Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 15, 2024

โรคสมาธิสั้นคืออะไร และอาการแบบไหนถึงจะเรียกว่าเป็นโรคสมาธิสั้น?

โรคสมาธิสั้นคืออะไร?

โรคสมาธิสั้น หรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD เป็นการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชเด็ก (ตามเกณฑ์ DSM-5 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน) หรือ Hyperkinetic Disorder (ตามเกณฑ์ ICD-10 ขององค์การอนามัยโลก รหัส F90) ซึ่งเกิดจากการที่สมองส่วนหน้าที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมสมาธิและพฤติกรรมนั้นมีการทำงานที่ลดลง และมีสารสื่อประสาทที่หลั่งออกมาน้อยกว่าคนปกติทั่วไป โดยมีการพบว่าเด็กวัยเรียนทั่วโลกนั้นเป็นโรคสมาธิสั้นถึงประมาณ 7% เลยทีเดียว แต่โรคนี้ก็สามารถพบได้ทั้งในเด็กและวัยผู้ใหญ่ ซึ่งอาการของโรคสมาธิสั้นนี้มักจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันพอสมควร และผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักจะมีอาการที่ไม่ชัดเจนเหมือนกับในวัยเด็ก อันเนื่องมาจากการมีอาการ Hyperactivity ที่ลดลงนั่นเอง

โรคสมาธิสั้น อาการเป็นอย่างไร?

สามารถแบ่งลักษณะอาการได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1. การขาดสมาธิ

  • มีอาการเหม่อลอย
  • ทำอะไรแล้วไม่ละเอียดรอบคอบ เกิดข้อผิดพลาดบ่อย
  • ทำงานไม่เสร็จ เพราะเบื่อง่าย ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน
  • ไม่ตั้งใจฟังเวลาที่มีคนอื่นคุยด้วย
  • ขาดความตั้งใจที่ต่อเนื่องเวลาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  • ทำของหายบ่อย และเป็นสิ่งของที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ว่อกแว่กง่าย สนใจสิ่งเร้าต่าง ๆ ได้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความพยายาม
  • ขาดการคิดวางแผนในการทำงาน
  • มักขี้ลืมบ่อย ๆ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันของตนเอง

2. การหุนหันพลันแล่น

  • ขาดการยับยั้งชั่งใจตนเอง
  • ใจร้อน วู่วาม หุนหันพลันแล่น
  • พูดไม่หยุด
  • พูดมากจนเกินไป
  • ชอบขัดจังหวะผู้อื่น
  • ชอบพูดแทรก
  • ชอบพูดโพล่งขึ้นมาในขณะที่อีกฝ่ายยังคุยไม่จบ
  • ไม่ชอบการรอคิวหรือรอนาน ๆ

3. การซุกซนที่ผิดปกติ หรืออยู่ไม่นิ่ง

  • ไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ได้เป็นเวลานาน
  • นั่งไม่ติดที่
  • เล่นเงียบ ๆ ไม่ค่อยได้ ชอบทำเสียงดัง ๆ
  • มีพลังงานมากเกินไปจนผิดปกติในแต่ละวันโดยที่ไม่รู้สึกเหนื่อยอะไร
  • ชอบเคลื่อนไหวขยับร่างกายไปมา หรือชอบปีนป่ายเกินเท่าที่ควร

โรคสมาธิสั้น เกิดจากอะไร?

จากบทความสุขภาพเรื่อง “โรคสมาธิสั้น” ในเว็บไซต์โรงพยาบาลมนารมย์ ได้กล่าวไว้ว่า สำหรับโรคสมาธิสั้นนั้นมีสาเหตุปัจจัยที่เกิดจากหลาย ๆ อย่างร่วมกัน โดยที่มีปัจจัยหลักเป็นปัจจัยทางชีวภาพหรือพันธุกรรม ซึ่งจะส่งผลมากถึง 75% ปัจจัยทางระบบประสาทที่มีการทำงานในด้านของการวางแผน ความคิด การควบคุมตนเอง และการจัดลำดับสิ่งต่าง ๆ ที่ผิดปกติไป รวมไปถึงการหลั่งสารสำคัญในสมองที่น้อยกว่าคนปกติ และนอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากการดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ในระหว่างที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ และในเด็กที่มีประวัติคลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักแรกเกิดที่น้อยกว่าปกติ ก็ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะสามารถทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นได้ด้วยเช่นเดียวกัน

และนอกจากนี้ยังมี “โรคสมาธิเทียม” ที่มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูที่ผิดวิธี เช่น การตามใจเด็กที่มากเกินไป การเลี้ยงดูที่ขาดระเบียบวินัย การไม่มีกฎหรือการควบคุมภายในบ้าน หรือวิธีการเลี้ยงดูของผู้ปกครองที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่

  • ตรวจร่างกายเพื่อแยกโรคที่อาจเป็นออกก่อน
  • รวบรวมข้อมูลจากประวัติของผู้ป่วย เพื่อประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วย ทั้งจากโรงเรียนและตัวผู้ปกครองเอง
  • เช็กคะแนน ADHD rating scales หรือ psychological tests เพื่อประเมินอาการและความรุนแรงของโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น รักษาหายไหม?

เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นประมาณ 20-30% จะมีโอกาสหายได้เองโดยที่ไม่ต้องใช้ยาในช่วงที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น แต่ยังคงมีความบกพร่องทางด้านสมาธิอยู่ ดังนั้นจึงควรพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับรู้ถึงวิธีการดูแลรักษาโรคสมาธิสั้นที่ถูกต้องและเหมาะสม ได้แก่

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น

  • สื่อสารกันอย่างกระชับ ชัดเจน และตรงไปตรงมา สบตาในขณะที่ผู้ปกครองกำลังพูดด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการรับฟังสารที่ครบถ้วน
  • การปรับบรรยากาศภายในบ้านให้สงบ ไม่มีเสียงดังรบกวน เพื่อไม่ให้เกิดอาการว่อกแว่ก และสนใจสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย
  • ทำตารางเวลาในแต่ละวันให้ชัดเจน ว่าจะต้องทำกิจกรรมอะไรบ้างในแต่ละวัน เพื่อให้รู้จักการรับผิดชอบ และฝึกปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย
  • จำกัดการใช้เครื่องมือสื่อสาร ให้เล่นได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง
  • หมั่นชื่นชมเด็กเวลาที่เด็กทำได้ดี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติซ้ำจนเป็นนิสัย
  • สำหรับเด็กบางคนที่พลังงานเยอะ ควรหากิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์และเหมาะสมให้ได้ทำในแต่ละวัน เช่น การเล่นกีฬา การออกกำลังกาย การทำงานบ้าน เป็นต้น
  • ผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของระเบียบวินัยให้กับเด็ก เพราะเด็กมักจะปฏิบัติตามพฤติกรรมที่ผู้ปกครองทำให้เห็น
  • จัดสถานที่เรียนให้เหมาะสมกับเด็ก คือ ให้เด็กนั่งด้านหน้าห้อง และนั่งใกล้กระดาน เพื่อป้องกันการสนใจสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมภายนอกมากกว่าในห้องเรียน
  • หากเด็กเริ่มเสียสมาธิ ให้คุณครูดึงความสนใจเด็กโดยไม่ใช้น้ำเสียงที่ดุดัน

2. การใช้ยารักษาโรคสมาธิสั้น เช่น

  • ยาในกลุ่ม Alpha 2 agonist ใช้ในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นที่มีโอกาสเกิดโรคกล้ามเนื้อกระตุกร่วมด้วย
  • ยาในกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท เป็นยาที่สามารถรักษาโรคสมาธิสั้นได้ดีที่สุดในคนหมู่มาก โดยจะมีทั้งหมด 2 รูปแบบ คือ แบบออกฤทธิ์สั้นและแบบออกฤทธิ์ยาว ซึ่งแบบออกฤทธิ์สั้นนั้นจะออกฤทธิ์ครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง ดังนั้นในแต่ละวันจะต้องกินยาประมาณ 2-3 ครั้ง ส่วนแบบออกฤทธิ์ยาวนั้นจะออกฤทธิ์ครั้งละประมาณ 10-12 ชั่วโมง ดังนั้นในแต่ละวันจะกินยาเพียงแค่ครั้งเดียวในตอนเช้าเท่านั้น แต่ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการกินยากลุ่มนี้ คือจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร หรือนอนไม่หลับ เป็นต้น
  • ยาในกลุ่มไม่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท จะใช้เฉพาะในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นที่ไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของยาในกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทได้ เช่น ยา Atomoxetine ที่ผู้ป่วยไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของยา Methylphenidate ได้
  • ยาต้านเศร้าหรือยาคลายกังวล จะใช้รักษาโรคสมาธิสั้นสำหรับเด็กที่มีปัญหาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีอาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน หรือกระวนกระวาย เป็นต้น

3. การรักษาโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นที่เป็นทาง
  • ฝึกควบคุมอารมณ์ตนเองให้ไม่หุนหันพลันแล่นมากจนเกินไป
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • สร้างความมั่นใจและความภาคภูมิใจให้กับตนเอง
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาเฟอีนและน้ำตาลสูง
  • มีการวางแผนและจัดตารางเวลาให้กับตนเอง
  • รู้จักการสังเกตคนรอบข้าง เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อการอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข

โรคที่มักพบร่วมกันกับโรคสมาธิสั้น

  • โรคกล้ามเนื้อกระตุก (Tics)
  • โรควิตกกังวล
  • โรคการเรียนรู้บกพร่อง (Learning Disorder) ที่พบได้มากถึง 30%
  • พฤติกรรมต่อต้าน ดื้อมาก ไม่ทำตามคำสั่ง
  • ไม่เข้าใจการคิดคำนวณตัวเลข
  • เขียนตัวหนังสือไม่ถูก สับสนเวลาสะกดตัวอักษร
  • อ่านหนังสือไม่คล่อง
  • โรคซึมเศร้า
  • โรคอ้วน
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • ออทิสติก
  • โรคดื้อ เกเร และต่อต้าน
  • ปัสสาวะรดที่นอน
  • โรคลมชัก

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตประจำวันให้เป็นไปอย่างปกติ และถึงแม้ว่าในบางครั้งเราจะดูแลตัวเองเป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังมีตัวปัจจัยภายนอกหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถควบคุมได้นั้นก็มีอยู่เยอะเช่นเดียวกัน ดังนั้นการใช้ชีวิตแบบไม่ประมาทและมีการวางแผนเพื่อรองรับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมากเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าหากว่าเรามีการวางแผนทำประกันสุขภาพ ไว้ก็จะสามารถช่วยลดความกังวลใจและค่าใช้จ่ายที่อาจจะต้องเสียขึ้นมาได้ในอนาคตอยู่พอสมควร เพราะเราจะได้รับความคุ้มครองทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุและภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

ซึ่งทางแรบบิท แคร์ ก็ได้มีแผนความคุ้มครองดี ๆ ที่มาพร้อมกับเบี้ยประกันราคาไม่แพงในทุกรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์ในทุกความต้องการได้ทันที เพราะแรบบิท แคร์ เรามีบริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพจากบริษัทประกันชั้นนำทั่วประเทศมากมายให้คุณได้เลือกแผนประกันที่ตรงตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นทั้งในแบบปกติและในแบบเหมาจ่าย ที่จะช่วยทำให้คุณประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเลือกแผนความคุ้มครองที่คุณนั้นสามารถสมัครและขอรับความคุ้มครองได้เองเลยผ่านทางเว็บไซต์ของ แรบบิท แคร์ โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปรียบเทียบแต่อย่างใด

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

PRUHealthcare Plus ประกันสุขภาพเหมาจ่ายPRUHealthcare Plus

เหมาจ่าย

  • เบี้ยฯ สุดคุ้ม เริ่มต้นเพียง 20 บาท/วัน
  • เจ็บป่วยอุ่นใจ คุ้มครองค่ารักษา 500,000 บาท
  • คุ้มครองค่าห้องผู้ป่วยใน สูงสุด 5,000 บาท/วัน
  • สมัครได้ตั้งแต่อายุ 20-60 ปี ต่ออายุถึง 64 ปี
  • เจอ จ่าย จบ มะเร็ง คุ้มครองสูงสุด 1 ล้าน
  • คุ้มครองชีวิต เสียชีวิตรับสูงสุด 100,000 บาท
  • เพิ่มคุ้มครอง 2 เท่า เมื่อรักษาใน ICU
วิริยะ วี เบ็ทเทอร์ แคร์วิริยะ วี เบ็ทเทอร์ แคร์

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แคร์คนทำ สมัครง่าย
  • คุ้มครองเหมาจ่าย สูงสุด 770,000 บาทต่อปี
  • จ่ายค่าห้อง รพ. แคร์ยามนอน 4,500 บาท/วัน
  • แคร์ทุกวัย สมัครง่าย 15 วัน - 65 ปี
  • ค่าฟื้นฟู จ่ายตามจริง สูงสุด 30 วัน/ครั้ง
  • คุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ 100,000
  • ลดหย่อนภาษีได้ แคร์ภาษี สูงสุด 25,000 บาท
วิริยะ เฮลท์แคร์ พลัสบาย บีดีเอ็มเอสวิริยะ เฮลท์แคร์ พลัสบาย บีดีเอ็มเอส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • แคร์ทุกวัย สมัครได้ 16 - 60 ปี ไม่ต้องตรวจ
  • เลือกชำระเบี้ยฯ คุ้มครอง 700,000 บาท/ปี
  • ค่าห้องสูงสุด 8,000 บาท/วัน แคร์นอน รพ.
  • แคร์มะเร็ง คุ้มครองเคมีบำบัด 50,000 บาท/ปี
  • แคร์คนทำ สมัครง่าย ไม่ตรวจสุขภาพ
  • แคร์เรื่องไม่คาดฝัน คุ้มครองเสียชีวิต 100,000
  • แคร์ภาษี ลดหย่อนสูงสุด 25,000 บาท/ปี
ประกันสุขภาพ ผู้สูงอายุGEN Senior Extra 7

ผู้สูงอายุ

  • สมัครประกันได้ตั้งแต่อายุ 41-70 ปี คุ้มครองถึง 85 ปี
  • เหมาจ่ายค่ารักษา สูงสุด 1 ล้านบาท
  • ค่าห้อง คุ้มครองสูงสุด 6,000 บาท/วัน
  • รักษาตัวที่บ้าน รับเงิน 60,000 บาท/6 เดือน
  • CT Scan คุ้มครองเต็มที่ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • ค่าตรวจวินิจฉัย คุ้มครอง 12,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษี รับสูงสุด 25,000 บาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา