Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบประกันออมทรัพย์ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

Provident fund (pvd) คืออะไร
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Sep 12, 2024

มนุษย์เงินเดือนต้องอ่าน! Provident fund (pvd) คืออะไร?

Provident Fund คืออะไร ทำไมมนุษย์เงินเดือนถึงต้องรู้จักด้วย ? ซึ่งเหตุผลที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนจะต้องอ่านก็เพราะว่า Provident Fund คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้คืออะไร ? มีความสำคัญแบบไหน ? บทความนี้ก็ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ Provident Fund มาฝาก โดยขอรับประกันเลยว่ารายละเอียดที่เรากำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนทางด้านการเงินให้แก่มนุษย์เงินเดือนทุก ๆ คนอย่างแน่นอน

Provident fund คืออะไร?

Provident fund หรือ pvd คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งความหมายก็คือ กองทุนที่เจ้านายและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นมา เพื่อเป็นหลักประกันทางการเงินให้กับลูกจ้างที่เป็นพนักงานของบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดย Provident Fund นี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของทางภาครัฐผ่านกฎหมายที่เรียกกันว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” โดยเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นเงินที่ได้จากนายจ้างจะเรียกว่า “เงินสมทบ” และเงินส่วนที่ได้จากลูกจ้างจะเรียกว่า “เงินสะสม” อีกทั้ง Provident Fund ยังถือได้ว่าเป็นสวัสดิการที่จะช่วยทำให้ลูกจ้างมีเงินเอาไว้ใช้จ่ายในตอนที่เกษียณอายุงาน ส่งผลให้หลาย ๆ คน มองว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือสวัสดิการที่ดีต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก

Provident fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) นำเงินมาจากไหน?

จากข้อมูลข้างต้น คุณจะเห็นได้ว่าเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ Provident fund จะมาจาก 2 ช่องทาง คือ…

1. เงินจากลูกจ้าง หรือ “เงินสะสม”

ซึ่งเป็นเงินที่ลูกจ้างจะถูกหักจากเงินเดือน ตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนของแต่ละนายจ้าง โดยมีข้อกำหนดไว้ว่าสามารถนำส่งเงินสะสมได้ตั้งแต่ 2% แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินเดือน

2. เงินจากนายจ้าง หรือ “เงินสมทบ”

ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายเข้ากองทุนเป็นประจำทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือน ตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนแต่ละบริษัท โดยมีข้อกำหนดไว้ว่าสามารถนำส่งเงินสมทบได้ตั้งแต่ 2% แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินเดือน

เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ได้คืนเมื่อไหร่?

สำหรับคำถามนี้คงจะเป็นคำถามที่หลายๆ คน อยากจะรู้กันมากที่สุด ว่าเราจะได้รับเงิน Provident fund(กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) เมื่อไหร่ ? ซึ่งคำตอบก็คือ คุณจะได้รับเงินคืนจากกองทุนเมื่อสถานะพนักงานสิ้นสุดลง ไม่ว่าจะเป็นการลาออกจากงาน การเกษียณอายุงาน การโอนย้ายกองทุน รวมไปถึงในกรณีที่เสียชีวิต

เคล็ดลับการส่งเงิน Provident fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) ให้ได้รับความคุ้มค่า

หากคุณต้องการเงินก้อนใหญ่จาก Provident fund(กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) สามารถทำได้ง่าย ๆ นั่นก็คือ “ยิ่งสะสมเยอะ ยิ่งได้เยอะ” โดยข้อกำหนดของกฎหมายนั้นให้ลูกจ้างสะสมได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน เพราะฉะนั้นคุณจึงสามารถเลือกสะสมได้ตามความต้องการ อีกทั้งคุณยังสามารถนำเงินสะสมไปหักลดหย่อนภาษีประจำปีได้อีกด้วย

วิธีเช็คยอด กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (pvd)

การเช็คยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (provident fund) ในปัจจุบันสามารถทำได้ 4 วิธี โดยมีรายละเอียดดังนี้:

  1. สำหรับสมาชิก กองทุน คุณสามารถเช็คยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ด้วยตยเอง โดยเข้าไปในเว็บไซต์ http://www.ktam.co.th และคลิกที่ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”
  2. คุณสามารถเช็คยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “KTAM Smart Trade” สิ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งใน IOS และ Android
  3. สามารถเช็คยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (pvd) ผ่านระบบโทรศัพท์ตอบรับแบบอัตโนมัติ โดยโทรมาที่เบอร์ 02-6866100
  4. วิธีสุดท้ายคือการเช็คยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผ่านโทรศัพท์มือถือ SMS Two Way

Provident fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ไหม?

จากย่อหน้าด้านบนที่เราได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า Provident fund(กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) สามารถนำไปลดหย่อยภาษีประจำปีได้ด้วย โดยรายละเอียดมีดังนี้

1. ลูกจ้าง

เงินสะสมที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุน สามารถหักลดหย่อนได้เมื่อคำนวณเงินได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน ปีละ 10,000 บาท แต่ในส่วนที่เกิน 10,000 บาท (แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง และไม่เกิน 490,000 บาท) ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษี

2. นายจ้าง

เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างของลูกจ้าง เรียกได้ว่านอกจากจะมีเงินก้อนในยามเกษียณอายุงานแล้ว Provident fund(กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) ยังมีประโยชน์ในเรื่องของการจ่ายภาษีประจำปีอีกด้วย

สำหรับคำถามที่ว่า Provident Fund หรือ pvd คืออะไร ? คุณก็คงจะได้คำตอบกันไปแล้ว อีกทั้งใครที่อยากจะได้รับความคุ้มค่าจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ Provident Fund (pvd) คุณก็สามารถนำแนวทางที่เราได้กล่าวไปข้างต้นไปลองปรับใช้ให้เข้ากับความเหมาะสมของตัวคุณดู แล้วคุณจะรู้เลยว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นจะมีประโยชน์ต่อการเงินของคุณในอนาคตอย่างแน่นอน!

อย่างไรก็ตาม provident fund (pvd) ก็เป็นหนึ่งในการออมแต่เป็นการออมเพื่อลูกจ้างจะได้รับเงินก้อนหลังลาออก ถือว่ามีความใกล้เคียงกับการทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ เพราะเป็นการออมเงินแต่ยังได้รับความคุ้มครองอีกด้วย ก่อนที่คุณจะตัดสินใจมาทำความรู้จักกันก่อนว่า ข้อดีประกันชีวิตสะสมทรัพย์ คือ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยในการวางแผนการเงินในครอบครัว เพราะหากคุณเสียชีวิตก็ยังได้รับเงินก้อนให้ครอบครัว ลูกหลานของคุณติดตัวไว้ใช้ นอกจากนี้ยังมีให้คุณเลือกหลายแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณ หากคุณสนใจสามารถเข้ามาดูแผนประกันชีวิตสะสมทรัพย์ของทาง แรบบิท แคร์ ก่อนได้ หากต้องการข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติม สามารถโทรติดต่อได้ที่ 1438 ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกันออมทรัพย์ที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

ทุนทวี พลัส 20/20 ไทยประกันชีวิตทุนทวี พลัส 20/20

ไทยประกันชีวิต

  • เบี้ยเริ่ม 16 บาท/วัน (500 บาท/เดือน)
  • เงินคืนครบสัญญา 174% รับส่วนลดเบี้ย
  • รับเงินคืน 8% ตามปี ครบ 174% ค่ารักษาหลักแสน
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท
  • สมัครอายุ 1 เดือน - 55 ปี
  • คุ้มครองอุบัติเหตุ สูงสุด 100,000 บาท
  • สมัครง่าย ทุกอายุ คุ้มครอง 20 ปี
ประกันบำนาญ 90/2 ทิพยประกันชีวิตประกันบำนาญ 90/2

ทิพยประกันชีวิต

  • บำนาญรวม สูงสุด 465%
  • จ่ายเบี้ย 2 ปี รับบำนาญสูงสุด 31 ปี
  • เบี้ยเบา จ่าย 2 ปี
  • สิทธิ์ลดหย่อนภาษี 300,000 บาท
  • สมัคร 20-54 ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • รับเงินชดเชย รพ. เลือกบำเหน็จ
  • จ่ายเบี้ยสั้น รับเงินนาน
ฟอร์ เพนชัน 85/7 เอฟดับบลิวดีฟอร์ เพนชัน 85/7

เอฟดับบลิวดี

  • เกษียณง่าย จ่ายเบี้ย 7 ปี คุ้มครองถึง 85 ปี
  • บำนาญเพิ่มตามอายุ สูงสุด 24%
  • รับเงินก้อน 110% กรณีเสียชีวิต
  • สิทธิลดหย่อนภาษี 300,000 บาท
  • สมัคร 20-52 ปี เบี้ยสั้น 7 ปี
  • เลือกทุนประกันขั้นต่ำ 50,000 บาท
  • รับบำนาญ 60-85 ปี
Gen Senior 55 GeneraliGen Senior 55

Generali

  • เบี้ยเริ่ม 11 บาท/วันคุ้มครองถึง 90 ปี
  • คุ้มครองถึง 90 ปี
  • ผลประโยชน์สูงสุด 350,000 บาท
  • จ่ายรายปี รับส่วนลด 7%
  • สมัครได้ 55-70 ปี
  • สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • เงินก้อนส่งต่อให้ลูกหลาน อายุเกษียณ

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา