แคร์สุขภาพ

5 พฤติกรรมวัยทำงาน เสี่ยง โรคหลอดเลือดสมอง

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: September 14,2018
โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตันหรือแตก ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ สมองจึงขาดเลือดและสูญเสียการทำงาน ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทันท่วงที เพราะโรคนี้มักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน คนที่เป็นจะไม่ค่อยรู้ตัวมาก่อน ซึ่งหากมีอาการหน้าเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ต้องพบแพทย์ให้เร็วที่สุด หรือภายใน 3 ชั่วโมง และสัญญาณของโรคหลอดเลือดตีบ ผู้ป่วยมักเป็นโรคหรือมีอาการต่อไปนี้ครับ

ผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง มักมีโรคหรืออาการ ดังต่อไปนี้

  • ความดันโลหิตสูง

เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่ง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อให้ภาวะความดันโลหิตกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • เบาหวาน

คือผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งก่อให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวได้ทั่วร่างกาย จึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์

  • ไขมันในเลือดสูง

ระดับไขมัน โคเลสเตอรอลในเลือดสูง มีความสัมพันธ์กับการเกิดหลอดเลือดสมองตีบ ควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและรับประทานยาตามเวลาให้ถูกต้อง

  • โรคหัวใจ

เป็นโรคที่แบ่งได้หลายลักษณะ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Fibrillation, โรคลิ้นหัวใจ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งลิ่มเลือดจากหัวใจสามารถหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมองได้

พฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรค 

  • กินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง

ใครชอบกินของทอด ขนมขบเคี้ยวที่ผ่านการทอด หรือเค้กครีมต่างๆ จะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัวและตีบ

โรคหลอดเลือดสมอง
  • กินหวานจัด

ชา กาแฟที่กินทุกเช้า บางคนก็แถมช่วงบ่ายอีกแก้ว จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง และก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ที่ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง และหลอดเลือดสมองตีบตันได้

โรคหลอดเลือดสมอง
  • กินเค็มจัด

ของว่างแก้ง่วงอย่างมะม่วงจิ้มพริกเกลือที่ใส่ผงปรุงรส หรือขนมรสกลมกล่อมเคี้ยวเพลินยามบ่าย รวมถึงอาหารกระป๋องหรืออาหารแปรรูปต่างๆ มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ที่ส่งผลในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ

โรคหลอดเลือดสมอง
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ

งานเยอะ ชอบคิดงานตอนดึกๆ ติดเล่นโซเชียล นอนดึกหรือนอนเกือบเช้าแล้วต้องตื่นเช้าเป็นประจำ ซึ่งภาวะที่ร่างกายนอนหลับไม่เพียงพอ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน , โรคหัวใจ และโรคอ้วน ซึ่งโรคเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมาด้วย

โรคหลอดเลือดสมอง
  • ความเครียด

ถ้าเครียดกับงานมากๆ ถึงขั้นเลิกงานก็ยังเก็บไปเครียดที่บ้านอีก จะส่งผลต่อความดันโลหิตที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมาเช่นกัน

  • ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่มากพอ

บุคคลเหล่านี้มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า ผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่หรืออยู่ในที่ที่ต้องสูดควันบุหรี่ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค และผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ยังมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่มอีกด้วย

ที่สำคัญคือ หากเกิดเส้นเลือดอุดตันแล้ว โอกาสที่จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมก็ค่อนข้างยากและจะหลงเหลือความพิการไม่มากก็น้อยด้วย ยกเว้นว่าเกิดขึ้นชั่วขณะโดยธรรมชาติ เรียกว่า สมองบางส่วนอุดตันชั่วคราว โดยอุดตันแล้วหลุดออกเองไปตามธรรมชาติ ซึ่งกรณีนี้ก็แล้วแต่อาการหรือความโชคดีของแต่ละคนด้วยครับ

ทราบถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคกันไปแล้ว อย่าลืมเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าวและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ หรืองดไปเลยก็ยิ่งดีนะครับ ซึ่งนอกจากจะลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแล้ว ยังทำให้เราสุขภาพแข็งแรง แถมยังลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ ได้อีกมากมายเลยครับ

ขอบคุณข้อมูล : jobbkk.com


 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024