แคร์การเงิน

เช็กด่วน! 7 ธนาคาร ลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ ถูกสุด ๆ

ผู้เขียน : ใบไม้ร่าเริง

มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี

close
Published August 21, 2019

เศรษฐกิจไม่ดีเกิดจากสาเหตุอะไร? แล้วส่งผลต่อการใช้จ่ายของคนไทยหรือไม่? วันนี้ Rabbit Care มีคำตอบมาฝากกัน พร้อมข่าวดีสำหรับคนต้องการสินเชื่อ ว่าแล้วก็ตามไปดูกันเลย

เศรษฐกิจแย่จริงหรือ?

ต้องยอมรับว่า ภาคเศรษฐกิจของไทยขณะนี้กำลังได้รับผลกระทบหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสงครามการค้าที่กลับร้อนระอุขึ้นมาอีก หรือการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐ ภาคส่งออกต้องประสบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลต่างเร่งออกมากระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาคึกคัก ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงินให้ท่องเที่ยวในประเทศ หรือสนับสนุนสินค้าการเกษตร

ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ออกมาประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 1.50% ต่อปี ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจึงมีสถาบันการเงินหลายแห่งออกมาขานรับนโยบายดังกล่าว

โดยธนาคารของภาครัฐและภาคเอกชนจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย MOR (Minimum Overdraft Rate) อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี และ MRR (Minimum Retail Rate) อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น

  • สินเชื่อส่วนบุคคล
  • สินเชื่อที่อยู่อาศัย
  • สินเชื่อเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ ซึ่งก็นับว่าเป็นผลดีต่อผู้บริโภคที่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง แล้วจะมีธนาคารไหนบ้างที่ให้อัตราดอกเบี้ยถูกที่สุดเราลองมาเช็กกันเลยค่ะ

7 แบงก์ตบเท้าพร้อมใจลดดอกเบี้ย

ธนาคารกสิกรไทย

เริ่มที่ธนาคารกสิกรไทยที่ออกมาประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ MOR และ MRR ลง 0.25% เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและแบ่งเบาภาระให้กับลูกค้ารายย่อย เนื่องจากเป็นอัตราดอกเบี้ยที่กลุ่มลูกค้าดังกล่าวใช้เป็นส่วนใหญ่ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป โดยล่าสุดนั้น อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ MOR และ MRR ของธนาคารกสิกรไทย อยู่ที่ 7.12%

ธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกรุงเทพประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ MOR และ MRR ลง 0.25% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2562 เช่นกัน ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งสองประเภทในครั้งนี้ นับเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอสเอ็มอี ในเรื่องการลดต้นทุนด้านอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ

ธนาคารออมสิน

ด้านธนาคารออมสินก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR ลดลงอีก 0.13% ต่อปี แต่เดิมอยู่ที่ 7.00% เหลือเพียง 6.87% และปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ MOR ลดลงอีก 0.13% ต่อปี จากแต่เดิมอยู่ที่ 7.00% เหลือเพียง 6.87% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป

ธนาคารกรุงไทย

ต่อกันที่ธนาคารกรุงไทยที่ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ MOR และ MRR ลง 0.25% ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย MOR และ MRR ของธนาคารเหลือ 6.87% ต่อปี เพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระให้กับผู้ประกอบการ SME รวมทั้งลูกค้ารายย่อย ให้ประคองตัวและฟื้นตัวจากผลกระทบของสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนได้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป

ธนาคารไทยพาณิชย์

ฝั่งธนาคารไทยพาณิชย์ก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR ลง 0.25% มาอยู่ที่ 7.12% และปรับลดอัตราดอกเบี้ย MOR ลง 0.125% มาอยู่ที่ 6.745% เพื่อเป็นการขานรับนโยบายดอกเบี้ยของคณะกรรมนโยบายการเงิน (กนง.) อีกทั้งเป็นการช่วยลดภาระต้นทุนในการดำเนินธุรกิจของลูกค้าเอสเอ็มอี และลูกค้ารายย่อยได้อีกทาง

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

ธอส. เองก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ลดจาก 6.250% เหลือ 6.125% ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) ลดจาก 7.000% เหลือ 6.875% และลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลดจาก 6.750% เหลือ 6.625% มีผลใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา

ธนาคารทหารไทย

ปิดท้ายกันที่ธนาคารทหารไทยที่ขานรับนโยบายของภาครัฐด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ MOR และ MRR ลง 0.25% เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและแบ่งเบาภาระของลูกค้ารายย่อย เนื่องจากเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ลูกค้าใช้บริการอยู่เป็นส่วนใหญ่ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นไป


เตรียมตัวขอสินเชื่อยังไงให้ผ่านฉลุย

เชื่อว่าหลายคนที่กำลังวางแผนขอสินเชื่ออยู่ในขณะนี้คงแอบยิ้มปริ เมื่อเห็นหลายแบงค์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแบบนี้ แต่จะขอสินเชื่อให้ผ่านฉลุยต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรกันบ้าง เราลองมาดูกันค่ะ

1.เตรียมเอกสารการขอสินเชื่อให้พร้อม เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สลิปเงินเดือน และบัญชีเงินฝากย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน

2.อาชีพก็เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาการขอสินเชื่อ ว่าคุณนั้นทำอาชีพอะไร งานประจำหรือเป็นฟรีแลนซ์ มีรายได้เท่าไร หรือรายรับ-รายจ่าย มีความสมเหตุสมผลหรือไม่

3.เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคาร ทุกธนาคารจะมีการปล่อยสินเชื่อเหมือน ๆ กัน แต่ละที่ย่อมให้อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราควรหาข้อมูลเพื่อนำมาเปรียบเทียบ เพื่อเป็นประโยชน์กับเราให้มากที่สุด


บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024