แคร์สุขภาพ

โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
 
Published: April 25,2024
  
Last edited: July 16, 2024
โรคย้ำคิดย้ำทำ

โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ? ส่งผลต่อกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ที่เป็นมากน้อยมากแค่ไหน ? มีอาการและสาเหตุในการเกิดมาจากอะไร ? 

แรบบิท แคร์ สรุปข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับโรคย้ำคิดย้ำทำมาให้ ลองอ่านทำความเข้าใจเพื่อทำความรู้จักโรคย้ำคิดย้ำทำนี้ให้มากขึ้นกันดู

เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ สมัครเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ เด็กจบใหม่ icon รักการท่องเที่ยว รักการท่องเที่ยว icon รักการช้อปปิ้ง รักการช้อปปิ้ง icon รักความหรูหรา รักความหรูหรา icon รักสุขภาพ รักสุขภาพ icon รักการกิน รักการกิน

โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ?

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) คือโรคซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่ผู้ป่วยจะมีความย้ำคิดหรือมีความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัวซ้ำ ๆ เรื่อย ๆ จนนำไปสู่การย้ำทำหรือทำอะไรซ้ำ ๆ ซึ่งโดยปกติโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และในราว ๆ 50% ของผู้ป่วยโรคนี้นั้นจะเริ่มมีอาการแสดงออกในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นโดยอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการจะอยู่ที่ 19 ปี

แล้วนั้นในการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ จะจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาจิตบำบัดควบคู่กับการรับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์ 

โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการ

ในส่วนของอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำนั้น อาการที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน คือ

อาการย้ำคิด 

อาการคิดหรือมีภาพที่ผุดขึ้นมารบกวนจิตใจซ้ำ ๆ จนทำให้รู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมาก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำจะไม่สามารถควบคุมความคิดของตนเองได้ และส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคนี้นั้นจะรู้ตัวว่าความคิดเหล่านั้นของตนเองไม่สมเหตุสมผล เช่น

  • หมกมุ่นอยู่กับเรื่องเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม
  • หวาดกลัวว่าตนเองจะทำอะไรผิด
  • มีความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องเพศผุดขึ้นมา
  • กังวลว่าจะทำให้ตนเองและผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายหากไม่ระแวดระวังมากพอ
  • กลัวที่จะสัมผัสกับสิ่งของเพราะเป็นกังวลเรื่องความสกปรก เชื้อโรค หรือการแพร่เชื้อโรค
  • หมกมุ่นเรื่องความเป็นระเบียบ ความสมมาตร ความเรียบร้อย และความสมบูรณ์แบบ

อาการย้ำทำ

อาการที่ทำอะไรซ้ำ ๆ ซึ่งตัวผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นรู้สึกว่าจำเป็นที่จะต้องทำเพื่อคลายความกังวล แม้ว่าตัวผู้ป่วยเองจะไม่ได้ชอบทำสิ่งเหล่านั้นซ้ำ ๆ แต่การกระทำเหล่านั้นจะช่วยบรรเทาอาการย้ำคิดที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้ชั่วคราวจึงจำเป็นต้องทำ เช่น

  • ชอบอาบน้ำหรือล้างมือบ่อย ๆ 
  • ชอบตรวจกลอน ประตู สวิตช์ไฟ ปลั๊กไฟ
  • ชอบจัดเรียงสิ่งของแบบใดแบบหนึ่งเป็นพิเศษ
  • ชอบเก็บของที่ไม่มีมูลค่าทางจิตใจหรือมูลค่าใด ๆ 
  • มักหลีกเลี่ยงและต่อต้านการสัมผัสสิ่งของที่คิดว่าสกปรก
  • พูดคำหรือสวดมนต์เมื่อทำกิจกรรมที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
  • มีพิธีรีตองบางอย่างซึ่งเกี่ยวข้องกับตัวเลข เช่น ชอบนับเลข มีความชอบหรือไม่ชอบเลขใดเลขหนึ่งโดยเฉพาะ ต้องทำงานบางอย่างในช่วงเวลาที่กำหนด

อาการเหล่านี้คืออาการหลัก ๆ ที่เราสามารถสังเกตตัวเองได้ง่าย  ๆ จากการเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ หมั่นสังเกตตนเองกันเป็นประจำ จะได้เข้ารับการตรวจรักษาได้ทันเมื่อมีอาการ

วิธีแก้โรคย้ำคิดย้ำทำ

โรคย้ำคิดย้ำทำ สาเหตุ

ในส่วนของสาเหตุการเกิดโรคย้ำคิดย้ำทำในแต่ละบุคคลนั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงในการเกิดโรคย้ำคิด ย้ำทำ จะทราบเพียงปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคขึ้นได้ ดังนี้

  • พันธุกรรม : หากมีคนในครอบครัวสายตรงที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่นจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำมากยิ่งขึ้น
  • มีความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างในสมอง : ผู้ที่ป่วยเป็นโรคย้ำคิด ย้ำทำนั้นจะมีโครงสร้างของสมองในส่วน Frontal Cortex และ Subcortical ต่างจากคนทั่วไป
  • การเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองในเด็กที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อสเตรปโทคอกคัส (PANDAS Syndrome) : มักจะเกิดขึ้นในเด็กที่มีอาการเจ็บคอจากเชื้อติดเชื้อสเตรปโทคอกคัสหรือไข้อีดำอีแดง 
  • การมีบาดแผลทางจิตใจในวัยเด็ก : ผู้ที่มีบาดแผลทางจิตใจในวัยเด็กที่เกี่ยวข้องมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคย้ำคิด ย้ำทำได้

แม้จะไม่ทราบถึงสาเหตุของการเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำที่แน่ชัด แต่เมื่อได้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคขึ้นได้แล้ว หากสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยไหนได้ก็ควรหลีกเลี่ยงกันไว้ จะได้ห่างไกลจากการเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ

โรคย้ำคิดย้ำทำ ส่งผลต่อชีวิตประจำวันแค่ไหน ?

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากน้อยแค่ไหนนั้น จะขึ้นอยู่กับระดับการเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ หากเป็นขั้นเริ่มต้นหรือยังเป็นไม่หนักก็จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันไม่มากนัก คือจะทำให้ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำมีความหมกมุ่นกับความคิดและการกระทำสิ่งใดซ้ำ ๆ บ่อยกว่าปกติ เป็นคนเจ้าระเบียบ ไปจนถึงจู้จี้จุกจิก และขั้นหนักคือส่งผลอย่างมากจนกระทบการดำเนินชีวิต วนเวียนอยู่ในความคิดและต้องทำสิ่งที่ไม่อยากทำซ้ำ ๆ จนเกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางจิตใจ ร่างกาย ส่งผลถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทำให้คนรอบข้างรู้สึกอึดอัดเมื่ออยู่ใกล้เลยทีเดียว

โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการ

โรคย้ำคิดย้ำทำ หายเองได้ไหม ?

สำหรับการเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นบางคนอาจจะคิดว่าในเมื่อเป็นโรคที่เริ่มต้นมาจากความคิด จะสามารถหายเองได้ไหม คำตอบคือเมื่อเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นจะต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถหายเองได้ อย่านิ่งนอนใจเพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงกว่าตามมาได้นั่นเอง

วิธีเช็กว่าตนเองเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหรือไม่ ?

โรงพยาบาลเปาโลกล่าวถึงวิธีตรวจสอบว่าเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหรือไม่ด้วยตัวเองง่าย ๆได้ โดยการพิจารณาดูว่าอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำที่เป็นอยู่นั้นมันเริ่มที่จะสร้างผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน สร้างความวิตกกังวล หยุดคิดไม่ได้จนทำให้เกิดความทุกข์ทรมานหรือไม่ เกิดผลกระทบต่อร่างกายไหม เช่น การมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป ล้างมือบ่อยเกินไปจนมีปัญหาทางด้านผิวหนัง

โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีอาการย้ำคิดย้ำทำเกิดขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยต้องเสียเวลาโดยไม่จำเป็นต่อความคิดและพฤติกรรมดังกล่าวมากกว่า 1 ชั่วโมง ใน 1 วัน

วิธีแก้โรคย้ำคิดย้ำทำ วิธีการรักษา

เมื่อโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่สามารถหายเองได้และต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา จะมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง ?

  • รักษาด้วยการทำจิตบำบัด : การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT)  , การป้องกันการสัมผัสและการตอบสนอง (ERP) , การบำบัดแบบยอมรับและให้สัญญา (ACT) , การนั่งสมาธิและการเจริญสติ
  • รักษาด้วยยา : แพทย์อาจให้รับประทานยา เช่น ยาต้านเศร้า selective SRIs (SSRIs) , ยาแก้ซึมเศร้า serotonin reuptake inhibitors (SRIs)
  • การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) : หากมีอาการรุนแรงและไม่ดีขึ้นจากการรักษาด้วยวิธีอื่นแพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า

วิธีเหล่านี้คือวิธีในการรักษาการเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ จะเห็นได้ว่าเป็นวิธีที่เฉพาะทางและมีแบบแผนตายตัวและต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นสำหรับใครที่มีอาการควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทันที

โรคย้ำคิดย้ำทำ หาย เอง ได้ ไหม

ภาวะแทรกซ้อนของโรคย้ำคิดย้ำทำ

นอกจากโรคย้ำคิดย้ำทำจะรบกวนสภาพจิตใจร่างกาย และการใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมากแล้วการเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำยังเป็นต้นเห็นของปัญหาและภาวะแทรกซ้อนอีกหลาย ๆ อย่างตามมา คือ

  • ปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคทางผิวหนังจากการล้างมือบ่อย ๆ 
  • ปัญหาในการเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียนหรือที่ทำงาน
  • ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ต่าง ๆ
  • มีแนวโน้มในการเป็นซึมเศร้า
  • มีแนวโน้มในการทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย

โรคย้ำคิดย้ำทำ ป้องกันได้หรือไม่ ?

สำหรับคนที่ต้องการป้องกันไม่ให้ตนเองหรือคนรอบตัวเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกัน ทำได้เพียงหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและคอยสังเกตตัวเอง

หลังจากได้ทราบถึงเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคย้ำคิดย้ำทำ รวมถึงทราบผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ไปแล้ว ใครที่มีความสงสัยว่าตนเองอาจมีอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำก็อย่านิ่งนอนใจ รีบไปตรวจเพื่อที่จะได้ทำการรักษากันในลำดับถัดไป สามารถรูดบัตรเครดิต จาก แรบบิท แคร์ เพื่อใช้ในการรักษาได้ ไม่ควรปล่อยไว้จนเกิดภาวะแทรกซ้อนลุกลามร้ายแรง


สรุป

สรุปบทความ

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) คือโรคซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่ผู้ป่วยจะมีความย้ำคิดหรือมีความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัวซ้ำ ๆ เรื่อย ๆ จนนำไปสู่การย้ำทำหรือทำอะไรซ้ำ ๆ  โดย 50% ของผู้ป่วยโรคนี้นั้นจะเริ่มมีอาการแสดงออกในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นโดยอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการจะอยู่ที่ 19 ปี ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ว่าเกิดจากอะไร แต่อาจมีปัจจัยที่ต่าง ๆ ที่ทำให้เป็นโรคได้ ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม, มีความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างในสมอง, การเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองในเด็กที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อสเตรปโทคอกคัส รวมไปถึงการมีบาดแผลทางจิตใจในวัยเด็ก ก็ส่งผลเช่นกัน

การเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำจะต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่สามารถหายเองได้ ดังนั้นการพบแพทย์เพื่อรักษาจะเป็นหนทางออกที่ดีกว่าการพยายามหาทางให้หายด้วยตัวเอง

จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024