เครื่องดื่มสมุนไพรให้สรรพคุณอะไรบ้าง รักษาโรคได้หรือไม่?
คนไทยรู้จักการนำสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์มาอย่างยาวนาน ด้วยประสบการณ์ที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่นจนเกิดการบันทึกเป็นตำหรับยาแพทย์แผนไทยที่เราต่างคุ้นเคยกันดี นอกจากสมุนไพรจะถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคแล้ว คนสมัยโบราณยังมีการพลิกแพลงนำสมุนไพรมาคั้นเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรโดยมีคำบอกเล่าว่าช่วยให้สุขภาพแข็งแรง สามารถบรรเทาอาการไปจนถึงรักษาโรคได้
เครื่องดื่มสมุนไพรรักษาโรคได้จริงหรือไม่?
จากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมามีข่าวที่แชร์กันในวงกว้างว่าฟ้าทะลายโจรสามารถรักษาโควิดได้ รวมถึงน้ำสมุนไพรอย่างน้ำกระชายนั้นสามารถป้องกันโควิดได้เช่นกัน ทำให้คนไทยหลายคนเริ่มหันมาเห็นความสำคัญของสมุนไพรมากขึ้น ซึ่งความเชื่อดังกล่าวนั้นถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะว่าการกินฟ้าทะลายโจรนั้นไม่ได้ป้องกันโควิดได้อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ฟ้าทะลายโจรสามารถช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไว้รัสได้ในระดับหนึ่ง หรือมีอีกข่าวปลอมหนึ่งที่แชร์กันมาบ่อยนั่นคือเครื่องดื่มสมุนไพรสามเกลอ (กระเจี๊ยบ เนื้อพุทรา ใบเตย) ช่วยรักษาโรคหลอดเลือดในหัวใจได้ อันนี้ก็ไม่มีผลวิจัยออกมาอย่างเป็นทางการว่ารักษาได้จริง ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงต้องใช้ควบคู่ไปกับการรักษาตามแพทย์แผนปัจจุบัน หรือผู้ใช้สมุนไพรต้องศึกษารายละเอียดและสรรพคุณให้ดีก่อนนำมาใช้
กรณีที่ยกตัวอย่างให้ทราบด้านบนสามารถสรุปได้ว่า โรคภัยบางอย่างไม่สามารถรักษาด้วยการดื่มสมุนไพรได้ 100 เปอร์เซ็น แต่เครื่องดื่มสุมนไพรบางประเภท เช่น รากบัว ฯลฯ ใช้รักษาควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบันได้ ก่อนที่คุณจะเชื่อข่าวต่าง ๆ ให้ลองตรวจสอบความถูกต้อง และรอยืนยันผลอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือและก่อนใช้สมุนไพรควรต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน
แล้วเครื่องดื่มสมุนไพรมีประโยชน์อย่างไร?
เครื่องดื่มสมุนไพรสามารถแก้อาการบางอย่างและช่วยให้สุขภาพแข็งแรงได้หากใช้อย่างถูกต้อง แต่เครื่องดื่มสมุนไพรก็ไม่ใช่ยาวิเศษที่ให้ผลแก้อาการอย่างรวดเร็วเหมือนยาแผนปัจจุบัน การทานเครื่องดื่มสมุนไพรจึงคาดหวังประโยชน์ได้คือ รักษาอาการเล็กน้อยอย่างแก้เจ็บคอ ลดความดัน ช่วยบรรเทาอาการหวัด บรรเทาอาการท้องเสียท้องเฟ้อ ไปจนถึงการดื่มเพื่อให้ความสดชื่นผ่อนคลายนั่นเอง
แนะนำเครื่องดื่มสมุนไพรแก้อาการและบำรุงสุขภาพ
สมุนไพรไทยสามารถปลูกได้ง่าย ๆ เองตามบ้าน และสามารถนำมาคั้นเป็นเครื่องดื่มเพื่อความสดชื่นและบรรเทาอาการได้บางอย่างได้ ซึ่งคุณเองก็ทำได้หรือจะหาซื้อดื่มได้ทั่วไปตามท้องตลาด ได้แก่
1. น้ำกระเจี๊ยบ เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรยอดฮิตที่หาได้ตามท้องตลาด ดื่มง่าย มีสรรพคุณช่วยดับกระหายได้เป็นอย่างดี และยังช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ ลดโอาสเป็นนิ่วในกระเพาะปัสวะ
2. น้ำมะตูม เป็นเครื่องดื่มที่ทานง่าย หอมหวานชุ่มคอ มีสรรพคุณช่วยแก้ท้องผูก ลดอาการจุกเสียด ขับลม ขัมเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน ๆ น้ำมะตูมสามารถทำง่าย ๆ เพียงแค่หั่นผลมะตูมตากแห้ง แล้วต้มลงในน้ำเดือน พร้อมใส่น้ำตาลทรายแดงตามความเหมาะที่พอเหมาะ
3. น้ำเก๊กฮวย เป็นเครื่องดื่มที่หาทานได้ง่าย ช่วยดับกระหายและทำให้ชุ่มคอได้เป็นอย่างดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้
4. น้ำตะไคร้ เป็นเครื่องดื่มที่มีกลิ่นหอม มีวิตามินเอในการช่วยบำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยให้ขับปัสสาวะและเหงื่อง่ายขึ้น ลดความดัน แก้เบื่ออาหาร
5. น้ำอัญชัน เป็นเครื่องดื่มที่มากด้วยคุณประโยชน์ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด บำรุงสายตา ลดอาการเหน็บชา มีคุณสมบัตรช่วยละลายลิ่มเลือดลดโอกาสเป็นเส้นเลือดอุดตัน
6. น้ำขิง เป็นเครื่องดื่มคุณสมบัติเผ็ดร้อน ช่วยขับลมและให้เลือดหมุนเวียนดีขึน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร และลดอาการคลื่นไส้อาเจียน สร้างภุมิต้านทานไข้หวัด
7. น้ำใบบัวบก ช่วยแก้อาการฟกช้ำตามร่างกาย ทำให้ชุ่มคอแก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดอาการอักเสบ ช่วยให้ขับปัสสาวะได้ดีขึ้น
8. น้ำใบเตย เป็นเครื่องดื่มที่ทานง่ายมีกลิ่นหอม ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงเลือดและหัวใจ แก้อาการกระหายน้ำ
9. น้ำดอกคำฝอย เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่นิยมมากในเชียงใหม่ มีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยขับเสมหะ บำรุงเลือด บำรุงประสาท
10 น้ำจับเลี้ยง ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย แก้ร้อนใน เจ้บคอ ลดอาการเจ็บแผลในปาก
ส่วนมากแล้วเครื่องดื่มสมุนไพรกินแก้ร้อนใน คลายร้อน หรือแก้อาการเล็กน้อยทั่วไป ทั้งนี้แนะนำว่าอย่าดื่มเครื่องดื่มสมุนไพรที่ใส่น้ำตาลมาก เพราะนอกจากจะเสี่ยงโรคอ้วนและเบาหวานแล้ว ตัวสมุนไพรอาจถูกปรุงแต่งจนสรรพคุณหดหายอีกด้วย
ข้อควรระวังกับการดื่มเครื่องดื่มสมุนไพร
แม้ว่าเครื่องดื่มสมุนไพรจะมีสรรพคุณต่าง ๆ มากมาย แต่ถ้าดื่มสมุนไพรมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน อย่างการดื่มสมุนไพรทุกวันอาจทำให้ได้รับสารที่เป็นยามากจนเกินไป ร่างกายอาจขับสารที่เป็นยาออกไม่หมดเหลือทิ้งไว้ในร่างกาย จากร่างกายที่มีความสมดุลอยู่แล้วถูกปรับสมดุลใหม่ให้แย่กว่าเดิมได้ ดังนั้นเครื่องดื่มสมุนไพรต่าง ๆ ไม่ควรดื่มเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน แต่ให้เลือกดื่มเมื่อมีอาการต่าง ๆ
นอกจากนี้ร่างกายบางคนยังมีอาการแพ้สมุนไพรในแต่ละแบบที่ต่างกัน ดังนั้นคุณต้องหมั่นสังเกตร่างกายตนเองว่าแพ้สมุนไพรตัวไหนบ้าง และพยายามหลีกเลี่ยงสมุนไพรประเภทนั้น หรือถ้าจะให้ดีก็ใช้สมุนไพรภายใต้คำแนะนำของแพทย์ย่อมดีกว่า
จะเห็นได้ว่าเครื่องดื่มสมุนไพรจะแก้อาการเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น หรือช่วยบำรุงสุขภาพในระยะยาวเท่านั้น ไม่สามารถแก้โรคภัยร้ายแรงอย่างมะเร็ง ไตวาย โรคตับ โรคปอด ได้อย่างที่บางคนเข้าใจ การทำให้ตัวคุณเองมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและปลอดภัยต่อโรคต่าง ๆ คุณต้องหมั่นออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพ ลดอาหารรสจัด และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ นอกจากนี้ให้ตระหนักไว้เสมอว่าโรคภัยอาจเข้ามาหาคุณได้แม้ว่าจะป้องกันดีเพียงใดก็ตาม ดังนั้นคุณควรสร้างเกราะป้องกันอีกชั้นด้วยประกันสุขภาพ ซึ่งจะช่วยให้คุณทีค่ารักษา
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct
และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น