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายต่าง ๆ จาก พ.ร.บ. ได้อีกด้วย

ไปดูกันว่าถ้าหากจะเคลม พ.ร.บ. ต้องเตรียมเอกสารเคลม พ.ร.บ. อะไรบ้าง? สามารถเบิก พ.ร.บ. ที่ไหน? ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิก พ.ร.บ. ได้ไหม ? และถ้า พ.ร.บ. ขาด ยังมี พ.ร.บ. หรือประกันคุ้มครองไหม? วันนี้แรบบิท แคร์ มีคำตอบ

อุบัติเหตุจากรถ เคลม พ.ร.บ. ได้ไหม? คุ้มครองอย่างไร?

พ.ร.บ. เป็นประกันภาคบังคับที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ โดยเจ้าของรถจะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. ทุกปี ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ หรือรถที่มีเครื่องยนต์ประเภทอื่น ๆ หากไม่ทำ จะถือว่ามีผลต่อกฎหมายจราจร เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ทาง คปภ. ได้กำหนดให้ พ.ร.บ. จะคุ้มครองผู้ประสบภัยโดยทันที ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด โดยค่าชดเชยที่ผู้ประสบภัยจะได้รับจาก พรบ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้น

โดยผู้ประสบภัยจะเคลม พ.ร.บ. ได้รับทันที โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายผิด หรือฝ่ายถูก ดังนี้

  • กรณีบาดเจ็บ พ.ร.บ. จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร พ.ร.บ. จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 35,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร พิการ หรือเสียชีวิต หลังการรักษาพยาบาล พ.ร.บ. จะจ่ายเงินเพิ่มเติมจากค่ารักษาพยาบาลในส่วนแรก ซึ่งรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
  • กรณีเสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาล พ.ร.บ. จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพจำนวน 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท

ค่าสินไหมทดแทน จากการ เคลม พ.ร.บ.

ผู้ประสบภัยจะเคลม พ.ร.บ. ได้ เมื่อมีข้อพิสูจน์ออกมาว่าเป็นฝ่ายถูก และฝ่ายที่กระทำผิดจะเป็นคนชดใช้ค่าเสียหายให้กับคู่กรณี ไม่ว่าจะเป็น

1. กรณีบาดเจ็บ จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
2. กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จะต้องจ่ายชดเชย 500,000 บาทต่อคน
3. กรณีทุพพลภาพถาวร จะต้องจ่ายชดเชย 300,000 บาทต่อคน
4. กรณีสูญเสียอวัยวะ โดยมีรายละเอียดแยกย่อย ตามอวัยวะที่สูญเสียดังนี้

  • สูญเสียนิ้ว (ตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ทั้งนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว) จะต้องจ่ายชดเชย 200,000 บาทต่อคน
  • สูญเสียอวัยวะในร่างกาย 1 ส่วน (มือตั้งแต่ข้อมือ เท้าตั้งแต่ข้อเท้า แขน ขา สายตา หูหนวก เสียความสามารถในการพูด จิตพิการติดตัว หรือสูญเสียอวัยวะอื่นๆ ) จะต้องจ่ายชดเชย 250,000 บาทต่อคน
  • สูญเสียอวัยวะในร่างกาย 2 ส่วน (มือตั้งแต่ข้อมือ เท้าตั้งแต่ข้อเท้า แขน ขา สายตา หูหนวก เสียความสามารถในการพูด จิตพิการอย่างติดตัว หรือสูญเสียอวัยวะอื่นๆ) จะต้องจ่ายชดเชย 500,000 บาทต่อคน

กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 200 บาทต่อวัน รวมกันไม่เกิน 20 วัน สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท

จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. นั้น ให้ความคุ้มครองที่หลากหลาย ครอบคุลม แม้วงเงินจะไม่สู้เท่ากับประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ แต่ก็ช่วยแบ่งเบาภาระต่าง ๆ หากเกิดเหตุไม่คาดฝันได้เป็นอย่างดี และสำหรับใครที่อยากเสริมความคุ้มครอง ก็เลือกทำประกันภาคสมัครใจ เช่น ประกันรถชั้น 1, ประกันรถชั้น 2+ เพิ่มเติมด้วยได้เช่นกัน

เอกสารเคลม พ.ร.บ. ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

หากต้องการยื่นเอกสารเคลม พ.ร.บ. เบื้องต้นจะต้องใช้เอกสาร ดังต่อไปนี้

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัยและเจ้าของรถ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย
  • สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.
  • สำเนาใบขับขี่ (หากเป็นผู้ขับขี่)
  • สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ
  • สำเนาหนังสือจดทะเบียนรถคันเกิดเหตุ

นอกจากนี้ยังมีเอกสารเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่ต้องใช้เคลม พ.ร.บ. โดยจะแบ่งออกเป็นกรณีต่าง ๆ

กรณีที่ต้องการเบิกค่ารักษาเพิ่มเติม

  • ใบแจ้งค่ารักษา หรือหนังสือรับรองการรักษาผู้ป่วยใน

กรณีเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร

  • ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองความพิการ
  • หลักฐานทางการแพทย์ที่บ่งชี้ว่าพิการจากอุบัติเหตุ

กรณีเสียชีวิต

  • ใบมรณบัตร
  • สำเนาบัตรประชาชนของทายาทโดยชอบธรรม
  • สำเนาทะเบียนบ้านของทายาทโดยชอบธรรม
  • หลักฐานการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

สำหรับการเบิกเคลม พ.ร.บ. นั้น ในกรณีถ้าค่ารักษาเกินวงเงินก็จะมีการหักค่าใช้จ่ายจากสิทธิอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น สิทธิ์ประกันสังคม, สิทธิ์ 30 บาทรักษาทุกโรค, สิทธิ์บัตรทอง หรือแม้แต่ประกันสุขภาพและประกันชีวิตตามลำดับ โดย คปภ. ระบุว่า หากโดนชนแล้วหนี สามารถติดต่อรับความช่วยเหลือจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้แทนได้

แต่ในกรณีที่ผู้ประสบภัยทำประกันรถภาคสมัครใจ ตั้งแต่ ประกันชั้น1 , ชั้น 2+ จะคุ้มครองไปถึงกรณีที่ถุกชนแล้วหนี หรือเป็นการชนที่ไม่มีคู่กรณีได้ โดยแลกกับเบี้ยประกันรถที่สูงกว่าประกันรถชั้นอื่น ๆ หรือค่าเบี้ยมากกว่า พ.ร.บ. รถยนต์ เหมาะสำหรับคนที่กังวลในเรื่องอุบัเหตุ เป็นมือใหม่หัดขับ หรือมีรถยนต์ที่เพิ่งซื้อมาได้ไม่ถึง 10 ปี เป็นต้น โดยเมื่อเกิดกรณีรถชน แจ้งประกันย้อนหลังได้ภายใน 2-3 วัน ซึ่งไม่ควรช้าไปกว่านั้น

ขั้นตอนการเบิกเคลม พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไรบ้าง?

สำหรับขั้นตอนการจะขอเบิกเคลม พ.ร.บ. นั้น สามารถทำตามได้ ดังนี้

  • สำหรับการดำเนินเรื่องเคลม พ.ร.บ. สามารถทำได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน หรือ 180 วัน นับจากวันเกิดเหตุ เท่านั้น กรณีผู้ประสบอุบัติเหตุเป็นผู้ขับขี่ จะเคลม พ.ร.บ. ได้ ไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
  • ทางผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยชอบธรรมจะต้องแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เพื่อนำใบแจ้งความมาเป็นหนึ่งในเอกสารเคลม พ.ร.บ. โดย แรบบิท แคร์ แนะนำว่า ควรรีบแจ้งบริษัทและตำรวจให้เร็วที่สุด เพราะสำเนาใบแจ้งความ บันทึกประจำวันถือเป็นเอกสารจำเป็นต้องมี ต่อเงื่อนไขในการเคลม พ.ร.บ.
  • นำเอกสารเคลม พ.ร.บ. ต่าง ๆ ข้างต้น ไปยื่นเรื่องเบิกเคลม พ.ร.บ. รถยนต์ กับทางบริษัทประกันที่ซื้อ พ.ร.บ. หรือกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  • สำหรับผู้ประสบภัยจากรถหรือทายาท ของผู้ประสบภัยจากรถที่เสียชีวิต ที่ต้องการรับเงินค่าสินไหมทดแทน จาก บริษัทกลางฯ ด้วยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร อย่าลืมแจ้งความประสงค์ ให้บริษัทดำเนินการการโอนเงินค่าสินไหมฯ เข้าบัญชีธนาคาร ของผู้ประสบภัยหรือ ทายาท ของผู้ประสบภัยจากรถที่เสียชีวิต โดยเตรียมเอกสารเพิ่มเติม อย่าง สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ที่ผู้ประสบภัยหรือ ทายาทของผู้ประสบภัยจากรถที่เสียชีวิต เป็นเจ้าของบัญชี หรือภาพหลักฐานจาก Mobile Banking Application
  • เมื่อมีการตรวจสอบเอกสารเคลม พ.ร.บ. เรียบร้อยแล้ว จากนั้นทาง พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองค่าเสียหายต่าง ๆ เช่น ค่าเสียหายเบื้องต้น หรือ ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรม ภายใน 7 วันทำการ โดยจะส่ง SMS แจ้งวันที่โอนเงินให้ ผู้ประสบภัยจากรถทราบล่วงหน้าก่อน 1 วัน

เบิกค่ารักษาพยาบาล พ.ร.บ. ได้ที่ไหนบ้าง?

ส่วนคำถามที่ว่า เบิก พ.ร.บ. ที่ไหน นั้น สามารถทำเรื่องขอเบิกเงิน จาก บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่ง พ.ร.บ.จะคุ้มครองผู้เสียหายในส่วนของคนเท่านั้น ส่วนทรัพย์สิน หรือ ตัวรถจะไม่มีได้รับการคุ้มครอง หรือให้ติดต่อเจ้าหน้าที่บริษัทประกันที่เราได้ซื้อ พ.ร.บ. เพื่อทำการแจ้งเคลม พ.รบ. หรือประกันรถ และบอกเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้ทางเจ้าหน้าที่ทราบ

นอกจากนี้ ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรม สามารถยื่นเรื่องเคลม พ.ร.บ. ผ่านช่องทางโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาได้อีกด้วย แต่จะต้องทำการเคลม พ.ร.บ. ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ข้างต้นด้วย

หากรถยนต์ไม่มี พ.ร.บ. จะทำอย่างไร? เคลม พ.ร.บ. ได้ไหม?

เบื้องต้น จะถือว่ารถคันดั่งกล่าวไม่สามารถเบิกเคลม พ.ร.บ.ได้ ผู้ประสบภัยจะต้องดำเนินการจ่ายเงินค่าเสียหายเองทั้งหมด นอกจากนี้ จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายจราจรทันที และโดนค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท และเมื่อไม่มีการ ต่อ พ.ร.บ. ก็จะไม่มีการต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปีไปด้วย อาจทำให้โดนปรับเพิ่มอีก 400 - 1,000 บาท และหากปล่อยให้ไม่มีการต่อ พ.รบ. เกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับ และเมื่อจะไปต่อภาษี ก็ต้องเสียค่าปรับสำหรับการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังเดือนละ 1%

โดยอายุของ พ.ร.บ. รถยนต์ จะมีการต่ออายุแบบ ปีต่อปี เช่นเดียวกับประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ และสำหรับใครที่กังวล กลัวไม่มีเวลา ก็สามารถไปต่ออายุล่วงหน้าได้นานมากถึง 2 เดือน โดยที่ไม่ต้องรอ พ.ร.บ. หมดอายุแต่อย่างใด

ดังนั้น อย่าละเลยการทำ หรือ ต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์ เพราะถึงแม้ พ.ร.บ. รถยนต์จะให้ค่าชดเชยที่น้อยกว่าประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ แต่ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ เพราะมีผลทางกฎหมาย หากไม่ต่อ พ.ร.บ. ก็เท่ากับว่าเจ้าของรถ หรือผู้ขับขี่กำลังฝ่าฝืนของกำหนดของกฎหมาย ซึ่งมีความผิด และเสี่ยงโดนปรับตามข้อกำหนดข้างต้น นอกจากนี้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ถ้ามี พ.ร.บ. ยังสามารถเคลม พ.ร.บ. เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าเสียหายต่าง ๆ ได้อีกด้วย

เบิก พ.ร.บ. กี่วันได้เงิน

ผู้ที่ยื่นขอเบิก พ.ร.บ. จะได้รับเงินภายใน 7 วันหลังจากที่บริษัทประกันหรือบริษัทกลางฯ ได้รับเอกสารครบถ้วน โดยต้องยื่นขอใช้สิทธิ์ พ.ร.บ. ภายใน 180 วันนับจากวันที่เกิดเหตุ

ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิก พ.ร.บ. ได้ไหม ? ผิดกฎหมายหรือเปล่า?

หลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัย หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้น หากมี พ.ร.บ. รถยนต์ แม้จะไม่ใช่เจ้าของรถสามารถเบิกเงินค่าเคลมจาก พ.ร.บ. รถยนต์ ได้ และให้ความคุ้มครองต่าง ๆ ตามปกติ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือเป็นบุคคลภายนอก ก็สามารถ ก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าชดเชยต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด โดยสามารถเบิกเคลม พ.ร.บ. รถยนต์ ได้ไม่เกินคนละ 30,000 บาท

ในกรณีที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเบิกเคลมค่าสินไหมได้เพิ่มอีก

  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ หรือค่าเสียหายอื่น ๆ สูงสุด 80,000 บาท
  • การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 500,000 บาท
  • ชดเชยรายวันวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน (ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยใน หรือ IPD)

ในกรณีที่ผู้ขับเป็นฝ่ายผิด จะได้ค่าชดเชยเบื้องต้น ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) สูงสุด 30,000 บาท
  • การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 35,000 บาท

จะเห็นได้ว่า แม้จะไม่ใช่เจ้าของรถ หรือแม้จะเป็นฝ่ายผิด หากเราหมั่นต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์ ไว้สม่ำเสมอ จะช่วยคุ้มครองการเกิดอุบัติเหตุเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี และหากใครทำประกันรถยนต์เพิ่มเติมไว้ จะช่วยเสริมความคุ้มครองอื่น ๆ เพิ่มเติมได้มากยิ่งขึ้น ลองดูข้อมูลประกันรถยนต์กับ แรบบิท แคร์ ที่ช่วยให้คุณอุ่นใจในทุก ๆ การเดินทางเพิ่มเติม พร้อมเบี้ยประกันรถยนต์ที่จับต้องได้ เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ หรือช่วยต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ได้อีกด้วย

ถ้าไม่ใช่เจ้าของรถทำประกันได้ไหม?

หลายคนอาจจะสงสัยว่า สามารถทำ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือทำประกันรถ แม้เป็นเป็นเจ้าของรถได้หรือไม่ คำถามนี้ตอบได้เลยว่า ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของรถหรือไม่ก็ตาม ก็สามารถทำประกันและเคลมประกันได้ แต่ผู้ทำประกันรถจะต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของรถเสียก่อน และในการกรอกข้อมูลตอนทำประกันต้องกรอก ชื่อผู้เอาประกัน เป็นคนละชื่อ กับ ชื่อเจ้าของรถ ก็สามารถทำได้แล้ว นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขว่า เจ้าของรถยินยอมให้ใช้รถและต้องมีใบขับขี่ และอาจส่งผลต่อเบี้ยประกันรถ

สำหรับเอกสารในการทำประกันรถยนต์แทนเจ้าของรถ เบื้องต้นที่ต้องใช้ มี 3 อย่าง คือ สำเนาใบขับขี่, สำเนาบัตรประชาชน (เจ้าของรถ) และสำเนาทะเบียนรถ

หากไม่ใช่เจ้าของรถ แจ้งเคลมประกันได้ไหม?

ในเชิงกฎหมายแล้ว แม้ว่าจะไม่ใช่เจ้าของรถ และตัวรถยนต์เองก็ยังคงมีประกัน มี พ.ร.บ. รถยนต์ ก็สามารถเคลมค่าเสียหายต่าง ๆ ได้ตามปกติ โดยการเคลมในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของรถ จะแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่เป็นฝ่ายถูก สามารถเรียกร้องจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายชนได้ตามปกติ ไม่ว่าเราจะทำประกันแบบระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่ หรือไม่ได้ระบุชื่อก็ตาม

กรณีที่เป็นฝ่ายผิด กรณีนี้ก็สามารถเคลมประกันได้ แต่หากมีการทำผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ เช่น ประกันรถยนต์มีการระบุชื่อผู้ขับ และผู้ขับที่เกิดอุบัติเหตุชื่อไม่ตรงกับที่ระบุได้ จำเป็นต้องจ่ายให้กับบริษัทประกันเพื่อนำไปร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายให้กับคู่กรณีในเบื้องต้น ไม่เกิน 8,000 บาท โดยแบ่งค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าเสียหายทางทรัพย์สิน ของคู่กรณี 2,000 บาท
  • ค่าเสียหายทางผู้เอาประกันเอง 6,000 บาท (หากไม่ต้องการให้บริษัทประกันร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายเบื้องต้น อาจไม่จำเป็นต้องจ่าย 6,000 บาท ในกรณีเสียหายเล็กน้อย)

ทั้งนี้ผู้ขับที่เกิดอุบัติเหตุจะต้องมีใบขับขี่ (ไม่ว่าจะหมดอายุแล้ว หรือมีแต่ไม่ได้พกมาด้วยก็นับว่ามี) ไม่เช่นนั้น ประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครองและรับผิดชอบในทุกกรณี เพราะมองว่าทำผิดกฎหมาย แม้ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูกหรือไม่ก็ตาม

ในกรณีที่เป็นฝ่ายถูก แต่ไม่มีใบขับขี่ก็เบิกเคลมไม่ได้ โดยทางบริษัทฯจะแนะนำให้ไปเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณีแทน

ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของรถ เข้าไฟแนนซ์ได้ไหม?

หลายคนอาจจะมีปัญหาด้านการเงิน การนำรถเข้าไฟแนนซ์เพื่อขอสินเชื่อรถแลกเงินจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้คุณหาเงินก้อนเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเงินได้ แต่เราไม่ใช่เจ้าของรถ เข้าไฟแนนซ์ได้ไหม?

เบื้องต้นทำความเข้าใจก่อนว่า การขอสินเชื่อจำนำเล่มทะเบียนรถ, นำรถเข้าไฟแนนซ์นั้น หรือขอสินเชื่อรถแลกเงินนั้น ผู้ขอกู้ต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น แม้ว่าตัวเราเองจะมีเล่มทะเบียนรถอยู่ในมือ ไปต่อ พรบ รถยนต์ ด้วยตัวเอง หรือรถยนต์คันนี้เป็นของคนในครอบครัวที่ซื้อให้แต่ไม่ได้ลงชื่อเราไว้ก็ตาม เพราะทางสถาบันการเงินจะมองว่าผิดทางกฏหมาย อีกทั้งมีความเสี่ยงที่อาจเป็นรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมมาได้

นอกเสียจากเจ้าของรถจะทำหนังสือมอบอำนาจให้ พร้อมด้วยลายมือชื่อที่เซ็นยินยอมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แบบนี้จะสามารถนำรถเข้าไฟแนนซ์ได้

สำหรับเอกสารในการนำรถเข้าไฟแนนซ์ ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของและผู้ค้ำประกันรถยนต์ หรือผู้กู้ร่วม จะมีเอกสาร ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • หนังสือยินยอมมอบอำนาจจากเจ้าของรถ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สลิปเงินเดือนย้อนหลังอย่างน้อย 3 เดือน
  • หนังสือรับรองการทำงาน
  • รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  • ใบทะเบียนสมรส (ในกรณีที่แต่งงานแล้ว)

แต่ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่เรื่องไม่ใช่เจ้าของรถเท่านั้น ที่ทำให้เราไม่สามารถขอนำรถเข้าไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อรถแลกเงินได้ แต่หากคุณเครดิตไม่ดี ยังมีหนี้สินที่ยังค้างชำระอยู่ หรือกำลังติดแบล็คลิสต์ ทางสถาบันการเงินก็อาจมองว่าเสี่ยง เนื่องจากผู้ขอกู้มีเครดิตที่ไม่ดีได้เช่นกัน

การนำรถเข้าไฟแนนซ์เพื่อขอสินเชื่อรถจึงไม่ใช่เรื่องยากหากมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่สถาบันการเงินหรือไฟแนนซ์ต่าง ๆ กำหนดไว้

ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ และต้องการเงินก้อนเร่งด่วน ยังมีทางเลือกอื่นที่ แรบบิท แคร์ ขอแนะนำ คือ สินเชื่อส่วนบุคคล ที่ไม่ต้องใช้ทรัพย์สิน หรือรถเข้าไฟแนนซ์ และบัตรกดเงินสด ที่ให้คุณกดเบิกถอนได้ทันที แม้วงเงินอาจจะไม่สูงเท่าการนำรถเข้าไฟแนนซ์ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางหากต้องการใช้เงินเร่งด่วน

หากแจ้งเปลี่ยนสีรถ ไม่ใช่เจ้าของรถทำได้ไหม?

ตามกฎหมายได้ระบุเอาไว้ว่า การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสีของรถไม่ว่าจะดำเนินการด้วยวิธีใด ๆ เช่น การติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือคาร์บอนเคฟล่า เป็นต้น ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถพิจารณากำหนดสีรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 5 เว้นแต่กรณีการติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือวัสดุอื่นใด เพื่อการโฆษณาหรือตกแต่งรถ เป็นรูปภาพ ข้อความ ตัวอักษร และลวดลายต่าง ๆ เพิ่มเติมบนสีรถในภายหลัง ไม่ต้องกำหนดเป็นสีรถ

และสำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนสีรถยนต์ให้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สามารถทำได้เพียงแค่ไปจดแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ที่ กรมขนส่งทางบก โดยตามกฎหมายมีข้อกำหนดว่าหากการเปลี่ยนสีรถยนต์มีมากกว่า 30% ของพื้นที่สีรถทั้งหมด เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ต่อกรมขนส่งทางบก นอกจากนี้ อย่าลืมเรื่องการต่ออายุ พรบ รถยนต์ ด้วย

แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนสีเฉพาะส่วน โดยมีพื้นที่ไม่ถึง 30% ของพื้นผิวรถยนต์ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้ง เช่นการเปลี่ยนสีเฉพาะส่วนหลังคา, ฝากระโปรงหน้า แบบนี้ไม่ถึง 30% ไม่ต้องจดแจ้ง

ส่วนวิธีในการจดแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์นั้น สามารถแจ้งได้ ด้วยการนำรถเข้าไปรับการตรวจ พร้อมเอกสาร ดังนี้

  • สำเนาเล่มทะเบียนรถ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ
  • ใบเสร็จหรือบิลเงินสดค่าทำสีรถ

ในกรณีที่สงสัยว่าแจ้งเปลี่ยนสีรถ ไม่ใช่เจ้าของรถทำได้ไหม บอกเลยว่าสามารถทำได้ โดยเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ดำเนินการไม่ใช่เจ้าของรถ)
  • หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของรถ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีผู้ดำเนินการไม่ใช่เจ้าของรถ)

พ.ร.บ. ขาดได้กี่วัน มีอุบัติเหตุช่วงขาดพรบ.คุ้มครองไหม?

เรื่อง พ.ร.บ. และภาษีถือเป็นสำหรับผู้ขับขี่ทุกคนถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะถ้าหากปล่อยปละละเลยจะมีผลทางกฤหมายตามมาได้ ดังนั้นเราจะมาเจาะลึกถึงคำถามมากมายเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ. ขาดได้กี่วัน? วิธีตรวจสอบว่ารถต่อ พ.ร.บ. หรือยัง, พ.ร.บ. กับภาษีอันเดียวกันไหม? พ.ร.บ. รถยนต์ขาด 1 ปีเสียเท่าไหร่? พ.ร.บ. รถยนต์ขาด 2 ปีเสียเท่าไหร่? พ.ร.บ. รถยนต์ขาด 3 ปีเสียเท่าไหร่? พ.ร.บ. รถยนต์ เบิกอะไรได้บ้าง? รวมไปถึงคำถามอื่น ๆ มากมายที่ผู้คนมักสงสัยกัน

พ.ร.บ. กับภาษีอันเดียวกันไหม?

คำตอบคือ “ไม่เหมือนกัน” พ.ร.บ. รถยนต์ คือกฎหมายการประกันภัยภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันจำเป็นต้องซื้อ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินขณะขับขี่ พ.ร.บ. รถยนต์จะช่วยชำระค่าเสียหายเบื้องต้นรวมถึงอาจมีสินไหมทดแทนในบางกรณีตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนภาษีรถยนต์หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ การต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นการเสียภาษีเพื่อให้ภาครัฐนำเงินไปปรับปรุงการคมนาคม โดยจะต้องดำเนินการให้ครบถ้วนทุกปีห้ามขาด เพราะถ้าขาดก็จะมีผลตามกฎหมายและมีบทลงโทษตามมาแน่นอน แต่ที่คนมักจะเข้าใจผิดคิดว่าทั้งสองอย่างเหมือนกันเป็นเพราะโดยปกติ พ.ร.บ. และภาษีจะต้องดำเนินการไปคู่กัน โดยจะต้องยื่นต่อพ.ร.บ. ก่อนแล้วจึงจะสามารถดำเนินการต่อทะเบียนรถยนต์ได้นั่นเอง ถ้าจะถามว่า พ.ร.บ. ขาดได้กี่วันก็จะขาดควบคู่กันไปกับภาษีด้วย หากขาด พ.ร.บ. ก็อาจจะโดนเอาผิดเรื่องภาษีไปด้วย

พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร?

พ.ร.บ. รถยนต์ ย่อมาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายการประกันภัยภาคบังคับให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำประกันภัยประเภทนี้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ที่ใช้รถใช้ถนนจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่มีเกณฑ์กำหนดไว้อย่างชัดเจนโดยไม่คำนึงถึงว่าจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ แต่จะไม่มีการชดเชยเกี่ยวกับยานพาหนะให้แต่อย่างใด เช่น จะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยต่าง ๆ บนท้องถนน รวมถึงเป็นหลักประกันให้กับสถานพยาบาลที่รับผู้บาดเจ็บคนนั้นเข้ารักษา ว่าโรงพยาบาลเองก็จะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากรัฐด้วยเช่นกัน และในกรณีที่สงสัยว่า พ.ร.บ. ขาดได้กี่วัน ก็จะมีวิธีตรวจสอบตามแต่ละคนสะดวกด้วย

วิธีตรวจสอบว่ารถต่อ พ.ร.บ. หรือยัง

กรณีต้องการตรวจสอบด้วยตัวเอง สามารถดูวันหมดอายุได้ที่เล่มกรมธรรม์ประกันพรบ. ซึ่งจะมีการระบุวันที่เริ่มคุ้มครองและวันสุดสิ้นความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจนในทุกเล่มแต่จะไม่ได้มีระบุไว้ว่า พ.ร.บ. ขาดได้กี่วัน

กรณีทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ไม่ว่าจะเป็นความคุ้มครองแบบใดหรือบริษัทอะไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จะโทรมาแจ้งล่วงหน้าเมื่อใกล้ถึงเวลากรมธรรม์หมดอายุเป็นปกติทุกครั้ง การทำประกันรถยนต์จึงสะดวกสบาย เมื่อจำเป็นไม่ตรวจสอบวันหมดอายุด้วยตัวเองก็ไม่ต้องกลัวลืมว่า พ.ร.บ. ขาดได้กี่วัน หรือถ้าหากอยากตรวจสอบล่วงหน้ากรณีที่ไม่ได้มีใบกรมธรรม์อยู่กับตัวก็สามารถโทรสอบถามกับบริษัทประกันรถยนต์ที่ดูแลกรมธรรม์โดยแจ้งเลขทะเบียนรถยนต์ และรายละเอียดอื่น ๆ ได้

กรณีไม่มีประกันรถยนต์ สามารถโทรสอบถามความคุ้มครองของรถได้ที่เบอร์สายด่วน 1186 กด 2 แล้วให้ทางเจ้าหน้าที่สำนักงาน คปภ.ช่วยตรวจสอบ โดยต้องแจ้งข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถให้ครบถ้วน โดยข้อมูลเบื้องต้นคือ ประเภทรถ, จังหวัด, เลขทะเบียนรถ และเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนผู้ครอบครอง

วิธีชำระค่า พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์

บางครั้งเราก็ไม่จำเป็นต้องรอคำตอบว่าพรบ. ขาดได้กี่วัน เพราะพรบ.รถยนต์สามารถชำระล่วงหน้าได้ถึง 90 วัน โดยปัจจุบันสามารถตรวจสอบและชำระค่าพรบ.ออนไลน์ด้วยตนเองได้ที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th ของกรมการขนส่งทางบกโดยมีขั้นตอน ดังนี้

  • ลงทะเบียนสมาชิกใหม่แล้วกลับไป Login ที่หน้าแรกด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และรหัสผ่าน
  • คลิกที่หัวข้อ “ชำระภาษีรถประจำปี” ตามด้วย “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต”
  • หากรถยนต์เป็นชื่อตัวเอง ระบบจะแสดงรายชื่อรถยนต์อัตโนมัติ หากไม่ใช่คลิกที่ “ลงทะเบียนรถ” แล้วกรอกข้อมูลก่อนกดบันทึก
  • เมื่อปรากฏชื่อและทะเบียนรถยนต์ที่ถูกต้อง คลิกที่ “ยื่นชำระภาษี”
  • คลิกที่หัวข้อ “ข้อมูล พรบ.” คลิกที่ช่อง “ไม่มี (ซื้อผ่านระบบ)” จากนั้นจะอีกมีหน้าต่างขึ้นมา คลิก “ต้องการซื้อพรบ.ใหม่”
  • กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัยและสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน ล่างช่อง “ซื้อพรบ.เพิ่ม”
  • คลิก “เลือกวิธีชำระเงิน” และรับใบเสร็จ จากนั้นก็เพียงรอรับพรบ.รถยนต์ทางไปรษณีย์

พ.ร.บ. รถยนต์เบิกอะไรได้บ้าง?

1. เบิกค่าเสียหายเบื้องต้น (ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูกหรือผิด)

  • หากบาดเจ็บ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 30,000 บาท
  • หากสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินชดเชยสูงสุด 35,000 บาท
  • หากต้องใช้กะโหลกศีรษะเทียม ได้รับเงินชดเชยสูงสุด 35,000 บาท
  • หากเสียชีวิต ได้รับเงินทำศพสูงสุด 35,000 บาท
  • กรณีที่บาดเจ็บ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท แต่หากมีการทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิต ก็จะได้เงินค่ารักษา หรือ ค่าทำศพเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท โดยบริษัทจะชดใช้ ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหาย

2. สินไหมทดแทนและค่าเสียหายเมื่อเป็นฝ่ายถูก

  • เมื่อเข้ารักษาในฐานะผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท (จ่ายไม่เกิน 20 วัน)
  • หากบาดเจ็บ ได้รับเงินชดเชย 80,000 บาท
  • กรณีที่นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 200,000 บาท
  • กรณีพิการ หูหนวก เป็นใบ้ หรือสูญเสียความสามารถในการพูด ได้รับเงินชดเชย 250,000 บาท
  • หากทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท
  • หากเสียชีวิต, ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือสูญเสียมือ แขน เท้า ขา ตาบอด ตั้งแต่ 2 ข้างขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 500,000 บาท

3. เอกสารในการเคลม พ.ร.บ. รถยนต์

  • กรณีอุบัติเหตุทั่วไป สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้ใบสูติบัตรแทน), สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ, สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่), ใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ, สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์, กรณีบาดเจ็บ, สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย, ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
  • กรณีทุพพลภาพ สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบเหตุ, ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองการเป็นผู้พิการ, สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบเหตุได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล ผู้ป่วยใน, ใบรับรองแพทย์หรือหนังสือรับรองการรักษาตัว เป็นผู้ป่วยใน, สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
  • กรณีเสียชีวิต สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ, ใบมรณบัตร, สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท, สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบภัยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

พ.ร.บ. รถยนต์ขาดได้กี่วัน?

หากใครสงสัยว่า พ.ร.บ. ขาดได้กี่วัน ถ้าเป็นไปได้ “พรบ.รถยนต์ไม่ควรขาดเลยแม้แต่วันเดียว” เพราะหากไม่ต่อพรบก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และตามกฎหมายหากนำรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์มาขับขี่บนท้องถนนโดยไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. หากถูกเรียกตรวจมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท กรณีใช้รถที่ขาดทั้งภาษีและพรบ.รถยนต์ มีโทษปรับ 20,000 บาท แต่ขณะเดียวกันกรมการขนส่งเองก็ได้มีมาตรการรองรับกรณีที่มีผู้ที่ พรบ. ขาดเป็นระยะเวลานานรองรับเอาไว้แล้ว โดยสามารถดูอัตราโทษและวิธีต่อพรบ.ได้ดังนี้

  1. พ.ร.บ. ขาด 1 ปีเสียเท่าไหร่? ไม่ว่าพรบ. ขาดได้กี่วัน แต่ถ้าอยู่ใน 1 ปี เรายังสามารถต่อ พ.ร.บ. ได้โดยไม่เสียค่าปรับด้านพรบ. จะมีค่าปรับด้านภาษีรถในอัตราเดือนละ 1% จากค่าภาษีรถยนต์ประจำปี เนื่องจากหากไม่มีพรบ.ก็ไม่สามารถต่อภาษีได้เช่นกัน
  2. พ.ร.บ. ขาด 2 ปีเสียเท่าไหร่? ต้องนำรถไปตรวจสภาพที่ตรอ.ก่อนจะดำเนินการต่อต่อทะเบียนรถและเสียค่าปรับด้วยตัวเองทั้งหมดที่สำนักงานขนส่ง โดยเตรียมเอกสาร คือ ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ, สมุดทะเบียนรถตัวจริง, สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ แล้วทำการแจ้งกับกรมขนส่งเพื่อดำเนินเรื่องในขั้นต่อไป ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าจดทะเบียน ต่อภาษี รวมไปถึงค่าตรวจสอบสภาพรถยนต์
  3. พ.ร.บ. ขาด 3 ปีเสียเท่าไหร่? ในกรณีขาดเกิน 3 ปี รถยนต์จะถูกระงับทะเบียนไปแล้ว ต้องทำการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่พร้อมกับเสียค่าปรับและภาษีรถยนต์ย้อนหลังตามปีที่ขาดไป โดยต้องเตรียมเอกสารใกล้เคียงกับการต่อทะเบียน ดังนี้ คือ ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ, สมุดทะเบียนรถตัวจริง, สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ

เมื่อเกิดอุบัติเหตุช่วง พ.ร.บ. ขาดยังมีพรบ.หรือประกันคุ้มครองไหม?


เกิดอุบัติเหตุช่วงขาด พ.ร.บ. เบิกได้หรือไม่?

หากรถที่ไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. เกิดอุบัติเหตุทั้งแบบมีคู่กรณีและไม่มีคู่กรณี อาทิ เฉี่ยวชนกำแพง ชนต้นไม้ ขับรถชนเสาไฟฟ้า ขับรถตกข้างทาง ขับรถชนไม่มีคู่กรณี ขับรถชนคน หรือขับรถชนท้าย แม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตไม่ว่า พ.ร.บ. ขาดได้กี่วัน ผู้ขับขี่และโดยสารรถยนต์ที่ขาดพรบ.จะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ ทั้งสิ้น แต่กรณีที่ฝ่ายผิดมี พ.ร.บ. ผู้ถูกชนก็ยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นในฐานะผู้เสียหายได้ ไม่เกิน 15,000 บาท และหากเสียชีวิตจะได้รับเงินชดเชย 35,000 บาท และระหว่างรอการเบิกจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวก็ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยตัวเองไปก่อน เมื่อรู้อย่างนี้เรื่อง พ.ร.บ.. ขาดได้กี่วันก็จะเป็นเรื่องสำคัญที่ห้ามมองข้ามเลยเด็ดขาด

ประกันรถยนต์ยังคุ้มครองช่วงขาด พ.ร.บ. หรือไม่?

ในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุขณะ พ.ร.บ. รถยนต์ขาด ไม่ว่าจะไม่มีคู่กรณีหรือมีคู่กรณีก็ตาม หากเราได้ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเอาไว้ ขอแค่มีใบขับขี่และประกันภัยรถยนต์ยังไม่หมดอายุ บริษัทประกันก็ยังคงคุ้มครองตามข้อตกลงในกรมธรรม์โดยเรื่อง พ.ร.บ. ขาดได้กี่วันไม่จำเป็นเลย

สรุปแล้วไม่ว่า พ.ร.บ. ขาดได้กี่วัน ก็ขอแนะนำว่าพยายามอย่าให้ พ.ร.บ. หรือภาษีหมดอายุถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดถ้าไม่อยากต้องเสียค่าปรับหรือไปดำเนินการต่ออายุใหม่พรบ.ที่ยุ่งยากมากขึ้น นอกจากนี้ก็ควรจะมีประกันรถยนต์ควบคู่กับ พ.ร.บ. ไปด้วยเพื่อที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ ทั้งเรื่องเกี่ยวกับตัวบุคคลและค่าซ่อมแซมรถจาก พ.ร.บ. และประกันภาคสมัครใจที่ แรบบิท แคร์ พร้อมดูแลไม่ว่าจะเป็นประกันรถตัวเด็ดจากทุกบริษัทชั้นนำที่มีให้เลือกครบเฉพาะที่นี่เท่านั้น!

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา