แคร์สุขภาพ

ดนตรีบำบัด คืออะไร ? ดนตรีสามารถบำบัดจิตใจและความเครียดได้จริงหรือไม่ ?

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

close
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published April 11, 2024

เราต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเสียงดนตรีสามารถช่วยให้เกิดความผ่อนคลายของร่างกายและจิตได้ แต่รู้หรือไม่นั้นว่าในทางการแพทย์นั้นมีการใช้ดนตรีบำบัดในการรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ อีกทั้งยังเป็นที่ยอมรับในวงกว้างของการแพทย์ทั่วโลก

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ดนตรีบำบัด คืออะไร ?

    ดนตรีบำบัด Music Therapy คือ การบำบัดรักษาอาการทั้งทางกายภาพและจิตใจของผู้เข้ารับการบำบัดด้วยการใช้องค์ประกอบทางดนตรีต่าง ๆ เช่น เนื้อเพลง ท่วงทำนอง จังหวะ โดยนักดนตรีบำบัดนั้นจะเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับกิจกรรมและเพลงที่จะใช้ในการบำบัดให้แก่ผู้เข้ารับการบำบัดนั่นเอง

    ดนตรีบำบัดถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ได้อย่างไร ?

    MedParkHospital ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับดนตรีบำบัดว่า ดนตรีบำบัดนั้นได้ทำการพัฒนามาจากตำนานกรีกที่มีความเชื่อว่าเสียงดนตรีจะช่วยขับไล่สิ่งไม่ดีที่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บออกจากตัวมนุษย์ได้ ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์มีการพัฒนามากขึ้น ฟลอเรนซ์ ไนติงเกลผู้ให้กำเนิดการพยาบาลสมัยใหม่ ได้มีการนำดนตรีมาใช้ในเชิงทางการแพทย์ในปี พ.ศ.2402 เพราะเชื่อว่าดนตรีสามารถช่วยฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยจากโรคต่าง ๆ ได้ และดนตรีก็ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2487 มหาวิทยาลัยมิชิแกนได้เปิดหลักสูตรดนตรีบำบัดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นหลักสูตรดนตรีบำบัดก็ถูกเปิดสอนในสถาบันอุดมศึกษาและมีการวิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

    ดนตรีบำบัดมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

    สำหรับการบำบัดด้วยการใช้ดนตรีบำบัดนั้นโดยปกติแล้วในทางการแพทย์จะมีการแบ่งประเภทของดนตรีบำบัดออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน นั่นก็คือ

    • ดนตรีบำบัดทางด้านกายภาพ หรือก็คือการใช้วิธีการตอบสนองของร่างกายต่อการใช้ดนตรีบำบัด ทั้งในการร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี เคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อดนตรีและส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายถูกกระตุ้น เช่น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เลือดสูบฉีดได้ดีขึ้น ทำให้ดนตรีบำบัดสามารถฟื้นฟูอาการต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น อาการของโรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
    • ดนตรีบำบัดความเครียดทางด้านจิตใจ การใช้ดนตรีบำบัดทางด้านจิตใจนั้นจะเป็นการเปลี่ยนจุดสนใจของผู้ที่เข้ารับการบำบัดให้มีสมาธิอยู่กับตนเอง ทำให้สภาวะอารมณ์ดีขึ้น อีกทั้งเสียงของดนตรียังส่งผลให้สมองของเรานั้นเคลื่อนไหวเป็นจังหวะเช่นเดียวกับจังหวะดนตรี ดังนั้นการใช้ดนตรีบำบัดทำให้คลื่นสมองรู้สึกผ่อนคลายในระดับลึกได้ก็จะได้ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการทำสมาธิ ช่วยฟิ้นฟูโรคสมาธิสั้น และช่วยให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟินทำให้เกิดความผ่อนคลายและความสุขต่อผู้เข้ารับการบำบัดลดความวิตกกังวลและความเครียดนั่นเอง

    ลักษณะเด่นของดนตรีบำบัด

    ความจริงแล้วดนตรีบำบัดนั้นมีคุณลักษณะเด่นเฉพาะตัวมากมายหลายด้านมาก สามารถทนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายอาการและใช้ได้ในทุกระดับช่วงอายุ โดยลักษณะที่โดดเด่นหรือจุดเด่นของดนตรีบำบัดที่พบได้มาก คือ

    • ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองได้หลายส่วน
    • ช่วยให้มีสมาธิจดจ่อได้ดียิ่งขึ้น
    • สามารถประยุกต์เข้ากับความสามารถของแต่ละบุคคลได้
    • เสริมสร้างการรับรู้ที่มีความหมาย
    • เสริมสร้างความสนุกสนานผ่อนคลาย
    • เป็นเครื่องมือช่วยจำที่มีประสิทธิภาพ
    • ช่วยสร้างความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
    • เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหว
    • เป็นเครื่องมือที่เข้าถึงความทรงจำและอารมณ์ได้
    • ประสบความสำเร็จในการบำบัดได้ง่าย
    • ฯลฯ

    ดนตรีแนวไหน ใช้เป็นดนตรีบำบัดได้ ?

    สำหรับดนตรีที่จะสามารถใช้ในการบำบัดนั้นไม่ได้มีข้อกำหนดตายตัวว่าจะต้องเป็นดนตรีแนวไหน เนื่องจากว่าดนตรีทุกแนวสามารถใช้ในการบำบัดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้เข้ารับการบำบัดนั้นชื่นชอบดนตรีแนวใด เช่น ดนตรีคลาสสิก (Classic) ดนตรีป๊อป (Pop) ดนตรีแจ๊ส (Jazz) ไม่ว่าจะเป็นดนตรีแนวไหนก็สามารถใช้ในการบำบัดได้ทั้งหมดเลยนั่นเอง

    ประโยชน์ของดนตรีบำบัด 

    สำหรับประโยชน์ของดนตรีบำบัดก็อย่างที่เราต่างก็ทราบกันดรอยู่แล้วว่ามีประโยชน์ในการฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจ โดยการใช้ดนตรีบำบัดนั้นจะช่วยฟื้นฟูได้ 3 ด้านหลัก ๆ ดังนี้

    • ด้านจิตใจและอารมณ์ การใช้ดนตรีบำบัดนั้นจะช่วยในการปลดปล่อยความรู้สึกแย่ ๆ ภายในจิตใจออกมา ช่วยให้สภาวะอารมณ์ดีขึ้น สามารถจัดการภาวะอารมณ์และความเครียดได้ดีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
    • ด้านกายภาพ เมื่อใช้ดนตรีบำบัดในการกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายจะทำให้อภัยวะภายในร่างกายสามารถทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ความเจ้บป่วยบรรเทาลง
    • ด้านสังคม ดนตรีบำบัดสามารถช่วยส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม และเป็นสื่อกลางในการเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี

    สามารถใช้ดนตรีบำบัด บำบัดใครได้บ้าง ? 

    อ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนอาจรู้สึกสงสัยว่าดนตรีบำบัดนั้นสามารถใช้กับใครได้บ้าง หากมีความสนใจตนเองนั้นสามารถเข้ารับการบำบัดด้วยดนตรีได้ไหม ความจริงแล้วดนตรีบำบัดสามารถใช้ได้กับผู้คนและสถานการณ์ที่หลากหลาย ดังนี้

    • ใช้บำบัดทหาร ในการฝึกฝนและออกปฏิบัติหน้าที่นั้นอาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้ทั้งในร่างกายและจิตใจ การใช้ดนตรีบำบัดสามารถช่วยในการฟื้นฟูได้ทั้งสภาพจิตใจ และอาการเจ็บป่วยทางกายภาพจากบาดแผลต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
    • ผู้ป่วยออทิสติก เนื่องจากมีความบกพร้่องทางด้านภาษาและการสื่อสาร ผู้ป่วยออทิสติกจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อสิ่งที่ได้ยินมีจังหวะ คาดเดาได้ และมีความสม่ำเสมอ การใช้ดนตรีบำบัดจึงสามารถช่วยพัฒนาทักษาการเรียนรู้และสื่อสารของผู้ป่วยออทิสติกได้นั่นเอง
    • ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยโรคดังกล่าวจะอยู่ในภาวะสมองเสื่อม ไม่สามารถจดจำเรื่องราวในอดีตได้ โดยการใช้ดนตรีในการบำบัดนั้นสามารถช่วยกระตุ้นความทรงจำที่หายไป เพราะดนตรีนั้นสามารถเชื่อมถึงความจำระยะยาวในสมองได้นั่นเอง
    • ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น การใช้ดนตรี บำบัดจะช่วยกระตุ้นสมองให้เกิดสมาธิ ทำให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย จดจ่อกันสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ดีขึ้นนั่นเอง
    • ผู้ประสบอุบัติเหตุ ผู้ป่วยหลายคนเคยประสบอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมากจนอาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรืออาการแพนิคไปจนถึงอาการหวาดระแวงผู้คนรอบข้าง การใช้ดนตรีบำบัดจะสามารถช่วยฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยได้
    • ผู้ใช้สารเสพติด ดนตรีบำบัดสามารถช่วยลดความต้องการสารเสพติดได้ เนื่องจากมีส่วนช่วยในการทำให้สมองผ่อนคลายจากความเครียด ความวิตกกังวล และยังสามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ใช้สารเสพติดให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้งหนึ่ง
    • ผู้ต้องขัง สำหรับการใช้ดนตรีในการบำบัดผู้ต้องขังนั้นจะเน้นการใช้ดนตรีในการบำบัดจิตใจให้รู้สึกผ่อนคลายจากสภาวะแวดล้อมรอบกายที่อาจก่อให้เกิดความเครียดรุนแรงนั่นเอง

    ขั้นตอนในการใช้ดนตรีบำบัด

    หลังจากรู้ถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับดนตรีบำบัดรวมถึงข้อดี-ข้อเสียกันไปพอประมาณแล้ว หลายคนอาจต้องการทราบเกี่ยวกับขั้นตอนในการใช้ดนตรีบำบัดว่ามีอะไรบ้าง โดยขั้นตอนในการใช้ดนตรีในการบำบัดโดยนักบำบัดจะมีดังนี้

    • ทำการตรวจประเมินอาหารเบื้องต้น นักดนตรีบำบัดจะทำการซักประวัติและประเมินอาการเบื้องต้นของผู้เข้ารับการบำบัด เช่น โรคประจำตัว การตอบสนองทางด้านร่างกายของผู้ป่วย การสื่อสาร ประวัติการเจ็บป่วย ความชอบและทักษะทางดนตรีเพื่อใช้ในการออกแบบดนตรีที่จะนำมาใช้ในการบำบัดที่เหมาะสมกับแต่ละคน
    • เลือกทำกิจกรรมตามที่นักดนตรีบำบัดกำหนดมาให้เลือก แต่งเพลง​ (ทำนองเพลง,เนื้อเพลง) , ร้องเพลง , ฟังเพลง , เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะเพลง , พูดคุยเกี่ยวกับดนตรี , เล่นเครื่องดนตรี เป็นต้น
    • ทำการประเมินผล หลังจากที่การบำบัดด้วยดนตรีสิ้นสุดลง นักดนตรีบำบัดจะทำการประเมินเพื้่อดูประสิทธิภาพของการบำบัดว่าสามารถช่วยฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยซึ่งเข้ารับการบำบัดว่าได้ดีหรือไม่

    และขั้นตอนเหล่านี้ก็คือขั้นตอนหลัก ๆ ในการใช้ดนตรีเพื่อบำบัดรักษา จะเห็นได้ว่าขั้นตอนไมม่ยุ่งยากหรือซักซ้อนอะไรมากมาย เน้นไปทางบำบัดรักษาจากการสร้างความผ่อนคลายและปรับสมดุลของร่างกายและจิตใจนั่นเอง

    สรุป

    ทั้งนี้การใช้ดนตรีในการบำบัดนั้นไม่จะเป็นต้องใช้บำบัดกับผู้ป่วยเสมอไป คนตัวไปก็สามารถใช้ดนตรีในการบำบัดได้เช่นกัน โดยการใช้ดนตรีบำบัดในคนทั่วไปนั้นส่วนมากแล้วจะใช้ในจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายความเครียดและพัฒนาเรื่องการสื่อสาร หากสนใจสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และสำหรับใครที่รักสุขภาพ ขอแนะนำว่าให้ทำประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ เผื่อไว้ด้วยจะเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพในอนาคตอย่างมากเลยทีเดียว


    สรุป

    สรุปบทความ

    ดนตรีบำบัด Music Therapy คือ การบำบัดรักษาอาการทั้งทางกายภาพและจิตใจของผู้เข้ารับการบำบัดด้วยการใช้องค์ประกอบทางดนตรีต่าง ๆ เช่น เนื้อเพลง ท่วงทำนอง จังหวะ โดยนักดนตรีบำบัดนั้นจะเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับกิจกรรมและเพลงที่จะใช้ในการบำบัดให้แก่ผู้เข้ารับการบำบัด โดยสามารถใช้กับผู้ป่วยหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ทหารผ่านศึก, ผู้ป่วยออทิสติก, ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์, ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น, ผู้ที่ภาวะซึมเศร้าหรืออาการแพนิค, ผู้ใช้สารเสพติด รวมไปถึงผู้ต้องขังก็ได้เช่นกัน โดยเบื้องต้น ดนตรีบำบัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

    • ดนตรีบำบัดทางด้านกายภาพ หรือก็คือการใช้วิธีการตอบสนองของร่างกายต่อการใช้ดนตรีบำบัด ทั้งในการร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี เคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรี เช่น อาการของโรคความดันโลหิต หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
    • ดนตรีบำบัดความเครียดทางด้านจิตใจ การใช้ดนตรีบำบัดทางด้านจิตใจนั้นจะเป็นการเปลี่ยนจุดสนใจของผู้ที่เข้ารับการบำบัดให้มีสมาธิอยู่กับตนเอง ทำให้สภาวะอารมณ์ดีขึ้น เช่น ทำสมาธิ, ช่วยฟิ้นฟูโรคสมาธิสั้น หรือ ช่วยบำบัดความเครียด เป็นต้น
    จบสรุปบทความ

    ที่มา


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    แคร์สุขภาพ

    โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

    โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ?
    Nok Srihong
    25/04/2024

    แคร์สุขภาพ

    แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

    ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
    Nok Srihong
    22/04/2024