Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

ทำ พ.ร.บ. ออนไลน์
ที่ แรบบิท แคร์

ถูกกว่าซื้อตรงแน่นอน !

2023_JAN_037_desktop_recreational-vehicle.jpg
user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Mar 17, 2022

ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิก พรบได้ไหม ? ผิดกฎหมายหรือเปล่า?

หลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัย หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้น หากมี พรบ รถยนต์ แม้จะไม่ใช่เจ้าของรถสามารถเบิกเงินค่าเคลมจาก พรบ รถยนต์ ได้ และให้ความคุ้มครองต่าง ๆ ตามปกติ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือเป็นบุคคลภายนอก ก็สามารถ ก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าชดเชยต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด โดยสามารถเบิกเคลม พรบ รถยนต์ ได้ไม่เกินคนละ 30,000 บาท

ในกรณีที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเบิกเคลมค่าสินไหมได้เพิ่มอีก

  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ หรือค่าเสียหายอื่น ๆ สูงสุด 80,000 บาท
  • การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 500,000 บาท
  • ชดเชยรายวันวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน (ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยใน หรือ IPD)

ในกรณีที่ผู้ขับเป็นฝ่ายผิด จะได้ค่าชดเชยเบื้องต้น ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) สูงสุด 30,000 บาท
  • การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 35,000 บาท

จะเห็นได้ว่า แม้จะไม่ใช่เจ้าของรถ หรือแม้จะเป็นฝ่ายผิด หากเราหมั่นต่ออายุ พรบ รถยนต์ ไว้สม่ำเสมอ จะช่วยคุ้มครองการเกิดอุบัติเหตุเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี และหากใครต้องการเทียบประกันรถยนต์เพิ่มเติมไว้ จะช่วยเสริมความคุ้มครองอื่น ๆ เพิ่มเติมได้มากยิ่งขึ้น ลองดูข้อมูลประกันรถยนต์กับ แรบบิท แคร์ ที่ช่วยให้คุณอุ่นใจในทุก ๆ การเดินทางเพิ่มเติม พร้อมเบี้ยประกันรถยนต์ที่จับต้องได้ เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ หรือช่วยต่อ พรบ รถยนต์ ได้อีกด้วย

ถ้าไม่ใช่เจ้าของรถทำประกันได้ไหม?

หลายคนอาจจะสงสัยว่า สามารถทำ พรบ รถยนต์ หรือทำประกันรถ แม้เป็นเป็นเจ้าของรถได้หรือไม่ คำถามนี้ตอบได้เลยว่า ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของรถหรือไม่ก็ตาม ก็สามารถทำประกันและเคลมประกันได้ แต่ผู้ทำประกันรถจะต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของรถเสียก่อน และในการกรอกข้อมูลตอนทำประกันต้องกรอก ชื่อผู้เอาประกัน เป็นคนละชื่อ กับ ชื่อเจ้าของรถ ก็สามารถทำได้แล้ว นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขว่า เจ้าของรถยินยอมให้ใช้รถและต้องมีใบขับขี่ และอาจส่งผลต่อเบี้ยประกันรถ

สำหรับเอกสารในการทำประกันรถยนต์แทนเจ้าของรถ เบื้องต้นที่ต้องใช้ มี 3 อย่าง คือ สำเนาใบขับขี่, สำเนาบัตรประชาชน (เจ้าของรถ) และสำเนาทะเบียนรถ

หากไม่ใช่เจ้าของรถ แจ้งเคลมประกันได้ไหม?

ในเชิงกฎหมายแล้ว แม้ว่าจะไม่ใช่เจ้าของรถ และตัวรถยนต์เองก็ยังคงมีประกัน มี พรบ รถยนต์ ก็สามารถเคลมค่าเสียหายต่าง ๆ ได้ตามปกติ โดยการเคลมในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของรถ จะแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่เป็นฝ่ายถูก

สามารถเรียกร้องจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายชนได้ตามปกติ ไม่ว่าเราจะทำประกันแบบระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่ หรือไม่ได้ระบุชื่อก็ตาม

กรณีที่เป็นฝ่ายผิด

กรณีนี้ก็สามารถเคลมประกันได้ แต่หากมีการทำผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ เช่น ประกันรถยนต์มีการระบุชื่อผู้ขับ และผู้ขับที่เกิดอุบัติเหตุชื่อไม่ตรงกับที่ระบุได้ จำเป็นต้องจ่ายให้กับบริษัทประกันเพื่อนำไปร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายให้กับคู่กรณีในเบื้องต้น ไม่เกิน 8,000 บาท โดยแบ่งค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าเสียหายทางทรัพย์สิน ของคู่กรณี 2,000 บาท
  • ค่าเสียหายทางผู้เอาประกันเอง 6,000 บาท (หากไม่ต้องการให้บริษัทประกันร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายเบื้องต้น อาจไม่จำเป็นต้องจ่าย 6,000 บาท ในกรณีเสียหายเล็กน้อย)

ทั้งนี้ผู้ขับที่เกิดอุบัติเหตุจะต้องมีใบขับขี่ (ไม่ว่าจะหมดอายุแล้ว หรือมีแต่ไม่ได้พกมาด้วยก็นับว่ามี) ไม่เช่นนั้น ประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครองและรับผิดชอบในทุกกรณี เพราะมองว่าทำผิดกฎหมาย แม้ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูกหรือไม่ก็ตาม

ในกรณีที่เป็นฝ่ายถูก แต่ไม่มีใบขับขี่ก็เบิกเคลมไม่ได้ โดยทางบริษัทฯจะแนะนำให้ไปเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณีแทน

ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของรถ เข้าไฟแนนซ์ได้ไหม?

หลายคนอาจจะมีปัญหาด้านการเงิน การนำรถเข้าไฟแนนซ์เพื่อขอสินเชื่อรถแลกเงินจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้คุณหาเงินก้อนเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเงินได้ แต่เราไม่ใช่เจ้าของรถ เข้าไฟแนนซ์ได้ไหม?

เบื้องต้นทำความเข้าใจก่อนว่า การขอสินเชื่อจำนำเล่มทะเบียนรถ, นำรถเข้าไฟแนนซ์นั้น หรือขอสินเชื่อรถแลกเงินนั้น ผู้ขอกู้ต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น แม้ว่าตัวเราเองจะมีเล่มทะเบียนรถอยู่ในมือ ไปต่อ พรบ รถยนต์ ด้วยตัวเอง หรือรถยนต์คันนี้เป็นของคนในครอบครัวที่ซื้อให้แต่ไม่ได้ลงชื่อเราไว้ก็ตาม เพราะทางสถาบันการเงินจะมองว่าผิดทางกฏหมาย อีกทั้งมีความเสี่ยงที่อาจเป็นรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมมาได้

นอกเสียจากเจ้าของรถจะทำหนังสือมอบอำนาจให้ พร้อมด้วยลายมือชื่อที่เซ็นยินยอมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แบบนี้จะสามารถนำรถเข้าไฟแนนซ์ได้

สำหรับเอกสารในการนำรถเข้าไฟแนนซ์ ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของและผู้ค้ำประกันรถยนต์ หรือผู้กู้ร่วม จะมีเอกสาร ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • หนังสือยินยอมมอบอำนาจจากเจ้าของรถ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สลิปเงินเดือนย้อนหลังอย่างน้อย 3 เดือน
  • หนังสือรับรองการทำงาน
  • รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  • ใบทะเบียนสมรส (ในกรณีที่แต่งงานแล้ว)

แต่ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่เรื่องไม่ใช่เจ้าของรถเท่านั้น ที่ทำให้เราไม่สามารถขอนำรถเข้าไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อรถแลกเงินได้ แต่หากคุณเครดิตไม่ดี ยังมีหนี้สินที่ยังค้างชำระอยู่ หรือกำลังติดแบล็คลิสต์ ทางสถาบันการเงินก็อาจมองว่าเสี่ยง เนื่องจากผู้ขอกู้มีเครดิตที่ไม่ดีได้เช่นกัน

การนำรถเข้าไฟแนนซ์เพื่อขอสินเชื่อรถจึงไม่ใช่เรื่องยากหากมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่สถาบันการเงินหรือไฟแนนซ์ต่าง ๆ กำหนดไว้

ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ และต้องการเงินก้อนเร่งด่วน ยังมีทางเลือกอื่นที่ แรบบิท แคร์ ขอแนะนำ คือ สินเชื่อส่วนบุคคล ที่ไม่ต้องใช้ทรัพย์สิน หรือรถเข้าไฟแนนซ์ และบัตรกดเงินสด ที่ให้คุณกดเบิกถอนได้ทันที แม้วงเงินอาจจะไม่สูงเท่าการนำรถเข้าไฟแนนซ์ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางหากต้องการใช้เงินเร่งด่วน

หากแจ้งเปลี่ยนสีรถ ไม่ใช่เจ้าของรถทำได้ไหม?

ตามกฎหมายได้ระบุเอาไว้ว่า การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสีของรถไม่ว่าจะดำเนินการด้วยวิธีใด ๆ เช่น การติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือคาร์บอนเคฟล่า เป็นต้น ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถพิจารณากำหนดสีรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 5 เว้นแต่กรณีการติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือวัสดุอื่นใด เพื่อการโฆษณาหรือตกแต่งรถ เป็นรูปภาพ ข้อความ ตัวอักษร และลวดลายต่าง ๆ เพิ่มเติมบนสีรถในภายหลัง ไม่ต้องกำหนดเป็นสีรถ

และสำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนสีรถยนต์ให้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สามารถทำได้เพียงแค่ไปจดแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ที่ กรมขนส่งทางบก โดยตามกฎหมายมีข้อกำหนดว่าหากการเปลี่ยนสีรถยนต์มีมากกว่า 30% ของพื้นที่สีรถทั้งหมด เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์ต่อกรมขนส่งทางบก นอกจากนี้ อย่าลืมเรื่องการต่ออายุ พรบ รถยนต์ ด้วย

แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนสีเฉพาะส่วน โดยมีพื้นที่ไม่ถึง 30% ของพื้นผิวรถยนต์ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้ง เช่นการเปลี่ยนสีเฉพาะส่วนหลังคา, ฝากระโปรงหน้า แบบนี้ไม่ถึง 30% ไม่ต้องจดแจ้ง

ส่วนวิธีในการจดแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์นั้น สามารถแจ้งได้ ด้วยการนำรถเข้าไปรับการตรวจ พร้อมเอกสาร ดังนี้

  • สำเนาเล่มทะเบียนรถ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ
  • ใบเสร็จหรือบิลเงินสดค่าทำสีรถ

ในกรณีที่สงสัยว่าแจ้งเปลี่ยนสีรถ ไม่ใช่เจ้าของรถทำได้ไหม บอกเลยว่าสามารถทำได้ โดยเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ดำเนินการไม่ใช่เจ้าของรถ)
  • หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของรถ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีผู้ดำเนินการไม่ใช่เจ้าของรถ)

ถ้าไม่ใช่เจ้าของรถ ประกันรถยนต์จะคุ้มครองหรือไม่ อย่างไรบ้าง

ในกรณีที่คุณไม่ใช่เจ้าของรถยนต์ แต่ต้องการทราบว่า ประกันรถยนต์จะคุ้มครองหรือไม่ โดยทั่วไปมีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของประกันภัยและเงื่อนไขที่บริษัทประกันระบุไว้ ดังนี้:

1. ประกันที่ทำเป็นแบบระบุชื่อผู้ขับขี่หรือไม่

หากประกันรถยนต์ที่คุณทำเป็นแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ (Named Driver Policy) ความคุ้มครองจะมีให้เฉพาะบุคคลที่มีชื่อระบุไว้ในกรมธรรม์เท่านั้น ดังนั้น หากผู้ขับขี่เป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของรถหรือไม่มีชื่ออยู่ในกรมธรรม์ ประกันจะไม่ให้ความคุ้มครองแก่บุคคลนั้น แต่ถ้าหากประกันที่มีเป็นแบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ และคนที่ขับขี่รถไม่ว่าจะเป็นเจ้าของรถหรือไม่ก็ยังคงได้รับความคุ้มครองตราบใดที่มีใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกต้องและปฏิบัติตามเงื่อนไข ก็จะได้รับความคุ้มครองจากประกันรถยนต์ที่มีอยู่

2. ผู้ขับขี่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของรถหรือไม่

กรณีขับขี่แทนเจ้าของรถ (Permission to Drive) หากคุณขับรถแทนเจ้าของรถโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของและมีใบขับขี่ที่ถูกต้อง ประกันภัยส่วนใหญ่จะยังคงให้ความคุ้มครอง แต่อาจมีข้อกำหนดพิเศษที่คุณต้องตรวจสอบกับบริษัทประกัน

3. ประกันรถยนต์ที่มีให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง

เมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้น ประกันแต่ละชั้นย่อมให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  • ความเสียหายต่อรถผู้เอาประกันเมื่อมีคู่กรณี : จะให้ความคุ้มครองเฉพาะในประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2+ และชั้น 3+ แต่ในกรณีที่มีประชั้น 2 หรือประกันชั้น 3 ความคุ้มครองจะไม่ครอบคลุมความเสียหายในส่วนนี้
  • ความเสียหายต่อรถผู้เอาประกันเมื่อไม่มีคู่กรณี : จะให้ความคุ้มครองเฉพาะในประกันชั้น 1 เท่านั้น
  • ความเสียหายต่อรถหรือทรัพย์สินของคู่กรณี : จะให้ความคุ้มครองในประกันรถยนต์ทุกชั้น
  • กรณีได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต : จะให้ความคุ้มครองในประกันรถยนต์ทุกชั้นทั้งสำหรับผู้ขับขี่และคู่กรณี นอกจากนั้น ยังได้รับความคุ้มครองจากประกันภัยภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. รถยนต์อีกด้วย

4. ข้อควรระวังถ้าไม่ใช่เจ้าของรถ

โดยรวมแล้ว การที่ประกันจะคุ้มครองหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของประกันและเงื่อนไขของกรมธรรม์ ดังนั้น ตรวจสอบเงื่อนไขกรมธรรม์และข้อกำหนดของบริษัทประกัน และถ้าหากขับขี่รถที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ ควรมีการขออนุญาตและตรวจสอบว่าประกันครอบคลุมหรือไม่อีกด้วย

บทความแนะนำ

hit-utility-pole-damages.jpg
  • หากขับรถชนเสาไฟฟ้า ต้องทำอย่างไร มีความผิดทางกฎหมายหรือไม่ และต้องจ่ายค่าปรับกับใคร ประกันจะคุ้มครองไหม?
ขับรถชนท้ายประกันจ่ายไหม ใครเป็นฝ่ายผิด
  • มาดูกรณีศึกษาการชนท้ายและการถูกชนท้าย พร้อมดูว่าในแต่ละกรณีประกันคุ้มครองหรือไม่ และควรทำอย่างไรบ้าง
แซงบนท้องถนนจนเกิดอุบัติเหตุเคลมประกันได้ไหม?
  • การแซงรถผิดกฎจราจรอาจนำไปสู่อุบัติเหตุได้ หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้ขับขี่สามารถเคลมประกันได้หรือไม่?
ขับรถชนคนเสียชีวิตประกันจ่ายให้หรือไม่

  • หากขับรถชนคนเสียชีวิต ประกันภัยคุ้มครองหรือไม่? พ.ร.บ. จะจ่ายค่าชดเชยให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตหรือไม่?

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา